X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ไขข้อข้องใจ! ปัญหา ฟันเหลือง ที่คอยกวนใจ เกิดจากสาเหตุอะไร?

บทความ 5 นาที
ไขข้อข้องใจ! ปัญหา ฟันเหลือง ที่คอยกวนใจ เกิดจากสาเหตุอะไร?

บทความในวันนี้เราจะมาพูดถึงปัญหา ฟันเหลือง ที่หลาย ๆ คนจะต้องเคยเป็น หรือกำลังเป็นอยู่ ซึ่งเมื่อเกิดคราบฟันเหลืองเกิดขึ้นก็อาจจะทำให้บุคลิกภาพและความมั่นใจนั้นเสียไปเลยก็ได้นะคะ เมื่อต้องพบเจอพูดคุยกับคนอื่น ๆ ดังนั้น วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักเกี่ยวกับปัญหาการเกิดคราบฟันเหลืองกันให้มากยิ่งขึ้น ว่าเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ เมื่อคุณสามารถรับรู้สาเหตุของปัญหาได้อย่างตรงจุด คุณจะได้สามารถป้องกันอย่างถูกวิธี ถ้าพร้อมแล้วมาตามไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

ฟันเหลือง เกิดจากอะไร?

 

ฟันเหลือง

 

คราบเหลืองที่ฟัน ก็คือแผ่นคราบจุลินทรีย์ (Bacterial plaque) เกิดจากการทำความสะอาดฟันไม่สะอาดมากเพียงพอ ทำให้เกิดการสะสมไปด้วยเชื้อโรคต่าง ๆ จนทำให้เกิดคราบเหลืองติดแน่นอยู่บนฟัน และเมื่อเกิดการสะสมไปเรื่อย ๆ คราบจุลินทรีย์ก็จะเกิดการแข็งตัวจนพัฒนากลายเป็นคราบหินปูน ซึ่งจะไม่สามารถแปรงฟันออกเองได้ จะต้องไปพบทันตแพทย์ให้ทำการขูดหินปูนออกให้ค่ะ

 

สีฟันที่เปลี่ยน บ่งบอกถึงสัญญาณอะไรบ้าง

 

ฟันเหลือง

 

ฟันสีน้ำตาล

สำหรับใครที่มีฟันสีน้ำตาล หรือมีจุดสีน้ำตาลบนฟัน นั่นถือเป็นการส่งสัญญาณบ่งบอกแล้วว่า คุณเริ่มมีสุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดี ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ฟันเริ่มมีสีน้ำตาลก็สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายปัจจัย เช่น เกิดจากสูบบุหรี่ ทำให้สารนิโคตินทำปฏิกิริยากับฟัน จากฟันเหลือง แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรืออาจจะเกิดจากการรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มที่มีสีเข้ม จนทำให้เกิดการสะสมขึ้น เป็นต้น

 

ฟันสีคล้ำ

เมื่อฟันเริ่มเปลี่ยนเป็นฟันสีคล้ำ อาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าฟันนั้นได้กลายเป็นฟันตายแล้ว ซึ่งฟันตายนั้นก็เกิดมาจากภาวะที่เนื้อเยื่อฟันนั้นได้รับความเสียหาย ทำให้เลือดไม่ได้ไหลเวียนมาเลี้ยงได้ ซึ่งอาการของฟันตายสีของฟันจะค่อย ๆ มีความเข้มขึ้น หรือมีสีคล้ำมากขึ้น ไม่ควรปล่อยไว้จนเกิดการติดเชื้อหรืออักเสบ แนะนำให้รีบไปพบทันตแพทย์ทันที

 

ฟันดำ

สำหรับในส่วนของฟันสีดำนั้นอาจจะเกิดจากฟันผุ สำหรับฟันผุระยะนี้ก็อาจจะยังไม่มีอาการใด ๆ หรืออาจจะเกิดจากการอุดฟันด้วย silver sulfide หรือเกิดจากคราบหินปูนที่เป็นสีดำ ซึ่งการที่มีฟันดำนั้นสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายสาเหตุนะคะ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ฟันผุเสมอไปค่ะ ดังนั้น ห้ามปล่อยปละละเลยทิ้งไว้ จะต้องดูแลทำความสะอาดช่องปากให้ดีที่สุด เพราะการที่มีฟันดำ โดยทั่วไปแล้วก็อาจจะเกิดจากการทำความสะอาดฟันที่ไม่ดีพอนั่นเองค่ะ

 

ฟันตกกระ

บางคนอาจจะมีปัญหาในเรื่องของการมีฟันตกกระเกิดขึ้น ซึ่งฟันที่ตกกระนั้นก็จะมีรอยสีขาวขนาดเล็กหรือรอยหลุมขรุขระกระจายอยู่บนชั้นเคลือบฟันนั่นเอง ซึ่งฟันตกกระนั้นเกิดจากการที่ร่างกายนั้นได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป และติดต่อกันเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดฟันตกกระขึ้น เช่น จากยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก หรือน้ำดื่ม เป็นต้น ซึ่งการมีฟันตกกระนั้นอาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อร่างกายรุนแรง แต่อาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคบางอย่างได้ หรือภาวะผิดปกติอื่น ๆ ดังนั้น ควรพบทันตแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาในขั้นตอนที่เหมาะสมจะดีที่สุดค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปัญหาเรื่อง ฟันผุ ปวดฟัน ส่งผลเสียต่อการพัฒนาการของลูกหรือไม่

 

สาเหตุของฟันเหลืองมีอะไรบ้าง?

