โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก เป็นภาวะที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ส่งผลให้เกิดอาการปวดหู น้ำหนวกไหลจากหู และสูญเสียการได้ยินชั่วคราว เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ เนื่องจากท่อหูไต (Eustachian tube) ของเด็กมีขนาดเล็กและอยู่ใกล้กับโพรงจมูก ทำให้เชื้อโรคจากจมูกสามารถเข้าไปสู่หูชั้นกลางได้ง่าย วันนี้ทาง theAsianparent จะพาแม่ ๆ มารู้จักกับโรคนี้ พร้อมวิธีการรักษาและการป้องกันไปพร้อม ๆ กันค่ะ
ประสบการณ์ตรงจากคุณแม่! ลูกน้อยป่วยเป็น โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก
เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ผู้ใช้เฟซบุ๊ก นามว่า Ployphailin Machida ได้ออกมาโพสต์ถึงเคสอุทาหรณ์ที่ลูกชายของตน ป่วยเป็นไข้ เลือดออกทางหู สุดท้ายหมอได้วินิจฉัยว่าลูกน้อยป่วยเป็น โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก โดยระบุ ดังนี้
“โพสนี้เพื่อแชร์ประการณ์การเป็นไข้ของน้องเจแปน ชื่อโรค เยื่อแก้วหูชั้นกลางอักเสบ ฟังดูเหมือนไม่น่ากลัวแต่มี๊ยูบอกเลยคะหน้ากลัวมากและหนักสุดยิ่งกว่าโควิดหลายเท่าเลยคะแม่ๆ (เนื้อหาอาจจะยาวแต่อ่านให้จบนะคะจะได้ความรู้จากครั้งนี้เลยคะ)
เริ่มจากวันเสาร์ที่ผ่านมาน้องไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะในหมู่บ้าน ซึ่งมีคนน้อยมากคะประมาน 3-4 คนเท่านั้น ต้องบอกก่อนว่าปกติน้องเจแปนเป็นเด็กที่ใส่แมสตลอดเวลาที่ออกข้างนอก และนี้คือการพลาดของมี๊ยูครั้งแรกที่เห็นว่าไม่มีคนเท่าไร ไม่ต้องใส่ก็ได้ เราเลยไม่ได้ใส่ให้ลูก น้องเดินวิ่งเล่นประมาน 20 นาที เสร็จจากนั้นก็นั่งรถกลับบ้านในขณะที่นั่งรถกลับบ้านเราก็ทำความสะอาดมือด้วยการล้างมือน้องทุกครั้งเวลาขึ้นรถ (ทั้งวันน้องมีอาการร่าเริงปกติ จนวันนั้นมี๊ยูได้ไลฟ์สดขายของที่บ้านเสร็จประมาณ 4ทุ่ม น้องก็ยังมีอาการปกติร่าเริง แล้วก็เก็บของแล้วพาเข้านอน) น้องก็นอน ตื่นมา 4 ทุ่มครึ่ง ร้องไห้แบบหลับตา เอามือปัดหน้าปัดหูแล้วร้องไห้ตลอด พอเราจับตัวลูกก็รู้สึกว่าน้องตัวร้อน ๆ เลยให้เฮียเปิดไฟดู (พอเปิดไฟถึงกับตกใจเลยคะ เพราะมีเลือดไหลออกจากหูซ้ายขนาดเท่ากับเหรียญ25 สตางค์ ประมาน 10 จุดที่หมอนได้คะ ก็เลยรีบพาไปหาคุณแม่ตอนนั้นไปถึง รพ เอกชนแห่งนึงเวลาประมาน5ทุ่ม
คุณหมอได้ทำการตรวจที่ห้องฉุกเฉินเบื้องต้นยังวินิฉัยไม่ได้เพราะเป็นหมอทั่วไปเลยทำการนัดวันรุ่งขึ้น พร้อมกับให้ยาลดไข้ เป็นพารามาทาน น้องมีอาการไข้ขึ้น 39-40 องศา ทุก1ชั่วโมง เช็ดตัวทุก 20 นาที ไข้ก็จะกลับมาอีก คืนแรกลูกทรมานแบบสุดๆดีที่ไม่เคยชักแล้วไม่ชักมาก่อนจากการมีไข้สูงแต่อาการหน้าเป็นห่วงไข้ขึ้นสูง+ กับเลือดก็ไหลออกจากหูซ้ายตลอดเวลา คือทั้งน่ากลัวแล้วกังวนแบบพูดไม่ออกจุกอยู่ที่อก
