X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกไม่ถ่าย งอแง คุณแม่ควรทำอย่างไร วิธีรับมือเมื่อลูกท้องผูก

บทความ 5 นาที
ลูกไม่ถ่าย งอแง คุณแม่ควรทำอย่างไร วิธีรับมือเมื่อลูกท้องผูก

ปัญหาของลูกน้อยในเรื่องของการขับถ่าย เป็นปัญหาที่หนักอกหนักใจคุณพ่อคุณแม่มากพอสมควร เพราะเมื่อ ลูกไม่ถ่าย ลูกถ่ายยาก ไม่ถ่ายหลายวัน จนทำให้เด็กร้องไห้กระจองอแง เพราะความรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว รวมถึงเป็นการส่งสัญญาณถึงปัญหาท้องผูกเรื้อรังได้ แล้วคุณพ่อคุณแม่ควรแก้ไขอย่างไร

 

ลูกไม่ถ่าย ลูกถ่ายยาก เป็นเพราะอะไร?

ทารกไม่ถ่าย ทารกถ่ายยาก หรือทารกมีอาการท้องผูก จนเด็กร้องไห้งอแง เนื่องจากรู้สึกไม่สบายตัว และหากปล่อยเอาไว้นาน อาจส่งผลต่อสุขภาพของทารกในด้านอื่น ๆ ตามมาได้ และปัญหานี้ ก็มักจะพบได้บ่อยครั้ง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ จึงควรหมั่นสังเกตอาการในเบื้องต้น และหาวิธีป้องกัน แก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาของเรื่องขี้ ๆ ที่มันไม่ขี้เลยสำหรับเด็ก

 

ลูกไม่ถ่าย งอแง คุณแม่ควรทำอย่างไร วิธีรับมือเมื่อลูกท้องผูก

 

ลูกไม่ถ่ายหลายวันเกิดจากสาเหตุอะไร?

สำหรับเด็กทารกวัยแบเบาะ เราอาจหาสาเหตุจากอาหารการกินเป็นหลัก นั่นก็คือ ในกรณีที่ทารกกินนมแม่ หรือนมชง ในกรณีนี้จะต้องสังเกตถึงปริมาณที่เด็กทาน รวมถึงความถี่ในการกิน เนื่องจากเด็กเล็ก จะกินนมเป็นอาหารหลัก ซึ่งทารกที่กินนมแม่ ควรถ่ายอย่างน้อย 1 ครั้ง / สัปดาห์ ในขณะที่ทารกที่ดื่มนมชงควรถ่ายทุก ๆ 4 – 5 วัน หรือเกิดจากปัญหาสุขภาพ ทั้งนี้ จะต้องใช้การสังเกตเป็นหลัก

ในกรณีทารกที่โตขึ้นในระดับหนึ่ง จะเริ่มมีการทานอาหารบดร่วมกับนม การจัดสัดส่วนของอาหารที่มีใยอาหาร รวมถึงน้ำดื่มในแต่ละวัน จะต้องเพียงพอกับความต้องการ

 

ลูกท้องผูกเรื้อรังสังเกตได้จากอะไร?

หากลูกของคุณถ่ายยาก หรือมีภาวะท้องผูก แต่คุณรู้สึกไม่แน่ใจ ให้ลองสังเกตถึงพฤติกรรมเหล่านี้ หากเข้าเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เรายกตัวอย่างมาก ถือว่าลูกของคุณมีอาการท้องผูกเรื้อรังแล้วค่ะ

  • อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนเล็ก และแข็ง
  • ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • พยายามกลั้นอุจจาระ
  • ยืนเบ่ง
  • ไม่กล้านั่งถ่ายอุจจาระ
  • ยืนเขย่งเท้า เกร็งขา ขณะพยายามถ่ายอุจจาระ
  • นอน หรือยืนหนีบก้นจนหน้าซีด หรือมีเหงื่อออก
  • ต่อต้านการนั่งถ่ายอุจจาระในโถส้วม

ในกรณีของเด็กทารกจะมีอาการท้องอืด ท้องแข็ง มีอาการงอแง รู้สึกไม่สบายตัว ในบางรายหน้าจะแดง เนื่องจากอาการอึดอัดร่วมด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลำไส้อุดตันในทารก อาการของลำไส้อุดตัน ลูกกินกล้วยแล้วไม่ถ่าย ป้อนกล้วยทารก มากไปไหม?