 

สุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดี

สำหรับในส่วนของเรื่องการมีสุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดี ก็ถือเป็นปัจจัยในการทำให้ฟันของคุณนั้นมีสีเหลืองได้ค่ะ เพราะโดยปกติแล้วผิวฟันจะถูกเคลือบด้วยชั้นบาง ๆ โปร่งแสงสีขาว เพื่อปกปิดชั้นเนื้อฟันที่มีสีเหลือง และถ้าหากคุณมีสุขภาพช่องปากที่ไม่ดีเมื่อไหร่ ผิวฟันจะเริ่มสึกกร่อน และเผยผิวฟันสีเหลืองออกมา

 

พันธุกรรม

ในส่วนของเรื่องพันธุกรรม ก็ถือเป็นปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดฟันเหลืองได้ ถ้าหากคนในครอบครัวของคุณ ไม่ว่าจะเป็นพ่อ หรือแม่ มีฟันเหลือง ไม่ว่าจะมีความเหลืองน้อย หรือเหลืองมาก คุณก็อาจจะมีสิทธิ์มีสีฟันที่ใกล้เคียงกันได้

 

อายุที่เพิ่มมากขึ้น

อายุก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันเหลืองได้ เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น ฟันที่ถูกใช้งานมานานก็อาจจะเริ่มสึกกร่อน จากการเคี้ยวอาหาร และสัมผัสกับกรด จากอาหารและเครื่องดื่ม ทำให้ส่งผลให้เกิดฟันเหลืองได้

 

ฟันเหลือง

 

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

อาหารและเครื่องดื่มที่มีสีเข้ม

การรับประทานอาหาร และเครื่องดื่ม ก็ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดฟันเหลือง โดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่มที่มีสีเข้ม เช่น ชา กาแฟ ช็อกโกแลต เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องเทศแกงกะหรี่ หรือผักผลไม้สีเข้ม เนื่องจากอาหารเหล่านี้ ล้วนมีเม็ดสีที่สามารถเกาะติดกับชั้นของผิวที่เคลือบฟัน จนทำให้เกิดการสะสมของคราบสีจากอาหาร และเครื่องดื่ม นอกจากนี้ ก็ยังมีกรดที่ส่งผลทำให้ชั้นเคลือบฟันตามธรรมชาติ นั้นเกิดการสึกกร่อนทำให้บางลง จนทำให้เกิดเป็นสาเหตุของฟันเหลืองได้

 

การสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่ส่งผลเสียให้ภายในร่างกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียต่อช่องปากอีกด้วย เนื่องจากในบุหรี่นั้นมีสารเคมีอย่างกำมะถัน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ของบุหรี่ เมื่อสูบบุหรี่มากก็จะยิ่งเกิดการสะสมบนผิวฟัน จนแทรกซึมเข้าไปในเนื้อฟันมาก จนเกิดเป็นคราบสีเหลืองบนฟัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : แม่ท้องสูบบุหรี่ อยู่ใกล้คนสูบบุหรี่ เสี่ยงแท้ง ลูกเสี่ยงเกิดมาพิการ พัฒนาการช้า

โรคและการใช้ยา

โรคบางชนิด หรือยาบางอย่าง ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันเหลืองได้เช่นกัน เช่น คนป่วยเป็นโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด โรคเกี่ยวกับถุงน้ำดี เป็นต้น และในส่วนของยาบางอย่างก็อาจจะส่งผลให้ฟันเหลืองได้ เช่น ยาปฏิชีวนะเตตราไซคลีน หากแม่ท้องรับประทานยาปฏิชีวนะในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ หรือทานก่อนอายุแปดขวบ ก็อาจจะทำให้ฟันไม่แข็งแรง ผุกร่อนง่าย และทำให้เกิดฟันเหลืองได้

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับข้อมูลที่เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิด ฟันเหลือง ที่เรานำมาฝากกัน รู้ไว้จะได้ป้องกันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดฟันเหลืองได้นะคะ รวมถึงสีของฟันที่เปลี่ยนไป ก็สามารถบ่งบอกถึงสุขภาพฟันได้เช่นเดียวกันนะคะ ถ้าหากใครที่เริ่มรู้สึกว่าฟันของตัวเองบางซี่ เริ่มที่จะมีสีที่แตกต่างจากซี่อื่น ๆ แนะนำให้รีบไปพบทันตแพทย์ เพื่อทำการตรวจ และรักษาในขั้นตอนต่อไปทันทีนะคะ อย่าปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาด หวังว่าบทความวันนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แปรงฟันยังไงให้ถูกวิธี และการเลือก ยาสีฟันสำหรับเด็ก ควรพิจารณาอะไรบ้าง ?

ฟันลูกเปลี่ยนเป็นสีเทา ฟันตายในเด็ก อันตรายอย่างไร

คนท้องฟันผุง่าย เหงือกอักเสบบ่อย เพราะลูกดูดแคลเซียมจริงหรอ? 

ที่มา : 1, 2, 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Suttida Butdeewong

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ไขข้อข้องใจ! ปัญหา ฟันเหลือง ที่คอยกวนใจ เกิดจากสาเหตุอะไร?
แชร์ :
  • คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

    คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

  • คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

    คนท้องโดนฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการคลอดไหม เสี่ยงคลอดก่อนกำหนดหรือเปล่า ?

  • รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

    รู้ทัน! สาเหตุ อาการ 5 โรคตา ที่ต้องระวัง มีอะไรบ้าง?

  • 8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

    8 วิธีดูแลดวงตา แบบง่าย ๆ ป้องกันไม่ให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