X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การทำบายพาสหัวใจ การผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ทำได้อย่างไร?

บทความ 5 นาที
การทำบายพาสหัวใจ การผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ทำได้อย่างไร?

โรคหลอดเลือดหัวใจ มีวิธีรักษาได้หลากหลายวิธี หนึ่งในนั้นก็คือ การผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือ ที่เรียกง่าย ๆ ว่า การทำบายพาสหัวใจ ซึ่งเป็นวิธีการรักษาอย่างหนึ่ง ที่ต้องใช้การผ่าตัดเข้ามาช่วย บทความนี้จะพาไปดูวิธี การทำบายพาสหัวใจ ทำได้อย่างไร และมีข้อควรรู้อะไรเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีนี้บ้าง

 

การทำบายพาสหัวใจ คืออะไร?

การผ่าตัดหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ หรือ การผ่าตัดบายพาสหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting : CABG) คือ วิธีหนึ่งที่เป็นทางเลือกในการใช้รักษา โรคหลอดเลือดหัวใจ ด้วยการผ่าตัด ซึ่งมักใช้ในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจ ถูกขัดขวาง หรือ เกิดการอุดตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปที่หัวใจอย่างเต็มที่ จึงต้องการการผ่าตัด เพื่อเปิดช่องทางให้เลือดสามารถไหลเวียน เข้าไปเลี้ยงหัวใจได้อย่างเพียงพอ และเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะหัวใจวาย

 

เส้นเลือดที่นำมาใช้ในการผ่าตัด เพื่อทำบายพาสหัวใจ ได้แก่ เส้นเลือดแดง บริเวณใต้กระดูกหน้าอกข้างซ้าย เส้นเลือดแดงที่ปลายแขน และ เส้นเลือดดำจากขา โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกเส้นเลือดที่ใช้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ

การทำบายพาสหัวใจ

การทำบายพาสหัวใจ มีกี่รูปแบบ?

  • การทำบายพาสหัวใจแบบดั้งเดิม เป็นการผ่าตัดใหญ่ ที่ต้องใช้การเปิดช่องอกออก และต้องใช้ยาเพื่อหยุดการเต้นของหัวใจ และใช้อุปกรณ์ช่วย เพื่อให้หลอดเลือดยังสามารถทำงานได้ และเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย โดยไม่ผ่านหัวใจ จนกว่าจะทำการผ่าตัดเสร็จเรียบร้อย
  • การผ่าตัดบายพาสหัวใจ โดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม เป็นวิธีการผ่าตัดทำบายพาส โดยจะเป็นการเปิดช่องอกออก แต่แพทย์จะไม่ใช้ยาหยุดการเต้นของหัวใจ และไม่ใช้อุปกรณ์พิเศษ ในการใช้สูบฉีดเลือด
  • การผ่าตัดบายพาสหัวใจแบบแผลเล็ก เป็นการผ่าตัดหัวใจด้วยอุปกณ์พิเศษ ซึ่งไม่ต้องอาศัยการเปิดช่องอกออก วิธีนี้มักนิยมใช้ในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจ อยู่บริเวณด้านหน้า และวิธีนี้ ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีการอุดตันเกิดขึ้นมากกว่า 1 เส้น

 

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดทำบายพาสหัวใจ

การผ่าตัดทำบายพาสหัวใจ เป็นวิธีการผ่าตัดใหญ่ โดยผู้ป่วยจะต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ดังนี้

  1. รับประทานอาหาร และยา ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  2. งดการสูบบุหรี่ และ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล
  3. ประเมินความพร้อมก่อนการผ่าตัด โดยทีมศัลยแพทย์หัวใจ
  4. ตรวจเช็คคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทำการเอกซเรย์ปอด และเจาะเลือด
  5. เข้าพักที่โรงพยาบาล เพื่อเตรียมความพร้อมร่างกาย

 

ขั้นตอนการทำบายพาสหัวใจ

  1. แพทย์จะนำเอาหลอดเลือดที่มีคุณภาพ จากส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย มาทำทางเบี่ยงข้ามหลอดเลือดแดง ในบริเวณที่ตีบ หรือ อุดตัน โดยเส้นเลือดที่นำมาใช้อาจเป็นหลอดเลือดดำจากขา หรือ หลอดเลือดแดงจากปลายแขน
  2. แพทย์จะทำการต่อปลายหลอดเลือดข้างหนึ่ง ไปเชื่อมกับหลอดเลือดแดงที่เข้าไปเลี้ยงที่หัวใจ ส่วนปลายหลอดอีกด้านหนึ่งจะนำมาต่อเข้ากับหลอดเลือดแดงในบริเวณที่ตีบ หรือ เกิดการอุดตัน
  3. การผ่าตัดต่อหลอดเลือดหัวใจ จะทำให้เลือดไหลเวียนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยรักษาอาการหัวใจขาดเลือด และทำให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น

