X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลมหายใจ ผ่อนคลาย สลายอารมณ์ "โกรธ" ฝึกไว้ไม่เสียหาย ดีทั้งพ่อ แม่ ลูก

บทความ 5 นาที
ลมหายใจ ผ่อนคลาย สลายอารมณ์ "โกรธ" ฝึกไว้ไม่เสียหาย ดีทั้งพ่อ แม่ ลูก

ยิ่งลูกโต ยิ่งมีเรื่องอะไรต่อมิอะไรหลายอย่าง บางครั้งก็ทำให้เราโกรธเอาง่าย ๆ การฝึกจิตให้นิ่ง กำหนดลมหายใจ ผ่อนคลาย จะทำให้เราไม่โกรธลูกได้

ลมหายใจ ผ่อนคลาย สลายอารมณ์ “โกรธ”
ฝึกไว้ไม่เสียหาย ดีกับทั้งพ่อ แม่ ลูก

ยิ่งลูกโต ยิ่งมีเรื่องอะไรต่อมิอะไรหลายอย่าง บางครั้งก็ทำให้เราโกรธเอาง่าย ๆ การฝึกจิตให้นิ่ง กำหนด ลมหายใจ ผ่อนคลาย จะทำให้เราไม่โกรธลูกได้

และจะดีแค่ไหน ถ้าลูกของเราจะสามารถรับมือกับอารมณ์โกรธที่เกิดขึ้น โดยไม่แสดงความรุนแรงโต้ตอบกลับ เหมือนในเวลาที่ตีปิงปองไปมา ซึ่งมีแนวโน้มที่จะแรงขึ้น..แรงขึ้น จนเมื่อระเบิดสุดๆแล้วก็กลายเป็น “ท่ากระโดดตบ” สุดรุนแรงในที่สุด

วันนี้เราจะมาลองทบทวนลมหายใจของเรากัน ทั้งคุณแม่ คุณพ่อ และ ลูก เริ่มกันเลยค่ะ

ฝึกจิตให้นิ่งด้วยลมหายใจ ไม่โกรธลูก

ฝึกจิตให้นิ่งด้วยลมหายใจ ไม่โกรธลูก

 

การทบทวนลมหายใจ รู้เท่าทันอารมณ์นั้น คือ การที่เราไม่เก็บเอาความโกรธ ที่ได้รับกลับไปสร้างอึดอัดคับแน่นอยู่ในอก..จนกลายไปเป็นตะกอนความทุกข์ไว้ในหัวใจ แล้วอาจส่งผลกับการเกิดเป็นโรคทางกายตามมาอีกมากมายในที่สุด

ร่างกายได้ให้เครื่องมือกับมนุษย์เรามา เพียงแต่ว่าเราจะรู้เท่า..รู้ทัน..รู้ทั่ว..รู้ถึง ตนเองได้มากน้อยเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก..หรือผู้ใหญ่ (ในร่างเด็ก) ต่างก็ต้อง “ฝึกฝืน” ก่อนที่จะ “ฝึกฝน” ทั้งสิ้น

การกลับมาทำความเข้าใจว่า ความโกรธมีผลอย่างไรต่อเรา?  การไม่โกรธจะทำอย่างไร? การกลับมาหายใจให้เป็นทำให้เราเป็นสุขได้จริงหรือ ? เราลองมาทบทวนจากคำกล่าวของพระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ ที่กล่าวถึงการหายใจขณะที่มีอารมณ์โกรธดูสักนิดนะคะ

“เมื่อเราเกิดอารมณ์รุนแรง เพราะเมื่อใครสักคนเข้ามาพูดไม่ดีกับเธอ และ เธอโกรธมาก อย่าเพิ่งพูด อย่าเพิ่งแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ในขณะที่โกรธ แต่ขอให้กลับสู่ลมหายใจ เวลาโกรธนั้นเหมือนบ้านกำลังโดนไฟไหม้ เมื่อไฟไหม้บ้านเราอย่าเพิ่งวิ่งหามือวางเพลิงแต่จะต้องดับไฟที่บ้านเสียก่อน อย่าเพิ่งพูดอะไรออกไป อย่าเพิ่งตอบโต้ ขอให้ใช้เวลานั้นรับรู้ว่าโกรธ เมื่อเราโกรธ การหายใจลึก ๆ ลงไปที่ท้องน้อยช่วยได้มาก เมื่อเรามีอารมณ์รุนแรง พลังงานจะวิ่งขึ้นไปที่หัวสมอง แต่การหายใจลึก ๆ ลงไปที่ท้องคือการดึงพลังงานกลับมาที่กลางลำตัวของเรา หากเราสังเกตต้นไม้ใหญ่ เราจะเห็นว่ายอดไม้คือส่วนที่เปราะบาง หักง่าย ไหวโอนเอน แต่โคนไม้นั้นมั่นคงกว่า และลึกลงไปใต้โคนไม้ก็คือรากที่หยั่งลึกลงไปใต้ผืนดิน เช่นเดียวกัน เราจะพบว่าหากเราตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจลึก ๆ ลงสู่ท้องน้อยนี้เพียง 5-10 นาที ความโกรธก็จะค่อย ๆ คลายตัว สงบลง เมื่อความโกรธสงบลง เราจะเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น เราอาจจะเริ่มเห็นว่า ทำไมเขา/เธอคนนั้นจึงทำเช่นนั้นกับเรา ทำไมจึงพูดอย่างนั้น ปฏิบัติอย่างนั้น และอาจจะเห็นด้วยว่าทำไมเราจึงโกรธเหลือเกิน เมื่อความโกรธสงบแล้ว เราก็จะสามารถคิดหาคำพูดดี ๆ เพื่อพูดจากับคนนั้น เพื่อแก้ปัญหา หรือทำความเข้าใจต่อกันได้”