 

ลูกไม่ถ่าย งอแง คุณแม่ควรทำอย่างไร วิธีรับมือเมื่อลูกท้องผูก

 

วิธีแก้ปัญหาลูกถ่ายยาก

  • เปลี่ยนนมที่ทารกกิน

ในกรณีนี้ต้องแยกออกเป็นสองกรณี คือกรณีที่ทารกกินนมแม่ และทารกที่กินนมชง สำหรับทารกที่กินนมชง แล้วเกิดอาการถ่ายยาก ถ่ายไม่ออก นอกจากจะตรวจสอบปริมาณการชงให้ถูกต้องตามสัดส่วนที่ถูกต้องแล้ว หากเด็กยังไม่ดีขึ้น อาจลองเปลี่ยนสูตรนม หรือยี่ห้อนมผงที่ชงให้กับทารก จากนั้นให้คอยสังเกตการถ่ายของลูกว่าดีขึ้นหรือไม่

ในขณะเดียวกัน กลุ่มทารกที่กินนมแม่ อาจจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของคุณแม่เอง เนื่องจาก น้ำนมแม่ จะถูกกลั่นกรองออกมาจากสารอาหารที่คุณแม่เป็นผู้รับประทานเข้าไปในแต่ละวัน แต่หากลองปรับเปลี่ยนอาหารแล้ว แต่ไม่ได้ผล ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของการถ่ายยาก

 

  • กินน้ำมากเพียงพอ

น้ำมีความสำคัญกับร่างกายของเราเป็นอย่างมาก และน้ำจะเป็นองค์ประกอบสำคัญทั้งระบบทางเดินอาหาร การย่อย การดูดซึม รวมถึงการขับถ่ายอีกด้วย หากทารก หรือเด็กได้รับน้ำ หรือนมที่น้อยจนเกินไป ก็จะทำให้ร่างกายทารกเกิดอาการขาดน้ำ และส่งผลต่อระบบขับถ่ายของตัวเด็กได้ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นานไป การขาดน้ำก็ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ อีกด้วย

ในกรณีที่ลูกน้อยกินนมแม่ อาจทำการเพิ่มปริมาณนมที่รับประทานเข้าไปในแต่ละวัน เพื่อให้เกิดความสมดุลในร่างกาย ในขณะที่ทารกที่กินนมชง อาจต้องเพิ่มปริมาณมากของน้ำสะอาดเข้าไปไม่เกินจากส่วนผสมเดิม 1 – 2 ออนซ์ หรือ 60 มิลลิลิตรต่อวัน

 

  • เพิ่มอาหารบด

สำหรับทารกที่โตขึ้นจนสามารถทานอาหารบดร่วมกับนมได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถเพิ่มอาหารที่มีกากใย และมีความปลอดภัยต่อทารกได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น กล้วย ลูกแพร์ ลูกพรุน พีช เป็นต้น เพราะใยอาหารเหล่านี้ จะช่วยให้เด็กมีการขับถ่ายออกมาได้ง่ายยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการจับตัวของอุจจาระจากใยอาหาร

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มอาหารบดเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาอาหารที่เหมาะกับวัยของทารกได้อย่างเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของตัวเด็กเอง

 

ลูกไม่ถ่าย งอแง คุณแม่ควรทำอย่างไร วิธีรับมือเมื่อลูกท้องผูก

 

  • แช่น้ำอุ่น และนวดท้อง

การได้อาบน้ำอุ่น แช่น้ำอุ่น รวมถึงการนวดคลึงเบา ๆ บริเวณท้อง ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำไส้มีความผ่อนคลาย และได้รับการกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนตัวของลำไส้ ทำให้อุจจาระสามารถเคลื่อนได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นการใช้วิธีนี้ จึงเป็นการช่วยกระตุ้นระบบการขับถ่ายที่ดีอีกวิธีหนึ่ง

