X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไขข้อข้องใจ ทำไม ลูกชอบดึงหู ผิดปกติไหม คุณพ่อคุณแม่เช็กด่วน !

บทความ 5 นาที
ไขข้อข้องใจ ทำไม ลูกชอบดึงหู ผิดปกติไหม คุณพ่อคุณแม่เช็กด่วน !ไขข้อข้องใจ ทำไม ลูกชอบดึงหู ผิดปกติไหม คุณพ่อคุณแม่เช็กด่วน !

ดูเหมือนว่าลูกน้อยจะเติบโตและมีพัฒนาการใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย นั่นเพราะเด็ก ๆ กำลังเรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน รวมถึงมีบางสิ่งที่เด็ก ๆ ไม่เคยทำ เช่น ลูกชอบดึงหู หรือเกาหู ไม่ต้องกังวลไปค่ะ มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ลูกน้อยชอบดึงหู ที่จริงแล้ว หากลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่ดึงหูอย่างเดียว หากไม่มีอาการอย่างอื่นก็ไม่เป็นอันตราย แต่ถ้ามีอาการอย่างอื่นร่วมด้วยอาจจะมีบางอย่างผิดปกติ ลองมาดูสาเหตุกันค่ะ

 

สาเหตุที่ ลูกชอบดึงหู

ลูกชอบดึงหู เพราะลูกน้อยเพิ่งค้นพบว่าตัวเองมีหู

เด็ก ๆ อาจเพิ่งสังเกตว่าตัวเองมีหูอยู่ข้าง ๆ ศีรษะ คล้าย ๆ กับเวลาที่ลูกน้อยรู้ตัวว่าพวกเขาสามารถขยับมือและขยับนิ้วไปมาได้ หรือบางครั้งตบหน้าตัวเองโดยไม่ได้ตั้งใจ เนื่องจากหูของเด็ก ๆ เป็นสิ่งใหม่และมือของเด็ก ๆ เองก็แข็งแรงขึ้น ลูกน้อยของคุณอาจจะมีการสัมผัส ดึง หรือเล่นหูตัวเอง การกระทำนี้อาจกลายเป็นนิสัยชั่วคราว พวกเขาจะหยุดจับหูทันทีที่มีสิ่งอื่นมาดึงความสนใจ บางทีก็อาจจะเปลี่ยนไปสนใจนิ้วเท้าแทน เอ แบบนี้จะให้สนใจหูหรือเท้าดีเนี่ย

 

ลูกน้อยของคุณกำลังผ่อนคลายตัวเอง

พ่อแม่อาจเคยชินกับลูกน้อยที่ทำให้ตัวเองรู้สึกสงบโดยการดูดจุกนมหลอก ดูดมือ หรือดูดนิ้วตัวเอง ซึ่งทารกอาจปลอบประโลมตัวเองด้วยวิธีอื่นเช่นกัน ลูกน้อยของคุณอาจจะดึง ถู หรือจับหูเพราะรู้สึกดีและช่วยให้พวกเขาผ่อนคลาย หากลูกน้อยเล่นหูเพื่อปลอบประโลมตัวเอง คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นว่าเด็ก ๆ จับหู เล่นหูตัวเองก่อนนอนหรือระหว่างดูดนม เมื่อลูกน้อยโตขึ้น เด็ก ๆ จะเลิกเล่นหู และไปสนใจอย่างอื่นแทนค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ความแข็งแรงของศีรษะทารก จุดกระหม่อมบาง ที่พ่อแม่ต้องระวัง!

 

ลูกน้อยของคุณมีอาการคันผิวหนัง

เด็กทารกจะมีผิวแห้งได้จากหลายสาเหตุ เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ สาเหตุบางประการของผิวแห้งและคันนั้นไม่รุนแรงและหายไปเอง นอกจากนี้ผิวบอบบางรอบ ๆ หูและศีรษะของทารกก็แห้งได้เช่นกัน ลูกน้อยของคุณอาจมีผิวแห้งหรือรู้สึกคันเนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้

  • เครื่องทำความร้อน
  • อากาศแห้ง
  • เครื่องปรับอากาศ
  • การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
  • ซักผ้าหรืออาบน้ำมากเกินไป
  • สบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดบางอย่าง
  • น้ำยาซักผ้า
  • เสื้อผ้าบางประเภท
  • เหงื่อออกมากเกินไป