ขอข้ามขั้นมาตอนการรักษาเลยนะคะ เนื่องจากน้องกินยาฆ่าเชื้อไปแล้ววันแรกแต่ผลตอบสนองไม่ดีคะ เลยต้องเปลี่ยนมาให้ยาเข้าเส้นแทนคะ+ให้ยาหยอดหู ให้ติดต่อกัน 3 วัน อาการของเลือดที่ออกก็ค่อย ๆ เเข็งตัวขึ้นไม่ไหลแบบในภาพคะ ส่วนเรื่องไข้ก็ทานยาทุก 4 ชั่วโมง โดยคุณหมอไม่ค่อยอยากให้ทานยาลดไข้สูง จึงให้พาราแทน+กับเช็ดตัวทุก ๆ 1 ชั่วโมงแทนคะ ปล.ไม่ได้ให้น้ำเกลือเพราะน้องยังทานอาหารได้คะ
ทั้งนี้คุณหมอได้บอกถึงสาเหตุว่าเชื้อโรคนี้มาจากทางอากาศไม่ว่าจะสูดดมเข้าร่างกาย หรือว่าลูกสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่สะอาดหรือมีเชื้อตัวนี้แล้วป้ายจมูกหรือตา มันก็จะเอาร่างกายเลยคะ อันตรายมาก ๆ คุณหมอบอกว่าอาการที่น้องเป็นคือแรงมากแต่จะรุนแรงกว่านี้ได้อีกถ้าไม่เคยได้รับวัคซีนตัวที่ป้องกันได้ ในใจเราคิดว่าถ้าแรงกว่าที่น้องเป็นอีกอีแม่คงหัวใจวายไปเลยคะ เพราะเป็นขนาดนี้ยังทำอะไรไม่ถูกเลย ฝากถึงแม่ ๆ ที่พาน้องไปทำกิจกรรมนอกบ้านตอนนี้เชื้อโรคเยอะมากอยากให้รักษาความสะอาดของน้องๆให้มาก ๆ กับใส่แมสตลอดที่ออกจากบ้านเลยนะคะ
ในรูปภาพคืออาการเมื่อวานล่าสุดคาดว่าถ้าเลือดหยุดไหลแล้วไข้ลดลงอีก2วันคุณหมอจะให้ออก รพ แล้วนัดกลับมาตรวจหูอีก 1 อาทิตย์หลังจากเลือดแห้งแล้วคะ
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ
ขอบคุณแม่ ๆ ทุกท่านที่เป็นห่วงแล้วส่งกำลังใจมาเยอะมากๆเลยนะคะฮีลใจมี๊ยูสุดๆเลยคะ มีกำลังใจขึ้นมาเลยคะ”
หลังจากนี้ที่โพสต์นี้ได้เผยแพร่ออกไป ก็ได้มีแม่ ๆ หลายคนเข้ามาให้กำลังใจกันมากมาย ซึ่งล่าสุด คุณแม่ยูกิก็ได้อัปเดตอาการของน้องเจแปน โดยระบุ ดังนี้
“ผมกลับมาแล้วค๊าบพร้อมซนและรับงานได้แล้วนะค๊าบ วันนี้ไปหาป้าหมอตรวจหู อาการปกติดีแล้วเลือดตอนนี้หยุดไหลสนิทแล้ว รอการฟื้นตัวของหู ขอบคุณแม่ๆทุกท่านที่เป็นห่วงและถามติดตามอาการน้องเจแปนตลอดเลยนะคะ สำหรับวันนี้ มี๊ยูกิถามวัคซีนที่ป้องกันมาให้แม่ๆที่อยากจะฉีดให้ลูก ๆ แล้วนะคะ โรคเยื่อหูชั้นกลางอักเสบ
ชื่อวัคซีน pneumococal vaccine เป็นวัคซีนทางเลือกนะคะ ใครมีอะไรสงสัยสามารถทัก ib มาถามได้นะคะมี๊ยูยินดีให้คำแนะนำได้คะจากประสบการณ์ในครั้งนี้”
Facebook: Ployphailin Machida
สาเหตุของ โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก
สาเหตุหลัก ๆ ของหูชั้นกลางอักเสบมักเกิดได้จากหลายอย่าง ซึ่งปัจจัยหลัก ๆ มีดังนี้
การติดเชื้อแบคทีเรีย
เชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อย เช่น นิวโมคอคคัสและเชื้อเอ็นทีเอชไอ มักอาศัยอยู่ในลำคอและโพรงจมูกของเด็ก เมื่อเด็กป่วยเป็นหวัดหรือไซนัสอักเสบ เชื้อเหล่านี้สามารถกระจายเข้าสู่หูชั้นกลางผ่านท่อยูสเตเชียน ท่อเล็กๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางกับด้านหลังของโพรงจมูก
การติดเชื้อไวรัส
ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ก็สามารถทำให้เกิดเยื่อแก้วหูชั้นกลางอักเสบได้เช่นกัน
นอกจากการติดเชื้อแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเยื่อแก้วหูชั้นกลางอักเสบ ได้แก่
การแพ้อากาศ
เด็กที่มีอาการแพ้อากาศ เช่น โรคภูมิแพ้หูหรือโรคภูมิแพ้จมูก มีความเสี่ยงต่อการเป็นเยื่อแก้วหูชั้นกลางอักเสบมากกว่าเด็กทั่วไป
การระคายเคืองจากสารเคมี
การสัมผัสกับสารเคมี เช่น ควันบุหรี่ ควันไอเสีย หรือมลพิษทางอากาศ อาจทำให้เยื่อบุหูชั้นกลางระคายเคืองและเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
การเปลี่ยนแปลงความดันอากาศ
การเปลี่ยนแปลงความดันอากาศอย่างรวดเร็ว เช่น การขึ้นเครื่องบิน การดำน้ำ หรือการขึ้นเขา อาจส่งผลต่อความดันในหูชั้นกลาง ทำให้เกิดอาการปวดหูและเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
บทความที่เกี่ยวข้อง: อันตรายมาก ลูกหูชั้นกลางอักเสบหากปล่อยไว้เสี่ยงหูหนวก
อาการของ โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก
โดยทั่วไปแล้วเมื่อ เด็กเล็กที่เป็นเยื่อแก้วหูชั้นกลางอักเสบ มักไม่สามารถบอกอาการด้วยคำพูดได้ ผู้ปกครองจึงควรสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ดังนี้
- ดึงหู ทุบหู: อาการปวดหูเป็นอาการที่พบบ่อยในเด็กเล็ก แต่เด็กไม่สามารถบอกได้
- ร้องกวนงอแงผิดปกติ: เด็กอาจร้องไห้ งอแงมากกว่าปกติ โดยไม่ทราบสาเหตุ
- ไข้สูง: เด็กอาจมีไข้สูง
- คลื่นไส้อาเจียน: เด็กบางรายอาจรู้สึกคลื่นไส้หรืออาเจียน
- หูอื้อ: เด็กอาจรู้สึกเหมือนได้ยินเสียงอื้อหรือเสียงก้องในหู
- มีหนองไหลออกจากหู: ในบางกรณี อาจมีหนองสีเหลืองหรือสีเขียวไหลออกจากหู
หากพบอาการเหล่านี้ ควรพาเด็กไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยสาเหตุของการติดเชื้อและสั่งยาที่เหมาะสม การรักษาโดยทั่วไปจะช่วยให้เด็กหายป่วยภายในไม่กี่สัปดาห์
หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เยื่อแก้วหูชั้นกลางอักเสบอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น แก้วหูทะลุ สูญเสียการได้ยินชั่วคราวหรือถาวร อัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้า เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และฝีในสมองได้ค่ะ
วิธีการรักษา
โดยทั่วไปแล้ว การติดเชื้อในหู (otitis media) มักจะหายเองได้โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุของเด็ก ความรุนแรงของอาการ และประวัติการป่วย
ซึ่งสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics) และ สมาคมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวของอเมริกา (American Academy of Family Physicians) แนะนำให้ใช้แนวทางการเฝ้าสังเกตอาการสำหรับเด็กอายุระหว่าง 6 ถึง 23 เดือนที่มีอาการปวดหูชั้นกลางแบบไม่รุนแรงในหูข้างเดียว โดยแนวทางนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีอาการดังต่อไปนี้:
