ตารางอาหารคนท้อง แต่ละไตรมาส คุณแม่ท้องควรกินอะไรดี?

พอตั้งครรภ์คุณแม่หลายท่านมีความเชื่อว่า ควรรับประทานอาหารเยอะๆ เผื่อลูกในท้อง แต่จริงๆ แล้วในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรกๆ เราสามารถทานอาหารได้โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณจนมากเกินไป จนกว่าจะเข้าสู่การตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาส 3

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตารางอาหารคนท้อง แต่ละไตรมาส มีความสำคัญมากแค่ไหน? สำคัญมากค่ะ โดยเฉพาะกับคุณแม่ท้องแรก ยังไม่มีประสบการณ์ตั้งครรภ์มาก่อน ซึ่งตลอดระยะเวลา 9 – 10 เดือนของการตั้งครรภ์ ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน แร่ธาตุ ไขมัน และต้องดื่มนมเป็นประจำทุกวัน เพื่อเพิ่มโปรตีนและแคลเซียม ซึ่งมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและสมองของทารกในครรภ์

 

 

ตารางอาหารคนท้อง ตั้งแต่ ไตรมาส 1 – 3 มีอะไรน่าสนใจบ้าง

เพราะแต่ละช่วงอายุครรภ์ คุณแม่มีความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและต้องการโภชนาการแต่ละไตรมาสต่างกัน โดยสามารถวางแผน โดยตั้งธง ตารางอาหารคนท้อง ไว้ก่อน จากนั้น หาสมุดบันทึกไว้ เพื่อสะดวกและทบทวนความจำมากกว่า ซึ่งแต่ละไตรมาสมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างไรบ้าง

  • น้ำหนักตัว เป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่มากที่จะต้องดูแลให้ดี โดยปกติแล้วผู้หญิงตั้งครรภ์จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตั้งแต่เริ่มท้องจนถึงคลอด ควรไม่เกิน 10 – 13 กิโลกรัม เท่านั้น
  • คุณแม่ตั้งครรภ์จะหิวบ่อยในช่วงไตรมาสที่ 2 อย่ากังวลว่ามีน้ำหนักเพิ่มน้อยเกินไป ให้ดูที่แคลอรี่แทน ซึ่ง ในระยะครรภ์ไตรมาสที่ 3 สามารถเพิ่มปริมาณแคลอรี่ 200-300 แคลอรี่ต่อวัน เช่น เคยรับประทานขนมปังโฮลวีต 2 แผ่น ตอนเช้า ควบคู่กับอาหารหลักที่ถูกต้องตามโภชนาการอื่นๆ ก็ช่วยเพิ่มแคลอรี่ในส่วนที่คุณแม่ต้องการได้มากขึ้น

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: อาหารคนท้องไตรมาสแรก 10 อย่าง  คนท้องไตรมาสแรกควรกินอะไรมาดูกัน!

อาหารคนท้อง และสารอาหารจำเป็น ไตรมาสที่ 1 (0-3 เดือน)

  • โปรตีน  ช่วยสร้างเซลล์กล้ามเนื้อและช่วยให้ทารกเจริญเติบโตในแต่ละช่วงอายุครรภ์คุณแม่จึงควรรับโปรตีนให้เพียงพอ
  • DHA  กรดไขมันที่สำคัญต่อเซลล์สมองและจอประสาทตา คุณแม่ควรได้รับสารอาหารชนิดนี้ให้เพียงพอระหว่างตั้งครรภ์
  • คาร์โบไฮเดรต  อาหารประเภทแป้งที่ช่วยสร้างพลังงานในร่างกาย พัฒนาสมองทารกและช่วยในการเผาผลาญพลังงาน
  • ธาตุเหล็ก   สำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงของตนเองและทารก พบมากในเนื้อสัตว์ ไข่แดง ตับสัตว์
  • ไอโอดีน  พบมากในอาหารทะเล จำเป็นต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ในการสร้างเซลล์สมองและให้ร่างกายทารกมีการเจริญเติบโตเต็มที่
  • โฟเลต  สารอาหารที่คุณแม่ต้องได้รับตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ หากขาดโฟเลตแล้ว อาจทำให้แกนกลางประสาทของทารกมีความพิการทางสมองได้
  • โอเมก้า 3  กรดไขมันที่มีมากในอาหารทะเล มีความสำคัญต่อการสร้างเซลล์ประสาทและจอประสาทตา
  • วิตามินบี   วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 และ วิตามินบี 12 มีความสำคัญต่อร่างกายของคุณแม่และการพัฒนาสมองของทารกในทุกด้าน

