เมื่อพูดถึงขนมไทยอย่างขนมเบื้อง สิ่งที่หลายคนคิดถึงก่อนก็คงเป็นครีมของขนมชนิดนี้แน่นอน ด้วยความหวานถึงใจ และเป็นส่วนผสมจากไข่ดิบ คนท้องกินขนมเบื้องได้ไหม เคยได้ยินมาว่าคนท้องไม่ควรกินไข่ดิบ แบบนี้จะเป็นอะไรไหม อันตรายแค่ไหน และมีวิธีเลือกกินขนมเบื้องให้ปลอดภัยได้อย่างไร เราสรุปไว้ให้แล้วในบทความนี้
คนท้องกินขนมเบื้องได้ไหม
ขนมไทยที่ขวานเป็นอันดับต้น ๆ หลายคนอาจคิดถึงทองหยิบทองหยอด และแน่นอน “ขนมเบื้อง” เพราะครีมสุดหวานหนึบหนับ ด้วยความหวานขนาดนี้อาจทำให้คนท้องต้องระวัง คนท้องสามารถกินขนมเบื้องได้ แต่นอกจากปริมาณที่ต้องจำกัดเพราะความหวานแล้ว ยังมีเชื้อโรคที่มากับไข่ดิบที่ใช้ทำครีมด้วย ซึ่งหากทานร้านไม่ได้เลือกใช้ไข่ที่ผ่านกระบวนการพาสเจอไรซ์ จะทำให้เสี่ยงเชื้อโรคที่ชื่อว่า “ซาลโมเนลลา (Salmonella)” หากทางร้านยืนยันว่าใช้ไข่ที่ได้คุณภาพ ซึ่งหาซื้อได้ไม่ยาก คุณแม่ท้องก็สามารถสบายใจได้แน่นอน อย่างไรก็ตามขนมชนิดนี้ก็ควรทานให้น้อย ควบคู่กับการออกกำลังกาย และทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินกระเพาะปลาได้ไหม กระเพาะปลาทำจากอะไร อันตรายไหม
อันตรายอยู่ที่ครีมขนมเบื้อง
สูตรการทำครีมขนมเบื้องปัจจุบันมีการใช้สูตรหลายสูตร ขึ้นอยู่กับแต่ละร้าน มีหลายร้านประยุกต์ขนมไทยให้มีลูกเล่นมีความแปลกใหม่มากขึ้น แต่สำหรับหลายร้านอาจมีการใช้สูตรทั่วไป นั่นคือใช้ไข่ขาวดิบในการทำครีมขนมเบื้องนั่นเอง แม้ว่าขนมหลายชนิดจะมีส่วนผสมของไข่ขาวดิบ หรือไข่แดงดิบ ไม่ว่าจะขนมไทย หรือขนมต่างชาติ คุณแม่อาจคิดว่า ทำไมต้องคิดมาก ก็กินมาตลอด การที่คุณแม่ท้องกินขนมที่มีไขดิบเป็นส่วนผสมแล้วไม่เป็นอะไร หากไม่ได้ศึกษาให้ดี ก็เป็นเพียงแค่ความ “โชคดีเท่านั้น” เพราะไข่ที่เรียกมาใช้ทำหากไม่มีคุณภาพมากพอจะทำให้มี “เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella)”
เชื่อชนิดนี้เป็นหนึ่งในเชื้อหลักที่สามารถพบเจอได้ภายในอาหาร และเป็นตัวการทำให้เกิดอาการท้องเสียหลังทานอาหารนั่นแหละ เมื่อไหร่ที่คุณแม่ทานขนมเบื้อง หรือขนมชนิดใด ๆ ที่ใช้ไข่ดิบไม่ว่าจะไข่แดง หรือไข่ขาวแล้วมีอาการท้องเสีย นั่นหมายความว่าความโชคดีได้จบลงแล้ว อย่างไรก็ตามอาการท้องร่วง ท้องเสียนี้ มักจะไม่รุนแรง และสามารถบรรเทาลงได้ภายใน 2 – 3 วัน
ทำไมเชื้อซาลโมเนลลาถึงอยู่ในครีมขนมเบื้อง ?
