X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกกัดหัวนมแม่เป็นแผลต้องทำยังไง วิธีไหนที่ช่วยให้นมลูกได้อย่างราบรื่น

บทความ 5 นาที
ลูกกัดหัวนมแม่เป็นแผลต้องทำยังไง วิธีไหนที่ช่วยให้นมลูกได้อย่างราบรื่นลูกกัดหัวนมแม่เป็นแผลต้องทำยังไง วิธีไหนที่ช่วยให้นมลูกได้อย่างราบรื่น

ลูกกัดหัวนมแม่เป็นแผลต้องทำยังไง มีวิธีไหนที่ช่วยรักษาแผลที่เต้านมแม่ได้บ้าง จำเป็นต้องกินยาไหม หหรือว่าปล่อยไว้ให้หายเอง มาหาคำตอบกันค่ะ

ลูกกัดนม ลูกกัดหัวนมแม่เป็นแผลต้องทำยังไง ใช้ยาทาหรือยากินดี วิธีไหนที่ช่วยให้แม่สามารถให้นมลูกแบบไม่เจ็บบ้างหรือเปล่า และวิธีไม่ให้ลูกกัดที่หัวนม วันนี้แอด มีคำแนะนำดี ๆ มาฝากค่ะ

 

ลูกชอบกัดหัวนม หัวนม เป็นแผล ทำยังไง

สาเหตุที่ลูกชอบกัดหัวนมเป็นเพราะอะไร หลายคนสงสัย ลูกปกติหรือเปล่าน่ะ สาเหตุหลัก ๆ ที่ลูกชอบกัดหัวนมอาจเกิดจากลูกน้อยไม่พอใจ ฟันลูกกำลังจะขึ้น หรือเพราะน้ำนมไม่ไหล

 

คุณหมอได้วินิจฉัยว่า อาจเกิดจากที่ฟันของลูกน้อยกำลังจะขึ้น ซึ่งพวกเขาจะกัดหัวนมเพื่อบรรเทาอาการเจ็บบริเวณที่ฟันกำลังขึ้น หากเมื่อไหร่ที่คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดจากการถูกลูกน้อยกัดหัวนมเวลาให้นม คุณหมอได้เตือนว่า อย่าพยายามดึงลูกน้อยออกจากเต้าทันที เพราะทำให้เกิดคุณแม่เกิดอาการบาดเจ็บที่เต้านมมากยิ่งขึ้น แต่ให้เอานิ้วสอดเข้าไปไม่ให้ลูกกัด จากนั้นก็ค่อยดึงลูกออกจากเต้า เดี๋ยวลูกน้อยก็จะค่อยเปิดปากออกค่ะ

 

สำหรับแม่คนไหนที่ยังฝืนให้ลูกกินนมต่อไปทั้ง ๆ ที่เจ็บนมนั้น อย่าฝืนค่ะ เพราะว่าเวลาที่เด็กกินนมจนอิ่มแล้วก็มักจะกัดนมแม่เล่น แม่ ๆ ต้องอย่าลืมแสดงอาการ และคำพูดให้ลูกรับรู้ด้วยว่าทำแบบนี้ไม่ดีน่ะ เพื่อให้ลูกรู้ว่าแม่ไม่ชอบให้ทำแบบนี้ จากนั้นวางลูกไว้แล้วปล่อยไว้แบบนั้น ถ้าลูกร้องก็อย่าเพิ่งสนใจ ต้องใจแข็งเข้าไว้ รอสักแปปแล้วค่อยกลับมาหาลูกใหม่ ให้คุณแม่ทำแบบนี้ทุกครั้งที่ลูกกัดนม เดี่ยวลูกก็จะเรียนรู้และปรับตัวได้เองค่ะ ส่วนระยะเวลาถ้าจะให้ผลต้อง 10-15 ครั้ง เพราะฉะนั้นคุณแม่ต้องใจเย็น ๆ หน่อยนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : Gynecomastia อาการเต้านมโตผิดปกติ ผู้ชายก็เป็นได้ โรคที่แม่อาจไม่รู้จัก

 

วิดีโอจาก : Nurse Kids

 

วิธีป้องกันไม่ให้ลูกกัดเต้านม

เวลาที่ลูกฟันกำลังขึ้น มีอาการคันเหงือกอยู่บ่อย ๆ ชอบหาอะไรมางับไม่เว้นแม้กระทั่งหัวนม วิธีที่ป้องกันไม่ให้ลูกงับมากที่สุด คือ