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ตารางอาหารคนท้อง ไตรมาสที่ 1
อาหารเช้า (เลือก 1 อย่าง) ข้าวต้มปลา โจ๊กหมูใส่ไข่ โจ๊กไก่ใส่ตับ  + นมสด
ระหว่างมื้อ  ซาลาเปา มะละกอ  + น้ำผลไม้
อาหารกลางวัน (เลือก 1 อย่าง) สปาเก็ตตี้ทะเล สลัดผักอกไก่  ข้าวผัดหมู  + น้ำเปล่า
ระหว่างมื้อ แซนด์วิชทูน่า แคนตาลูป  + น้ำผลไม้
อาหารเย็น (+ข้าวกล้อง)  แกงจืดเต้าหู้ ผัดผักรวมใส่กุ้ง  ต้มจืดตำลึงหมูสับ  + น้ำเปล่า
มื้อค่ำ  ขนมปังปิ้ง 1 แผ่น องุ่น ส้ม  + นมสด

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: อาหารคนท้อง ไตรมาส 2 ท้องไตรมาสสอง สารอาหารอะไรที่ให้ร่างกายแข็งแรง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาหารคนท้อง และสารอาหารจำเป็น ไตรมาสที่ 2 (4-6 เดือน)

  • โปรตีน  ยังต้องเสริมโปรตีนทุกช่วง ยิ่งไตรมาสที่ 2 จะเป็นประโยชน์ต่อทารกมากในการสร้างเนื้อเยื่อ และกระดูกให้แข็งแรง รวมถึงกล้ามเนื้อ
  • แล็คโตส มีส่วนประกอบของซีรีโบรไซด์ (Cerebroside) สำคัญต่อการทำให้เยื่อหุ้มสมองและเยื่อหุ้มประสาท เติบโตอย่างแข็งแรง
  • แคลเซียม  ช่วงไตรมาสที่ 2 คุณแม่จะกระดูกผุง่าย ดังนั้นแคลเซียมจึงมีความสำคัญมากเพื่อช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ส่งต่อไปถึงทารก
  • ธาตุเหล็ก  บ่อย ๆ ที่แม่ท้องต้องเผชิญกับโรคโลหิตจาง ดังนั้นจึงขาดธาตุเหล็กไม่ได้ โดยเฉพาะจาก เครื่องในสัตว์ ตับ เนื้อสัตว์ ผักใบเขียวเข้ม
  • โฟเลต ระยะนี้จะช่วยป้องกันลูกน้อยจากอาการ ปากแหว่งเพดานโหว่ หรือความพิการตั้งแต่กำเนิด
  • ฟอสฟอรัส อุดมไปด้วยแร่ธาตุที่ทำงานกับแคลเซียมในการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง

 

ตารางอาหารคนท้อง ไตรมาสที่ 2
อาหารเช้า  (เลือก 1 อย่าง) ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง ต้มเลือดหมูใส่ผัก โจ๊กหมูใส่ไข่และตับ  + นมสด
ระหว่างมื้อ  โยเกิร์ต กล้วย  + น้ำผลไม้
อาหารกลางวัน (เลือก 1 อย่าง) ผัดซีอิ้วหมูหรือไก่ ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าหมู  ข้าวผัดทะเล  + น้ำเปล่า
ระหว่างมื้อ แซนด์วิช แอปเปิ้ล  + น้ำผลไม้
อาหารเย็น (+ข้าวกล้อง) ปลานึ่งกับผักลวก ผัดตับหมูใส่ขิง  แกงจืดเต้าหู้หมูสับ  + น้ำเปล่า
มื้อค่ำ แครกเกอร์ ลูกพรุน  + นมสด

 

บทความที่เกี่ยวข้อง: 15 อาหารคนท้อง ไตรมาส 3 ท้องไตรมาสนี้กินอะไรให้ลูกแข็งแรงมาดูกัน!

