X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คนท้องต้องรู้! อาการขาดแคลเซียมในคนท้องส่งผลอย่างไรต่อทารก

บทความ 5 นาที
คนท้องต้องรู้! อาการขาดแคลเซียมในคนท้องส่งผลอย่างไรต่อทารก

“แคลเซียม” จัดเป็นหนึ่งในสารอาหารที่สำคัญต่อการตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เพราะการที่แม่ท้องได้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมนั้นจะไปช่วยพัฒนาโครงสร้างร่างกาย โดยเฉพาะการสร้างกระดูก และฟันของทารกในครรภ์ หากแม่ท้องขาดแคลเซียมจะเป็นอย่างไร? วันนี้ theAsianparent พามาดู คนท้องต้องรู้! อาการขาดแคลเซียมในคนท้องส่งผลอย่างไรต่อทารก

คนท้องขาดแคลเซียม

คนท้องขาดแคลเซียม

คนท้องต้องรู้! อาการขาดแคลเซียมในคนท้องส่งผลอย่างไรต่อทารก

แคลเซียมสำหรับแม่ท้องสำคัญอย่างไร

โดยปกติร่างกายคนเราจะดูดซึมแคลเซียมครั้งละ 500-600 มิลลิกรัม แต่ปริมาณแคลเซียมที่แม่ท้องต้องการนั้นสูงถึงวันละ 1,000-1,200 มิลลิกรัม ดังนั้นสารอาหารอย่าง “แคลเซียม” จึงเป็นที่สำคัญต่อคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เพราะแคลเซียมทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน และเนื้อเยื่อต่างๆ และสารอาหารแคลเซียมในตัวคุณแม่ก็จะถูกดึงไปใช้เสริมสร้างกระดูกลูกน้อยในครรภ์ด้วย ดังนั้นการที่แม่ท้องได้รับประทานแคลเซียมอย่างเพียงพอ นอกจากจะช่วยพัฒนาโครงสร้างร่างกายยังช่วยทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ เช่น ระบบของกล้ามเนื้อ ระบบภูมิคุ้มกัน

เรื่องน่ารู้ แคลเซียมกับแม่ท้อง

โดยทั่วไปแล้วคุณแม่ท้องควรจะได้รับแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายประมาณวันละ 1000 มิลลิกรัม เพื่อจะได้สามารถมีแคลเซียมมากเพียงพอ ที่จะส่งไปสร้างเสริมพัฒนาการของลูกน้อย และ เพื่อให้เพียงพอต่อการรักษามวลกระดูกในร่างกายของคุณแม่ หากว่าได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงเอาแคลเซียมจาก กระดูกของคุณแม่เองนั่นแหละ ไปบำรุงหล่อเลี้ยงทารก ทำให้เกิดปัญหาภาวะกระดูกพรุน และ ป้องกันไม่ให้เกิดอาการตะคริวในแม่ท้องด้วย

หากแม่ท้องขาดแคลเซียมจะเป็นอย่างไร?

Advertisement
คนท้องขาดแคลเซียม

คนท้องขาดแคลเซียม

ในช่วงที่คุณแม่ตั้งท้องควรได้รับแคลเซียมเพิ่มขึ้น เพราะหากขาดแคลเซียมจะทำให้แม่ท้องเกิดอาการกล้ามเนื้อปวดเกร็งในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย หรือเรียกว่าเป็น “ตะคริว” ขึ้นมาง่าย ๆ นั้นเอง ซึ่งแม่ท้องส่วนใหญ่จะเป็นตะคริวมากถึงร้อยละ 26.8 และเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 25 สัปดาห์ มักจะเป็นบริเวณน่องและเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งทั้งที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเดินมาก ดังนั้นหากคุณแม่ได้รับการเสริมแคลเซียมก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นและช่วยลดการเกิดตะคริวในแม่ท้องได้