ให้พาลูกไปพบแพทย์หากลูกน้อยมีผื่นขึ้นอย่างรุนแรงหรือมีผิวแห้งมาก ผิวลอกเป็นขุย หรือมีผื่นชนิดใด ๆ ก็ตาม เพราะอาจจะเป็นกลากบริเวณนั้นได้ค่ะ กลากเป็นเรื่องปกติในทารก เพราะเกือบร้อยละ 65 ของทารกและเด็กที่เป็นโรคผิวหนัง หรือภูมิแพ้พบว่าเป็นกลาก และมักจะแสดงอาการของโรคผิวหนังก่อนอายุ 1 ขวบ

ลักษณะและอาการของกลากในทารก ได้แก่

  • ผิวแห้งเป็นขุย
  • สีแดง
  • ผิวบวม
  • ตุ่มเล็ก ๆ
  • ผิวหนังหนาหรือแข็งเป็นหย่อม ๆ
  • มีหนองบนผิวหนัง
  • ผิวแพ้ง่ายผิดปกติ
  • หงุดหงิดและร้องไห้บ่อยครั้ง
  • นอนหลับยาก

 

ลูกชอบดึงหู

 

เด็ก ๆ อาจจะติดเชื้อที่หู

ลูกน้อยอาจดึงหรือจับหูเพราะรู้สึกเจ็บจากการติดเชื้อที่หู การติดเชื้อที่หูพบได้บ่อยในทารกและเด็กเล็กอายุระหว่าง 3 เดือนถึง 3 ขวบ นอกจากนี้ให้สังเกตอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาการที่บ่งบอกถึงอาการปวดหู ได้แก่

  • ร้องไห้
  • หงุดหงิด
  • ไม่อยากอาหาร
  • นอนหลับยาก
  • มีไข้
  • อาเจียน
  • น้ำมูกไหล
  • อาการภูมิแพ้
  • อาการหวัดหรือไข้หวัดใหญ่อื่น ๆ หรือเพิ่งหายหวัดหรือไข้หวัดใหญ่

 

ฟันกำลังขึ้น

อาการปวดฟันอาจดูเหมือนว่าเด็ก ๆ ติดเชื้อในหูได้ เนื่องจากเส้นประสาทรอบฟันและปากไปจนถึงหู ข้อแตกต่างประการหนึ่งคือการติดเชื้อที่หูมักเกิดขึ้นระหว่างหรือทันทีหลังจากที่ลูกน้อยของคุณเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ และอาจมาพร้อมกับไข้

ลูกน้อยของคุณอาจดึงหูเพราะอารมณ์เสียจริง ๆ

หากลูกน้อยของคุณเป็นหวัดหรือผื่นผ้าอ้อม พวกเขาอาจจะดึงหูเพราะความหงุดหงิด จึงทำให้ลูกน้อยของคุณแสดงอาการเจ็บปวดอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น

  • ร้องไห้
  • ผื่นที่ผิวหนัง
  • น้ำลายไหลมากกว่าปกติ
  • เอามือหรือของเล่นเข้าปาก
  • สัมผัสปากของพวกเขา
  • อาการน้ำมูกไหล
  • มีไข้

 

วิธีแก้ไขปัญหา ลูกชอบดึงหู

การจัดการกับการดึงหูของเจ้าตัวเล็กขึ้นอยู่กับสาเหตุของการดึงหู ในบางกรณี อาจต้องเข้ารับการรักษาเพื่อช่วยบรรเทาอาการ

