X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เด็กทารกท้องผูก สัญญาณอันตราย ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

บทความ 5 นาที
เด็กทารกท้องผูก สัญญาณอันตราย ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

สัญญาณอันตรายที่มักจะพบเห็นได้บ่อยของเด็กทารก คืออาการท้องผูก เด็กทารกท้องผูก เกิดจากอะไร แล้วเราจะสามารถสังเกตได้หรือไม่ เราควรแก้ไขด้วยวิธีไหน และหากมองข้ามอาการนี้ จะส่งผลเสียกับตัวเด็กอย่างไร เรามาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันค่ะ

 

เด็กทารกท้องผูก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?

ปัญหาของทารกท้องผูกนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเราจะแบ่งออกตามช่วงอายุของทารกเป็น 2 ช่วงวัยด้วยกัน คือ ทารกที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือน และทารกที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป

 

เด็กทารกท้องผูก สัญญาณอันตราย ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

 

ทารกที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือน

อย่างที่เราทราบกันดีกว่า เด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือนนั้น จะกินแต่นมเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากเด็กในช่วงวัยนี้มีอาการท้องผูกเกิดขึ้น มีความจำเป็นจะต้องได้รับการดูแลจากกุมารแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 เดือน ซึ่งเด็กในวัยนี้มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการท้องผูกได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้

 

  • ปัญหาสุขภาพ

เด็กในช่วงวัยนี้ หากมีอาการท้องผูก มักจะมีปัญหาจากสุขภาพโดยตรง เช่นอาการของภาวะลำไส้ใหญ่โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung’s Disease : HD) ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นประมาณ 1 ใน 5,000 คน โดยการรักษาจะทำได้ด้วยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น

 

  • ปัญหาจากน้ำนม

โดยมากทารกที่ดื่มนมแม่นั้น มักจะไม่เกิดปัญหาท้องผูกให้ได้พบเห็น เนื่องจากในน้ำนมแม่ จะมีแบคทีเรียชนิดดี รวมถึงไขมัน และโปรตีนที่ช่วยทำให้อุจจาระไม่แข็งตัว ส่งผลให้การขับถ่ายนั้นสามารถทำได้โดยง่าย ยกเว้นในกรณีที่เด็กมีอาการแพ้โปรตีนในน้ำนมแม่ หรืออาหารบางประเภทที่คุณแม่รับประทานเข้าไป

 

  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนด

เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด มักจะมีความเสี่ยงการเป็นท้องผูกได้มากกว่าเด็กทั่วไป เนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กยังไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ ทำให้น้ำนมที่รับประทานเข้าไป เคลื่อนผ่านทางเดินอาหารได้ช้า และย่อยได้ไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้อุจจาระมีลักษณะแห้ง และแข็ง ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ง่าย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ความวิตกกังวลต่าง ๆ ก่อน การคลอดบุตร ที่คุณแม่ต้องรู้!

 

เด็กทารกท้องผูก สัญญาณอันตราย ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

 

ทารกที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป

สำหรับทารกที่อายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไปนั้น อาการท้องผูกที่เกิดขึ้นมักจะมีสาเหตุมาจากอาหารการกินเป็นหลัก หรือปัญหาของสุขภาพที่ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกได้ โดยสาเหตุหลักที่เราพบเจอมีดังนี้

 

  • นมชง

เมื่อเด็กโตขึ้นในระดับหนึ่ง มักจะพบว่าคุณพ่อคุณแม่จะเริ่มเปลี่ยนจากนมแม่ ให้เด็กเริ่มกินนมชงมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคุณแม่ที่มีปริมาณน้ำนมที่ไม่เพียงพอ ปริมาณนมผงที่มากกว่าที่กำหนดเอาไว้ ก็สามารถเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เด็กทารกเกิดอาการท้องผูกได้ นอกจากนี้ ทารกที่แพ้โปรตีนในน้ำนม ก็สามารถเกิดอาการท้องผูกได้เช่นเดียวกัน

 

  • ภาวะขาดน้ำ

ในบางกรณี หากทารกประสบภาวะขาดน้ำ หรือได้รับน้ำไม่เพียงพอ เช่นการชงนมในปริมาณที่ผิดสัดส่วน หรือร่างกายดูดซึมน้ำจากอาหารที่กินเข้าไปได้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้อุจจาระ หรือกากของเสียในร่างกายแห้ง และแข็งตัว จนขับถ่ายลำบาก

 

