โฟเลต คืออะไร เหมือนกับโฟลิกไหม ถ้าไม่กินโฟเลตจะเป็นอะไรหรือเปล่า อันตรายจากการขาดโฟเลตที่คนท้องควรรู้ และมาดูกลุ่มอาหารที่มีโฟเลตสูงกันเถอะ
โฟเลต คืออะไร
โฟเลต คือ จัดว่าเป็นกลุ่มวิตามินบีที่ละลายน้ำได้ สลายได้ง่ายเมื่อโดนแสง ความร้อน และอากาศ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์เป็นอบ่างมาก เนื่องจากในโฟเลตจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคโลหิตจาง โรคหลอดประสาทปลายเปิด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง และโรคสมองเสื่อมค่ะ ซึ่งทาง U.S. Public Health Service ได้แนะนำให้ผู้หญิงที่ต้องการมีลูกกินกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัม ทุกวันอย่างน้อย 1 เดือนก่อนจะตั้งครรภ์ ไปจนถึงอายุครรภ์ครบ 12 สัปดาห์
โฟเลท กับโฟลิกต่างกันอย่างไร
โฟเลตจะมีอยู่ในอาหาร ส่วนโฟลิกเป็นรูปแบบการสังเคราะห์ของโฟเลต ซึ่งมีความสำคัญในการสังเคราะห์ DNA RNA โปรตีน และการแบ่งตัวของเซลล์ โดยที่ทั้งโฟเลตและโฟลิก มีความสำคัญในการสร้างหลอดประสาทที่จะเกิดขึ้นภายใน 28 วัน หลังปฎิสนธิค่ะ
โฟเลตดีต่อคนท้องอย่างไร
ประโยชน์ของการให้โฟเลตช่วงระหว่างตั้งครรภ์นั้น จะทำให้คุณแม่สามารถลดความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดได้ในช่วง 20-32 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ค่ะ ที่สำคัญในช่วงที่ตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่กำลังสร้างตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ ทำให้ยิ่งต้องการโฟเลตเพิ่มมากขึ้นหลายเท่า เพื่อนำไปใช้สำหรับการแบ่งตัวของเซลล์ รวมทั้งการเจริญเติบโตของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ รก และเนื้อเยื่อของคุณแม่นั่นเองค่ะ หากคุณแม่ไม่ได้รับโฟเลตเพียงพอก็จะทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดได้ และปัญหาอื่นๆ ตามมา
ไม่เพียงแค่ช่วงท้องเท่านั้น โฟเลตยังจำเป็นสำหรับคุณแม่ในช่วงให้นมลูกอีกด้วย รวมถึงยาบางชนิดอาจทำให้คุณแม่ต้องการโฟเลตมากขึ้น เช่น ยากันชัก และยาเบาหวาน หากคนท้องได้รับโฟเลตไม่พอจะทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้
โฟเลต โฟ เลท คืออะไร
ลูกในท้องขาดโฟเลตจะเกิดอะไรขึ้น
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
- เกิดหลอดประสาทไม่เปิด
- น้ำหนักแรกเกิดน้อย
- ทารกคลอดก่อนกำหนด
- การสร้างใบหน้าและปากของตัวอ่อน เกิดเป็นปากแหว่งเพดานโหว่
- กล้ามเนื้อและกระดูกคางมีขนาดเล็กลง
- เสี่ยงต่อการเป็นกลุ่มอาการดาวน์
- แขนขาพิการแต่กำเนิด
อาหารที่มีโฟเลตมากมีอะไรบ้าง
โฟเลตพบมากในอาหารจำพวกพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ พบมากในพืชใบเขียว ธัญพืช พืชตระกูลถั่ว ตับ ไต และยีสต์ แต่อย่างไรอาหารพวกนี้อาจไม่เพียงพอคุณแม่ต้องทานอาหารให้มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยอาหารที่โฟเลตมาก มีดังต่อไปนี้
1.กลุ่มผัก
|
อาหาร |
ปริมาณโฟเลต (ไมโครกรัม/100 กรัม) |
ผักโขมจีน |
160.10 |
โหระพา |
106.30 |
กุยช่าย |
97.30 |
แขนงกะหล่ำ |
97.00 |
ผักกาดหงส์ |
93.80 |
ยี่หร่า |
92.30 |
ผักคะน้า |
80.10 |
แมงลัก |
75.10 |
สะระเหน่ |
74.70 |
2.กลุ่มผลไม้
|
อาหาร |
ปริมาณโฟเลต (ไมโครกรัม/100 กรัม) |
ทุเรียนหมอนทอง |
155.75 |
สตรอเบอรี่ |
98.69 |
มะม่วงเขียวเสวยสุก |
67.47 |
ฝรั่งกิมจู |
38.89 |
กล้วยน้ำว้า |
37.16 |
กล้วยไข่ |
35.41 |
มะละกอฮอล์แลนด์สุก |
32.25 |
ส้มจีน |
19.80 |
แคนตาลูป |
18.08 |
บทความที่เกี่ยวข้อง : รวมเมนูอาหารเช้าผลไม้รวมพลัง 6 คอมโบ เติมพลังให้เช้าของคุณเป็นเช้าที่สดใส
3.กลุ่มข้าว
|
อาหาร |
ปริมาณโฟเลต (ไมโครกรัม/100 กรัม) |
ข้าวไรซ์เบอรี่ |
25.05 |
ข้าวลืมผัว |
17.80 |
ข้าวมันปู |
13.69 |
ข้าวหอมนิล |
13.38 |
อาหารที่มีโฟเลต โฟเลท สูง
4.กลุ่มถั่ว
|
อาหาร |
ปริมาณโฟเลต (ไมโครกรัม/100 กรัม) |
ถั่วดำ |
230.11 |
ถั่วเขียว |
186.40 |
ถั่วเหลือง |
168.89 |
ถั่วแดงหลวง |
144.2 |
ถั่วลิสง |
126.66 |
บทความที่เกี่ยวข้อง : กินเนยถั่วสามารถช่วยลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่? เนยถั่วมีประโยชน์ต่อสุขภาพ
5.กลุ่มเนื้อสัตว์
|
อาหาร |
ปริมาณโฟเลต (ไมโครกรัม/100 กรัม) |
เนื้อปลาดุก |
96.5 |
เนื้อไก่ตะโพก |
71.86 |
เนื้อวัวสะโพก |
63.8 |
เนื้อไก่อก |
60.9 |
เนื้อวัวสันใน |
50.09 |
เนื้อหมูสันใน |
36.40 |
ที่มา: กระทรวงสาธารณสุข
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
กินกรดโฟลิกตอนท้อง แล้วลูกจะคลอดออกมาฉลาดจริงหรือ?
แม่ท้องขาดกรดโฟลิก ทำให้ลูกเสี่ยงพิการและพัฒนาการล่าช้า
แม่เล่า ลูกเป็นโรคความบกพร่องของกระดูกสันหลัง เพราะขาดโฟลิก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!