ภัยร้ายใกล้ตัวที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนมองข้ามกับ อันตรายจากการป้อนขวดนมบนเตียง พฤติกรรมที่ดูเล็กน้อย เหมือนไม่มีพิษมีภัย แต่คุณรู้หรือไม่ว่าภัยอันตราย มีมากกว่าที่คุณคิด
อันตรายจากการป้อนขวดนมบนเตียง มีอะไรบ้าง?
แม้ว่าการป้อนขวดนมบนเตียง หรือการให้ลูกดูดนมจากขวด จะเป็นเรื่องที่สะดวกสบายสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เพราะไม่ต้องคอยกังวลเกี่ยวการร้องไห้งอแงเวลานอน และยังทำให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายขณะที่อยู่บนเปล หรือที่นอนของเขาเอง นับว่าเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับคุณพ่อคุณแม่ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว หากแต่วิธีนี้ อาจส่งผลให้เกิดอันตรายกับตัวเด็กได้ เพราะบางครั้งของเหลว หรือนมในขวดนั้นอาจจะทำให้ทารกเกิดการสำลักได้ โดยเฉพาะเด็กทารกยังไม่มีความสามารถในการควบคุมร่างกายได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นการที่น้ำนมทะลักเข้าสู่หลอดลม หรืออาจจะซึมผ่านไปถึงปอดก็อาจส่งผลให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ และอาจส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตได้
ในขณะที่ทารกนอนอยู่บนที่นอน และผล็อยหลับไป เป็นปกติที่เขาจะต้องบิดตัวไปมาในขณะที่นอนอยู่ ซึ่งขวดนมที่ถูกปล่อยออกจากปากนั้น อาจกลายเป็นอุปกรณ์ที่จะไปอุดบริเวณจมูก หรือกดทับบริเวณใบหน้าของทารก เป็นสาเหตุให้เด็กหายใจไม่ออก รวมถึงลักษณะการนอนที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาจทำให้เด็กดีความเสี่ยงที่จะเป็น โรค SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรือโรคใหลตาย ซึ่งสามารถทำให้ทารกเสียชีวิตเฉียบพลันในขณะที่นอนหลับได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : ใหลตายในเด็ก SIDS โรคใหลตายในทารก พรากชีวิตทารกจากอ้อมอกแม่ไปตลอดกาล
ฟันผุแม้จะฟังดูไม่น่ากลัว หรือน่าเป็นกังวลเหมือนสองข้อข้างต้น แต่ก็ส่งผลกระทบกับตัวของทารกน้อยมากพอสมควร เพราะนอกจากจะทำให้เด็กเสียบุคลิกจากฟันที่ผุกร่อนแล้ว ยังมีผลต่อพัฒนาการในการรับประทานอาหารที่มีความแข็งตามลำดับ เพราะฟันที่ผุ จะเป็นตัวกำหนดให้เด็กไม่สามารถกัด หรือเคี้ยว อาหารต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงน้ำนมบางส่วนจะเข้าไปเคลือบบริเวณเหงือก และฟัน ของทารก แม้ว่าฟันนั้นจะเป็นเพียงแค่ฟันน้ำนม แต่ปฏิกิริยาดังกล่าว ก็สามารถส่งผลถึงฟันแท้ที่จะผุดขึ้นในอนาคตอีกด้วย ซึ่งถือว่า เป็นผลกระทบต่อเนื่องระยะยาวที่ตัวคุณพ่อคุณแม่ ควรให้ความใส่ใจมากเป็นพิเศษ
-
ความเสี่ยงของการติดเชื้อที่หู
คุณรู้หรือไม่ว่า การป้อนขวดนมบนเตียงนั้น เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่หูของทารก เนื่องจากบางครั้ง ลูกน้อยของคุณอาจไม่ได้กลืนน้ำนมลงไปทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่า จะต้องมีปริมาณน้ำนมบางส่วนที่ยังคงตกค้างในช่องปาก และอาจไหลเข้าไปในหูของตัวเขาเองอย่างต่อเนื่อง เป็นสาเหตุให้เกิดแบคทีเรียเข้าไปในท่อยูสเตเชียน ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อที่หูได้
นั่นเป็นสาเหตุว่าทุกครั้งที่เด็กกินนมแล้ว เราควรจับเด็กให้เรอ เพื่อลดอาการอ้วกพุ่ง และแน่นท้อง ทำให้ไม่มีน้ำนมตกค้างอยู่ภายในช่องปาก ดังนั้นการที่ปล่อยให้เด็กหลับไปพร้อมกับนมที่คาอยู่กับปาก นับว่าเป็นความเสี่ยงที่ไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง
อีกหนึ่งเหตุผลที่ไม่ควรให้ทารกน้อยหลับไปพร้อมกับขวดนมคู่กายนั่นเป็นเพราะ เขาจะเกิดความเคยชิน จนกระทั่งไม่สามารถแยกออกจากขวดนมได้ ทำให้เมื่อคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้เขาเลิกดูดนมจากขวด จะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญเมื่อทารกถึงเวลานอน เพราะเขาเกิดความเคยชินที่จะมีขวดนมอยู่ในมือตลอดเวลาขณะที่หลับ ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงอย่างที่กล่าวเอาไว้ข้างต้น
แต่หากคุณพ่อคุณแม่เคยให้เขากินนมตนนอนอย่างต่อเนื่อง และถึงเวลาที่อยากจะยึดขวดนม เพราะเป็นห่วงในเรื่องของความอันตรายต่าง ๆ ก็จะเกิดการร้องไห้โวยวาย และไม่ยอมหลับยอมนอน ซึ่งในกรณีนี้ ต้องแนะนำคุณพ่อคุณแม่ว่า จำเป็นจะต้องมีความหนักแน่น ใจแข็งมากพอสมควร แม้ว่าจะทำให้คุณต้องปวดหัวในช่วง 2 – 3 วันแรก แต่เมื่อเด็กได้มีการเรียนรู้ว่าเขาจะต้องนอนโดยที่ไม่มีขวดนมอยู่เคียงข้าง ในที่สุด เขาจะสามารถนอนหลับโดยไม่ต้องพึ่งพาขวดนมได้ในที่สุด
บทความที่เกี่ยวข้อง : เตรียมพร้อมแต่เนิ่น ๆ วิธีเลิกขวด ฝึกยังไงให้ลูกเลิกขวดนมได้ภายใน 1 ปีครึ่ง
ดูแลลูกอย่างไรให้ปลอดภัยจากการกินนมจากขวด
- เช็ดปากให้แห้งทุกครั้งหลังให้อาหาร
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่ารูจุกนมมีขนาดที่เหมาะสม
- อย่าลืมเรอลูกน้อยของคุณทุกครั้งหลังให้อาหาร
- จำไว้ว่าขวดนมเองไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยของคุณ เป็นวิธีที่ถือขวดนม และวิธีที่น้ำนมไหลเข้าปากของเขาที่สร้างความเสี่ยงให้กับเขา และฝันร้ายสำหรับคุณ
ฝึกลูกดูดนมจากขวดอย่างถูกวิธี
ขวดนมเป็นอุปกรณ์เสริมที่ถูกออกแบบมาให้สามารถส่งผ่านน้ำนมได้คล้ายกับนมแม่ ซึ่งนอกจากความสะอาดที่จะต้องคำนึงถึงแล้ว ควรที่จะฝึกลูกน้อยให้ดูดนมจากขวดได้อย่างถูกวิธี เพื่อลดความอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการดูดนมของทารกได้ โดยคุณแม่ควรฝึกการป้อนนมลูกอย่างถูกวิธี ดังนี้
- คุณแม่ควรอุ้มลูกน้อยในท่านั่ง โดยให้ศีรษะสูงทำมุม 45 องศา พร้อมเอียงขวดนมเล็กน้อย เพื่อให้น้ำนมสามารถไหลผ่านได้สะดวก หากคุณแม่ป้อนขวดนมให้กับลูกได้อย่างถูกวิธี น้ำนมที่ไหลผ่านจากจุกนม จะไหลเข้าสู่คอ และทางเดินอาหารโดยตรง ทำให้ทารกไม่เกิดอาการสำลัก
- การดูดนมของลูก จะมีจังหวะของการดูด การกลืน และการหายใจที่สัมพันธ์กัน ดังนั้น การจับเด็กเคลื่อนไหวในขณะที่ดูดนม จึงเป็นการกระทำที่ส่งผลอันตรายอย่างมาก
- คุณแม่ควรเว้นช่วงของการให้นมเป็นระยะ เพื่อป้องกันการสำลักนม และควรมองลูกน้อยอยู่ตลอดเวลา ขณะที่ดูดนมจากขวด
- เด็กไม่จำเป็นจะต้องดูดนมให้หมดขวด เมื่อเขารู้สึกอิ่ม หรือเพียงพอแล้ว เขาจะใช้ลิ้นดุนจุกนม หรือผล็อยปากออกจากจุกนม ซึ่งคุณแม่ ไม่ควรจะบังคับให้เด็กดูดนมในขวดจนหมด
- เมื่อลูกน้อยดูดนมจากขวดเสร็จแล้ว ควรอุ้มเพื่อให้เด็กเรอออก และจับนอนตะแคง ไม่ควรจับให้นอนหงาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสำลักนม หรือแหวะนม
ดังนั้น สิ่งที่คุณแม่ทั้งหลาย ไม่ควร หรือห้ามทำโดยเด็ดขาด นั่นก็คือการให้ทารกกินนมจากขวดในขณะที่นอนราบ แม่ว่าจะใช้วัสดุใด ๆ ช่วยหนุนขวดนม ก็ไม่ควรทำเช่นกัน ไม่จัดตำแหน่งขวดนมให้ตั้งชันจนเกินไป การป้อนขวดนมให้กับทารกผิดท่า ก็ส่งผลให้เด็กเกิดอาการสำลักนมได้เช่นกัน ซึ่งอาการสำลัก น้ำนมอาจไหลเข้าด้านในของหู ผ่านทางท่อยูสเตเซียน หรือท่อที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลาง และโพรงหลังจมูก ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
วิธีให้ลูกเลิกดูดขวด วิธีเลิกขวดมื้อดึก ลูกติดขวดนมมาก พ่อแม่ควรทำอย่างไร
ฟันผุในเด็ก ฝันร้ายของเด็ก ๆ ที่ไม่อยากไปหาหมอฟันอีกเลย
ไขข้อข้องใจ ทำไม ลูกชอบดึงหู ผิดปกติไหม คุณพ่อคุณแม่เช็กด่วน !
ที่มา : parenting.firstcry
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!