การให้นมลูกน้อยสำหรับคุณแม่เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก และต้องใส่ใจกับลูกตัวน้อย เพราะไม่ใช่ว่าอาหารทุกอย่างจะเหมาะสมสำหรับแม่ลูกอ่อน จึงอาจจะมีข้อสงสัยว่า ให้นมลูกห้ามกินอะไร หรืออะไรที่กินได้ อาหารหรือเครื่องดื่มชนิดไหนที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะลูกน้อยกินนมแม่ ซึ่งอาหารที่คุณแม่ทานก็จะมีผลต่อคุณภาพของน้ำนมและส่งผลไปถึงตัวลูกน้อย รวมถึงส่งผลต่อพัฒนาการของลูกด้วย
อาหารหลังคลอด สำหรับแม่ให้นมลูก สำคัญยังไง ?
การดูแลอาหารเรื่องหลังคลอด คุณแม่ที่ให้นมลูก เป็นสิ่งสำคัญมากค่ะ เพราะนอกจากจะบำรุงคุณแม่แล้ว ยังส่งผลต่อลูกน้อยอีกด้วย เพราะนมแม่คืออาหารดีที่สุดสำหรับลูกน้อย ดังนั้น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของน้ำนม และส่งผลโดยตรงถึงลูกต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย อีกทั้งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกด้วย
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพที่ดี มีน้ำนมที่เพียงพอ และลูกน้อยก็จะเติบโตแข็งแรงสมบูรณ์ สำหรับอาหาร ให้นมลูกห้ามกินอะไร เรามาดูกันต่อเลยค่ะ
10 เช็คลิสต์ ให้นมลูกห้ามกินอะไร อาหารที่ควรเลี่ยงเพื่อลูกน้อย !
นมแม่เป็นอาหารหลักของลูกน้อย ดังนั้นคุณแม่ต้องได้รับอาหารและโภชนาการที่ดี เพื่อให้น้ำนมที่ลูกกินมีคุณภาพ คุณแม่จึงต้องระมัดระวังเรื่องอาหารการกินให้มากเป็นพิเศษ มาดูกันว่า 10 อาหารที่แม่ ให้นมลูกห้ามกินอะไร เหล่านั้นมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ
1. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เพื่อพัฒนาการทางด้านสมองและสุขภาพของลูกน้อย คุณแม่ให้นมควรหลีกเลี่ยงที่จะดื่มค่ะ เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท อาจส่งผลต่อเรื่องพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย แต่ก็มีหลายคนมีข้อสงสัยว่า ในช่วงที่ให้นมลูกสามารถดื่มแอลกอฮอล์ได้ไหม ? คำตอบคือ ดื่มได้ค่ะ แต่ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม คือ ครั้งละ 1-2 แก้วต่อวัน และห้ามดื่มมากกว่าสองครั้งต่อสัปดาห์ หากดื่มแล้วควรรอประมาณ 2-3 ชั่วโมงเพื่อให้แอลกอฮอล์ถูกขับออกจากกระแสเลือดให้หมดแล้วจึงสามารถให้นมลูกได้ค่ะ แต่ทั้งนี้หากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงจะเป็นการดีที่สุด
2. ชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
คาเฟอีนที่มีมากใน กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ช็อกโกแลต และไอศกรีมนั้น มีผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารก เมื่อคุณแม่ดื่มหรือกินเข้าไปคาเฟอีนจะคงอยู่ในร่างกายนานถึง 5-7 ชั่วโมง ทั้งนี้หากลูกที่กินนมที่มีสารคาเฟอีนเข้าไปอาจจะทำให้ลูกมีอาการกระวนกระวาย น้ำมูกไหล และหลับยากได้ค่ะ เพราะในปริมาณคาเฟอีนเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลต่อการหลับและการทำงานของหัวใจทารกได้ เนื่องจากร่างกายของทารกนั้นมีความไวต่อสารคาเฟอีนมากกว่าผู้ใหญ่
3. อาหารทะเล
อาหารทะเลจำพวกกุ้ง หอย ปู ปลาบางประเภทนั้น มีสารเคมีปนเปื้อนอยู่สูงมาก การกินอาหารทะเลในช่วงให้นมจึงมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีตกค้างในอาหาร และอาจเป็นอันตรายต่อพัฒนาการและระบบประสาทส่วนกลางของลูกน้อย ทำให้เด็กมีพัฒนาการช้าและผิดปกติได้ค่ะ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกน้อยในระยะยาว แต่ถ้าหากคุณแม่อดใจไม่ไหวอยากกินอาหารทะเลจริง ๆ แนะนำให้กิน ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน และปลาทูน่า ที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 และสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการของลูกน้อยทดแทนจะดีกว่าค่ะ