- ปวดหูน้อยกว่า 48 ชั่วโมง
- ไข้ไม่เกิน 39 องศา
- ไม่มีอาการอื่นๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือหูน้ำหนวก
- เด็กอายุมากกว่า 24 เดือน ที่มีอาการปวดหูแบบไม่รุนแรงในหูข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
การใช้ยาปฏิชีวนะ
หากมีข้อมูลที่แสดงว่ายาปฏิชีวนะอาจช่วยรักษาการติดเชื้อในหูบางชนิดในเด็กได้ แพทย์จะพิจารณา ให้ใช้ยาปฏิชีวนะก็ต่อเมื่อ:
- เด็กมีอาการปวดหูรุนแรง
- เด็กมีไข้สูง
- เด็กมีอาการอื่นๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือหูน้ำหนวก
- เด็กมีอาการปวดหูนานกว่า 48 ชั่วโมง
- เด็กมีการติดเชื้อในหูซ้ำๆ
- เด็กมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวัง ในการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานานอาจส่งผลให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย ดังนั้น ผู้ปกครองควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของการใช้ยาปฏิชีวนะ
แนวทางการป้องกันและการรักษาอื่น ๆ
นอกจากยาปฏิชีวนะแล้ว แพทย์อาจแนะนำแนวทางการรักษาอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น:
- ฉีดวัคซีน การป้องกันโรคด้วยการฉีดวัคซีนเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน โรคหูชั้นกลางอักเสบจากทั้งสองเชื้อ คือ นิวโมคอคคัส และ เอ็นทีเอชไอ
- การใช้เครื่องทำความชื้นอากาศ
- หลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กโดยเฉพาะ เด็กที่ต่ำกว่า 2 ขวบไปสถานที่มีคนหนาแน่น เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาด เพราะอาจเสี่ยงต่อการรับเชื้อได้
- ล้างมือบ่อย ๆ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับควันบุหรี่
ทั้งนี้ แม้การติดเชื้อในหูของเด็กมักหายเองได้ แต่การปรึกษาแพทย์เป็นสิ่งสำคัญ แพทย์จะประเมินอาการและเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นการเฝ้าสังเกตอาการ ยาแก้ปวด ยาหยอดหู หรือยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ การป้องกัน เช่น การฉีดวัคซีน การล้างมือ และการหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ก็ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อในหูได้ค่ะ
ที่มา: nakornthon, medpark hospital
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
บรรเทาอาการปวดศีรษะ ปวดหูให้ลูก เด็กปวดหู ทำยังไงดี
ลูกไม่ได้เป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา จากโรคหวัดที่พ่อแม่คิดว่าจะหาย ลูกกลับเป็นโรคร้ายแรงกว่านั้น หูลูกติดเชื้อ
แม่ขอแชร์! Ear pit ภัยเงียบจากรูเล็กๆ ข้างหูลูก ลูกชอบเล่นน้ำยิ่งต้องระวัง!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!