X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แตงกวา กินอย่างไรให้ส่งผลดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

บทความ 5 นาที
แตงกวา กินอย่างไรให้ส่งผลดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์แตงกวา กินอย่างไรให้ส่งผลดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

แตงกวาดียังไง มารู้เรื่องสรรพคุณกันเถอะ

แตงกวา กินอย่างไรให้ส่งผลดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ถ้าให้พูดถึง “แตงกวา” คงเป็นผักชนิดต้นๆ ที่เราสามารถทานได้ตั้งแต่เด็ก อาจจะเจอรสขมบ้างในบางครั้ง แต่เราก็มักจะชอบทานกันเป็นประจำ เรียกได้ว่า เมนูไหนที่ต้องการผักจิ้ม หรือผักเคียงแล้วหละก็ ต้องหนีไม่พ้นแตงกวาเป็นแน่

 

แตงกว่าดีอย่างไร

แตงกวาเป็นผักที่มีฤทธิ์เย็น หรือผักที่สามารถทำให้ร่างกายเราเย็นลงได้ อีกทั้งยังมีแคลอรีที่ต่ำ และจำนวนน้ำในตัวมากอีกด้วย ดังนั้นแตงกวาจึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งของคนที่กำลังดูแลสุขภาพหรือกำลังลดน้ำหนักอยู่นั่นเอง แล้วสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หละ สามารถทานได้หรือเปล่า

 

แตงกวามีประโยชน์การต่อครรภ์อย่างไร

ถึงแม้ว่าการบริโภคแตงกวามากเกินไปจะทำให้เกิดผลเสียต่อลูกน้อยในครรภ์ แต่ถ้าการบริโภคแต่พอดีก็ส่งผลดีต่อทั้งคุณแม่และคุณลูกได้เหมือนกันนะ 

  1. แตงกวามีปริมาณแคลอรีที่ต่ำมาก ซึ่งสามารถป้องกันโรคอ้วนได้ โดยแตงกวานั้นจะทำให้คุณแม่อิ่มท้องนานขึ้น และหลีกเลี่ยงการเพิ่มของน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ได้อีกด้วย
  2. ปริมาณน้ำที่สูง แตงกวามีประมาณน้ำถึง 96% สามารถเพิ่มความชุ่มชื้น และลดความกระหายน้ำลงได้ อีกทั้งยังทำให้คุณแม่สามารถขับปัสสาวะได้อย่างเป็นธรรมชาติ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ระบบภายในร่างกายจะเผาผลาญอาหารและน้ำไวกว่าคนปกติถึง 20% ส่งผลทำให้ร่างกายของคุณแม่นั้นต้องการปริมาณน้ำมากกว่าปกติ ดังนั้นแตงกวาถือเป็นอีก 1 ตัวช่วยของคุณแม่ได้เป็นอย่างดีแตงกวามีปริมาณน้ำมาก
  3. แตงกวา มีสารอาหารสูง นอกจากที่จะมีแคลอรีที่ต่ำแล้ว ยังมีสารอาหารที่สูงอีกด้วย โดยแตงกวาหนึ่งลูก (ประมาณ 300 กรัม) มีสารอาหารดังนี้
    • ไขมันทั้งหมด: 0 กรัม
    • คาร์โบไฮเดรต: 11 กรัม
    • โปรตีน: 2 กรัม
    • ไฟเบอร์: 2 กรัม
    • วิตามินซี: 14% ของ RDI
    • วิตามินเค: 62% ของ RDI
    • แมกนีเซียม: 10% ของ RDI
    • แมงกานีส: 12% ของ RDI
      (RDI หรือ Recommended Daily Intakes หรือ ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน)

      4. แตงกวา มีสารอาหารรองที่จำเป็นต่อร่างกาย แตงกวาอุดมไปด้วยสารต้นอนุมูลอิสระ อาทิ วิตามินซี (Vitamin c) และเบต้าแคโรทีน (Beta carotene) ที่ช่วยปรับปรุงภูมิคุ้มกันและป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม เหล็ก โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี ทองแดง ไอโอดีนและกำมะถัน ล้วนมีความสำคัญต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์และสามารถปกป้องเซลล์ของคุณจากความเสียหายอันเนื่องมาจากสารที่ก่อตัวขึ้นในร่างกาย โดยในแตงกวานั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ต่างจากพืชชนิดอื่นคือ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ลิกแนน (Lignans) และไตรเทอร์พีน (Triterpenes) ไม่เพียงแต่ปกป้องเซลล์ แต่ยังช่วยลดการอักเสบที่เชื่อมโยงกับโรคข้ออักเสบและภาวะระยะยาว

 

หากคุณแม่ทานแตงกวาในปริมาณมากเกินไป

การกินแตงกวาปลอดภัยสำหรับเด็กในครรภ์ไหม ขอบอกเหล่าคุณแม่ที่เป็นแตงกวาเลิฟเวอร์ไว้ก่อนเลยว่า ทานได้ค่ะ! แต่ถึงอย่างไรก็ไม่แนะนำให้ทานมาเกินความจำเป็น เนื่องจากแตงกวานั้นจะทำให้เกิดการปวดปัสสาวะบ่อย เพราะมีปริมาณที่เก็บสะสมไว้เป็นจำนวนมาก หากคุณแม่ทานในปริมาณมากเกินไปจะส่งผลดังต่อไปนี้

  1. การเกิดแก๊สและอาหารไม่ย่อย
  2. ปริมาณน้ำที่มากเกินไปในแตงกวาจะทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นซึ่งอาจทำให้คุณไม่สบายตัวได้
  3. บางครั้งแตงกวาอาจทำให้เกิดอาการแพ้ทำให้เกิดอาการคันและบวมได้
  4. แตงกวามีสารพิษเช่น Cucurbitacins และ tetracyclic triterpenoids ซึ่งมีผลต่อรสขมและเป็นอันตรายถึงชีวิตเมื่อรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป
    ดังนั้นก่อนที่คุณแม่จะรับประทานควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อยก่อนนะคะ


น้ำตาแตงกวา หรือแตงกวาดอกสามารถทานได้หรือเปล่า

น้ำแตงกวา
สามารถทานได้ค่ะ แต่คุณแม่ควรเลือกแตงกวาสักนิด ควรเลือกแตงกวาที่เนื้อแน่น และมีสีเขียวเข้มผสม ล้างให้สะอาด และสามารถนำมาปั่นทานได้เลยค่ะ

 

น้ำแตงกวาปั่น

 

สูตรน้ำแตงกวาปั่นที่ทำได้ง่ายๆ ที่บ้าน

  1. ล้างแตงกวาที่ซื้อมาให้สะอาด และหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้เครื่องปั่นไม่ต้องทำงานหนัก หรือถ้าคุณแม่คนไหนไม่ชอบกลิ่นของเปลือก หรือกังวลเรื่องยาฆ่าแมลงจะปอกเปลือกก็ได้ค่ะ
  2. นำใส่เครื่องปั่น เติมน้ำเปล่าลงไปเล็กน้อย และปั่นให้ละเอียด
  3. กรอกน้ำที่ปั่น เสร็จแล้วให้นำช้อนมาตักฟองที่อยู่ด้านบนออกให้หมด
  4. ใครที่ชอบทานติดหวานนิดหน่อยสามารถเพิ่มความหวานได้ด้วยน้ำตาลสกัดจากหญ้าหวานเพิ่มเติมได้ และคนให้เข้ากัน
  5. เทน้ำแตงกวาใส่แก้ว เพิ่มน้ำแข็งสักหน่อยแล้วดื่มได้เลย หวาน สดชื่น ไม่เหม็นเขียวบทความที่น่าสนใจ : แนะนำ วิธีทำสูตร สลัดทานง่าย และยังดีต่อสุขภาพ


แตงกวาดอง

แตงกวาดอง รสชาติเปรี้ยวโดดเด่นที่คุณแม่หลายคนถูกใจ โดยแตงกวาดองนั้นเป็นการหมักแตงกวาทิ้งไว้ในน้ำเหลือจนกว่าแบคทีเรียจะเริ่มกินแตงกวาทำให้เกิดรสเปรี้ยว นอกจากนี้ยังสร้างแบคทีเรียดี หรือ โปรไบโอติก (probiotics) ที่ช่วยให้ร่างกายสามารถย่อยอาหารได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าทานปริมาณมากเกินไปอาจก่อนให้เกิดอาหารบวมจากโซเดียมได้

 

สูตรแตงกวาดอง

สูตรลับแตงกวาดอง ดองยังไงให้กรอบ

  1. นำแตงกวาที่ซื้อมาล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย (ความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญนะคะ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าน้องแตงกวาผ่านมากี่มือ ผ่านอะไรมาบ้าง)
  2. ต้มน้ำให้เดือด และใส่น้ำส้มสายชูแอปเปิ้ล (Apple Cider) ลงไป อัตราส่วน น้ำ 1 ลิตรต่อ น้ำส้มสายชู 300 มิลลิลิตร
  3. เตรียมเครื่องเคียงอย่างอื่น ปกติแล้วมีหลายสูตรมากเลยนะคะ แล้วแต่คนจะชอบทานอะไรกัน แต่หลักๆ ที่ต้องมีแบบขาดไม่ได้ก็คือ แครอทหั่นตามแนวยาว แบบพอดีคำ กระเทียมสับหยาบ และที่เหลือบางบ้านที่ชอบรสชาติที่เผ็ดหน่อยก็อาจจะลองใส่พริกลงไปเล็กน้อยตามความชอบได้เลยค่ะ
  4. น้ำส่วนผสมทุกอย่างใส่ลงขวดโหล โดยเริ่มจากการนำดองที่เราต้มไว้ (อุณหภูมิห้อง) ใส่ลงไปก่อนเป็นอันดับแรก และตามด้วยกระเทียม และค่อยๆ วางน้องแตงกวาลงไป พร้อมกับปิดท้ายด้วยแครอทและพริก พร้อมปิดฝาให้สนิท
  5. สามารถวางขวดโหลดไว้ที่ไหนก็ได้ แต่ไม่แนะนำให้ถูกแสงแดดมากเกินไป 
  6. คอยสังเกตดูสีของแตงกวาในขวดโหลอยู่เรื่อย โดยแต่ละบ้านก็จะใช้ระยะเวลาแตกต่างกันออกไป (ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและที่ตั้ง)
  7. ถ้าสีได้แล้วลองเปิดขวด และนำแตงกวาออกมาชิมดูว่าสำหรับคุณ ระดับความเปรี้ยว ความกรอบพอแล้วหรือยัง ถ้าพอดีแล้วก็สามารถนำมาทานได้เลย ส่วนใครที่ชอบแบบนุ่มๆ คงต้องรอไปอีกประมาณ 1-2ถึงอย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ที่ชอบทานหรือไม่ชอบทานแตงกวาก็ควรบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ หมั่นขยับร่างกายเบาๆ เพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวบ้าง อีกทั้งยังต้องพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่ออัปเดตพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์และวางแผนการตั้งครรภ์กับคุณหมอด้วยนะคะ

 

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

ที่มา : 1, 2 , 3

บทความที่น่าสนใจ :

อาหารคลีน สำหรับคนท้อง 20 เมนูอาหารคลีนคนท้องกินได้

คนท้องกินของดองได้ไหม เป็นอะไรกับลูกในท้องหรือเปล่า

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • แตงกวา กินอย่างไรให้ส่งผลดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์
แชร์ :
  • คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ : ฝากครรภ์ อัลตร้าซาวด์ นับลูกดิ้น อาหาร และอาการแทรกซ้อน

    คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ : ฝากครรภ์ อัลตร้าซาวด์ นับลูกดิ้น อาหาร และอาการแทรกซ้อน

  • ส้มโอ ผลไม้มากคุณประโยชน์ ป้องกันโรค บำรุงร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์

    ส้มโอ ผลไม้มากคุณประโยชน์ ป้องกันโรค บำรุงร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ : ฝากครรภ์ อัลตร้าซาวด์ นับลูกดิ้น อาหาร และอาการแทรกซ้อน

    คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ : ฝากครรภ์ อัลตร้าซาวด์ นับลูกดิ้น อาหาร และอาการแทรกซ้อน

  • ส้มโอ ผลไม้มากคุณประโยชน์ ป้องกันโรค บำรุงร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์

    ส้มโอ ผลไม้มากคุณประโยชน์ ป้องกันโรค บำรุงร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