X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คุณแม่ควรรู้ อันตรายจากการ "ป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป"

บทความ 5 นาที
คุณแม่ควรรู้ อันตรายจากการ "ป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป"

อาหารหลักสำคัญสำหรับทารกน้อยคือ นมแม่ สารอาหารในนมแม่เพียงพอสำหรับทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน จึงค่อยเริ่มอาหารเสริมตามวัย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและจำเป็นต่อพัฒนาการ แต่ถ้าคุณแม่ป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไปกลับเป็นผลเสียต่อลูกนะคะ ผลเสียอย่างไร ติดตามอ่าน

คุณแม่ควรรู้ อันตรายจากการ “ป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป”

ป้อนอาหารเสริม ก่อน 6 เดือน, ป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป

คุณแม่ควรรู้ อันตรายจากการ “ป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป”

เพราะเหตุใดจึงควรป้อนอาหารเสริมทารก 6 เดือนขึ้นไป

การป้อนอาหารเสริมแก่ทารกในช่วงวัยที่เหมาะสม คือ 6 เดือนขึ้นไป สาเหตุเพราะ

1. เมื่อทารกน้อยอายุ 6 เดือนขึ้นไป ลำไส้และระบบการย่อยอาหารจะทำงานได้สมบูรณ์มากขึ้น

2. มีพัฒนาการการเคี้ยว การกลืน และระบบทางเดินอาหาร ที่พร้อมจะรับอาหารอย่างอื่นนอกจากนมแม่ได้แล้ว

3. ทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนจะมีน้ำย่อยอะมัยเลส (amylase) จากตับอ่อนในระดับต่ำมาก จึงไม่สามารถย่อยอาหารประเภทข้าว แป้ง และกล้วยได้

บทความแนะนำ ป้อนกล้วยก่อน 6 เดือน ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง?

อันตรายจากการป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป

ป้อนอาหารเสริม ก่อน 6 เดือน, ป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป

อันตรายจากการป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป

พญ. ลำดวน นำศิริกุล กุมารแพทย์ กล่าวถึง การป้อนอาหารเสริมให้แก่ทารกเร็วเกินไป อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทารกได้ เนื่องจากสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารเสริมนั้นไม่เหมาะสมกับทารก หรือไม่เพียงพอแก่ความต้องการของทารกดังเหตุผลต่อไปนี้

1. การให้อาหารเสริมแก่ทารกเร็วเกินไป คือ ก่อนอายุ 6 เดือน ซึ่งทารกยังไม่พร้อมที่จะรับและเคี้ยวอาหารที่มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลวได้ อาจเกิดการสำลักอาหารเข้าหลอดลมได้

2. การให้อาหารเสริมเร็วเกินไปก่อนทารกมีอายุ 6 เดือนจะทำให้ทารกดูดนมแม่น้อยลง เสี่ยงต่อการเป็นโรคขาดสารอาหาร โรคอุจจาระร่วง และโรคภูมิแพ้

3. ทารกที่อายุไม่ถึง 6 เดือน ระบบการทำงานของไต และตับของลูก ซึ่งทำหน้าที่ในการกรองสารพิษต่างๆ ยังทำงานได้ไม่ดี หากลูกของเราได้รับอาหารที่มีการปนเปื้อนสารพิษ จากยาฆ่าแมลง, สารเคมีต่างๆ ในผัก, สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสัตว์ รวมถึงฮอร์โมนต่างๆ ที่ผสมเข้าไปในอาหารสัตว์ ทำให้ร่างกายของลูกไม่สามารถขับสารพิษเหล่านั้นออกมาได้ เมื่อร่างกายสะสมสารพิษนานเข้าจะกลายเป็นโรคแพ้อาหารบางชนิดทันที

4. หากทารกได้รับอาหารเสริมเร็วเกินไป เช่น รับประทานอาหารเสริมจำพวกกล้วยบด ข้าวบด หรืออาหารเสริมอื่นๆ ก่อให้เกิดลำไส้อุดตัน เนื่องจาก ระบบย่อยอาหารเด็กยังไม่สมบูรณ์แข็งแรงพอ

ป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป

หากทารกได้รับอาหารเสริมเร็วเกินไป อาจก่อให้เกิดลำไส้อุดตัน

บทความแนะนำ โซเชี่ยลแชร์! เด็กโดนป้อนกล้วยตายอายุเพียง 1 เดือนเศษ

5. ทารกแรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือน ระบบการย่อยแป้งของทารกยังทำงานได้ไม่ดีนัก ดังนั้น การให้อาหารเสริมก่อนวัยอันควร จะส่งผลเสียทำให้การดูดซึมอาหารบกพร่องรวมถึงดูดซึมเกลือแร่ได้น้อยลง

6. ทารกแรกเกิดจะมีเอนไซม์ที่ย่อยไขมันต่ำ ทำให้ทารก ดูดซึมไขมันได้ไม่ดีนัก ดังนั้น การให้อาหารเสริมที่มีไขมันมาก หรือน้อยเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหา เช่น ถ้าให้อาหารเสริม มากเกินไปจะเกิดอาการถ่ายเป็นไขมันได้

