theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • ประกันชีวิต
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL

ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก สาเหตุการเกิดโรคผิวหนัง อย่ารอจนเรื้อรัง

บทความ 5 นาที
•••
ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก สาเหตุการเกิดโรคผิวหนัง อย่ารอจนเรื้อรังผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก สาเหตุการเกิดโรคผิวหนัง อย่ารอจนเรื้อรัง

ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง อย่านิ่งนอนใจจนเรื้อรัง วันนี้ theAsianparent นำวิธีสังเกตอาการผื่นแพ้ในเด็ก เพื่อเฝ้าระวังตั้งแต่เนิ่น ๆ

ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก อย่ารอจนเรื้อรัง

การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ฝุ่นละออง และมลภาวะต่างๆ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดผื่นผิวหนัง พบได้ในทุกช่วงอายุ แต่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กอายุก่อน 1 ปี หากไม่รีบทำการรักษาและดูแลให้ถูกวิธีตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจเรื้อรังจนถึงตอนโตได้ ดังนั้นการพบแพทย์โดยเร็ว นอกจากช่วยรักษาให้หายขาดแล้ว ยังช่วยให้ตัวเด็กเองพร้อมเรียนรู้ในทุกช่วงวัย

ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก

ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก

พญ.ลิลรฎา อนันตรัมพร กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคผิวหนัง ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ

กล่าวว่า โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างผิวหนัง ทำให้ผิวหนังสูญเสียน้ำ เมื่อสูญเสียน้ำเยอะแล้วผิวจะแห้งและอักเสบได้ง่าย อาการมีตั้งแต่ระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง ซึ่งในเด็กแต่ละช่วงอายุจะมีอาการแตกต่างกัน เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี มักพบบริเวณแก้ม หน้าผาก คอ แขนและขาด้านนอก ข้อมือและข้อเท้า ในเด็กโต มักพบบริเวณข้อพับ แขน ขา เท้า ข้อเท้า หากผู้ป่วยมีอาการแรกเริ่มของโรคนี้ตอนโต มักจะหายยากกว่าผู้ป่วยที่มีอาการตั้งแต่ตอนเด็ก

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีดูแลสุขภาพผิวลูกรักในช่วงอากาศเย็น ไม่ให้มีปัญหาผดผื่นมากวนใจ

สังเกตอาการที่บ่งบอกว่าอาจกำลังเป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง

ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก

ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก

  • มีผื่นแดง มีอาการคัน
  • ผื่นขึ้นตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย ตามช่วงอายุ เช่น ผื่นมักเกิดบริเวณแก้ม หน้าผาก คอ แขนและขาด้านนอก ข้อมือ ข้อเท้าในทารก และผื่นมักเกิดตามข้อพับในเด็กโตและผู้ใหญ่
  • ผิวหนังอักเสบเรื้อรังเป็นแล้วหายบ่อย ๆ
  • มีประวัติคนในครอบครัวสายตรงเป็นภูมิแพ้ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้มากขึ้น เช่น จมูกอับเสบภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) ภูมิแพ้ผิวหนัง และหอบหืด หากอาการไม่ครบทั้งหมด แต่มีอาการคัน มีผื่น

บทความที่เกี่ยวข้อง : ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

อาการดังที่กล่าวใน 4 ข้อข้างต้น ร่วมกับ อาการร่วมเช่น รอบปากซีด ใต้ตาคล้ำ ขนคุด มีลักษณะคล้ายหนังไก่ ผิวหนังไม่เรียบ ผิวแห้งหรือลักษณะเป็นขุย ผิวแตกหน้าหนาว อาจเป็นบางบริเวณหรือเป็นทั่วร่างกาย อาการเหล่านี้คืออาการร่วมที่สามารถบ่งบอกว่าเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้เช่นกัน เมื่อสังเกตอาการและเจอข้อบ่งชี้ดังกล่าวควรพบแพทย์เพื่อรักษาโดยเร็ว

โดยแพทย์จะทำการพิจารณาลักษณะของผื่นที่เกิดขึ้นตามบริเวณต่าง ๆ และซักประวัติโดยละเอียด เพื่อทำการแยกโรคและหาวิธีรักษาอย่างถูกวิธี เนื่องจากโรคผิวหนังในเด็กมีหลากหลาย อาทิ ภูมิแพ้ผิวหนัง โรคผิวหนังอักเสบจากต่อมไขมันหรือเซ็บเดิร์ม โรคสะเก็ดเงิน เป็นต้นนอกจากนี้ โรคผื่นแพ้ผิวหนังในเด็กยังมีโอกาสเกิดการแพ้จากอาหารได้เช่นกัน โดยมักพบอาการร่วมกับระบบอื่นๆ ของร่างกาย เช่น อาการหายใจติดขัด หรือถ่ายอุจจาระปนเลือด กรณีนี้ แพทย์อาจทำการซักถามเพิ่มเกี่ยวกับอาหารที่รับประทาน เพื่อหาสาเหตุและรักษาตามอาการต่อไป

การรักษาผื่นแพ้ผิวหนังในเด็กมี 3 วิธีหลัก ๆ

ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก

ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก

  • การดูแลผิวเบื้องต้น และการใช้ครีมเพิ่มความชุ่มชื้น : แพทย์จะทำการสอนวิธีการทาครีมและสอนวิธีปฏิบัติตัวในการดูแลผิวอย่างถูกต้อง การลดปัจจัยที่ทำให้เกิดผิวแห้ง การเลือกใช้สบู่ และการอาบน้ำอย่างถูกวิธี
  • ใช้ยาทาเพื่อลดการอักเสบตามที่แพทย์สั่ง : โดยแพทย์จะเลือกชนิดของยาให้เหมาะสมกับลักษณะ ตำแหน่งและความรุนแรงของผื่น ร่วมกับการสอนทายาอย่างถูกวิธี
  • รับประทานยา เพื่อลดอาการคัน : โดยผู้ป่วยห้ามซื้อยามาทา หรือรับประทานเองโดยเด็ดขาด เพราะหากยาไม่ถูกกับโรคอาจส่งผลให้อาการแย่ลงได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกเป็นผื่นแพ้ ทารกมีผื่นแพ้ตามตัว สัญญาณอันตราย หรือแค่ปล่อยไว้ก็หายเอง ?

อย่างไรก็ตาม การหมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติคือสิ่งสำคัญที่สุด หากเด็กมีผื่นคันที่เป็นแล้วหายบ่อยๆ ทำให้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของโรค ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และดูแลผิวของเด็กๆ อย่างถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์ จะได้หายจากโรคโดยเร็วที่สุด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ

โทร : 02-310-3006 , 02-755-1006 หรือ 1719

แอดไลน์ : @bangkokhospital

************************************************************

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ฝ่ายสื่อสารการตลาด โรงพยาบาลกรุงเทพ

ปานฤทัย คงยิ้มละมัย (ปิงปอง) หัวหน้าฝ่ายสื่อสารการตลาด (PR)

ตัวแทนประชาสัมพันธ์โดย บริษัท แมสคอท คอมมิวนิเคชั่น จำกัด โทร :  02-732-6069-70

อำไพพรรณ นภาสกุลคู (โอ่ง) โทร : 086-351-7729

จารุวรรณ ศิริปัญจนะ (วรรณ) โทร : 081-819-7682

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

Nanticha Phothatanapong

  • หน้าแรก
  • /
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • /
  • ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก สาเหตุการเกิดโรคผิวหนัง อย่ารอจนเรื้อรัง
แชร์ :
•••
  • การตรวจสุขภาพ ผู้หญิงในไทยจะก้าวไปอีกขั้น กับชุดตรวจเลือดที่ตรวจได้เองที่บ้าน

    การตรวจสุขภาพ ผู้หญิงในไทยจะก้าวไปอีกขั้น กับชุดตรวจเลือดที่ตรวจได้เองที่บ้าน

  • ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
    บทความจากพันธมิตร

    ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3

  • ลงทะเบียน ม.33 เรารักกัน เตรียมเปิดรับสิทธิ์เงิน 4,000 บาท เริ่ม 21 ก.พ.นี้

    ลงทะเบียน ม.33 เรารักกัน เตรียมเปิดรับสิทธิ์เงิน 4,000 บาท เริ่ม 21 ก.พ.นี้

app info
get app banner
  • การตรวจสุขภาพ ผู้หญิงในไทยจะก้าวไปอีกขั้น กับชุดตรวจเลือดที่ตรวจได้เองที่บ้าน

    การตรวจสุขภาพ ผู้หญิงในไทยจะก้าวไปอีกขั้น กับชุดตรวจเลือดที่ตรวจได้เองที่บ้าน

  • ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3
    บทความจากพันธมิตร

    ดีแทค ขอชวนน้อง ๆ มา #เปลี่ยนโลกช่วงปิดเทอม กับ dtac Young Safe Internet Leader Cyber Camp ซีซั่น 3

  • ลงทะเบียน ม.33 เรารักกัน เตรียมเปิดรับสิทธิ์เงิน 4,000 บาท เริ่ม 21 ก.พ.นี้

    ลงทะเบียน ม.33 เรารักกัน เตรียมเปิดรับสิทธิ์เงิน 4,000 บาท เริ่ม 21 ก.พ.นี้

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
บทความ
  • สังคมออนไลน์
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • สุขภาพ
  • ชีวิตครอบครัว
  • การศึกษา
  • ไลฟ์สไตล์​
  • วิดีโอ
  • ชอปปิง
  • TAP IDOL
เครื่องมือ
  • ?คอมมูนิตี้สำหรับคุณแม่
  • ติดตามการตั้้งครรภ์
  • ติดตามพััฒนาการของลูกน้อย
  • สูตรอาหาร
  • อาหาร
  • โพล
  • VIP Parents
  • การประกวด
  • โฟโต้บูท

ดาวน์โหลดแอปของเรา

  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • กฎการใช้งานคอมมูนิตี้
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ?ฟีด
  • โพล
เปิดในแอป