X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ 10 โรคอันตราย โรคแทรกซ้อนแม่ท้องต้องระวัง

บทความ 5 นาที
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ 10 โรคอันตราย โรคแทรกซ้อนแม่ท้องต้องระวัง

ภาวะแทรกซ้อน หรือโรคแทรกซ้อน ที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นเรื่องที่คนท้องต้องระมัดระวัง บางโรคเสี่ยงต่อการเสียชีวิต

โรคแทรกซ้อนแม่ท้องต้องระวัง รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิทยา ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เปิดเผยถึง โรคแทรกซ้อนแม่ท้องต้องระวัง ว่า คนท้องจำนวนไม่น้อย เมื่อตั้งครรภ์มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น ทั้งโรคแทรกซ้อนที่ไม่รุนแรง จนถึงโรคแทรกซ้อนแม่ท้องต้องระวัง เพราะเสี่ยงต่อการเสียชีวิต สำหรับโรคแทรกซ้อนที่พบบ่อยและเสี่ยงต่อสุขภาพของแม่และลูกในท้อง มีดังนี้

 

โรคแทรกซ้อนอันตรายเสี่ยงตายทั้งแม่ทั้งลูก

 

1. ท้องนอกมดลูก

คนท้องจำนวนไม่น้อยที่ไข่ที่ได้รับการผสมกับอสุจิแล้วไปฝังอยู่ท่อนำไข่ บางคนไปฝังในรังไข่ หรือบางคนก็ในช่องท้อง แต่กรณีที่พบบ่อยที่สุดคือท้องในท่อนำไข่ การตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ ส่วนมากเด็กโตไปได้ระยะหนึ่งก็มักจะเสียชีวิต สาเหตุที่พบบ่อยคือ คนท้องเคยมีประวัติปีกมดลูกอักเสบ เคยทำแท้งบ่อย ๆ การขูดมดลูกอาจจะมีการอักเสบติดเชื้อ ทำให้ท่อนำไข่หรือมดลูกไม่เรียบ ไข่เดินทางไปสู่มดลูกได้ช้า การฝังตัวเกิดได้ไม่ดี จึงเกิดฝังตัวนอกมดลูก

 

โรคแทรกซ้อนแม่ท้องต้องระวัง 1

2. ภาวะรกเกาะต่ำ

แม่ท้องบางรายรกเกาะต่ำลงมาที่ปากมดลูก ขวางทารกทำให้ลูกเคลื่อนลงมาไม่ได้ ถ้าเด็กตัวใหญ่ขึ้น รกที่เกาะอยู่แผ่นใหญ่ขึ้น พอขยายตัวอาจทำให้เกิดรอยเผยอระหว่างตัวรกกับปากมดลูกได้ เป็นเหตุให้แม่ท้องมีเลือดออก ถ้าเลือดออกมากอาจทำให้เด็กและแม่เสียชีวิตได้ มักเกิดกับแม่ที่เคยคลอดลูกหลาย ๆ คน หรือว่าเคยขูดมดลูกมาก่อน

 

3. แท้งบุตร

การแท้งลูกหรือแท้งบุตร คือการตั้งครรภ์นั้นสิ้นสุดลงก่อนเวลาอันควร หรือจำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์ก่อน 20-28 สัปดาห์ ส่วนมากเด็กจะไม่สามารถมีชีวิตได้เพราะว่าตัวเล็กเกินไป เป็นไปได้ทั้งการแท้งเอง เกิดจากไข่ที่ไม่สมบูรณ์ หรือว่าแม่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน โรคเลือดบางชนิด ก็ทำให้แท้งได้ บางรายก็หาสาเหตุชัดๆ ไม่ได้ เช่น อาจจะเกิดจากภาวะเครียด อดนอน ทำงานหนัก หรือแม่บางคนก็ตั้งใจทำแท้ง

บทความที่น่าสนใจ : คนท้องเครียดอันตราย เสี่ยงแท้งไหม? มาดูวิธีคลายเครียดของแม่ท้อง

 

โรคแทรกซ้อนแม่ท้องต้องระวัง 2

4. ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

ตามธรรมชาติรกจะเกาะที่ยอดมดลูก จะหลุดจากมดลูกคลอดตามทารกออกมา แต่คนท้องบางคนรกที่เกาะมดลูกอยู่หลุดออกมาก่อน โดยที่เด็กยังไม่คลอด ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงทารกขาดไปทันที หากช่วยไม่ทันจะทำให้ทารกเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ดังนั้น แม่ท้องต้องระวังอย่าให้เกิดอุบัติเหตุ ที่กระทบกระเทือนหน้าท้อง แต่บางราย ก็เกิดจากแม่เป็นความดันโลหิตสูง

