สำหรับเด็กทารกแรกเกิดจนถึงวัย 3 เดือน ถือเป็นวัยที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่าง ๆ ให้เพียงพอในแต่ละวันเพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งแน่นอนว่า ‘นมแม่’ ถือเป็นสารอาหารที่เพียงพอแล้วสำหรับเด็ก ๆ วัยนี้ แต่ถ้าเด็กแพ้นมแม่หรือคุณแม่มีปริมาณนมไม่เพียงพอก็ไม่ต้องเป็นกังวลไปค่ะ เพราะวันนี้เราจะมา อาหารเสริมเด็กก่อน 3 เดือน ให้คุณแม่ได้นำไปป้อนลูกน้อยได้อย่างเหมาะสม ถ้าพร้อมแล้ว ตามเข้าไปอ่านต่อในบทความด้านล่างได้เลย
อาหารเสริมเด็กก่อน 3 เดือน คืออะไร ?
คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนที่อาจจะเคยสงสัยว่าลูกน้อยวัยก่อน 3 เดือนต้องกินอะไรเพิ่มไหม คำตอบก็คือไม่นะคะ เพราะมีเพียงน้ำนมแม่เด็ก ๆ ก็ได้รับสารที่ครบถ้วนแล้วค่ะ ซึ่งการที่พวกเขาได้รับน้ำนมจากแม่ที่เพียงพอในแต่ละวันแน่นอนว่ามันช่วยในเรื่องของ ระบบภูมิต้านทาน ของลูกน้อยในช่วง 2-3 ปีแรกด้วย ถ้าเกิดว่าลูกน้อยมีภูมิต้านทานที่แข็งแรงแน่นอนอยู่แล้วว่ามันต้องเกี่ยวข้องกับพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการเจริญเติบโตทางร่างกาย ทางสติปัญญา รวมไปจนถึงการพัฒนาทางอารมณ์ และการเข้าสังคม
ระบบภูมิต้านทานเริ่มแรก
เมื่อลูกน้อยคลอดออกมา พวกเขาจะได้รับสารแอนติบอดีชุดแรกจากคุณแม่มาด้วยอยู่แล้ว แต่สารตัวนี้จะอยู่ได้แค่ช่วง 2-3 เดือนแรกเท่านั้น ซึ่งถ้าภูมิต้านทานของลูกน้อยยังเจริญไม่เต็มที่ก็จะทำให้พวกเขาติดเชื้อได้ง่าย รวมไปจนถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการ ยกตัวอย่างเช่น โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ติดเชื้อในหู ติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ( ท้องร่วง โรคภูมิแพ้ โรคหืด)
การเลือก อาหารเสริมเด็กก่อน 3 เดือน
คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจจะเคยสงสัยว่านอกจากนมแม่แล้วเด็กทารกแรกเกิดสามารถทานอะไรได้บ้าง แล้วต้องทานอะไรจึงจะเหมาะสมกับช่วงวัย
1. อาหารเสริมเด็กก่อน 3 เดือน
อย่างที่เกริ่นไปเมื่อข้างต้นว่าเด็กทารกแรกเกิดในช่วงวัยนี้ จริง ๆ แล้ว ยังไม่จำเป็นต้องให้อาหารเสริม เนื่องจากน้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดอยู่แล้วสำหรับทารก แต่ถ้าจำเป็นจึงจะให้นมผสมรับประทาน ได้ถึง 2 ปี ในส่วนของปริมาณอาหารเสริมที่ควรได้รับต่อวันคือ น้ำนมแม่สามารถให้ลูกน้อยรับประทานได้จนถึง 2 ปี แต่เมื่ออายุได้ 1 ปี ต้องได้รับอาหารมื้อหลักครบ 3 มื้อแล้วค่ะ เพื่อเสริมพัฒนาการของพวกเขาให้โตตามวัย
2. เด็กทารกวัย 4-6 เดือน
ในวัยนี้อาหารเสริมที่ควรเริ่มได้ก็จะเป็นพวกอาหารอ่อน ๆ เช่น
- ข้าวบดละเอียด
- ไข่ต้มสลับกับตับบด หรือ ปลาบดเช่น ปลาทู ปลาช่อน
- ผักสุกบด เช่น ผักกาดขาวฟักทอง
- น้ำต้มผักกับกระดูกหมู
- ผลไม้สุก เช่น มะละกอสุก มะม่วงสุกส้ม กล้วยน้ำว้าสุก
ปริมาณต่อวันที่เด็กควรได้รับ
