X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็ก ๆ กินเค็ม ได้มากแค่ไหน กินเค็มอย่างไรให้พอดี ปลอดภัย ห่างไกลจากโรค

บทความ 5 นาที
เด็ก ๆ กินเค็ม ได้มากแค่ไหน กินเค็มอย่างไรให้พอดี ปลอดภัย ห่างไกลจากโรค

เด็ก ๆ กินเค็มเท่าไหร่จึงจะพอดี มาดูกัน (รูปโดย tirachardz จาก freepik.com)

อะไรที่มากไปย่อมไม่ดี เช่นเดียวกับการรับประทานอาหารที่รสจัด ไม่ว่าจะเผ็ด หวาน หรือเค็มไป ก็ย่อมไม่ดีต่อสุขภาพทั้งนั้น ซึ่งเด็ก ๆ หลายคน ก็คงชอบรับประทานอาหารรสเค็ม กินเค็ม และติดเค็มกัน หากคุณแม่ให้เด็กรับประทานอาหารที่รสเค็มเกินไป อาจทำให้เด็กมีปัญหาสุขภาพตามมาได้ วันนี้ เราจะมาดูกันดีกว่า ว่าคุณแม่จะจำกัดปริมาณเกลือที่เด็กควรได้รับในแต่ละวันได้อย่างไรบ้าง ควรให้เด็ก ๆ กินเค็มขนาดไหนจึงจะพอดี และห่างไกลจากโรค

 

เด็ก ๆ กินเค็มได้มากเท่าไหร่

ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาแนะนำว่า เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับโซเดียมเพียง 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน และเด็กอายุ 4-8 ปีนั้น ควรได้รับโซเดียมวันละ 1,900 มิลลิกรัม ส่วนเด็กอายุ 14 ปีขึ้นไป สามารถรับประทานโซเดียมได้ไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน จึงจะพอดี ซึ่งวิธีตวงหรือคิดปริมาณโซเดียมก็มีง่าย ๆ ดูได้ดังนี้

 

  • โซเดียม 1/4 ช้อนชา คิดเป็น 575 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 1/ 2 ช้อนชา คิดเป็น 1,150 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 3/4 ช้อนชา คิดเป็น 1,725 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 1 ช้อนชา คิดเป็น 2,300 มิลลิกรัม

 

อย่างไรก็ตาม หากเด็กคนไหนเป็นโรคความดันสูง เบาหวาน และโรคปอดเรื้อรังอยู่แล้ว ก็ไม่ควรรับประทานโซเดียมเกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะอาจทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นได้

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้อง ครรภ์เป็นพิษ ผ่าคลอดด่วน! หมอบอกต้องเลี่ยงอาหารรสเค็ม รสจัด

 

เด็กกินเค็มแค่ไหนจึงจะดี 2

เด็กกินเค็มแค่ไหนจึงจะดี ให้ห่างไกลจากโรคภัย (ภาพโดย tirachardz จาก freepik.com)

 

กินเค็ม ไม่ดียังไง

การรับประทานอาหารที่เค็มหรือมีโซเดียมเยอะเกินไป อาจทำให้เด็กมีความดันในเลือดสูง เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ รวมทั้งเด็กยังอาจเป็นโรคกระดูกพรุนได้เมื่อโตขึ้น เนื่องจากแคลเซียมในร่างกายจะถูกขับออกมากับปัสสาวะหากเด็กกินเค็มมากเกินไป โดยเด็กผู้หญิงนั้น จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้มากกว่าเด็กผู้ชาย และนอกจากนี้ หากเด็กเป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์อยู่แล้ว การรับประทานอาหารที่เค็มจัด ก็จะยิ่งเป็นอันตรายต่อเด็ก ๆ มากขึ้นไปอีก ซึ่งก็มีผลสำรวจจากต่างประเทศก็ชี้ว่า เด็ก ๆ มีแนวโน้มจะรับประทานเค็มมากที่สุดในช่วงเย็น โดยคิดเป็น 39 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับในหนึ่งวัน ดังนั้น หากคุณแม่ไม่อยากให้เด็ก ๆ กินเค็มมากเกินไป แนะนำให้ทำอาหารให้เด็กทานจะดีที่สุด เพราะเราสามารถควบคุมปริมาณเกลือในอาหารได้