ฝึกจิตให้นิ่งด้วยลมหายใจ ไม่โกรธลูก

ลมหายใจ ผ่อนคลาย

การใช้ “ลมหายใจ” มาเป็นเครื่องมือในการดึง “พลังงานลบ” ที่กำลังแล่นขึ้นไปที่ศีรษะให้กลับมาตั้งหลักในจุดที่แข็งแรงที่สุดของร่างกาย เป็นเหตุผลและกลไกทางธรรมชาติ ที่เราไม่เคยได้สังเกตตนเองมากพอเลย เพราะหลายครั้งที่โกรธเราจะบอกตัวเองว่า “หายใจลึก ๆ ” แต่ลึกแบบไหน แบบที่ไม่ได้คิดตาม แบบที่ไม่ได้จัดการกับหัวใจตนเอง ความโกรธนั้นจึงมักจะกลายไปเป็น “ตะกอนขุ่น” ที่นอนก้นรอวันให้ใครมาเขย่า กระแทก กระทบ จนเกิดกระเทือนขึ้นมาจนน้ำที่เคยใส ขุ่นมัว และรอแรงดันอีกนิดเดียวก็จะระเบิดขึ้น  หรือถ้าตะกอนถูกสะสมมากพอจนกลายไปเป็นยางเหนียวที่หนาขึ้น หนาขึ้น จนสามารถเข้ามาแทนที่น้ำใส หัวใจของเราก็จะกลายไปเป็นของเสียที่รอวันรักษาในที่สุด

ฝึกจิตให้นิ่งด้วยลมหายใจ ไม่โกรธลูก

ฝึกจิตให้นิ่งด้วยลมหายใจ ไม่โกรธลูก

 

จะดีแค่ไหนที่เรากลับมาเข้าใจ “ลมหายใจ” ของ ตัวเอง เมื่อดึง ลมหายใจ กลับมาสู่ ภาวะสงบแล้ว การกลับมา ทบทวน ถึง เรื่องที่อยู่ตรงหน้า แบบตรงไปตรงมา กับ “ความจริง” คือ เรื่องที่ ต้องฝึกฝนเป็นลำดับต่อไป เพราะเมื่อไหร่ที่เรา “เจ็บปวด” นั่นคือเรา “ไม่ชอบ ไม่พอใจ” และที่จะให้มีความเป็นกลางกับความจริงแท้นั้น  ต้องบอกเลยว่า “ยากยิ่ง” เรามักหาเหตุต่าง ๆ นานามาอธิบายความทุกข์ของเราให้ดูน่าเศร้าอยู่เสมอ และเมื่อเรา “ถูก”  อีกฝ่ายก็คือ “ผิด”  การกลับมารู้เท่า..รู้ทัน..รู้ทั่ว..รู้ถึง ว่าจริง ๆ แล้วคนข้างหน้าเราทำสิ่งนั้น ๆ ไปเพื่ออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร เขามีความทุกข์มากเพียงไหน ให้ได้อย่างว่องไว และรวดเร็วได้เท่าไหร่ การสะสมตะกอนที่นอนก้น หรือของเสียเหล่านั้นก็จะน้อยลง..น้อยลง จนแทบไม่เหลือเก็บอะไรไว้ให้ทุกข์อีกเลย และเราจะพบว่าเมื่อเรา “เมตตาเขาได้มากเท่าไหร่”  เราก็ได้กลับมา “เมตตาตัวเองได้มากเท่านั้น”

 