- ข้าวบดประมาณ 3ช้อนโต๊ะไข่แดงครึ่งฟอง
- ตับบด 1 ช้อนโต๊ะ
- ปลาบด 2 ช้อนโต๊ะ
- ผักสุกบดครึ่งช้อนโต๊ะ
- ผลไม้สุก 1-2 ชิ้น
3. เด็กทารกวัย 7-8 เดือน
วัยนี้จะเริ่มต้องการสารอาหารเพิ่มมากขึ้นแล้ว เช่น
- ข้าวบดหยาบ
- ไข่ทั้งฟอง สลับกับเนื้อปลา เนื้อหมูหรือ เนื้อไก่ ในแต่ละมื้อสามารถสลับได้ค่ะ
- ผักสุกบดหยาบให้ผักหลายชนิดสลับกัน
- น้ำต้มผักกับกระดูกหมู
- ผลไม้สุก
ปริมาณต่อวันที่เด็กควรได้รับ
- ข้าวบดประมาณ 3 – 4 ช้อนโต๊ะ
- ไข่ทั้งฟอง เพื่อเพิ่มโปรตีน
- เนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะ
- ผักสุกบด 1-2 ช้อนโต๊ะ
- ผลไม้สุก 2-3 ชิ้น
- อาหารเสริม 1 มื้อ
- ผลไม้หลังอาหาร
4. เด็กทารก 8-10 เดือน
วัยนี้เริ่มเป็นวัยที่สามารถใช้ลิ้นดุนอาหารได้แล้วบ้างคุณแม่สามารถเปลี่ยนจากการบดข้าวเป็นข้าวสุกได้เลยค่ะ ส่วนเรื่องอาหารเสริมอย่างอื่นจะคล้าย ๆ กับวัย 7 เดือน เพียงแต่ต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้น เช่น
- ข้าวสุกนิ่มเพิ่มขึ้นมาเป็น 5 ช้อนโต๊ะ
- ไข่ทั้งฟอง
- เนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะ
- ผักสุกหั่น 2 ช้อนโต๊ะ
- ผลไม้สุก 3-4 ชิ้น
- อาหารเสริม 2 มื้อ
- ผลไม้หลังอาหารทุกมื้อ
5. เด็กทารก 10-12 เดือน
สำหรับเด็กทารกที่อายุ 10-12 เดือน สามารถทานได้เหมือนกับวัย 8-10 เดือนเลยค่ะ แต่เพิ่มปริมาณมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายของลูกน้อยได้รับสารอาหารที่เพียงพอในการพัฒนาศักยภาพด้านอื่น ๆ
วิธีสร้างความแข็งแรงให้ระบบภูมิต้านทานของลูกน้อย
การสร้างภูมิต้านทานที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อยวัยแรกเกิด น้ำนมแม่ถือสารอาหารที่ดีที่สุด เพราะมีส่วนช่วยสร้างภูมิต้านทานมากมาย ทั้งโปรตีน ธาตุเหล็ก สังกะสี ดีเอชเอ และสารส่วนประกอบต่าง ๆ หลายชนิด ซึ่งมันจะเข้ามาช่วยสร้างภูมิต้านทานเช่นพวกสารแอนติบอดี พรีไบโอติก และสารกระตุ้นการเจริญเติบโต ทำให้ลูกน้อยมีระบบภูมิต้านทานตามธรรมชาติเพื่อยับยั้งการรุกรานของเชื้อจุลินทรีย์ที่มักก่อให้เกิดโรคค่ะ
แต่เมื่อถึงวัยที่ลูกน้อยสามารถทานอาหารเสริมได้แล้ว คุณแม่ก็สามารถเตรียมมื้ออาหารไว้ตามข้อมูลข้างต้นได้เลยอย่างเช่นพวกข้าวบด ผลไม้ต่าง ๆ และควรให้ลูกกินในปริมาณที่เหมาะสมกับช่วงอายุด้วย เพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ๆ ให้เติบโตได้ตามวัย เช่น ซีเรียลและอาหารจำพวกแป้ง คาร์โบไฮเดรต วิตามิน แร่ธาตุ ที่สำคัญอย่าลืมเสริมด้วยอาหารที่มีโปรตีนสูงด้วยค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ทารกกินข้าวบด กล้วยบด ได้ตอนกี่เดือน เด็กกินอาหาร มื้อแรกของลูกให้กินอะไรดี
อาหารเสริมมื้อแรกของลูกเริ่มต้นอย่างไรดีนะ
คุณแม่ควรรู้ อันตรายจากการ “ป้อนอาหารเสริมเร็วเกินไป”
ที่มา : hifamilyclub, synphaet, synphaet
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!