 

5. ตกเลือดหลังคลอด

ภายหลังจากการคลอดลูก มดลูกจะบีบตัว ทำให้มีเลือดไหลออกมา ซึ่งการคลอดปกตินั้น จะทำให้แม่เสียเลือดประมาณ 200 - 300 ซีซี หากแม่มีเลือดออกมาก ๆ ก็จะทำให้ช็อคหรือเสียชีวิต ทางการแพทย์หมายความว่า ภายหลังจากคลอดเด็กแล้ว รกคลอดไปแล้ว แม่มีการเสียเลือดมากกว่าครึ่งลิตรหรือมากกว่า 500 ซีซี สาเหตุเกิดจากการที่มดลูกบีบตัวได้ไม่ดี ทำให้มดลูกแข็งตัวได้ไม่ดี เลือดจึงไหลไม่หยุด ส่วนมากพบในคนที่อายุมาก คลอดลูกบ่อย หรือคลอดลูกยาก ถ้ามดลูกบีบรัดตัวอยู่นาน อาจเพราะลูกตัวโต หรือเด็กมีท่าผิดปกติ จึงไม่คลอดเสียที พอบีบไม่ออก บีบนาน ๆ มดลูกก็ล้าหดรัดตัวไม่ดี หรือบางคนอาจได้รับยาคลายกล้ามเนื้อมดลูกบางอย่าง ทำให้มดลูกหดรัดตัวได้ไม่ดีเช่นกัน การฉีกขาดของช่องทางคลอด ฝีเย็บอาจจะมีการฉีกขาดทำให้เลือดออกมาก บางคนปากมดลูกมีการฉีกขาด บางคนมดลูกฉีกขาดหรือแตกจากการคลอด อาจเกิดจากทารกตัวใหญ่ หรือผู้ทำคลอดตัดฝีเย็บไม่ดี แผลใหญ่มากเด็กคลอดไปแล้ว แต่รกคลอดไม่หมด ยังค้างอยู่บางส่วน รกที่ค้างอยู่ทำให้มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ทำให้เสียเลือดได้

 

โรคแทรกซ้อนแม่ท้องต้องระวัง 3

6. โรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

คนท้องบางคนเป็นความดันโลหิตสูงอยู่แล้วก่อนตั้งครรภ์ บางคนความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ ซึ่งพบได้บ่อย คุณแม่จะมีอาการบวม ตรวจปัสสาวะเจอไข่ขาวหรือโปรตีนในปัสสาวะ ถ้าอาการรุนแร จะชัก อาจจะมีเส้นเลือดในสมองแตกเสียชีวิตได้ สมัยก่อนเรียกโรคนี้ว่า ครรภ์เป็นพิษ ส่วนลูกในครรภ์ ถ้าแม่มีอาการรุนแรงมาก เช่น ชัก เด็กมักตายในท้อง หรือถ้าแม่มีอาการนาน ๆ จะมีผลกับการเจริญเติบโตของลูกในครรภ์ ลูกตัวเล็ก ถ้าควบคุมอาการได้ดี ส่วนมากเด็กจะเจริญเติบโตได้ปกติ

โรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ พบบ่อย แม่ท้องที่อายุน้อย หรืออายุมาก มักเจอในท้องแรก ท้องหลังไม่ค่อยเจอ เจอได้บ่อยในครรภ์แฝด คนเป็นเบาหวาน หรือมีประวัติคนในครอบครัวที่แม่เคยโรคนี้ขณะตั้งครรภ์ สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับกรรมพันธุ์ หรือเกี่ยวกับอาหารการกิน หรืออาจจะเกี่ยวกับฮอร์โมนที่สร้างจากรก หรือจากตัวเด็กที่ทำให้ความดันขึ้น เมื่อคลอดเสร็จแล้วส่วนใหญ่แม่ก็จะหายเป็นปกติ

บทความที่น่าสนใจ : ความดันโลหิตสูง อาการที่อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ ต้องระวังให้ดี

 

7. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

แม่บางคนเป็นเบาหวานอยู่แล้วก่อนที่จะท้อง แต่คนท้องบางคนท้องแล้วจึงเป็นเบาหวาน พบว่าการตั้งครรภ์กระตุ้นให้เป็น ซึ่งเด็กในท้องหรือรกที่อยู่ในมดลูกสามารถสร้างฮอร์โมนหรือสารเคมีที่ไปยับยั้งการทำงานของอินซูลิน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด แม่ที่คุมน้ำตาลได้ไม่ดีอาจชักหรือช็อค เกิดการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ หมอมักพบในคนที่ท้องแรก แม่อายุมาก แม่ท้องอ้วน มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน หรือว่าตัวแม่เองมีโรคอื่น เช่น ความดันโลหิตสูง

 

8. การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

เมื่อตั้งครรภ์ มดลูกจะขยายตัวไปดันกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสาวะได้ไม่ดี มีการคั่งค้างนาน เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้น แม่ท้องอย่ากลั้นปัสสาวะบ่อย ๆ ต้องดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้มีการขับปัสาวะ เป็นการชำระล้างทำความสะอาดระบบทางเดินปัสสาวะ

 

โรคแทรกซ้อนแม่ท้องต้องระวัง 4

9. โรคโลหิตจาง

สาเหตุคือโรคเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก กับโรคเลือดจางจากโรคเลือดธาลัสซีเมีย แม่จึงต้องป้องกันตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ด้วยการตรวจเช็คร่างกายว่ามีโลหิตจางหรือไม่ ถ้าขาดธาตุเหล็ก ควรรับประทานอาหารเสริมให้ร่างกายเป็นปกติก่อนจึงตั้งครรภ์ ส่วนโรคโลหิตจางจากโรคเลือดธาลัสซีเมีย สามารถตรวจคัดกรองได้ว่าลูกจะเสี่ยงไหม โดยการตรวจเลือดของพ่อแม่ว่าเป็นพาหะหรือไม่

 

10. ไทรอยด์เป็นพิษ

ก่อนท้องอาจจะเป็นหรือไม่เป็นก็ได้ แต่การตั้งครรภ์ไม่ได้กระตุ้นให้เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ แม่ที่เป็นโรคนี้แล้วรักษาไม่ดีจะทำให้ลูกเกิดปัญหาตัวเล็ก ไม่แข็งแรงได้ คนที่เป็นรุนแรงอาจทำให้แท้ง หรือบางคนแม่อาจจะช็อค เป็นอันตรายได้

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

 

วิธีป้องกันโรคแทรกซ้อนของแม่ท้องที่ดีที่สุด คือการตรวจร่างกายก่อนวางแผนมีลูก และรีบไปฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด หลังจากทราบว่าท้อง เพื่อให้คุณหมอได้ติดตามอาการ วินิจฉัยความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคแทรกซ้อนแม่ท้องต้องระวัง และนอกจากนี้ คุณแม่จะต้องระวังเรื่องของอาหารการกินและพฤิตกรรมที่อาจส่งผลต่อความเสี่ยงต่าง ๆ ด้วย เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์นั่นเอง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 

คนท้อง ร้องไห้ แม่เครียดเสี่ยงแท้ง ลูกในท้องโตช้า คลอดออกมาลูกซึมเศร้า

คนท้อง-เด็กเล็ก เป็นสุกใส ระวังโรคแทรกซ้อน อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต!

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ อะไรบ้างที่คนท้องไม่ควรกิน

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • /
  • ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ 10 โรคอันตราย โรคแทรกซ้อนแม่ท้องต้องระวัง
แชร์ :
  • 5 โรคแทรกซ้อนอันตรายสำหรับคนท้อง

    5 โรคแทรกซ้อนอันตรายสำหรับคนท้อง

  • โรคที่คนท้องต้องระวัง อาการผิดปกติ หญิงตั้งครรภ์ ควรพบแพทย์ อาการผิดปกติของคนท้อง โรคไหนอันตรายแม่และลูก

    โรคที่คนท้องต้องระวัง อาการผิดปกติ หญิงตั้งครรภ์ ควรพบแพทย์ อาการผิดปกติของคนท้อง โรคไหนอันตรายแม่และลูก

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • 5 โรคแทรกซ้อนอันตรายสำหรับคนท้อง

    5 โรคแทรกซ้อนอันตรายสำหรับคนท้อง

  • โรคที่คนท้องต้องระวัง อาการผิดปกติ หญิงตั้งครรภ์ ควรพบแพทย์ อาการผิดปกติของคนท้อง โรคไหนอันตรายแม่และลูก

    โรคที่คนท้องต้องระวัง อาการผิดปกติ หญิงตั้งครรภ์ ควรพบแพทย์ อาการผิดปกติของคนท้อง โรคไหนอันตรายแม่และลูก

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