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : กุมารแพทย์เตือน 10 พฤติกรรมที่พ่อแม่เผลอให้ ลูกเสียนิสัย โดยไม่รู้ตัว

 

เด็กติดเค็มดูยังไง อาหารอะไรที่ควรเลี่ยง

อาจจะมีบางที ที่คุณแม่ไม่ทันสังเกต หรืออาจจะไม่รู้ว่าเด็กติดเค็มมากแค่ไหน ซึ่งหากน้อง ๆ กระหายน้ำ ต้องการดื่มน้ำตลอดเวลา ขณะที่รับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งอยู่ รวมทั้งติดขนมขบเคี้ยว ขนมมันฝรั่งทอดกรอบ มีน้ำหนักตัวเพิ่มทั้งที่ไม่ได้กินของหวานหรืออาหารที่มีไขมันสูง หรือมีฉี่สีเหลืองเข้มและกลิ่นแรง คุณแม่อาจจะต้องให้เด็กหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านั้น เพราะอาการข้างต้น เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกรับประทานเค็มมากเกินไป

 

ส่วนอาหารที่เด็ก ๆ ชอบกินกันแต่มีโซเดียมเยอะ ก็มีทั้งพิซซ่า ขนมปังโรล เนื้อหมักเค็ม ขนมมันฝรั่งทอด แซนด์วิช ชีส นักเก็ต สปาเก็ตตี้ผัดซอส เบอร์ริโต ทาโก้ และซุป ซึ่งหากเด็ก ๆ ชอบกินอาหารเหล่านี้ แถมยังมีอาการที่กล่าวไว้ข้างต้น คุณแม่ควรให้น้อง ๆ งดรับประทานอาหารดังกล่าวไปก่อนนะคะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารที่มีโซเดียมสูง แม่ท้องอย่ากิน ต้องระวังให้มากกินแล้วไม่ดี

 

เด็กกินเค็มแค่ไหนจึงจะดี 3

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้น้อง ๆ กินเค็มจนเกินไป เพราะอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ (ภาพโดย jcomp จาก freepik.com)

 

ข้อแนะนำในการรับประทานอาหารเค็ม

ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะต้องห้ามไม่ให้เด็กรับประทานโซเดียม เพราะโซเดียมถือเป็นสารอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายเด็กหากรับประทานแต่พอดี โซเดียมนั้น มีส่วนช่วยให้ระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อของเด็กทำงานได้ดียิ่งขึ้น แถมยังช่วยรักษาสมดุลของเหลวภายในร่างกายเด็กได้อีกด้วย แต่คุณแม่ก็ควรดูแลเด็ก ๆ ไม่ให้เขารับประทานโซเดียมเยอะเกินไป เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เช่น

 

  • ให้เด็กงดรับประทานขนมขบเคี้ยว และให้เขาทานผักหรือผลไม้แทน แต่หากเด็กงอแง และยังอยากกินขนมอยู่ ก็ควรให้กินเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำจากร้าน เพราะอาหารจากร้านอาหารส่วนใหญ่ มีโซเดียมเยอะ โดยคิดเป็น 81 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณโซเดียมที่ควรทานใน 1 วัน
  • หากคุณแม่ชอบทำอาหารโดยใช้ถั่วหรือผักกระป๋อง ให้เทน้ำในกระป๋องออกก่อนที่จะผสมผักหรือถั่วลงไปในอาหาร
  • คุณแม่สามารถทำอาหารกลางวันไปให้น้อง ๆ รับประทานที่โรงเรียนได้ เพราะอาหารที่โรงอาหารของเด็ก ๆ อาจมีโซเดียมอยู่เยอะ
  • เมื่อทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน ควรใส่เกลือลงไปให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือจะใส่ผัก สมุนไพร หรือเครื่องเทศต่าง ๆ ลงไปแทนเกลือก็ได้
  • สอนให้เด็กกินผักและผลไม้ตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อที่เขาจะได้คุ้นชิน ไม่ติดอาหาร หรือขนมที่มีรสเค็มจัด
  • หากต้องการเลือกซื้อเครื่องปรุง ให้สังเกตที่ฉลากสินค้า เพื่อเปรียบเทียบสินค้าก่อนเสมอ และควรเลือกซื้อสินค้าที่มีโซเดียมน้อย