ในอีกกรณีคือทารกในท้องจะมีการดึงแคลเซียมจากคุณแม่ไปใช้ประมาณ 2.5% ของแคลเซียมในตัวแม่ หากคุณแม่ได้รับแคลเซียมน้อยก็จะส่งผลเสียต่อตัวคุณแม่ในระยะยาว คือทำให้ฟันผุง่ายขึ้น กระดูกเปราะบางและผุได้ง่ายกว่าปกติ ซึ่งอาจจะส่งผลในช่วงวัยทอง ดังนั้นในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอทั้งต่อตัวเองและลูกน้อยในครรภ์

แคลเซียมทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน และเนื้อเยื่อต่างๆ และสารอาหารแคลเซียมในตัวคุณแม่ก็จะถูกดึงไปใช้เสริมสร้างกระดูกลูกน้อยในครรภ์ การที่แม่ท้องได้รับประทานแคลเซียมอย่างเพียงพอ นอกจากจะช่วยพัฒนาโครงสร้างร่างกายยังช่วยทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ เช่น ระบบของกล้ามเนื้อ ระบบภูมิคุ้มกัน

นอกจากอาหารแคลเซียมสูงที่คนท้องต้องบำรุงแล้ว อย่าลืมรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และแคลเซียมก็ต้องทำงานร่วมกับแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น โปรตีน ฟอสฟอรัส สังกะสี ฟลูออไรด์ โดยเฉพาะแมกนีเซียมซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญอีกชนิดหนึ่งของกระดูก โดยแมกนีเซียม 60-65% จะอยู่ในกระดูกส่วนการดูดซึมแคลเซียมของร่างกายนั้นต้องอาศัยวิตามินดี

แคลเซียม จึงเป็นสารอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ เพราะนอกจากจะช่วยพัฒนาการเติบโตของทารกในครรภ์แล้ว ยังมีส่วนช่วยรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูกคุณแม่ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกหรือโรคกระดูกพรุนในภายหลังได้ด้วย ดังนั้นคุณแม่ควรได้รับอาหารที่ช่วยสร้างแคลเซียมต่อร่างกายได้เพียงพอ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เนย ชีส ปลาเล็กปลาน้อย ปลากรอบที่ทานได้ทั้งกระดูก ถั่ว และ งา เป็นต้น

แม่ท้องต้องกินอาหารแคลเซียมสูง

โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ แนะนำประชาชนควรได้รับแคลเซียมจากการรับประทานอาหารและออกกำลังกายในช่วงเช้า เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดีจากแสงแดด ช่วยเสริมการดูดซึมแคลเซียมให้ร่างกาย

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึงอาหารแคลเซียมสูง ว่า แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์แคลเซียมได้ จึงต้องรับมาจากอาหารผ่านการย่อยและดูดซึมที่ลำไส้เล็ก ซึ่งการดูดซึมแคลเซียมทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ร่างกายสามารถดูดซึมได้ประมาณ 20-25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะขับถ่ายทิ้งไป

ประโยชน์ของแคลเซียม

หน้าที่ของแคลเซียม นอกจากจะเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ยังซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยในการแข็งตัวของเลือด การทำงานของกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ และควบคุมสมดุลของกรดและด่างในร่างกาย

หากร่างกายขาดแคลเซียม

  • หากขาดแคลเซียมในเด็กจะทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน ทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกผิดปกติ
  • ถ้าในหญิงวัยหมดประจำเดือนจะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน และเป็นสาเหตุของโรคกระดูกเสื่อม
  • หากร่างกายขาดแคลเซียมอย่างรุนแรง อาจก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง กระตุกและชัก

แม่ท้องควรได้รับแคลเซียมแค่ไหนถึงเพียงพอ

นายแพทย์สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลทำให้ร่างกายขาดแคลเซียม เช่น ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย ดื่มกาแฟเกินขนาด ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในหญิงวัยหมดประจำเดือน และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือเคยกระดูกหักมาก่อน

ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวันตามช่วงอายุมีปริมาณไม่เท่ากัน

  1. ผู้ใหญ่ที่อายุน้อย 40-50 ปี ควรได้รับแคลเซียม 800-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
  2. อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 1,000-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน
  3. หากอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปและผู้หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับแคลเซียม 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน
คนท้องขาดแคลเซียม