คุณแม่อาจไม่เข้าใจว่าทำไมถึงมีเชื้อโรคชนิดนี้ติดมากับไข่ดิบที่ใช้ทำครีมขนมเบื้องได้ เป็นเพราะแม่ไก่เป็นโรคหรือเปล่า จริง ๆ แล้วเชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) เป็นเชื้อที่พบได้ลำไส้ของคนหรือสัตว์ และมักปนเปื้อนมากับอุจจาระ หากมีการสัมผัสอุจจาระและไม่ทำความสะอาดเชื้อเหล่านี้จะยังคงอยู่เหมือนเดิม แต่ดูเหมือนว่าการทำความสะอาดเช็ด ๆ ถู ๆ จะใช้ไม่ได้กับไข่ไก่ เพราะเชื้อชนิดนี้จะถูกส่งมาจากแม่ไก่ไปยังเปลือกไข่ ตั้งแต่ไข่ยังไม่ก่อตัวด้วยซ้ำ หากนำไข่ที่ติดเชื้อมีรับประทาน คงไม่ต้องบอกแม่ท้องเลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย หากกินขนมเบื้องไปแล้วคุณแม่มีอาการเหล่านี้ก็ควรพบแพทย์ทันที ได้แก่
- มีอาการปวดท้อง อาการท้องร่วงท้องเสีย
- อุจจาระอาจมีเลือดปะปนออกมาด้วย
- คลื่นไส้อาเจียน ปวดและเวียนศีรษะ
- รู้สึกหนาวสั่น มีไข้ และไม่อยากอาหาร
อาการเหล่านี้จะเรียกว่า “Salmonella Infection” ซึ่งโดยทั่วไปจะค่อย ๆ หายได้เองภายใน 2 – 7 วัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับร่างกายของคุณแม่ด้วย คุณแม่บางคนอาจรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย แต่ด้วยสภาพร่างกายที่แข็งแรงก็อาจแทบไม่มีอาการใด ๆ เลย ในขณะเดียวกันคุณแม่บางคนอาจมีอาการหนักกว่า เป็นต้น
ระวังภาวะแทรกซ้อนจากไข่ดิบขนมเบื้อง
จากที่เราได้บอกไปแล้วว่าถ้าคุณแม่ร่างกายแข็งแรงก็อาจได้รับผลกระทบไม่มาก แต่คนที่จะรู้ว่าคุณแม่แข็งแรงหรือไม่ก็คงจะเป็นแพทย์เท่านั้น เพราะการที่คุณแม่ไม่ได้แสดงอาการใด ๆ ออกมา ไม่ได้หมายความว่าภายในร่างกายสมบูรณ์ดี เป็นเรื่องที่โชคร้ายที่คนท้อง ผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจาก Salmonella Infection ได้หลายอย่างหากไม่ระวัง ดังนี้
- ภาวะขาดน้ำ : เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายขาดน้ำอย่างต่อเนื่อง หรือเฉียบพลัน จนไม่สามารถทดแทนให้ร่างกายได้ทัน การเสียน้ำนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากอาการท้องเสีย หรืออาการถ่ายเหลว เป็นต้น สามารถแก้ไขได้เบื้องต้นด้วยการพยายามทานน้ำเกลือแร่ที่เหมาะกับคนท้องเท่านั้น ซึ่งก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
- ข้ออักเสบรีแอ็กทีฟ (Reactive Arthritis) : เป็นอาการทางข้อต่อชนิดหนึ่ง การรับเชื้อซาลโมเนลลาจะทำให้มีอาการปวดตามข้อต่อ มีอาการปวดเมื่อปัสสาวะ นอกจากนี้ยังทำให้มีอาการตาอักเสบได้ด้วย
- ภาวะเลือดเป็นพิษ : เป็นภาวะรุนแรงที่แม่ท้องต้องระวัง เพราะเป็นสาเหตุของโรค หรืออาการรุนแรงต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจที่เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเยื่อบุหัวใจอักเสบ เป็นต้น อาการเหล่านี้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
วิดีโอจาก : หมีมีหม้อ [Official Account]
คนท้องกินขนมเบื้องอย่างไรให้ปลอดภัยจากเชื้อซาลโมเนลลา
- ด้วยสาเหตุหลักมาจากไข่ไก่ จริง ๆ แล้วขนมหลายเมนูก็ใช่ไข่ดิบ แต่ที่เรากินได้โดยไม่เป็นอะไร หรือร้านที่มีคุณภาพจะรู้ดีว่าควรเลือกซื้อไข่ไก่ที่ผ่านกระบวนการพาสเจอไรซ์มาแล้ว แน่นอนว่าหาได้ไม่ยากตามร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าก็มีขายเป็นปกติ
- กรณีที่ต้องการความมั่นใจเพิ่มขึ้นไปอีก หากคุณแม่จะทำเมนูใด ๆ ที่ใช้ไข่ดิบ รวมถึงขนมเบื้อง ก็ให้เก็บรักษาไข่ให้ดี ควรใส่ตู้เย็นชั้นใน ๆ เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจมีจากไข่ไก่ชุดนั้น และการนำไปปรุงให้ร้อนในเมนูที่ปรุงร้อนได้ จะช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ดี
- มองความสะอาดก่อนเลย แม้ว่าไข่จะผ่านการพาสเจอไรซ์มาแล้ว แต่เชื้อซาลโมเนลลาก็มาจากอุจจาระได้ แน่นอนว่าหากคุณแม่ที่ทำขนมเบื้องทานเอง หรือพ่อค้าแม่ค้าไปเข้าห้องน้ำมา แล้วล้างมือไม่ดี ก็ทำให้เชื้อไม่ไปไหนอยู่ดีนั่นแหละ
- อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำขนมเบื้องควรได้รับการทำความสะอาดให้ดี รวมถึงพื้นที่วางขนมด้วย เพราะเชื้อโรคทั่วไปจะยังคงอยู่ และวนเวียนในแวดล้อมนั้น ๆ อยู่แล้ว
การกินไข่ดิบคุณแม่ต้องระวังให้ดีในทุกเมนู อย่าคิดว่าทานได้แบบคนญี่ปุ่น เพราะไข่ไก่ในญี่ปุ่นถูกตรวจสอบมาอย่างดี มีกระบวนการที่ละเอียด ราคาไข่ในญี่ปุ่นก็ไม่ได้ถูก เพราะคุณภาพสูง สำหรับคุณแม่ท้องที่อยู่ในไทยนั้น ต้องระวัง ควรตรวจสอบร้านค้าให้ดีว่าเลือกใช้ไข่ที่ผ่านการพาสเจอไรซ์มาทำไส้ขนมเบื้องหรือไม่
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
คนท้องกินขนมไข่นกกระทาได้ไหม เลือกซื้อผิดทำคุณแม่แก่เร็วนะ
คนท้องกินบิงซูได้ไหม เมนูหวานยุคใหม่ ที่มีข้อต้องระวังมากที่สุด
คนท้องกินโรตีได้ไหม แม่ท้องรู้ไหมว่าโรตี 1 ชิ้นเท่ากับข้าว 1 จาน
ที่มา : healthline, 2
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!