7. ถ้าหากอาหารเสริมที่ให้พลังงานสูง อาจทำให้ทารกมีโอกาส เป็นโรคอ้วนสูง เนื่องจากทารกที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในระยะแรก จะเนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์ไขมัน ทำให้ทารก มีจำนวนไขมันมาก ก็จะมีโอกาสอ้วนง่ายขึ้นในอนาคต

8. อาหารเสริมที่มีน้ำตาลปรุงรสหวาน อาจมีผลกระทบต่อนิสัย การบริโภคของทารก ทำให้ทารกติดการรับประทานอาหารรสหวาน และมีโอกาสฟันผุได้ง่าย

9. อาหารเสริมบางชนิดอาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่ครบถ้วน ทำให้ไตทำงานหนัก บางชนิดเติมเกลือลงไปเพื่อปรุงรส ถือเป็นอันตรายต่อทารก เพราะอาจทำให้เจ้าตัวน้อยมีแนวโน้มเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้

ป้อนอาหารเสริม ก่อน 6 เดือน, ป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป

อันตรายจากการป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป

คุณหมอแนะนำ : วิธีป้อนอาหารเสริมแก่ทารกที่ถูกต้อง

1. ควรเลี้ยงลูกเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูก เช่น ให้อาหารเมื่อลูกหิว กระตุ้นให้ลูกทานแต่ไม่บังคับ ถ้าลูกเบื่ออาหารควรเปลี่ยนเป็นอาหารที่มีลักษณะและรสที่ลูกชอบ

2. ไม่ควรมีโทรทัศน์ ของเล่น หรือสิ่งเร้าอื่นที่จะมาดึงความสนใจของลูกไปจากอาหาร ควรพูดคุย สบตา และแสดงความรักต่อลูกขณะรับประทาน

3. ควรเตรียมและเก็บอาหารเสริมอย่างถูกสุขลักษณะ

4. ควรเตรียมอาหารเสริมในปริมาณที่ร่างกายลูกต้องการ โดยเริ่มจากปริมาณน้อยก่อนแล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้นเมื่อลูกโตขึ้น

5. อาหารใหม่ควรเริ่มทีละอย่าง ทีละน้อยก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นเมื่อลูกคุ้นเคย ถ้าไม่พบอาการแพ้ภายใน 1-2 สัปดาห์ จึงให้เริ่มอาหารชนิดใหม่ต่อไป

6. ควรเริ่มอาหารที่บดละเอียดก่อนในช่วงแรก แล้วจึงค่อย ๆ ปรับให้องุ่น

บทความจากพันธมิตร
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก

7. ไม่ควรใส่เครื่องปรุงหรือผงชูรส เพื่อไม่ให้ติดอาหารรสหวานหรือเค็มซึ่งจะมีผลเสียต่อสุขภาพในอนาคต

เมื่อคุณแม่ทราบถึงอันตรายและและผลเสียของการให้อาหารเสริมแก่ทารกเร็วเกินไปว่าไม่ดีอย่างไร ซึ่งคุณหมอมีคำแนะนำดี ๆ ฝากไว้ สามารถนำไปปฏิบัติตามได้นะคะ เพื่อให้เจ้าตัวน้อยของคุณแม่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและเติบโตอย่างมีคุณภาพ

ป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป

เพื่อให้เจ้าตัวน้อยของคุณแม่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและเติบโตอย่างมีคุณภาพ

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

อ้างอิงข้อมูลจาก :

https://www.thaibreastfeeding.org

https://women.kapook.com

https://www.facebook.com

https://pakuroneko-baby.blogspot.com

https://news.voicetv.co.th

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :

วิธีเลือกผลไม้สำหรับวัยเริ่มอาหารเสริม

สูตรอาหารเสริมเด็ก 6 เดือนขึ้นไป

แม่โพสต์เล่า ลูกโดนป้อนน้ำจนลำไส้ติดเชื้อ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำคนเป็นแม่ใจจะขาด

TAP-ios-for-article-footer-with button

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • คุณแม่ควรรู้ อันตรายจากการ "ป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป"
แชร์ :
  • 6 วัตถุดิบสำหรับทำอาหารเสริมให้เจ้าตัวน้อย

    6 วัตถุดิบสำหรับทำอาหารเสริมให้เจ้าตัวน้อย

  • ป้อนอาหารเสริม ทารกก่อน 6 เดือน อันตรายจริงหรือ?

    ป้อนอาหารเสริม ทารกก่อน 6 เดือน อันตรายจริงหรือ?

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 6 วัตถุดิบสำหรับทำอาหารเสริมให้เจ้าตัวน้อย

    6 วัตถุดิบสำหรับทำอาหารเสริมให้เจ้าตัวน้อย

  • ป้อนอาหารเสริม ทารกก่อน 6 เดือน อันตรายจริงหรือ?

    ป้อนอาหารเสริม ทารกก่อน 6 เดือน อันตรายจริงหรือ?

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