  • อาหารต่าง ๆ

หลังจากการเพิ่มปริมาณ ความหลากหลายของอาหาร ให้กับเด็กทารก ทำให้ร่างกายของเด็กได้รับปริมาณของเหลวน้อยลงกว่าเดิม ซึ่งจากเดิมเด็กทารกจะได้รับน้ำนมแม่อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งอาหารที่ทานเข้าไปนั้น ยังมีปริมาณเส้นใยที่ต่ำ ทำให้เด็กเกิดอาการท้องผูกได้ง่าย

 

  • อาการป่วย และยา

หากเด็กทารกมีอาการแพ้อาหารบางชนิด หรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบเผาผลาญอาหาร จะส่งผลให้เด็กกินอาหาร หรือดื่มน้ำในปริมาณที่น้อยลง ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติ จนนำไปสู่ปัญหาท้องผูกได้ นอกจากนี้ การใช้ยาระงับปวด หรือธาตุเหล็กในปริมาณที่สูง ก็ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกได้เช่นเดียวกัน

 

สิ่งที่ผู้ปกครองควรระวัง ไม่ให้ทารกท้องผูก

ปัญหาที่พบบ่อย ที่ทำให้เด็กทารกเกิดอาการท้องผูก คือ

 

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

เด็กทารกท้องผูก สัญญาณอันตราย ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

 

  • ให้ทารกกินอาหารที่ไม่เหมาะสมกับวัย
  • บางครอบครัวให้เด็กทารกกินอาหารเสริมก่อนวัย 6 เดือน ทั้งที่ร่างกายยังไม่สามารถย่อยสารอาหารเหล่านั้นได้
  • การที่เด็กท้องผูก อาจส่งผลให้เกิดภาวะลำไส้ตีบตันได้ ถือเป็นภาวะที่เป็นอันตรายมากสำหรับเด็กวัยนี้
  • การชงนมที่ผิดสัดส่วน กรณีที่ไม่ใช่น้ำนมแม่ ดังนั้นควรชงนมตามสัดส่วนที่ระบุเอาไว้ข้างกล่องอย่างเคร่งครัด
  • หลัง 6 เดือนขึ้นไปแล้ว สามารถให้ทารกเริ่มกินอาหารเสริมได้ ตามสัดส่วนที่พอเหมาะ และควรเน้นผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใย เพื่อกระตุ้นการขับถ่าย รวมถึงให้กินน้ำในปริมาณที่มากเพียงพอ เพื่อให้ช่วยขับถ่ายได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • หากทำทุกอย่างถูกต้องแล้ว แต่พบว่าลูกยังท้องผูกบ่อย ควรพบแพทย์โดยทันที

บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำที่ใช้ชงนมให้ลูก เรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจคุณแม่ควรใช้น้ำแบบไหนเพื่อให้ลูกปลอดภัย ได้ประโยชน์

 

 

วิธีดูแล และกระตุ้นให้ทารกขับถ่ายได้ง่าย

นอกจากชนิดอาหารที่จำเป็นจะต้องให้ทารกในปริมาณที่เหมาะสมกับวัยของทารกแล้ว เรายังสามารถช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายให้กับทารกได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

 

เด็กทารกท้องผูก สัญญาณอันตราย ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

 

  • ฝึกการขยับร่างกายอยู่บ่อยครั้ง

ช่วยขยับร่างกายของทารกด้วยการนวดกระตุ้นขา จับขาของทารกให้ทำท่าเหมือนถีบจักรยานกลางอากาศ ฝึกการเคลื่อนไหว บิดตัวซ้ายขวาอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ร่างกายมีการเร่งระบบการย่อยอาหาร และร่างกายมีการลำเลียงของเสียออกไปได้เร็วยิ่งขึ้น

 

  • การนวดบริเวณท้องของทารก

การนวดท้องเบา ๆ จากบริเวณท้องส่วนล่างด้านซ้ายของเด็ก โดยให้ห่างจากสะดือประมาณ 3 นิ้วมือ ด้วยการใช้ปลายนิ้วกดลงไปเบา ๆ อย่างสม่ำเสมอ ทำลักษณะนี้ประมาณ 3 นาที และควรทำอย่างต่อเนื่องจนกว่าเด็กจะสามารถขับถ่ายได้เป็นปกติ เพราะวิธีนี้ จะช่วยในการกระตุ้นลำไส้ให้แข็งแรง และขับถ่ายได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