คนท้องขาดแคลเซียม

อาหารเสริมแคลเซียมสำหรับคนท้อง อาหารเสริมสำหรับแม่ท้องเพิ่มแคลเซียม

  1. ปลาตัวเล็กตัวน้อย เช่น ปลาข้าวสาร ปลากะตัก เป็นต้น คุณแม่นำมาทอดกรอบ กินได้ทั้งตัวค่ะ ช่วยเสริมแคลเซียมได้ดีไม่แพ้นมเลยทีเดียว
  2. ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส โยเกิร์ต หรือ อาหารว่างอื่น ๆ ที่ทำให้ได้รับแคลเซียม แต่ถ้าคุณแม่ไม่สามารถทานผลิตภัณฑ์ที่มีนมเป็นส่วนประกอบไม่ได้เช่นกัน ก็ไม่เป็นไรค่ะ
  3. ธัญพืช ธัญพืชจำพวกถั่ว ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วแดง เต้าหู้ ลูกเดือย เป็นต้น นำมาประกอบอาหาร เพิ่มแคลเซียมได้ไม่ต่างจากนมค่ะ แถมยังนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย เพิ่มคุณค่าสารอาหารมากยิ่งขึ้น
  4. อาหารไทย แม่ท้องสามารถรับประทานอาหารไทย ๆ ที่มีกะปิเป็นส่วนประกอบก็ได้ เช่น แกงเลียง ต้มส้ม แกงเผ็ดต่าง ๆ
  5. ผักและผลไม้หลากสี คุณแม่ควรรับประทานผักและผลไม้หลากสีให้มากขึ้น เพื่อเสริมคุณค่าสารอาหารให้ร่างกาย เช่น ผักบร็อกโคลี คะน้า ผักโขม แครอท แคนตาลูป เป็นต้น
  6. ไข่ แม่ท้องควรทานไข่ให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 ฟอง เพื่อทดแทน ในส่วนของโปรตีน
  7. เนื้อสัตว์ เช่น หมู ไก่ ปลาให้ได้ทุกวันเพิ่มเสริมโปรตีน ที่สำคัญควรทานปลาให้ได้อย่างน้อย สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
  8. อาหารทะเลอื่น ๆ คุณแม่ควรทานอาหารทะเลอื่น ๆ ก็มีประโยชน์ ช่วยป้องกันการขาดสารไอโอดีน ดังนั้น คุณแม่ไม่ควรกินเฉพาะเนื้อปลา แต่ควรกินอาหารทะเลชนิดอื่น ๆ เช่น กุ้ง หรือ ใช้เกลือทะเล/เกลือที่เสริมธาตุไอโอดีนปรุงอาหาร ก็จะช่วยบำรุงสมอง และ ส่งเสริมความฉลาดของลูกในท้องได้ค่ะ ควรทานปลาให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
โฉมใหม่ S-26 GOLD PRO-C3 สูตรที่พัฒนากว่าสูตรเดิมไปอีกขั้น* ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน และบี แล็กทิส สิ่งดีๆ ที่คุณแม่เลือก
โฉมใหม่ S-26 GOLD PRO-C3 สูตรที่พัฒนากว่าสูตรเดิมไปอีกขั้น* ผสมแอลฟา สฟิงโกไมอีลิน และบี แล็กทิส สิ่งดีๆ ที่คุณแม่เลือก

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาหารที่แม่ให้นมควรกิน กินแล้วดีต่อลูก แม่ลูกอ่อนควรกินอย่างไรให้ถึงลูก

อาหารที่มีไอโอดีนสําหรับคนท้อง ความต้องการไอโอดีน หญิงตั้งครรภ์ ป้องกันลูกในท้องสมองพิการ

60 วันแรกในท้องแม่ ทารกในครรภ์มีรูปร่างอย่างไร พ่อแม่อยากเห็นไหม?

คนท้องทำงานเยอะ นอนดึก ทำงานตอนกลางคืน ลูกในท้องจะเป็นอะไรไหม

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

bossblink

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • คนท้องต้องรู้! อาการขาดแคลเซียมในคนท้องส่งผลอย่างไรต่อทารก
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
    บทความจากพันธมิตร

    นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
    บทความจากพันธมิตร

    นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว