X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกแรกเกิดควรได้รับนมแม่ปริมาณเท่าไหร่?

บทความ 8 นาที
ทารกแรกเกิดควรได้รับนมแม่ปริมาณเท่าไหร่?

คุณแม่มือใหม่มักมีคำถามว่าทารกแรกเกิดควรกินนมแม่เท่าไหร่ กี่ครั้ง แล้วครั้งละประมาณไหน เรามีคำตอบเป็น Infographic จากมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยค่ะ

ทารกแรกเกิดกินนมแม่มากเท่าใด

ตารางความถี่ให้นมลูก ตั้งแต่แรกเกิด – 12 เดือน

ตารางความถี่ให้นมลูก สำหรับลูกน้อยที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด – 12 เดือน พร้อมวิธีการเริ่มอาหารเสริมของเด็กที่คุรแม่สามารถใช้เป็นแนวทางในการเลี้ยงลูกได้ และเทคนิคการปั๊มนมให้ลูก ปั๊มยังไงให้มีนมเพียงพอให้ลูกจนครบ 6 เดือน โดยที่น้ำนมไม่ลดลง มาดูกันเลย

ตารางให้นมลูก แรกเกิด – 12 เดือน

เด็กอายุภายใน 1 เดือน

  • สูตรคำนวณ: (น้ำหนัก x 150 ซีซี)/30 = ปริมาณออนซ์ของนมที่ต้องการใน 1 วัน *หมายเหตุ 1 ออนซ์ = 30 ซีซี
    • เช่น น้ำหนักลูก 3 กก.: (3 x 150)/30 = 15 ออนซ์ต่อวัน
  • ตารางการให้นม: ควรแบ่งเป็น 6 มื้อ
    • เช่น คำนวณออกมาแล้วได้ 15 ออนซ์ต่อวัน: 15/6 = 2.5 ออนซ์หรือ 75 ซีซีต่อมื้อ
  • วิธีการให้นมลูกอย่างเหมาะสม:
    • ควรปล่อยให้ลูกเข้าเต้า ดูดนมได้นานตามที่เขาต้องการค่ะ เมื่อเกลี้ยงเต้าแล้วจึงเปลี่ยนข้างได้
    • ในสัปดาห์แรก: ลูกอาจจะฉี่หรืออึ ประมาณ 10-12 ครั้ง
    • ในสัปดาห์ที่ 2-6 : ควรให้ลูกกินนมจากเต้า ประมาณ 20-30 นาที ขึ้นอยู่กับน้ำนมของคุณแม่ และการดูดของลูก
  • ทริคตารางเวลาการให้นม:
    • ป้อน 6 ครั้ง: เวลา 6.00 / 10.00 / 14.00 / 18.00 / 22.00 / 02.00 น.
    • ป้อน 7 ครั้ง: เวลา 6.00 / 7.00 / 12.00 / 15.00 / 18.00 / 21.00 / 24.00 น.

เด็กอายุ 1-4 เดือน

  • สูตรคำนวณ: (น้ำหนัก x 120 ซีซี)/30 = ปริมาณออนซ์ของนมที่ต้องการใน 1 วัน *หมายเหตุ 1 ออนซ์ = 30 ซีซี
    • เช่น น้ำหนักลูก 3.6 กก. แต่ขอปัดเป็น 4 กก. : (4 x 120)/30 = 16 ออนซ์หรือ 480 ซีซีต่อวัน สามารถให้ลูกกินได้มากถึง 24 ออนซ์หรือ 720 ซีซีต่อวัน ไม่ควรกินเกินกว่านี้
  • วิธีการให้นมลูกอย่างเหมาะสม:
    • ก่อนกินพุงแฟบ หลังกินพุงป่อง
    • อึ 2-3 ครั้ง/วัน
    • ฉี่ 6-9 ครั้ง/วัน
    • หากสังเกตุเห็นว่าก่อนกินพุงลูกป่องอยู่แล้ว หลังกินพุงก็ป่องมากยิ่งขึ้น มีการอึฉี่มากขึ้น แสดวงว่าให้ลูกกินมากเกินไป
  • ทริคตารางเวลาการให้นม:
    • ป้อน 6 ครั้ง: เวลา 06.00 / 10.00 / 14.00 / 18.00 / 22.00 / 02.00 น.

เด็กอายุ 5-6 เดือน

  • วิธีการให้นมลูกอย่างเหมาะสม:
    • โดยเฉลี่ยแล้วสามารถให้ลูกกินได้มากถึง 24 ออนซ์หรือ 720 ซีซีต่อวัน บวกลบ 4 ออนซ์หรือ 120 ซีซี
  • เด็กในวัยนี้จะห่วงกิน ทำให้กินได้น้อยลง
  • ทริคตารางเวลาการให้นม:
    • ป้อน 5 ครั้ง: เวลา 5.00 / 10.00 / 14.00 / 19.00 / 24.00 น.

เด็กอายุ 6-12 เดือน

  • สูตรคำนวณ: (น้ำหนัก x 110 ซีซี)/30 = ปริมาณออนซ์ของนมที่ต้องการใน 1 วัน *หมายเหตุ 1 ออนซ์ = 30 ซีซี
    • เช่น น้ำหนักลูก 6.5 กก. : (6.5 x 110)/30 = 24 ออนซ์หรือ 720 ซีซีต่อวัน
  • วิธีให้อาหารเสริมลูกอย่างเหมาะสม:
    • สำหรับเด็ก 6 เดือน: ข้าว 1 มื้อ มื้อละ 5-8 ช้อนโตะ
    • สำหรับเด็ก 9 เดือน: ข้าว 2 มื้อ
    • สำหรับเด็ก 12 เดือน: ข้าว 3 มื้อ
  • ทริคตารางเวลาการให้นม:
    • ป้อน 4 ครั้ง: เวลา 7 – 8.00 / 11.30 – 12.00 / 15.30 – 16.00 / 20.00 น.
  • ตัวอย่างตารางป้อนนม และอาหารเสริมเด็กของป้าแนท

    • เด็กเเรกเกิด: ให้นม 60 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 6-7 ครั้ง/วัน
    • อายุ 3 เดือน: ให้นม 90 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 6 ครั้ง/วัน
    • อายุ 4 เดือน: ให้นม 120 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 6 ครั้ง/วัน
      • อายุ 3.5 – 4 เดือน ให้ลองป้อนผลไม้วันละครั้ง เช่น กล้วย เเอปเปิ้ล ส้ม โดยเเบ่งเป็นสัดส่วนตามอายุ ดังนี้: 1/4, 1/2, 3/4, 1 เช่น อายุ 3.5 เดือน ลองเริ่มให้ชิมกล้วยก่อนประมาณ 1/4 ใบ เเล้วจดบันทึกว่าน้องพอใจชอบหรือไม่ เเละเเพ้หรือเปล่า
    • อายุ 4.5 เดือน: ให้นม 135 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 6 ครั้ง/วัน
    • อายุ 5 เดือน: ให้นม 150 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 5 ครั้ง/วัน
      • ช่วงอายุนี้ให้ลองผสมข้าวโอ๊ต หรือซีเรียล (Nestum) ลงในนม
      • สามารถเริ่มให้น้องลองมันฝรั่งบด + ผักชนิดต่างๆ เเล้วจดบันทึกว่าน้องพอใจชอบหรือไม่ เเละเเพ้หรือเปล่า เช่น
        • มันฝรั่งบด +เเครอท + นำ้ซุป
        • มันฝรั่งบด + ดอกกะหล่ำ + น้ำซุป
        • มันฝรั่งบด + เเตงกวาญี่ปุ่น + น้ำซุป
        • *ห้ามเด็ดขาด กระหลำ่ปลี หัวหอม พริกหวาน เพราะอาจติดคอได้
    • อายุ 5.5 เดือน: ให้นม 165 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 5 ครั้ง/วัน
    • อายุ 6 เดือน: ให้นม 180 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 4 ครั้ง/วัน
    • อายุ 6.5 เดือน: ให้นม 195 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 4 ครั้ง/วัน
    • อายุ 7 เดือน: ให้นม 210 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม  4 ครั้ง/วัน
    • อายุ 7.5 เดือน: ให้นม 225 ml. ต่อครั้ง ป้อนนม 4 ครั้ง/วัน
    • อายุ 8 เดือน: ให้นม 240 ml.ต่อครั้ง ป้อนนม 4 ครั้ง/วัน
      • อายุ 7 – 8 เดือนให้ลองป้อนไข่เเดงสุก (ไม่เอาไข่ขาว) 1 ฟอง/ อาทิตย์

    จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกหิวแล้ว

    ลูกน้อยเวลาหิว มักจะมีสัญญาณแสดงให้คุณแม่ได้เห็น ดังนี้นะคะ

    • ดูด เวลาที่คุณแม่แตะแก้มลูกเบาๆ ลูกจะรีบหันมาดูดทันที แปลว่าเขาหิวแล้ว
    • อ้าปากพะงาบๆ หาเต้านมของคุณแม่
    • สะกิดหรือทุบคุณแม่ที่เต้านมหรือแขน
    • จับเสื้อผ้าของคุณแม่ไม่ยอมปล่อย
    • ดูด หรือเลียบริเวณปากของตัวเอง
    • ดูดแขน นิ้วเท้า หรือเสื้อผ้าของตัวเอง
    • และถ้าหิวสุดๆ ลูกจะร้องไห้งอแงค่ะ

วิธีสังเกตว่าลูกกินนมอิ่มแล้ว

ง่ายๆ เลยค่ะ เวลาที่ลูกกินอิ่มแล้วเขาจะดูดช้าลง หรือความแรงลดลง บางครั้งก็อาจจะหลับคาเต้านมของคุณแม่ไปเลย สำหรับวิธีการให้ลูกออกเต้าก็แค่ดึงเต้าออกจากปากลูก แล้วก็สอดมือเข้าไปกดที่เต้านมตัวเองแล้วค่อยๆ ถอนออกมาค่ะ

ปั๊มนมให้ลูกแค่ไหนกำลังดี

คุณแม่ควรปั๊มนมให้ได้วันละ 30-35 ออนซ์ และไม่ควรใช้นมสต๊อกไม่เกินชั่วโมงละออนซ์ เพื่อให้ลูกเก็บท้องไว้รอเต้า เช่น ถ้าคุณแม่ไม่อยู่ 10 ชม. ลูกควรกินนมสต๊อก 5-10 ออนซ์ ถ้าลูกกินนมสต๊อกมากกว่านี้ จะทำให้เวลาที่แม่กลับมาแล้วลูกไม่อยากดูดเต้าค่ะ แต่ถ้าลูกกินนมสต๊อกน้อยกว่านี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี

สำหรับคุณแม่ที่ต้องปั๊มนมให้ลูก แนะนำให้ปั๊มนมห่างกันทุก 3 ชม. ทั้งกลางวันและกลางคืน ช่วงกลางวันอาจยืดเป็น 4 ชม.ได้ค่ะ เพราะหากปล่อยห่างมากไปจะทำให้น้ำนมของคุณแม่ลดน้อยลงนั่นเอง

ที่มา: มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ทารกแรกเกิดควรได้รับนมแม่ปริมาณเท่าไหร่?
แชร์ :
  • มีลูกใช้เงินเท่าไหร่ เลี้ยงลูก 1 คน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

    มีลูกใช้เงินเท่าไหร่ เลี้ยงลูก 1 คน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

  • ควรท้องตอนอายุเท่าไหร่ อายุที่เหมาะสมกับการตั้งครรภ์ มีลูกตอนอายุเท่าไหร่ดี ให้ลูกแข็งแรง

    ควรท้องตอนอายุเท่าไหร่ อายุที่เหมาะสมกับการตั้งครรภ์ มีลูกตอนอายุเท่าไหร่ดี ให้ลูกแข็งแรง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • มีลูกใช้เงินเท่าไหร่ เลี้ยงลูก 1 คน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

    มีลูกใช้เงินเท่าไหร่ เลี้ยงลูก 1 คน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

  • ควรท้องตอนอายุเท่าไหร่ อายุที่เหมาะสมกับการตั้งครรภ์ มีลูกตอนอายุเท่าไหร่ดี ให้ลูกแข็งแรง

    ควรท้องตอนอายุเท่าไหร่ อายุที่เหมาะสมกับการตั้งครรภ์ มีลูกตอนอายุเท่าไหร่ดี ให้ลูกแข็งแรง

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