  1. หาของเย็น ๆ หรือของแข็ง ๆ อย่างเช่นยางกัดมาให้ลูกงับบ่อย ๆ เพื่อเป็นการบรรเทาอาการคันตรงบริเวณเหงือกที่ลูกกำลังขึ้น หรือลองเอาผักผลไม้มาให้ลูกงับกินเล่นก็ได้นะคะ
  2. ใช้นิ้วมือนวดบริเวณที่เหงือกบวม เพราะแสดงว่าฟันลูกจะขึ้นบริเวณนั้น
  3. เวลาลูกกัด อย่าทน หรือแสดงสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ควรหยุดให้นมลูกซะ ทำหน้านิ่ง ๆ เตือนลูก และไม่ควรให้ลูกกินนมต่ออีก แล้วค่อยให้ลูกในมื้อต่อไปจะดีกว่า
  4. อย่าแสดงอาการต่อไปนี้กับลูก เช่น ตบปากลูก บีบจมูกให้ลูกอ้าปากออก ตะโกนใส่หน้าลูก ร้องกรี๊ด หรือทำหน้าบึ้งตึงใส่ เพราะจะทำให้ลูกกลัวที่จะกินนมแม่
  5. เมื่อลูกดูดโดยไม่กัดนมแม่ ก็ให้รางวัลโดยการพูดชม กอดหรือจูบลูก ซึ่งลูกจะเรียนรู้ได้
  6. เด็กบางคนจะกัดเมื่อน้ำนมไม่ไหลในขณะยังไม่อิ่ม ดังนั้นคุณแม่ควรพยายามกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมมากขึ้น โดยให้ลูกดูดบ่อย ๆ และคุณแม่ดื่มน้ำและกินอาหารให้พอ
  7. ระหว่างที่ลูกกำลังดูดนม ให้ดึงความสนใจของลูกมาที่ตัวแม่ โดยการจ้องตา ลูบไล้ลูก หรือคุยกับลูก
  8. ปรับตำแหน่ง หรือวิธีการให้นมลูกใหม่ เพื่อให้ลูกกินนมได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

 

วิธีปรับการให้นมลูกที่ถูกต้อง

  1. จับเต้านมด้วยมือเปล่า
  2. วางนิ้วหัวแม่มือไว้อยู่ด้านบน เหนือขอบนอกของลานหัวนม ส่วนนิ้วที่เหลือประคองเต้านมด้านล่าง ไม่ควรใช้ท่าแบบนิ้วคีบบุหรี่ เพราะช่องว่างระหว่างนิ้วจะแคบ ทำให้ลูกอมได้ไม่ลึกพอ และนิ้วอาจจะกดบริเวณท่อน้ำนม ทำให้น้ำนมไหลไม่ดี
  3.  อุ้มลูกโดยใช้มืออีกข้างประคองที่ต้นคอและท้ายทอย อย่ากดที่ใบหูลูก พยายามให้ลูกเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย เคลื่อนลูกเข้ามาโดยให้คางของลูกเข้ามาชิดกับเต้านมส่วนล่าง (สังเกตว่าจังหวะนี้จมูกของลูกจะอยู่ตรงกับหัวนมแม่) ลูกก็จะเริ่มอ้าปาก ถ้าลูกไม่อ้าปาก ให้ใช้หัวนมเขี่ยริมฝีปากล่างของลูกเบา ๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกอ้าปาก
  4. รอจนลูกอ้าปากกว้าง (เหมือนหาว) จึงเคลื่อนศีรษะลูกเข้าหาเต้านมอย่างรวดเร็วแต่นุ่มนวลก่อนที่ลูกจะเริ่มหุบปากลง จะไม่ใช้วิธีโน้มตัวแม่เพื่อนำเต้านมเข้าหาลูก
  5. ให้ลูกอมงับถึงลานนม โดยให้อมลานนมส่วนล่างมากกว่าลานนมส่วนบน ให้คางลูกแนบชิดกับเต้านมส่วนล่าง วิธีนี้จะช่วยให้ลิ้นของลูกยื่นออกมารีดน้ำนมจากเต้าแม่ได้ดีขึ้น และจมูกของลูกจะอยู่ห่างออกจากเต้าแม่เล็กน้อย คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะหายใจไม่สะดวก
    การอุ้มลูกเข้าเต้าอย่างถูกต้อง นอกจากจะช่วยให้แม่ไม่เจ็บหัวนมแล้ว ยังทำให้ลูกดูดนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

 

ลูกกัดหัวนมแม่เป็นแผลต้องทำยังไง

 

เต้านมเป็นแผลต้องให้นมลูกแบบนี้

  1. พยายามให้อมให้ลึก เพื่อจะได้ไม่กดที่หัวนมหรือเสียดสีที่แผลเก่า และหลังจากกินนมก็ให้ใช้น้ำนมแม่ทาบาง ๆ ที่หัวนม และบริเวณแผลที่เป็น จากนั้นรอให้แห้งก่อนแล้วจึงสวมเสื้อผ้าทับ
  2. ถ้าต้องใช้แผ่นซับน้ำนมเวลาออกข้างนอก ควรเปลี่ยนแผ่นซับน้ำนมบ่อย ๆ อย่าให้หัวนมชื้นแฉะ เพราะอาจทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา ทำให้การเจ็บหัวนมมากขึ้นหรือเป็นนานขึ้น และมีการกลับมาเป็นบ่อย ๆ
  3. พักข้างที่เจ็บชั่วคราวได้ โดยต้องไม่ลืมบีบน้ำนมข้างที่พักเก็บไว้เพื่อรักษาการผลิตน้ำนมให้มีอยู่ต่อไป พอแผลหายหรือสามารถกลับมาให้กินได้อีกก็ให้กินจากเต้า หยุดการบีบ การให้ลูกกินนมข้างที่ไม่เจ็บข้างเดียวก็ทำให้ระหว่างอีกข้างต้องพักการทำงาน
  4. แผลและหัวนมแสบ ปวดแสบปวดร้อน หัวนมเป็นสีแดงหรืออาจเป็นสีส้ม ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อราที่หัวนม ซึ่งเชื้อราที่หัวนมนี้เองที่สามารถติดต่อไปยังลูกได้ ควรพบแพทย์เพื่อกินยารักษาต่อไป

 

วิธีการรักษา หัวนมเป็นแผล ต้องทำอย่างไร

ถ้าคุณแม่คนไหน ลูกกัดหัวนมแม่เป็นแผลต้องทำยังไง วิธีไหนที่ช่วยให้นมลูกได้อย่างราบรื่น วิธีรักษาเบื้องต้นนั้นไม่ยากเลย หลังจากที่โดนกัดแล้ว ให้คุณแม่นำนมมาทาบริเวณหัวนม เพื่อช่วยในการรักษาหลังจากนั้น ให้ล้างน้ำ และ ล้างแผลด้วยวิธีธรรมชาติ จากเกลือและน้ำอุ่น ก็จะช่วยได้ค่ะ

หากคุณแม่ไม่ได้มีแผลที่รุนแรง จนเกิดการติดเชื้อราก็ไม่ต้องกังวลค่ะ สามารถให้นมลูกได้ตามปกติ เนื่องจากแผลที่หัวนมไม่มีเชื้อโรคอันตราย และหายได้เร็วจากกระบวนการซ่อมแซมตามปกติของร่างกาย ถ้าไม่ติดเชื้อรุนแรงก็จะไม่มีการส่งต่อไปยังลูกน้อย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อาหารหลังคลอด ผลไม้หลังคลอด แม่ให้นมต้องกินอะไรให้น้ำนมพุ่ง

ทำศัลยกรรมหน้าอก อัพไซส์เสริมนม จะให้นมลูกได้ไหม?

อุ้มลูกท่านี้ สบ๊าย สบาย แม่ไม่เมื่อยเลย รู้ไหม ท่าให้นมท่าไหนสบายทั้งแม่และลูก

ที่มาข้อมูล : 1, 2

บทความจากพันธมิตร
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
เช็กเลย 5 คุณสมบัติ แคลเซียมสำหรับคนท้อง แม่ทานง่าย ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ลูกกัดหัวนมแม่เป็นแผลต้องทำยังไง วิธีไหนที่ช่วยให้นมลูกได้อย่างราบรื่น
แชร์ :
  • ลูกกัดหัวนมแม่ ทำไงดี

    ลูกกัดหัวนมแม่ ทำไงดี

  • ลูกชอบกัดหัวนมแม่ เจ็บเต้าทุกครั้งที่ให้ลูกดูด ทำอย่างไรดี

    ลูกชอบกัดหัวนมแม่ เจ็บเต้าทุกครั้งที่ให้ลูกดูด ทำอย่างไรดี

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • ลูกกัดหัวนมแม่ ทำไงดี

    ลูกกัดหัวนมแม่ ทำไงดี

  • ลูกชอบกัดหัวนมแม่ เจ็บเต้าทุกครั้งที่ให้ลูกดูด ทำอย่างไรดี

    ลูกชอบกัดหัวนมแม่ เจ็บเต้าทุกครั้งที่ให้ลูกดูด ทำอย่างไรดี

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