อาหารคนท้อง และสารอาหารจำเป็น ไตรมาสที่ 3  (7-10 เดือน)

จากที่กล่าวมาข้างต้นคือหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ประกอบไปด้วยสารอาหาร แร่ธาตุและวิตามินที่คุณแม่ควรได้รับทุกช่วงไตรมาส สำหรับไตรมาสที่ 3 ย้ำว่าคุณแม่ควรได้รับสารอาหารเช่นเดิม แต่จะเพิ่มเติมเรื่องอาหารเรียกน้ำนม เพราะไตรมาสสุดท้าย เรียกว่า ใกล้จะถึงวันคลอดแล้ว มาดูพืชผักที่คุณแม่ควรเสริมกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • กุยช่าย มีสรรพคุณช่วยเร่งน้ำนม ขับน้ำนม แก้ท้องอืดขับลมได้ดี
  • ใบกะเพรา  ผักสวนครัวหาง่าย ความร้อนแรงจากใบกะเพราจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ให้คุณแม่มีน้ำนมมากขึ้น
  • ขิง  ลดอาการวิงเวียน ลดอาการหิวบ่อย เพิ่มการไหลเวียนโลหิตได้ดี ลดอาการท้องอืดในกระเพาะอาหารของคุณแม่ด้วย
  • ใบแมงลัก  หารับประทานง่ายในแกงเลียง ทำให้เลือดลมไหลเวียนดีมาก ขับเหงื่อ ขับลม ร่างกายสดชื่น
  • พริกไทยอ่อน  ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ขับลม เพิ่มการไหลเวียนโลหิตของคุณแม่ได้ดี
  • หัวปลี  ไม่น่าเชื่อว่า ปลีกล้วยจะมากด้วยสารอาหาร เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินซี เบต้าแคโรทีนและฟอสฟอรัสที่ดีต่อผู้หญิงตั้งครรภ์
  • ฟักทอง  เสริมสร้างคอลลาเจนในชั้นเซลล์ผิว เพิ่มน้ำนมให้คุณแม่

 

ตารางอาหารคนท้อง ไตรมาสที่ 1
อาหารเช้า (เลือก 1 อย่าง)  ข้าวมันไก่ ต้มเลือดหมู+ไข่ต้ม โจ๊กไก่ใส่ตับ  + น้ำเปล่า
ระหว่างมื้อ  กุยช่ายนึ่ง สับปะรด  + น้ำผลไม้
อาหารกลางวัน (เลือก 1 อย่าง)  ผัดกะเพราเนื้อสัตว์ตามชอบ+ไข่ดาว ยำหัวปลีใส่หมูสับ  สเต็กปลาแซลมอน  + น้ำเปล่า
ระหว่างมื้อ  ถั่วอัลมอลด์และถั่วอื่นๆ 1 กำมือ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่  + น้ำผลไม้
อาหารเย็น (+ข้าวกล้อง)  แกงเลียงกุ้งสด ผัดผักรวมใส่กุ้ง  ต้มจืดตำลึงหมูสับ  + น้ำเปล่า
มื้อค่ำ  โยเกิร์ต แก้วมังกร  + นมสด

 

ระหว่างวัน คุณแม่อย่าลืมดื่มน้ำให้มากกว่าวันละ 8-10 แก้ว ดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างน้อนวันละ 2 แก้วในตอนเช้าและก่อนนอน สำหรับอาหารแต่ละไตรมาส คุณแม่สามารถกะปริมาณอาหารที่ตนเองสามารถกินได้ในแต่ละมื้อ ให้พออิ่ม จะได้ไม่เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารจนเกิดอาการจุก และย่อยยาก หลังรับประทานอาหาร พยายามลุกเดินออกกำลังนิดหน่อย เพื่อให้ร่างกายได้เลื่อนไหว มีสุขภาพดีทั้งคุณแม่ และทารกในครรภ์นะคะ

 

 

บทความที่น่าสนใจ

อาหารเย็นที่คนท้องไม่ควรกิน การทำอาหารเย็นแม่ท้องต้องระวังอะไรบ้าง

วิธีป้องกันภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ และอาหารที่ควรทานลดภาวะซีด

โมลิบดีนีม คุณแม่รู้ไหมแร่ธาตุนี้ดีต่อตัวเองและลูกยังไง อ่านเลย !

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวกับตารางอาหารคนท้อง ได้ที่นี่!

ตารางอาหารคนท้อง มื้อค่ำนี้จะทำเมนูอะไรทานดีคะ

 

ที่มา:  MeadjohnsonniBangkokbiznews

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Napatsakorn .R