  • การใช้ยาในการรักษาอาการท้องผูก

หากทารกมีอาการท้องผูก ขับถ่ายไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาทารกน้อยไปพบกับแพทย์ เพื่อขอคำปรึกษา และแนะนำ ในกรณีที่จำเป็นจะต้องใช้ยาในการรักษานั้น ยาที่นำมาใช้ จะช่วยให้อุจจาระอ่อนตัวลง และสามารถขับถ่ายได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาอาการท้องผูกด้วยยาในเด็กเล็ก เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำหากไม่จำเป็น เพราะหากใช้บ่อยครั้ง อาจทำให้ร่างกายเด็ก เกิดความเคยชิน และไม่สามารถขับถ่ายเองได้ตามปกติ

 

  • ทาว่านหางจระเข้ เพื่อบรรเทาอาการฉีกขาดบริเวณทวาร

ในกรณีที่เด็กทารกไม่สามารถขับถ่ายได้เป็นปกติจนมีเลือดออก หรือผิวหนังบริเวณทวารหนักเกิดการฉีกขาด ควรใช้ครีมที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้ทาบริเวณดังกล่าว เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดในเบื้องต้น จากนั้นให้รีบพาทารกไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และรักษาโดยทันที

 

 

ทารกท้องผูกรักษาได้อย่างไร?

นอกจากประเภทอาหาร และสัดส่วนของอาหารที่จะต้องเหมาะสมกับวัยของเด็กทารกแล้ว การใส่ใจในพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของเด็กก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน หากแต่สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ยังไม่สามารถช่วยให้อาการท้องผูกของเด็กทารกดีขึ้นได้ การใช้ยาจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก สำหรับคุณพ่อคุณแม่ แต่ควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งเรียนรู้วิธีการใช้ยาที่ถูกต้องและปลอดภัยต่อเด็กทารก เช่น

 

  • เหน็บก้นด้วยกลีเซอรีน

วิธีนี้คือการเหน็บตัวยาเข้าไปในบริเวณก้น เพื่อช่วยกระตุ้นการขับถ่าย ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับทารกที่ประสบปัญหาการขับถ่ายยากจนถึงขั้นมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ

 

  • ใช้ยาระบายสำหรับเด็ก

ยาถ่าย หรือยาระบายสำหรับเด็ก จะมีตัวยาที่ช่วยให้อุจจาระนิ่มตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้ลำไส้ที่อ่อนแรงอย่างลำไส้ของเด็กวัยทารกสามารถขับถ่ายได้ดียิ่งขึ้น แต่ก่อนใช้ยานี้ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชก่อนการใช้ยาเสมอ

 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาของทารกที่มีอาการท้องผูกนั้น นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ และส่งผลเสียในระยะยาว หากผู้ปกครองปล่อยปละละเลย รวมถึงการที่ผู้ปกครองหาซื้อยามาเพื่อทำการรักษาเองโดยไม่ได้ขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจจะส่งผลเสียได้มากกว่า ดังนั้นปัญหาสุขภาพบางประการ การเข้าพบแพทย์เบื้องต้น เพื่อขอคำวินิจฉัย นำสู่วิธีการรักษาอย่างถูกต้อง จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และไม่ควรมองข้ามค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

น้ำลูกพรุนสำหรับทารก ช่วยขับถ่าย ท้องผูก กินได้ตั้งแต่ตอนอายุเท่าไหร่?

ท้องผูก ขับถ่ายยาก ปรับสุขภาพด้วย ซินไบโอติก

อาหารแก้ท้องผูกสำหรับเด็ก 7 อย่าง อร่อย มีประโยชน์ ไม่ต้องพึ่งยาระบาย

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Arunsri Karnmana

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • เด็กทารกท้องผูก สัญญาณอันตราย ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม
แชร์ :
  • ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

    ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

  • ประโยชน์ของไลโคปีน มีอะไรบ้าง ไลโคปีนป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงไหม?

    ประโยชน์ของไลโคปีน มีอะไรบ้าง ไลโคปีนป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงไหม?

  • เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

    เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

  • ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

    ทำ IF ระหว่างตั้งครรภ์ ได้ไหม? ส่งผลอย่างไรต่อลูกน้อย?

  • ประโยชน์ของไลโคปีน มีอะไรบ้าง ไลโคปีนป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงไหม?

    ประโยชน์ของไลโคปีน มีอะไรบ้าง ไลโคปีนป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้จริงไหม?

  • เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

    เล็บคนท้อง ยาวไวกว่าปกติจริงไหม อยากเล็บสวยฟาด! แม่ท้องทำเล็บได้หรือเปล่า

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