4. อาหารรสจัด
การบริโภคอาหารรสจัดของคุณแม่ให้นม อาจมีผลต่ออารมณ์และพฤติกรรมของลูกน้อยได้ และอาการที่เกิดขึ้นกับลูกน้อย เช่น หงุดหงิดง่าย ร้องไห้ไม่หยุด นอนหลับยาก รู้สึกไม่สบายตัว นอนหลับได้ไม่นาน ตื่นบ่อยผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากสารเคมีหรือสารที่อาจพบในอาหารรสจัดที่มีผลต่อน้ำนมคุณแม่ที่ลูกกิน ดังนั้นคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดนะคะ
5. อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ และอาหารค้างคืน
การเลือกทานอาหารสดใหม่ ปรุงสุกสะอาด จะช่วยให้คุณแม่ได้รับสารอาหารครบถ้วนและส่งผ่านไปยังลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ อาหารแปรรูป อาหารค้างคืน หรืออาหารดิบ เช่น ซูชิ แหนม ปลาร้า อาจมีเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อน ซึ่งอาจทำให้คุณแม่และลูกน้อยเกิดอาการท้องเสีย อาหารเป็นพิษได้ ส่งผลให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง และอาจส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำนมได้ นอกจากนี้ เชื้อโรคบางชนิดยังสามารถผ่านน้ำนมไปสู่ลูกน้อย ทำให้ลูกน้อยป่วยตามไปด้วยค่ะ
6. อาหารหมักดอง
คุณแม่ให้นมลูกอยู่ควรงดอาหารหมักดอง เพราะอาหารประเภทนี้มักมีรสชาติจัดจ้านและกลิ่นฉุน ซึ่งอาจส่งผลให้น้ำนมมีรสชาติเปลี่ยนไป ทำให้ลูกน้อยไม่ยอมกินนมได้ นอกจากนี้ อาหารหมักดองบางชนิดอาจมีปริมาณโซเดียมสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของไตในลูกน้อยได้ด้วยค่ะ
7. อาหารจำพวกนมถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพดและถั่ว
คุณแม่ที่ยังอยู่ในช่วงให้นมลูก ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกที่ทำจากนมถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพดและถั่ว เพราะอาจทำให้ลูกน้อยเสี่ยงเป็นภูมิแพ้ และอาจเกิดอาการแพ้โปรตีนที่มีอยู่ในอาหารเหล่านี้ได้ค่ะ โดยเฉพาะสารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ที่มีอยู่ในถั่วลิสง อาจทำให้เด็กมีอาการหายใจเสียงดัง มีผื่นขึ้นตามตัวหรือเป็นลมพิษได้ รวมถึงอาการแพ้กลูเตนที่พบได้ในข้าวสาลี อาจทำให้เด็กมีอาการท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะและท้องเสียได้ค่ะ
8. นมวัว
หากคุณแม่ให้นมกินอาหารหรือขนมที่มีส่วนผสมของนมวัวเข้าไป ซึ่งเด็กบางคนอาจจะมีอาการแพ้นมวัว เพราะในนมวัว มีสารที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กเกิดอาการกรดไหลย้อน หรืออุจจาระผิดปกติ และมีปัญหาน้ำหนักตัวเพิ่มมากผิดปกติได้
9. ผักและผลไม้ที่ทำให้เกิดแก๊ส
ผักและผลไม้ที่คุณแม่ให้นมลูกควรเลี่ยง คือผักตระกูลกะหล่ำ เช่น ดอกกะหล่ำปลี บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง และควรเลี่ยงกินผลไม้บางประเภท เช่น กล้วยหอม สตรอว์เบอร์รี เชอร์รีและลูกพรุนที่เต็มไปด้วยแก๊ส ที่อาจส่งผลทำให้ลูกน้อยมีลมในกระเพาะอาหาร มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด และไม่สบายตัวได้ค่ะ
10. ผลไม้รสเปรี้ยว
