X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

4 วิธี สอนลูกจัดที่นอน สิ่งเล็ก ๆ ที่สำคัญ และควรทำทุกวัน

บทความ 5 นาที
4 วิธี สอนลูกจัดที่นอน สิ่งเล็ก ๆ ที่สำคัญ และควรทำทุกวัน

เมื่อลูกนอนแล้วลุกออกจากเตียง อาบน้ำ ไปโรงเรียน แล้วไม่ได้เก็บที่นอน เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองตลอดมา สอนลูกจัดที่นอน สามารถทำได้ไม่ยาก รีบฝึกตั้งแต่ตอนนี้จะช่วยให้ลูกมีนิสัยที่รักความสะอาด มีความเป็นระเบียบ และมีความรับผิดชอบมากขึ้นได้

 

สอนลูกจัดที่นอน สำคัญอย่างไร

อาจดูเหมือนเป็นกิจวัตรประจำวันที่ง่าย ใช้เวลาในการทำไม่นาน แต่ต้องทำทุกวัน อาจดูไม่ค่อยสำคัญในความคิดของใครบางคน แต่สำหรับตัวของเด็ก ๆ นั้น ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะเป็นการฝึกความรับผิดชอบแม้ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงแม้จะไม่จัดที่นอนหลังจากลุกจากเตียงจะดูเป็นเรื่องปกติของหลายคน เพราะคิดว่าเมื่อถึงเวลานอนก็ต้องเละเทะอยู่ดี แต่นอกจากการฝึกความรับผิดชอบแล้ว การจัดที่นอนยังเกี่ยวกับเชื้อโรคอีกด้วย

หากไม่จัดที่นอนจะทำให้มีโอกาสที่เครื่องนอนอาจกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้ในภายหลัง โดยเฉพาะแบคทีเรีย และไรฝุ่นต่าง ๆ ที่อาจทำให้ลูกน้อยเสี่ยงต่อภูมิแพ้ได้ ด้วยเหตุนี้การจัดที่นอนจะทำให้อากาศถ่ายเท ไม่เกิดการอับชื้น เพิ่มโอกาสให้เนื้อผ้าโดนแดดเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการสะสมเชื้อโรคได้นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 ที่นอนกันกรดไหลย้อน สำหรับทารกน้อย ช่วยให้ลูกน้อยไม่สะดุ้งตื่นหรือแหวะนม

 

วิดีโอจาก : Wealth Me Up

Advertisement

 

ควรสอนลูกจัดที่นอนเองตอนอายุเท่าไหร่

โดยทั่วไปแล้ว การเรียนรู้ หรือฝึกฝนทักษะใด ๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ต้องใช้ความเข้าใจร่วมด้วย มักจะเริ่มฝึกตั้งแต่ลูกมีอายุ 7 ปีขึ้นไป หรืออยู่ในช่วงประถมศึกษาปีที่ 2 ขึ้นไป การฝึกเก็บที่นอนด้วยตนเองเช่นกัน จริง ๆ แล้วช่วงที่ลูกมีอายุ 6 ปีก็สามารถฝึกได้แล้ว เนื่องจากการเก็บที่นอนด้วยตนเอง ไม่ใช่เรื่องยากอะไร ไม่ได้ใช้แรงมาก เพราะเป็นการเน้นย้ำให้ลูกเข้าใจถึงความรับผิดชอบ ในหน้าที่ และสิ่งของที่ลูกเป็นเจ้าของเท่านั้น หากผู้ปกครองมีลูกแล้วอายุเกินตามเกณฑ์ที่เราแนะนำ แต่ยังไม่ได้ฝึกลูกเลย เราแนะนำให้เริ่มฝึกเลยตั้งแต่วันนี้ จะเป็นผลดีต่อตัวของลูกเองแน่นอนในอนาคต

 