 

แม้ว่าการรับประทานอาหารที่เค็ม หรือมีโซเดียมมากไป จะก่อให้เกิดโทษ แต่หากรับประทานแต่พอเหมาะพอดี ก็เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้เช่นกัน หากคุณแม่รู้สึกกังวลใจมาก ไม่รู้ว่าควรทำยังไงให้เด็กกินเค็มน้อยลง แนะนำให้เข้ารับการปรึกษากับคุณหมอ เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมก่อนได้ค่ะ

บทความจากพันธมิตร
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
แจกเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณลูกไม่ปวดตา
แจกเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณลูกไม่ปวดตา
ผื่น แดง คัน ที่หน้าลูก ปัญหาผิวลูกที่ป้องกันได้ คุณแม่ต้องรู้สาเหตุและวิธีดูแลผื่น แดง คัน ที่ถูกต้อง
ผื่น แดง คัน ที่หน้าลูก ปัญหาผิวลูกที่ป้องกันได้ คุณแม่ต้องรู้สาเหตุและวิธีดูแลผื่น แดง คัน ที่ถูกต้อง
ระบบประสาท ของคนเป็นอย่างไร ช่วยทำอะไรได้บ้าง และมีโรคอะไรที่ต้องระวัง
ระบบประสาท ของคนเป็นอย่างไร ช่วยทำอะไรได้บ้าง และมีโรคอะไรที่ต้องระวัง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :
เด็กกินเผ็ดได้ไหม? ควรทำอย่างไรเมื่อลูกกินเผ็ด? สิ่งที่คุณแม่ควรรู้
อาหารที่เด็กกินแล้วเสี่ยงฟันผุ ! คุณแม่ควรพึงระวัง เพื่อไม่ให้เด็กสูญเสียฟัน !
อาหารที่ควรเลี่ยง กับเด็กที่เป็นเบาหวานประเภท 1 และ 2

ที่มา : 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • เด็ก ๆ กินเค็ม ได้มากแค่ไหน กินเค็มอย่างไรให้พอดี ปลอดภัย ห่างไกลจากโรค
แชร์ :
  • ดิน ทำไมเด็กหลาย ๆ คนชอบกิน เด็กกินดินถือว่าผิดปกติหรือเปล่า

    ดิน ทำไมเด็กหลาย ๆ คนชอบกิน เด็กกินดินถือว่าผิดปกติหรือเปล่า

  • เด็กทารก คาย พ่นอาหาร จะจัดการยังไงดี คุณแม่ควรรับมือยังไง

    เด็กทารก คาย พ่นอาหาร จะจัดการยังไงดี คุณแม่ควรรับมือยังไง

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ดิน ทำไมเด็กหลาย ๆ คนชอบกิน เด็กกินดินถือว่าผิดปกติหรือเปล่า

    ดิน ทำไมเด็กหลาย ๆ คนชอบกิน เด็กกินดินถือว่าผิดปกติหรือเปล่า

  • เด็กทารก คาย พ่นอาหาร จะจัดการยังไงดี คุณแม่ควรรับมือยังไง

    เด็กทารก คาย พ่นอาหาร จะจัดการยังไงดี คุณแม่ควรรับมือยังไง

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