  • หากลูกน้อยของคุณจับหรือดึงหู เกาหูอย่างรุนแรงจนผิวหนังแดงถลอก มีเลือดออก ให้พยายามช่วยห้ามให้ลูกเกาหู โดยการสวมถุงมือหรือถุงเท้าคู่ใหม่ เพื่อหยุดนิ้วจอมซนที่พยายามจะเกาหูอย่างรุนแรง
  • หันเหความสนใจของลูกน้อยด้วยการใช้มือทำอย่างอื่น เช่น เล่นกับของเล่นที่มีสีสัน ของเล่นที่มีเสียง ของเล่นที่ทำจากยาง การได้สัมผัสของเล่นที่มีพื้นผิวแปลก ๆ เป็นสิ่งที่ดีต่อพัฒนาการของลูกน้อย และอาจช่วยให้พวกเขาลืมเรื่องหูไปได้บ้าง
  • บรรเทาอาการปวดฟันด้วยจุกหลอกแช่เย็น หรือสอบถามกุมารแพทย์ของลูก ให้คุณหมอแนะนำยาแก้ปวดสำหรับเด็กน้อยได้หรือไม่ และต้องแจ้งคุณหมอด้วยว่าลูกน้อยของคุณชอบดึงหูหลังจากเพิ่งเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ หรือมีอาการอื่น ๆ หรือไม่
  • การติดเชื้อที่หูของทารกอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส การปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาอาจส่งผลต่อการได้ยิน ลูกน้อยของคุณอาจต้องการยาปฏิชีวนะหรือการรักษาอื่น ๆ สำหรับการติดเชื้อที่หู
  • หากเป็นผื่นที่ผิวหนัง เช่น กลาก อาจร้ายแรงในเด็กบางคน ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อการรักษาที่ดีที่สุดแก่ลูกน้อยของคุณเพื่อช่วยให้ห่างไกลจากอาการป่วยต่าง ๆ

 

การดึงหู การเกาหูของเด็กเล็กอาจเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ดูน่ารักสำหรับผู้ใหญ่ จะมองเป็นเรื่องปกติได้ถ้าไม่ได้มีอาการอื่น ๆ รุนแรง และเด็ก ๆ จะหยุดทำไปเองในที่สุด หรือถ้าลูกยังชอบดึงหูมากเกินไป ให้สวมถุงมือหรือถุงเท้าไปสักระยะ ในทางกลับกัน การดึงหรือเกาหูร่วมกับอาการอื่น ๆ อาจเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยของคุณเจ็บปวด ระคายเคือง หรือรู้สึกไม่สบาย หากมีปัญหาเกี่ยวกับหู หนังศีรษะ และผิวหนัง อาจเป็นเรื่องร้ายแรง ควรพบกุมารแพทย์เพื่อรับการตรวจทันทีจะดีที่สุดค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

พัฒนาการทารก 7 สัปดาห์ เรื่องควรรู้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

ทารกไอ ลูกน้อยไอ ลักษณะอาการไอของทารกที่คุณแม่ควรรู้

เชื้อราในปากทารก ฝ้าสีขาวในช่องปากลูก เป็นเชื้อรารักษาอย่างไรดี?

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Patteenan

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • ไขข้อข้องใจ ทำไม ลูกชอบดึงหู ผิดปกติไหม คุณพ่อคุณแม่เช็กด่วน !
แชร์ :
  • 8 วัฒนธรรมไทย โดดเด่นไปทั่วโลกที่เด็กน้อยวัยเรียนจะต้องรู้จัก

    8 วัฒนธรรมไทย โดดเด่นไปทั่วโลกที่เด็กน้อยวัยเรียนจะต้องรู้จัก

  • BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
    บทความจากพันธมิตร

    BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก

  • เลิกใช้อ่างอาบน้ำเด็กตอนไหน ? พร้อมเทคนิคเปลี่ยนวิธีการอาบน้ำให้ลูกผ่อนคลาย

    เลิกใช้อ่างอาบน้ำเด็กตอนไหน ? พร้อมเทคนิคเปลี่ยนวิธีการอาบน้ำให้ลูกผ่อนคลาย

app info
get app banner
  • 8 วัฒนธรรมไทย โดดเด่นไปทั่วโลกที่เด็กน้อยวัยเรียนจะต้องรู้จัก

    8 วัฒนธรรมไทย โดดเด่นไปทั่วโลกที่เด็กน้อยวัยเรียนจะต้องรู้จัก

  • BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
    บทความจากพันธมิตร

    BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก

  • เลิกใช้อ่างอาบน้ำเด็กตอนไหน ? พร้อมเทคนิคเปลี่ยนวิธีการอาบน้ำให้ลูกผ่อนคลาย

    เลิกใช้อ่างอาบน้ำเด็กตอนไหน ? พร้อมเทคนิคเปลี่ยนวิธีการอาบน้ำให้ลูกผ่อนคลาย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