4 ประโยชน์ของการจัดที่นอน

  • ฝึกวินัย ความรับผิดชอบ : เป็นสิ่งสำคัญที่ควรฝึกแต่เด็ก ๆ มีแนวโน้มว่าเด็กที่เก็บที่นอนทุกเช้า จะมีนิสัยรักสะอาด และความเป็นระเบียบมากกว่า หากมาฝึกตอนโตอาจฝึกได้ยาก เพราะมีความเคยชินว่าที่ผ่านมาไม่ต้องจัดที่นอนก็สามารถมานอนต่อได้ทุกคืน
  • ลดการสะสมของเชื้อโรค : การจัดเตรียมที่นอนให้ไม่ทับกัน ไม่เป็นก้อน จะทำให้เกิดการระบายอากาศของเครื่องนอนมากกว่าเดิม เมื่ออากาศระบายได้ดีมากยิ่งขึ้น จะส่งผลให้เชื้อแบคทีเรีย หรือไรฝุ่นมีปริมาณลดลงได้ ส่งผลดีต่อสุขภาพการนอนของลูกรัก
  • ช่วยให้นอนหลับสบายมากขึ้น : จากการศึกษาของ National Sleep Foundation พบว่าประมาณ 19 % ของคนที่เก็บที่นอนในตอนเช้าเป็นประจำ จะมีแนวโน้มที่จะนอนหลับฝันดีมากกว่าคนทั่วไป เพราะมีผลต่อการจดจำของร่างกาย ให้รู้ถึงเวลาในการพักผ่อนในแต่ละวันผ่านพฤติกรรม เช่น การตบหมอนเบา ๆ เป็นต้น
  • ส่งผลดีต่อสุขภาพจิต : เด็ก ๆ ก็มีเรื่องให้คิดมากเหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องเรียนที่ไม่เคยง่ายในทุกช่วงวัย แม้จะเด็กมากก็ตาม หากลูกกลับมาที่ห้อง ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนตัว แล้วพบว่าห้องดูสะอาด มีความเป็นระเบียบ จะส่งผลให้รู้สึกดีตามไปด้วย ตรงกันข้ามหากห้องเลอะ ไม่เป็นระเบียบ จะทำให้ลูกรู้สึกไม่ค่อยดีได้เช่นกัน

 

สอนลูกจัดที่นอน

 

4 วิธีฝึกลูกจัดที่นอนด้วยตนเอง

การฝึกให้ลูกเก็บที่นอนด้วยตนเอง ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องพึ่งความพยายามที่จะทำอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะติดเป็นนิสัยในอนาคต โดยมีวิธีที่สามารถทำได้ ดังนี้

 

1. ผู้ปกครองต้องทำให้เห็นเป็นประจำ

เด็กเล็กจะเรียนรู้ผ่านการจดจำ การเห็นบ่อย ๆ จะทำให้ลูกเริ่มที่จะเรียนรู้ได้เองว่า สิ่งที่เห็นเป็นประจำ เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ และเป็นสิ่งที่ควรทำ ส่งผลให้ลูกอยากที่จะเลียนแบบมากขึ้น นอกจากนี้หากผู้ปกครองไม่ได้ทำให้ลูกเห็น และมีการแยกนอนกับลูก ในเวลาต่อมาหากลูกรู้ว่าพ่อแม่ก็ไม่ได้ทำ ลูกจะเกิดข้อสงสัยขึ้นมาทันที และจะมีข้อโต้แย้งตามมาได้ว่าตัวของเขาจะทำไปทำไป เพราะขนาดพ่อกับแม่ยังไม่ทำเลย

 

2. บอกให้รู้ถึงประโยชน์เสมอ

เมื่อการเก็บที่นอนด้วยตนเองมีประโยชน์หลายอย่าง กลับกันอาจมีโทษด้วยซ้ำหากไม่เก็บทุกวัน โดยเฉพาะเรื่องของเชื้อโรค ในเรื่องนี้ถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะนำข้อเท็จจริงมาบอกลูก แต่ไม่ควรพูดคุยแบบวิชาการ เพราะจะทำให้เด็กไม่เข้าใจ อาจจะบอกกับลูกด้วยถ้อยคำง่าย ๆ ตัวอย่างเช่น “รู้ไหมว่าถ้าไม่เก็บที่นอนทุกวัน จะทำให้มีเชื้อโรคนะ แล้วเชื้อโรคจะทำให้หนูไม่สบาย ป่วยบ่อย จะไม่มีแรงเล่นนะ” เป็นต้น