ผลไม้รสเปรี้ยวบางชนิด เช่น ส้ม มะนาว มีกรดที่อาจทำให้ลูกน้อยเกิดอาการไม่สบายตัวได้ เช่น จุกเสียด ท้องอืด หรือเกิดผื่นแพ้ได้ค่ะ นอกจากนี้ รสชาติเปรี้ยวเข้มข้นอาจส่งผลให้รสชาติของน้ำนมเปลี่ยนไป ทำให้ลูกน้อยไม่ยอมกินนมได้ ดังนั้น คุณแม่ควรระมัดระวังในการรับประทานผลไม้เหล่านี้ หากต้องการรับประทานผลไม้รสเปรี้ยวเพื่อเพิ่มวิตามินซี ลองเปลี่ยนมาทานสับปะรดหรือมะม่วงสุกแทนก็ได้ค่ะ เพราะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว และมีวิตามินซีสูงเช่นกัน
ตารางปริมาณอาหารที่แม่ให้นมควรทานในแต่ละวัน
ในการผลิตน้ำนม ร่างกายคุณแม่ต้องใช้พลังงานประมาณ 20 กิโลแคลอรีเพื่อผลิตน้ำนม 30 มิลลิลิตร ดังนั้นร่างกายจึงต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างน้อยวันละ 500 กิโลแคลอรีเพื่อสร้างน้ำนมอย่างเพียงพอให้กับลูกน้อย (เฉลี่ย 750 มิลลิลิตรต่อวัน)
|
หมวดอาหาร |
ปริมาณอาหารที่แนะนำใน 1 วัน |
พลังงาน (กิโลแคลอรี) |
2,100 kcal. |
ข้าว / แป้ง |
8-12 ทัพพี |
เนื้อสัตว์ |
12-14 ช้อนกินข้าว |
นม |
2-3 แก้ว |
ผัก |
6 ทัพพี |
ผลไม้ |
5-6 ส่วน* |
ไขมัน น้ำตาล เกลือ |
น้อยๆ เท่าที่จำเป็น |
* 1 ส่วนของผลไม้ เช่น กล้วยน้ำว้า 1 ผล, เงาะ 3-4 ผล, มังคุด 3-4 ผล เป็นต้น
เคล็ดลับบอกต่อ ให้นมลูกควรกินอะไร ?
สำหรับข้อห้ามเรื่องอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ให้นมลูกห้ามกินอะไร เราได้พูดกันไปแล้ว มาดูกันต่อว่า และอาหารอะไร แบบไหนล่ะ ที่แม่ให้นมควรเลือกกิน เพื่อประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการให้คุณแม่และลูกน้อยไปพร้อมๆ กัน สารอาหารที่เน้นสำหรับคุณแม่ให้นมคือ
- โปรตีน ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และเป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำนม
- แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ทั้งสำหรับแม่และลูก
- ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจาง
- วิตามิน โดยเฉพาะวิตามินเอ ซี ดี และอี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและบำรุงสายตา
- ใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ลดปัญหาท้องผูก
ซึ่งสารอาหารต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น จะพบได้ในอาหารดังนี้
-
เลือกกินอาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์มากขึ้น
โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยสร้างน้ำนมและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย และเป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำนม คุณแม่ควรเพิ่มปริมาณโปรตีนในแต่ละมื้อ โดยอาจรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น ไก่ หมู ปลา เพิ่มขึ้นหรือเทียบเท่ากับไข่ 1 ฟอง หรือดื่มนม 3 แก้ว นอกจากนี้ การรับประทานปลาทะเลสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เช่น ปลาทู ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน จะช่วยให้คุณแม่ได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 และ DHA ซึ่งดีต่อพัฒนาการสมองของลูกน้อยค่ะ
-
เลือกกินข้าว หรือ แป้งที่ขัดสีน้อยหรือไม่ขัดสีเลย
เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท และธัญพืชต่างๆ เพราะอาหารเหล่านี้มีใยอาหารสูง ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ลดปัญหาท้องผูก ซึ่งเป็นปัญหาที่คุณแม่หลังคลอดมักพบเจอ นอกจากนี้ ใยอาหารยังช่วยให้รู้สึกอิ่มนาน ช่วยควบคุมน้ำหนัก และมีประโยชน์ต่อสุขภาพลำไส้ด้วยค่ะ
-
เน้นอาหารปรุงสุก สะอาด สดใหม่เสมอ
เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งคุณแม่และลูกน้อย การเลือกทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด และสดใหม่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งค่ะ อาหารที่ปรุงสุกจะช่วยฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ และอาหารค้างคืน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่อาจส่งผลต่อคุณภาพของน้ำนมและสุขภาพของลูกน้อย
ผักและผลไม้เป็นอาหารที่สำคัญสำหรับคุณแม่ให้นมลูกค่ะ เป็นแหล่งรวมของใยอาหาร วิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็นต่อร่างกาย สารอาหารจากผักผลไม้เหล่านี้จะถูกส่งผ่านไปยังน้ำนม ทำให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต นอกจากนี้ การรับประทานผักผลไม้ยังช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพที่ดี มีพลังงาน และอารมณ์ดี ซึ่งส่งผลดีต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยค่ะ
คุณแม่ให้นมลูกควรดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปจากการสร้างน้ำนม การดื่มน้ำวันละ 13-16 แก้ว หรือดื่มทุกครั้งหลังให้นมลูก จะช่วยให้ร่างกายมีน้ำเพียงพอในการผลิตน้ำนม และยังช่วยให้คุณแม่รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าอีกด้วย สำหรับลูกน้อยวัยแรกเกิด น้ำนมแม่มีทั้งสารอาหารและน้ำเพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อยแล้วค่ะ จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำเปล่าค่ะ
คุณแม่ให้นมลูกที่กินอาหารมังสวิรัติแบบวีแกนหรืออาหารมังสวิรัติแบบที่ไม่ทานนมและไข่ คุณแม่ควรเลือกกินอาหารอย่างอื่นเพิ่มและให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน ทั้งโปรตีนจากพืช เช่น เต้าหู้ ถั่วต่างๆ เมล็ดพืช แคลเซียมจากผักใบเขียว ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม และวิตามินบี12 ซึ่งมักพบในอาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองบางชนิด การกินอาหารหลากหลายจะช่วยให้คุณแม่และลูกน้อยได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการค่ะ
การสูบบุหรี่ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะการสูบบุหรี่จะมีผลให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้ลดลง เพราะสารพิษจากบุหรี่จะเข้าสู่ร่างกายและส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำนม อีกทั้งยังทำให้ลูกน้อยที่กินนมแม่ได้รับสารพิษไปด้วย คุณแม่ควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งค่ะ
โภชนาการของแม่ให้นมเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าแม่มีโภชนาการที่ดี ลูกน้อยก็จะแข็งแรง สมบูรณ์ ที่สำคัญอาหารที่ดีของลูกเริ่มต้นที่น้ำนมของแม่ ดังนั้นหากคุณแม่เตรียมร่างกายให้พร้อม เลือกกินอาหารที่ครบถ้วน เพียงพอ และมีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ ก็จะส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของน้ำนมแม่ ทำให้ลูกเจริญเติบโตแข็งแรง สมส่วนกับวัย
ที่มา : โรงพยาบาลวิชัยเวช , โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกมหาวิทยาลัยมหิดล
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
แม่ลูกอ่อนกินอะไรได้บ้าง เคล็ดลับเพิ่มน้ำนมแม่ให้มีคุณภาพ
นอกจากนมแม่ ให้ลูกกินอะไรได้อีก สารอาหารอะไรบ้างที่สำคัญกับทารก ?
เผยทริค! ปั๊มนมยังไงให้ถูกวิธี น้ำนมแม่สามารถเก็บได้นานแค่ไหน?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!