การทำบายพาสหัวใจ

การดูแลตนเองหลังจากทำบายพาสหัวใจ

เมื่อผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยจะต้องพักรักษาตัวอยู่ในห้องไอซียู อย่างน้อย 1-2 วัน และจะถูกย้ายตัว ไปพักฟื้นในห้องผู้ป่วยอีกอย่างน้อย 7 วัน เพื่อติดตามการรักษา โดยผู้ป่วยจะต้องต่อท่อ หรือ สายต่าง ๆ ตามร่างกายอยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งระหว่างพักฟื้นแล้วอาจมีอาการต่าง ๆ เป็นผลข้างเคียงได้ เช่น อาการมึน งง เป็นต้น

 

เมื่อแพทย์อนุญาตให้กลับไปพักฟื้นที่บ้านแล้ว ผู้ป่วยจะต้องระมัดระวังในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งบาดแผล สุขภาพต่าง ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ และควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหนัก ๆ เพราะอาจทำให้แผลหายช้าได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด โดยหากเกิดอาการแทรกซ้อนไม่พึงประสงค์ ควรพบแพทย์ทันที

 

อาการผิดปกติที่ควรพบแพทย์

  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • มีอาการบวม แดง หรือ เลือดออกมากบริเวณผ่าตัด
  • เจ็บที่แผลผ่าตัดมากขึ้น
  • หายใจลำบาก
  • ชีพจรเต้นเร็ว หรือ ชีพจรเต้นผิดปกติ
  • ขาบวม หรือ มีอาการชา ตามแขน และขา
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อย่างต่อเนื่อง

 

อาการแทรกซ้อนที่อาจพบได้

  • หัวใจเต้นผิดปกติ ผู้ป่วยบางรายที่เข้ารับการผ่าตัด จะมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา
  • การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด หากไม่รักษาความสะอาดให้ดีพอ
  • การทำงานของไตลดลง หลักจากการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจมีภาวะการทำงานของไตที่ลดลง จนอาจทำให้ต้องฟอกไต แต่อาการแทรกซ้อนนี้พบได้น้อย
  • ปัญหาที่เกี่ยวกับสมอง ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัด อาจพบปัญหาในการเรียนรู้ ซึ่งอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น ใน 6-12 เดือน โดยผู้ป่วยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนกลายเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้
  • หัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด ในช่วงระหว่างการผ่าตัด ซึ่งอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

การทำบายพาสหัวใจ เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งของการรักษา ซึ่งเป็นการผ่าตัดใหญ่ ต้องใช้เวลาพักฟื้นพอสมควร และที่สำคัญ ผู้ป่วยจะต้องรักษาตัวเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาการรักษา และทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

 

 

ที่มาข้อมูล 1 2

บทความที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
หยุดความเชื่อผิดๆ : ผิวเด็กไม่ได้ฟื้นฟูได้ไว เป็นแผลห้ามปล่อยไว้ให้หายเอง
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด
จัดฟันแบบใส สร้างโลกสดใสให้เด็ก ๆ มีรอยยิ้มสวยมั่นใจได้มากกว่าที่คิด

การทำบอลลูนหัวใจ ทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคหัวใจ ทำอย่างไร?

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัว สาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน

โรคหัวใจ เกิดจากสาเหตุอะไร โรคหัวใจมีอาการอะไรบ้าง โรคหัวใจมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Waristha Chaithongdee

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • การทำบายพาสหัวใจ การผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ทำได้อย่างไร?
แชร์ :
  • รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

    รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

  • สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดจากอะไร รับมือกับปัญหากลิ่นปากอย่างไรดี?

    สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดจากอะไร รับมือกับปัญหากลิ่นปากอย่างไรดี?

  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

  • รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

    รวมเคล็ดลับ วิธีระงับกลิ่นปาก ให้ไม่มีกลิ่นเหม็น บอกลาปัญหากลิ่นปาก!

  • สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดจากอะไร รับมือกับปัญหากลิ่นปากอย่างไรดี?

    สาเหตุของกลิ่นปาก เกิดจากอะไร รับมือกับปัญหากลิ่นปากอย่างไรดี?

  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