 

  • ออกกำลังกาย

การเคลื่อนไหว จะทำให้ร่างกาย และกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ มีการขยับเขยื้อน ทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดลมในร่างกาย รวมถึงลำไส้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะท่าปั่นจักรยานอากาศ (Air Cycling) เป็นท่าออกกำลังกายที่ช่วยบรรเทาอาการถ่ายยากของทารกได้ในระดับหนึ่ง ด้วยการให้ทารกนอนหงายราบไปกับพื้น แล้วให้เราจับขาของทารก ยกชูขึ้นด้านบน และเคลื่อนไหวคล้ายการปั่นจักรยาน การทำลักษณะนี้ จะช่วยกระตุ้นลำไส้ ให้มีการเคลื่อนไหว และกระตุ้นให้ระบบขับถ่าย สามารถทำงานได้ดี

 

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
  • พบแพทย์เพื่อวินิจฉัย และรักษา

หากคุณพ่อคุณแม่ลองมาสารพัดวิธีแล้ว แต่ลูกของคุณดูและไม่มีทีท่าว่าอาการจะดีขึ้น หรือกรณีที่ทารกมีข้อจำกัดในการทำสิ่งต่าง ๆ ที่เราแนะนำมาข้างต้น คุณพ่อคุณแม่ ควรพาลูกน้อยของคุณไปพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยหาสาเหตุ และทำการรักษา ไม่ควรหายา อาหารเสริม สมุนไพร มาให้กับทารกกินเอง เพราะอาจเป็นอันตรายได้

 

โดยมากปัญหาของทารกถ่ายยาก หรือไม่ถ่าย มักจะหายเองได้ แต่หากทารกไม่ถ่ายเป็นเวลานาน 5 – 10 วัน หรืออุจจาระมีเลือดปน หรืออุจจาระเป็นสีดำ หรือเด็กงอแงมากกว่าปกติ มีอาการท้องบวมแข็ง อาเจียน เป็นไข้ ไม่กินนม หรือมีอาการซึมมากกว่าปกติ ควรรีบพาลูกน้อยไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุโดยทันที

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เด็กทารกท้องผูก สัญญาณอันตราย ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

ผักผลไม้ทำให้เด็กท้องอืด จริงหรือไม่? มีอะไรบ้างที่ควรเลี่ยง

ลูกอึแข็ง ถ่ายยาก ลูกอุจจาระแข็ง อุจจาระไม่ออก ทําไงดี วิธีแก้ เด็กท้องผูก

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Arunsri Karnmana

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ลูกไม่ถ่าย งอแง คุณแม่ควรทำอย่างไร วิธีรับมือเมื่อลูกท้องผูก
แชร์ :
  • ประโยชน์ของไลโคปีน มีอะไรบ้าง ไลโคปีนป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงไหม?

    ประโยชน์ของไลโคปีน มีอะไรบ้าง ไลโคปีนป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงไหม?

  • เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

    เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

  • คนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ เสี่ยงแท้ง ! โปรเจสเตอโรนคืออะไร แม่ท้องต้องอ่าน

    คนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ เสี่ยงแท้ง ! โปรเจสเตอโรนคืออะไร แม่ท้องต้องอ่าน

  • ประโยชน์ของไลโคปีน มีอะไรบ้าง ไลโคปีนป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงไหม?

    ประโยชน์ของไลโคปีน มีอะไรบ้าง ไลโคปีนป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงไหม?

  • เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

    เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

  • คนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ เสี่ยงแท้ง ! โปรเจสเตอโรนคืออะไร แม่ท้องต้องอ่าน

    คนท้องโปรเจสเตอโรนต่ำ เสี่ยงแท้ง ! โปรเจสเตอโรนคืออะไร แม่ท้องต้องอ่าน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