 

3. อย่ากดดัน เมื่อลูกลืมเก็บที่นอน

การฝึกลูกเก็บที่นอน อาจไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีในทันที ลูกอาจลืมบ้างบางวัน หรือเก็บมาเป็นระเบียบเท่าที่ควร แต่ผู้ปกครองจะต้องคำนึงตลอดเวลา มีเด็กหลายคนที่ไม่ได้เก็บที่นอนด้วยตนเอง การที่ลูกรู้และเข้าใจ พยายามที่จะทำ อาจบกพร่องไปบ้าง ไม่ควรใช้อารมณ์ หรือถ้อยคำดุด่า แต่เป็นการพูดบอกเพื่อเตือนลูกแทน เช่น “วันนี้หนูลืมเก็บที่นอนนะ แต่แม่เก็บให้แล้ว พรุ่งนี้อย่าลืมนะคะ” เป็นต้น หากลูกเก็บที่นอนไม่ดี ทำแค่ให้ผ่านไปเฉย ๆ ผู้ปกครองก็ควรสาธิตการเก็บให้ดูอีกครั้งหนึ่งด้วย

 

สอนลูกจัดที่นอน 2

 

4. ให้รางวัลบ้างเพื่อเป็นแรงกระตุ้น

แม้เป็นวิธีที่อาจทำให้ลูกเคยตัว แต่ก็เป็นวิธีที่น่าลอง สำหรับเด็กที่มีความดื้อ หรือปฏิเสธที่จะทำ แต่ไม่ควรใช้วิธีให้รางวัลบ่อย ๆ ชนิดทุกวัน อาจเลือกตกลงกับลูกว่า ถ้าสามารถเก็บที่นอนได้ทุกวันตลอดทั้งเดือน จะซื้อของเล่นให้ ถ้าเก็บ 20 วันขึ้นไปตลอดทั้งเดือน จะได้ขนมของโปรด แต่ถ้าเก็บไม่ถึง 20 วัน จะไม่มีรางวัลอะไรให้เลย เป็นต้น นอกจากนี้เทคนิคนี้ยังนำไปใช้กับงานบ้านชนิดอื่น ๆ ได้ด้วย

 

งานบ้านหลายอย่างสามารถให้ลูกช่วยทำ หรือฝึกลูกทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นงานบ้านที่ไม่อันตราย ไม่มีของมีคม ใช้แรงไม่มาก เป็นเรื่องที่ดีต่อการฝึกวินัย ความรับผิดชอบ และส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ได้ในหลาย ๆ ด้าน

บทความจากพันธมิตร
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

15 กิจกรรมก่อนนอน ช่วยให้ลูกนอนหลับสบาย ไม่ตื่นกลางดึก

5 สัญญาณบอกว่า ลูกนอนน้อยไป นอนไม่พอ เสี่ยงพัฒนาการถดถอย

10 วิธี ฝึกลูกนอนเร็ว เทคนิคที่ทำให้ลูกนอนหลับง่ายขึ้น วิธีให้ลูกนอนง่าย ๆ

ที่มา : verywellfamily, samitivejhospitals, brandthink

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กวัยประถม
  • /
  • 4 วิธี สอนลูกจัดที่นอน สิ่งเล็ก ๆ ที่สำคัญ และควรทำทุกวัน
แชร์ :
  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

    ลูกชอบตีตัวเอง สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ต้องรู้ และวิธีหยุดอย่างปลอดภัย

  • ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

    ถามถูกจุด ลูกฉลาดได้จริง: เคล็ดลับ ตั้งคำถามกระตุ้นสมองตามวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว