X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

Bed Rest คืออะไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 72

บทความ 5 นาที
Bed Rest คืออะไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 72

การนอนนิ่ง ๆ อยู่บนเตียงนอน ลดการทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงกับลูกที่อยู่ในครรภ์ นั่นคือการ Bed Rest

ถึงแม้ว่า การนอนนิ่ง ๆ บนที่นอน หรือ Bed Rest ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์นั้น ดูเหมือนจะสบายสำหรับคนท้อง แต่ในความเป็นจริงแล้ว การถูกบังคับให้นอนนิ่ง ๆ โดยไม่สามารถทำกิจกรรมใด ๆ เหมือนได้ปกติ จะเป็นช่วงที่น่าเบื่อหน่าย และทำให้เกิดความเครียด ได้ง่ายมาก สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้สภาวะจิตใจของคุณแม่ ย่ำแย่ อาจจะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ในบางราย เพราะนอกจากจะมีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของลูกในครรภ์แล้ว ยังต้องไม่สามารถหากิจกรรมอื่น ๆ ทำเพื่อผ่อนคลายความเครียดได้อีกด้วย หากจะต้องมีการนอนนิ่ง ๆ อยู่บนเตียงนอน คุณแม่จึงควรมีคนดูแลอย่างใกล้ชิด

การนอนนิ่ง Bed Rest

ควรที่จะหมั่นสังเกตถึงอาการปวดต่าง ๆ และปรึกษาคุณหมออย่างสม่ำเสมอ ถึงอาการที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้ทำการรักษา และป้องกันผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

ทำไมถึงต้องนอนนิ่ง ๆ ?

การนอนนิ่ง ๆ จัดว่าเป็นการรักษารูปแบบหนึ่ง สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเพิ่มโอกาสที่ทารกจะสามารถอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ได้จนอายุครรภ์สมบูรณ์

แพทย์บางท่าน จะแนะนำให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ นอนพักผ่อนในลักษณะของการนอนนิ่ง ๆ ในกรณีที่เกิดปัญหาการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ความดันโลหิตสูง ภาวะครรภ์เป็นพิษ เลือดออกทางช่องคลอด ภาวะรกเกาะไม่แน่น ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด การคลอดก่อนกำหนด ปากมดลูกเปิดไม่เพียงพอ การแท้ง และปัญหาอื่น ๆ ตามแต่แพทย์วินิจฉัย โดยวัตถุประสงค์หลัก ก็เพื่อให้ตัวคุณแม่ หลีกเลี่ยงกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด หรือภาวะแทรกซ้อนในครรภ์

การรักษาด้วยวิธีBed Rest มีกี่แบบ ?

Advertisement

การรักษาด้วยวิธีBed Rest มี 2 วิธี ได้แก่

  • Absolute Bed Rest คือการให้คุณแม่นอนพักอยู่บนเตียงตลอดเวลา ห้ามลุกไปไหน การทำกิจกรรมทุกอย่างจะต้องทำบนเตียง ไม่เว้นแม้แต่การรับประทานอาหาร และการขับถ่าย
  • Bed Rest คือการให้คุณแม่นอนอยู่บนเตียงเป็นส่วนใหญ่ ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวได้บ้างเล็กน้อย เช่น ลุกไปเข้าห้องน้ำได้

โดยมากแล้ว คุณแม่ที่จำเป็นต้องใช้การรักษา ด้วยการนอนนิ่ง ๆ นั้น แพทย์จะแนะนำ ให้นอนตะแคงไปทางซ้าย เพื่อช่วยในการไหลเวียนของเลือดไปยังทารกในครรภ์ได้ดีขึ้น เนื่องจากมดลูกจะไม่ไปกดทับที่หลอดเลือดดำ

การนอนนิ่ง Bed Rest

การนอนนิ่ง ๆ จัดว่าเป็นการรักษารูปแบบหนึ่ง สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเพิ่มโอกาสที่ทารกจะสามารถอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ได้จนอายุครรภ์สมบูรณ์

ประโยชน์ของการรักษา ด้วยการนอนนิ่ง ๆ

การรักษาด้วยวิธีBed Rest ระหว่างการตั้งครรภ์ มีประโยชน์ต่อคุณแม่ ดังต่อไปนี้

  1. ช่วยให้เลือดไหลเวียน ไปยังรกได้ดียิ่งขึ้น
  2. ช่วยเพิ่มน้ำหนักแรกเกิด ของทารก

กรณีไหนบ้าง ที่คุณแม่จะต้องได้รับการรักษาเช่นนี้

การรักษาด้วยวิธีBed Rest จะเหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่มีภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้

  • คุณแม่ที่มีภาวะแท้งคุกคาม (Threatened abortion) กล่าวคือ คุณแม่ที่มีเลือดออกจากทางช่องคลอด หรือรู้สึกปวดหน่วง ๆ ที่บริเวณท้องน้อย หรือมีตกขาวที่มีสีน้ำตาลปนเลือด
  • คุณแม่ที่ปัญหา เกี่ยวกับรก เช่น รกเกาะต่ำ เป็นต้น
  • คุณแม่ที่มีปัญหาการบีบตัวของมดลูก หรือมีสัญญาณว่าอาจจะคลอดก่อนกำหนด
  • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด ที่มีแนวโน้มว่าจะคลอดก่อนกำหนด
  • คุณแม่ที่ปากมดลูกเปิด แต่ว่ายังไม่ถึงกำหนดคลอด
  • คุณแม่ที่มีอาการ หรือมีผลการทดสอบว่า ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ
  • คุณแม่ที่มีอาการน้ำเดิน หรือถุงน้ำคร่ำรั่ว
การนอนนิ่ง Bed Rest

คุณแม่ที่จำเป็นต้องใช้การรักษา ด้วยการนอนนิ่ง ๆ นั้น แพทย์จะแนะนำ ให้นอนตะแคงไปทางซ้าย เพื่อช่วยในการไหลเวียนของเลือดไปยังทารกในครรภ์ได้ดีขึ้น เนื่องจากมดลูกจะไม่ไปกดทับที่หลอดเลือดดำ

ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยการBed Rest

การที่คุณแม่ต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน ๆ อาจจะก่อให้เกิดภาวะเส้นเลือดที่ขาอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดอุดกั้นที่ปอดได้อีกด้วย มวลกระดูกลดลง กล้ามเนื้ออ่อนแรงจากการขาดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน รวมไปถึงอาการซึมเศร้า วิตกกังวลต่าง ๆ จากการอยู่นิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ดังนั้น ควรที่จะหมั่นสังเกตถึงอาการปวดต่าง ๆ และปรึกษาคุณหมออย่างสม่ำเสมอ ถึงอาการที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้ทำการรักษา และป้องกันผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

ทำอย่างไรดี หากแพทย์วินิจฉัยให้รักษาด้วยการ Bed Rest ?

หากแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยให้คุณแม่ต้องนอนนิ่ง ๆ หรือ รักษาด้วยวิธี Bed Rest คุณแม่ควรจะปรึกษาคุณหมอถึงสาเหตุ และคำแนะนำในการปฏิบัติตัวระหว่างการรักษาด้วย

สิ่งที่ควรจะถามคุณหมอ เช่น

  1. สาเหตุที่แนะนำให้รักษาด้วยวิธีการนอนนิ่ง ๆ หรือ Bed rest
  2. วิธีการ Bed Rest สามารถทำอะไรได้บ้าง เช่น จำเป็นต้องนอนบนเตียงตลอดทั้งวันไหม ? สามารถลุกได้เป็นระยะหรือไม่ ตอนไหนบ้าง ?
  3. มีวิธีการอื่น ๆ นอกจากการรักษาด้วย Bed Rest หรือไม่ ?
  4. การรักษาด้วยการนอนนิ่ง หรือ Bed Rest จะช่วยอะไรได้บ้าง ?
  5. ผลข้างเคียง หรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาด้วยวิธีนี้ สมเหตุสมผลกับประโยชน์ที่ได้รับหรือไม่ ?
  6. วิธีการนี้สามารถการันตีผลลัพธ์ได้มากแค่ไหน ?
  7. ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพของคุณแม่ และลูกในครรภ์
  8. การรับประทานยาบำรุงอื่น ๆ จะสามารถช่วยให้ผ่านภาวะแทรกซ้อนนี้ไปได้หรือไม่ ?

คุณแม่ควรจะพูดคุยกับแพทย์ให้ชัดเจนถึงแนวทางการรักษา และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากวิธีการนี้ อาจมีผลข้างเคียงทั้งต่อตัวแม่ท้อง และลูกในครรภ์

การนอนนิ่ง

หากแพทย์ได้ทำการวินิจฉัยให้คุณแม่ต้องนอนนิ่ง ๆ หรือ รักษาด้วยวิธี Bed Rest คุณแม่ควรจะปรึกษาคุณหมอถึงสาเหตุ และคำแนะนำในการปฏิบัติตัวระหว่างการรักษาด้วย

การงด หรือลดการทำกิจกรรมต่าง ๆ ช่วยได้จริงหรือ ?

หากคุณแม่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด คุณหมอผู้ดูแลอาจจะแนะนำให้งด หรือละเว้นการทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น การยกของหนักกว่า 9 กิโลกรัม กิจกรรมนันทนาการ การออกกำลังกายต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อ หรือการยกเวท และอาจรวมไปถึงการปรับเปลี่ยนตารางการทำงานของคุณแม่ ไม่ควรเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ยกเลิกการทำงานในเวลากลางคืน (night shift) งานที่ต้องยืนเป็นเวลานาน หรืองานที่ต้องใช้ร่างกายเยอะ ๆ ด้วย

หากคุณแม่มีอาการเจ็บครรภ์ หรือมักจะรู้สึกเกร็งหลังจากมีเพศสัมพันธ์ คุณหมอก็อาจจะแนะนำให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมทางเพศไปก่อน

หากคุณแม่มีภาวะถุงน้ำคร่ำรั่ว รกเกาะต่ำ รกลอกก่อนกำหนด หรือภาวะครรภ์แทรกซ้อนอื่น ๆ คุณหมอก็จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่แตกต่างกันไป เพื่อลดความเสี่ยง และช่วยรักษาครรภ์ให้มีสุขภาพดีไปจนครบอายุโดยสมบูรณ์

ที่มา : today.line.me , www.pormae.com , hd.co.th/bed – rest

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คุณหมอบอกมา 5 ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องต้องระวัง!!

สัญญาณอันตรายระหว่างตั้งครรภ์ อาการแบบไหนควรไปพบแพทย์?

ผลวิจัยเผย การล็อคดาวน์ COVID-19 อาจทำแม่เสี่ยงแท้งบุตรได้

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์
เตรียมพร้อมลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงตั้งแต่ในครรภ์ ด้วย นมเฉพาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

ammy

  • หน้าแรก
  • /
  • ไตรมาส 3
  • /
  • Bed Rest คืออะไร 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 72
แชร์ :
  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

    ไขข้อข้องใจ แพ้ท้องอยากกินของแปลก เพราะอะไร ปกติหรือเปล่า?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว