ให้ลูกนอนด้วยอาจส่งผลแย่กว่าที่คิด หยุดพัฒนาการของเด็ก ข้อเสียมากกว่าข้อดี
ในบทความนี้เราไม่ได้พูดถึง เด็กเล็ก หรือ เด็กแรกเกิด ที่ยังต้องการได้รับความดูแลจากผู้ปกครอง อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว แต่เรากำละงจะพูดถึงเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย เพราะการที่ ให้ลูกนอนด้วยอาจส่งผลแย่กว่าที่คิด เวลาที่คุณลูกฝันร้าย หรือ กลัวอะไรสักอย่าง การที่คุณให้ลูกนอนมาด้วย อาจไม่ใช่ความคิดที่ดี สักเท่าไหร่
ให้ลูกนอนด้ว ยอาจส่งผลแย่กว่าที่คิด
คุณพ่อ คุณแม่ หลายคนอาจจะเคยเจอเหตุการณ์ ที่ว่าจู่ๆ ลูกตื่นขึ้นจากฝันร้าย หรือ ว่าได้ยินเสียงอะไรแปลกๆ แล้วลูกรีบวิ่ง เข้ามาหาที่เตียงเพื่อนอนด้วย เรื่องนี้เกิดมาขึ้นมาเรื่อยๆ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะยุคสมัยไหน มีงานวิจัยเผยออกมาว่า การที่คุณให้ลูกนอนด้วยตอนที่เขากลัวนั้น อาจจะมีผลเสีย มากกว่าผลดี ซึ่งผลกระทบนี้จะส่งผลไปให้ทั้ง พ่อแม่และตัวเด็ก
Co-Sleeping Might Be Bad For Your Kids
ให้ลูกนอน ด้วยอาจส่งผลแย่กว่าที่คิด
จากงานวิจัย จาก มหาวิทยาลัย Universidade Federal de Pelotas จากประเทศ Brazil ทำงานวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพจิตของเด็ก ที่เกี่ยวข้องกับการนอน ร่วมกับพ่อแม่ เวลาที่เกิดกลัวออะไรขึ้นมา พวกเขาเล่นสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จากเด็กกว่า 3,583 ในประเทศ Brazil นักวิจัยจากทาง มหาวิทยาลัยแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ
- Non-bed-sharers กลุ่มเด็กที่นอนแยกกับ พ่อ แม่ (44.4%)
- Early-only นอนด้วยแค่ในช่วงแรก(36.2%)
- Late-onset นอนได้แค่ช่วงหลัง (12.0%)
- Persistent bed-sharers นอนกับ พ่อ แม่ บ่อยครั้ง (7.4%)
หลังจากรวบรวมข้อมูลทั้งหมดแล้ว พวกเขาพบว่า มีเด็กจำนวนมากที่นอนร่วมกับ พ่อแม่ ในเตียงเดียวกัน
เมื่อรวบรวมข้อมูลแล้ว ผลลัพธ์ที่ออกมาก็คือ การที่ลูกนอนร่วมกับ พ่อแม่นั้น อาจจะส่งผลเสียด้าานสุภาพจิตให้แก่ลูก และ สภาพร่างกายด้วย ด้วยความที่เด็กนั้นยังตัวเล็กอยู่ ทำให้ร่างกาย หรือ อวัยวะบางอย่าง อาจจะถูกพ่อ แม่ นอนทับ แล้วเกิดอาการเจ็บได้
Co-Sleeping Might Be Bad For You Too
ให้ลูกนอ นด้วยอาจส่งผลแย่กว่าที่คิด
งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง จากมหาวิทยาลัย Maryland School of Medicine and School of Nursing สุ่มกลุ่มตัวอย่างจากคุณแม่และลูกที่ มีรายได้น้อย 277 คน จาก Batimore มาร่วมประกอบในงานวิจัยชิ้นนี้ด้วย
ผลลัพธ์บอกว่า แม่ที่นอนเตียงเดียวกับลูก จะมีปัญหาเรื่องการนอนไม่เพียงพอ และ มีความเครียดสะสม ที่อาจจะนำไปสู่การเป็น โรคซึมเศร้า(Depression) และ โรควิตกกังวล(Anxiety) ได้ ทางมหาวิทยาลัยแนะนำเพิ่มเติมว่า แม่เองก็ต้องการการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ ไม่ต่างจากลูก
เพราะถ้าคุณแม่ ไม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ปัญหาด้านอื่นๆ ก็จะตามมาเป็นลำดับ
ควรแยกห้องนอนลูกตั้งแต่แรกเกิดหรือเปล่า ให้ลูกนอนคนเดียวดีไหม
ให้ลูกนอนด้วย อาจส่งผลแย่กว่าที่คิด
รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน แนะนำว่า เมื่อลูกอายุอยู่ในช่วงแรกเกิดถึง 2-3 เดือน จะนอนหลับได้ไม่นาน ต้องทานนมแม่บ่อย ๆ การที่ลูกได้นอนห้องเดียวกับคุณแม่จะสะดวกกว่า
หากลูกนอนห้องเดียวกับพ่อแม่ มีข้อดีคือจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลับไม่ตื่นในทารก (Sudden infant death syndrome หรือ SIDS) ได้ ซึ่งสมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า
- ควรให้ลูกนอนในห้องเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ โดยแยกพื้นที่ผิวการนอน จนถึงอายุ 1 ปีหรืออย่างน้อยอายุ 6 เดือน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด SIDS
- ควรให้เด็กนอนหงาย บนที่นอนซึ่งไม่นุ่มเกินไป
- หากจำเป็นต้องให้ลูกนอนบนเตียงเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่สูบบุหรี่ ไม่ใช้ยานอนหลับหรือดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ควรมีหมอนหรือผ้าห่มรอบตัวเด็กและไม่ควรให้เด็กนอนอยู่บนที่นอนที่นุ่มมากจนเกินไป
- ขณะที่คุณแม่ให้นมก็ไม่ควรจะนอนหลับเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงของการกดทับทางเดินหายใจลูกและเกิดภาวะ SIDS ได้
การจะนอนแยกห้องกับลูกควรทำเมื่อไร?
ให้ลูกนอนด้วยอา จส่งผลแย่กว่าที่คิด
โดยทั่วไปไม่มีกฎตายตัวว่าพ่อคุณแม่ควรจะแยกห้องนอนกับลูกเมื่ออายุเท่าไร ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงคือ
- ลูกมีความพร้อมที่จะนอนแยกห้องเมื่ออายุเท่าไร?
- คุณพ่อคุณแม่สามารถนอนห้องเดียวกับลูกได้อย่างสะดวกสบาย หลับพักผ่อนได้ดีหรือไม่?
ทั้งนี้ เมื่อลูกอายุอยู่ในช่วงแรกเกิดถึง 2-3 เดือน จะนอนหลับได้ไม่นาน ต้องทานนมแม่บ่อย ๆ การที่ลูกได้นอนห้องเดียวกับคุณแม่จะสะดวกกว่า หลังจากวัยนี้จึงค่อยพิจารณาการให้ลูกนอนแยกห้องได้ โดยคุณพ่อคุณแม่ลองพิจารณาจากข้อดีข้อเสียต่อไปนี้นะคะ
Source : brightside
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
พ่อแม่นอนห้องเดียวกับลูก ดีไหม พ่อแม่นอนกับลูกหรือแยกห้องนอนกับลูก แบบไหนดีกว่า
คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้! นอนเปิดพัดลม อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกได้
แอบกระซิบคุณแม่ อยากให้ลูกนอนนาน ให้ลูกนอนในห้องตัวเองดีกว่า
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!