คุณแม่หลายท่านมีความเป็นกังวลเรื่องการรับประทานของลูกน้อยในวัยกำลังเจริญเติบโตว่าพวกเขากินน้อยจนเกินไป จะทำให้พวกเขาไม่แข็งแรง และการเจริญเติบโตจะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ แต่คุณแม่บางบ้านก็ต้องประสบปัญหา ลูกกินเยอะ และกลัวว่าลูกนั้นจะมีโรคอื่น ๆ ตามมาหรือเปล่า มาลองเช็กกันดูดีกว่าค่ะว่าลูกของคุณกินมากเกินไป หรือคุณแค่คิดไปเอง
ลูกกินเยอะ เกินไปหรือเปล่า? คุณแม่อย่าลืมเช็กการกินของลูก ๆ นะคะ
แม่อย่างเราต้องเตรียมตัวในเรื่องต่าง ๆ สำหรับลูกให้พร้อมอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเรื่อง อาหาร การกิน ของลูก ที่คนเป็นแม่อย่างเราจะต้องพิถีพิถัน นอกจาก เรื่อง โภชนาการ ว่าลูกจะทานครบทั้ง 5 หมู่ หรือไม่ มีกากใย เพียงพอ หรือไม่ เท่านั้นยังไม่พอ ลูกกินเยอะ เกินไปหรือเปล่า จะส่งผลอะไรถึงลูกไหม กินเยอะ มีเหตุผลอะไรบ้าง มาติดตามกันค่ะแม่ ๆ
วิดีโอจาก : พ่อม้าน้ําและแม่หมีกรีซลี่
1. รู้สึก “หิว” เวลาเห็นคนอื่นกิน
กินเยอะ สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าลูกคุณอาจมีนิสัยการกินที่ผิดปกติ คือเมื่อเด็กอยากกินทุกครั้งที่มีอาหารวางบนโต๊ะ และ คอยถามคนอื่นว่า “ หนูขอกินนิดนึงได้มั้ย ” “ หนูขอกินบ้างได้มั้ย ” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเด็กเพิ่งกินข้าวเข้าไป
อย่าเชื่อคำพูดของเด็กเสมอไป ถ้าเขาพูดว่า “หิว” ทุกครั้งที่เห็นคนอื่นกิน มีความเป็นไปได้สูงว่าจริง ๆ แล้วเขาไม่ได้หิว แต่แค่รู้สึกอยากกินเพราะเห็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเขาเพิ่งกินข้าวมา ในกรณีนี้ คุณควรคุมอาหารให้ลูกตั้งแต่ยังเล็ก และ ให้กินวันละสามมื้อไม่ขาดไม่เกิน เท่านี้ คุณก็จะสามารถคุมปริมาณอาหารและไม่ทำให้ลูกติดนิสัยกินจุบจิบระหว่างวันได้อีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : สาเหตุโรคอ้วนในเด็ก กินให้หมดจาน!
2. กินจุบจิบหรือเปล่า?
การกินขนมจุบจิบไม่ได้เป็นแค่ปัญหาทั่วไป แต่ยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ คุณจึงควรฝึกนิสัยการกินที่ดีให้กับลูก เด็ก ๆ มักชอบกินขนมเวลาเบื่อ ไม่มีอะไรทำ ซึ่งพฤติกรรมนี้อาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพได้ในอนาคต
3. กินข้าวไปแล้วแต่ยังหิวอยู่
การจะกำหนดปริมาณอาหารที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับตัวเด็กแต่ละคน เด็กบางคนมีการเผาผลาญดี หรือ อาจจะกระโดดโลดเต้นมากกว่าเด็กทั่วไป ซึ่งในกรณีนี้พวกเขาอาจต้องการพลังงานมากขึ้น แต่พึงระวัง หากลูกกินเยอะ แต่น้ำหนักยังลดลง อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น พยาธิ เป็นต้น ถ้าลูกกินอาหารมากเกินจำเป็น อาจมีสาเหตุมาจากความเบื่อหรือโรคบางอย่างก็ได้ โดยสำหรับเด็กใน 1 วัน ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 24 กรัม หรือ 6 ช้อนชา และโซเดียมไม่เกิน 2400 มิลลิกรัม
- ลูกควรทานข้าวมื้อละ 2 ทัพพี (ไม่พูน) หรือขนมปังไม่เกิน 2 แผ่น/ มื้อ
- ลูกควรทานเนื้อสัตว์มื้อละ 2 – 3 ช้อนโต๊ะ หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป หรือเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง
- เน้นทานผลไม้สดเป็นหลัก หลีกเลี่ยงผลไม้แปรรูป น้ำผลไม้กล่อง
- การประกอบอาหารเน้นหลัก ๆ คือ ต้ม นึ่ง ตุ๋น ให้มากกว่าเมนูทอด ผัด
บทความที่เกี่ยวข้อง : ต้มเลือดหมู เมนูลูกน้อย ทานได้กันทั้งครอบครัว อร่อย ได้ประโยชน์ เสริมธาตุเหล็ก
4. แอบเอาอาหารเข้าไปกินในห้อง
นี่รวมไปถึงน้ำหวาน ตุนขนม หรือแม้แต่การหลอกล่อให้พี่น้องหรือเพื่อนแบ่งขนมให้กิน คุณควรจับตามองพฤติกรรมเช่นนี้อย่างใกล้ชิด เพราะมันมักเกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรงกว่าแค่ความหิวโหย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเด็กมีพฤติกรรมนี้ร่วมกับพฤติกรรมอื่น ๆ ดังที่เราได้อธิบายไปข้างต้น
สาเหตุที่ร้ายแรงกว่า “ความหิว” เช่น ความผิดปกติของร่างกายและจิตใจ อย่างการกินมากเกินไป ซึ่งเด็กจะไม่รู้จักคำว่าอิ่ม หรือสาเหตุอื่น ๆ เช่น ความเครียด ซึ่งเกิดจากแรงกดดันภายนอก สาเหตุที่ทำให้เด็กกินมากเกินพอดีมักเกิดจากความต้องการที่จะชดเชยบางสิ่งบางอย่างที่ขาดหายไป เช่น ความสนใจ ความช่วยเหลือ หรือ ภาพลักษณ์ของตัวเอง ในกรณีนี้ ถ้าคุณไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง ลองปรึกษากุมารแพทย์หรือนักโภชนากรเกี่ยวกับอาหารการกินของลูก แต่ถ้าคุณยังไม่สังเกตเห็นสัญญาเหล่านี้ พยายามให้ลูกกินของที่มีประโยชน์ เช่น ผลไม้ ขนมธัญพืช หรือน้ำผลไม้ เป็นขนมแทน
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และ เด็ก รวมถึงแอปพลิเคชัน The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และเด็กโภชนาการแม่ และ เด็กกิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะ เราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
กินอะไรให้ลูกฉลาด 10 อาหารที่กินแล้วลูกในท้องฉลาด กินแล้วดีต่อลูก
10 อาหารเพิ่มน้ำหนักลูก ลูกกินอะไรถึงจะน้ำหนักขึ้นอย่างปลอดภัย
10 อาหารอันตรายหน้าโรงเรียน ภัยอันตรายจากอาหารหน้าโรงเรียน
ที่มา : WebMD , Nonthavej
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!