เลี้ยงลูก สงบ

ฝึกจิตให้นิ่งด้วยลมหายใจ ไม่โกรธลูก

แล้วเราจะฝึกลูกได้อย่างไร ? ในเมื่อใจเราก็ยังขุ่นมัว และเต็มไปด้วยก้อนทุกข์

การกลับมารู้จักอารมณ์ตนเอง เป็นบทเรียนแรกที่ช่วยให้เราและลูกเข้าใจความทุกข์  เราต้องยอมรับด้วยความจริงของโลกว่า ไม่มีใครในโลกที่เกิดมาแล้วไม่ทุกข์ไม่สุข  เมื่อทุกข์-สุขคือสิ่งสากล เป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นเกิดมาเป็นคนเป็นมนุษย์ก็มีความรู้สึกได้ ว่ากำลังโกรธเรื่องอะไร… ว่ากำลังอยากได้อะไร… ว่ากำลังหลงไหลกับบางสิ่งบางอย่างได้.. แต่การกลับมาเข้าใจอารมณ์นั้นเป็นเรื่องที่ต้อง “ฝึกรู้สึก”  หมายความว่า เมื่อรู้สึกว่าจะ “โกรธ” แล้วรู้ทันตัวเองว่า โกรธใคร เรื่องอะไร มีที่มาอย่างไร ทำไมต้องโกรธ…เมื่อรู้สึกไปเรื่องๆ การวางโกรธ ก็เป็นเรื่องต่อมาที่เด็กๆจะวางเป็น เพราะสุดท้ายจะพบว่า “โกรธไปทำไม? ไม่มีประโยชน์”

ฝึกจิตให้นิ่งด้วยลมหายใจ ไม่โกรธลูก

ฝึกจิตให้นิ่งด้วยลมหายใจ ไม่โกรธลูก

เมื่อฝึกบ่อย ๆ เข้าก็เหมือนนักกีฬาที่มีทักษะดี อารมณ์มาตอนไหน ก็รู้ทันไหวตอนนั้น ฝึกมากก็เข้าใจมาก..ฝึกน้อยก็เข้าใจน้อย  ไม่ฝึกเลยก็ไม่รู้ว่า “ฝึกแล้ว…มีดีตรงไหน?” วันนี้ลองมาฝึกรู้ทันกันดีไหมค่ะ ^_^ รู้ทันคนอื่นมามากแล้ว…ลองมาฝึกรู้ทันตัวเองดูสักที ดูซิมีดียังไง จะได้ดับไฟให้ถูกที่ถูกทาง…ก่อนจะลามไปทั่วบ้าน เพราะมัวแต่หาคนวางเพลิงจนลืมดับไฟ *_*!

บทความจากพันธมิตร
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
เคล็ดลับเนรมิตห้องครัวให้เรียบหรู ทันสมัย และถูกใจคนใช้งานจริง
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ชี้เป้า ประกันสุขภาพลูก ลดภาระทางการเงินเมื่อลูกเจ็บป่วย ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10

โดย ครูป๋วย

 

แหล่งที่มาของบทความ

https://www.peacefulparent.com

 

บทความอื่น ๆ ที่คุณอาจสนใจ

ภาพยนตร์ธรรมมะแบบไม่น่าเบื่อ

เปลี่ยนพลังซนให้เป็นพลังบวก

เด็กผู้หญิงและผู้ชายมีวิธีแก้ปัญหาต่างกัน

https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/06092014-1236

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

ป๋วย

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ลมหายใจ ผ่อนคลาย สลายอารมณ์ "โกรธ" ฝึกไว้ไม่เสียหาย ดีทั้งพ่อ แม่ ลูก
แชร์ :
  • โกรธ จะควบคุมอารมณ์โกรธยังไงดี มีวิธีไหนช่วยได้บ้าง ต้องอ่าน!!

    โกรธ จะควบคุมอารมณ์โกรธยังไงดี มีวิธีไหนช่วยได้บ้าง ต้องอ่าน!!

  • 9 วิธีบรรเทาอาการเจ็บท้องคลอด วิธีแก้เจ็บท้อง โดยไม่ต้องพึ่งยา

    9 วิธีบรรเทาอาการเจ็บท้องคลอด วิธีแก้เจ็บท้อง โดยไม่ต้องพึ่งยา

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

  • โกรธ จะควบคุมอารมณ์โกรธยังไงดี มีวิธีไหนช่วยได้บ้าง ต้องอ่าน!!

    โกรธ จะควบคุมอารมณ์โกรธยังไงดี มีวิธีไหนช่วยได้บ้าง ต้องอ่าน!!

  • 9 วิธีบรรเทาอาการเจ็บท้องคลอด วิธีแก้เจ็บท้อง โดยไม่ต้องพึ่งยา

    9 วิธีบรรเทาอาการเจ็บท้องคลอด วิธีแก้เจ็บท้อง โดยไม่ต้องพึ่งยา

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