X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

นักวิจัยชี้ แม่เครียดตอนท้อง เป็นภัยเครียดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมลูกในท้องสูง

บทความ 5 นาที
นักวิจัยชี้ แม่เครียดตอนท้อง เป็นภัยเครียดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมลูกในท้องสูง

แม่เครียดตอนท้อง ทำไมการจัดการความเครียดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญในระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์

นักวิจัยกล่าวว่า แม่เครียดตอนท้อง มารดาที่มีความเครียดสูง มีโอกาสที่ลูกจะมีปัญหาทางด้านพฤติกรรม และเพื่อเป็นการป้องกันสุขภาพของทารกน้อยที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องเลิกนิสัยที่ไม่ดีต่าง ๆ เช่นการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในขณะที่งานวิจัยใหม่ ๆ ได้แนะนำให้ว่าที่คุณแม่ทั้งหลายควรมีความพยายามที่จะยับยั้งนิสัยที่ไม่ดีอื่น ๆ ด้วย เพื่อทำให้ความเครียดนั้นหมดไป!

นักวิจัยชี้ แม่เครียดตอนท้อง ต้องรีบจัดการความเครียด

ตามข้อมูลของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Ottawa พบว่าความเครียดของแม่ท้องนั้นสามารถส่งผลต่อพัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาในด้านพฤติกรรมเพิ่มมากขึ้น อย่างเช่น ภาวะสมาธิสั้น และจากทีมวิจียที่นำโดย ดร. เอียน โคลแมน (Dr. Ian Colman) กล่าวว่า “มารดาที่แสดงให้เห็นถึงการมีระดับความเครียดที่สูงในระหว่างตั้งครรภ์ จะมีแนวโน้มที่ลูกจะเกิดมีอาการของโรคสมาธิสั้นและมีปัญหาด้านพฤติกรรมมากขึ้นกว่าสองเท่า ง่าย ๆ ก็คือ “ถ้าแม่มีความเครียดสูงก็จะทำให้ลูกมีอาการดังกล่าวสูง”

แม่เครียดตอนท้อง

Advertisement

เด็กที่เกิดมาจากผลกระทบที่แม่เครียดตอนท้อง ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ในวัยเรียนจะมีอาการสมาธิสั้นหรือมีพฤติกรรมกเกเรคล้ายอันธพาล ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาในสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างตัวเด็กเองกับครอบครัวและเพื่อนได้ ดังนั้นการลดความเครียดในช่วงก่อนคลอด อาจมีบทบาทสำคัญในการช่วยป้องกันปัญหาด้านพฤติกรรมสำหรับลูกน้อยที่จะเกิดมา

เคล็ดลับช่วยว่าที่คุณแม่ตั้งครรภ์จัดการกับความเครียด

  • มองหาต้นตอของความเครียด ดูว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณแม่เครียดอยู่ในตอนนี้และพยายามแก้ปัญหาให้หลุดออกไป
  • หาที่ปรึกษา ซึ่งก็คือคนที่อยู่ใกล้ตัวคุณแม่มากที่สุด ระบายในสิ่งที่กำลังรู้สึกเครียด กังวลให้สามีฟัง
  • ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น ด้วยการลดภาระทางใจในระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น การนั่งสมาธิ เล่นโยคะ หรือทำอะไรก็ตามที่คิดว่าเหนื่อยมากให้น้อยลง และเรียนรู้ที่จะพูดว่า “ไม่”
  • หาเวลาให้กับตัวเอง ทำในสิ่งที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรกหรือกิจกรรมการออกกำลังสำหรับคนท้อง

แม่เครียดตอนท้อง

แม้เราไม่อาจหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียดในชีวิตได้ทุกครั้ง โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ที่ทำให้คุณแม่ทั้งหวาดกลัวและเกิดความวิตก แต่ก็ควรพยายามที่จะจัดการความเครียดนั้นให้ออกไปจากชีวิตอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะทำให้ลูกที่จะคลอดออกมานั้นเติบโตขึ้นมาเป็นเด็กอารมณ์ดี มีความสุขนะคะ

คนท้อง ร้องไห้ แม่เครียดเสี่ยงแท้ง ลูกในท้องโตช้า คลอดออกมาลูกซึมเศร้า

คนท้อง ร้องไห้ แม่เครียดเสี่ยงแท้ง

รู้หรือไม่! คนท้อง ร้องไห้ แม่เครียดเสี่ยงแท้ง ความคิดมากของแม่ กระทบลูกในท้อง ทำให้ทารกเติบโตช้าในครรภ์ เสี่ยงทารกติดเชื้อในครรภ์สูงขึ้นด้วย

 

ไม่อยากดราม่า แต่กลั้นน้ำตาเอาไว้ไม่อยู่ แม่เครียดขนาดนี้ กลัวลูกในท้องจะเป็นอันตราย

แม่ท้องเครียดเกินไปหรือเปล่า

คนท้องร้องไห้ทุกวัน จากปัญหาถาโถม ไหนจะมีเรื่องกับแม่ผัว พอเครียดก็ไม่อยากแต่งตัว ปล่อยเนื้อปล่อยตัวให้โทรม จนผัวเมิน เผลอ ๆ ผัวก็แอบไปมีกิ๊ก พอจับได้ก็ยิ่งเครียด ร้องห่มร้องไห้ไปกันใหญ่

ไม่ว่า ปัญหาอะไร ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับคนท้อง ไม่ใช่ว่าดราม่าไปเองหรอกนะ มันมีเหตุผล

นักวิจัยชี้ แม่เครียดตอนท้อง เป็นภัยเครียดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมลูกในท้องสูง

 

ทำไมคนท้องร้องไห้บ่อย ร้องไห้ง่าย ให้กับเรื่องไม่เป็นเรื่อง

คนท้อง ร้องไห้บ่อย ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เพราะระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้น อารมณ์แม่ก็จัดเต็มตามไปด้วย เดี๋ยวก็ดีเดี๋ยวก็ร้าย อารมณ์สวิงไปมา และยากที่จะควบคุมได้ โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก หรือ 3 เดือนแรก ที่กำลังท้องอ่อน ๆ นอกจากนี้ อาการที่เกิดจากการตั้งครรภ์ อาทิ อาการคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ นอนน้อย ปวดหลัง ปัสสาวะบ่อย พวกนี้ก็ส่งผลทำให้คนท้องเบื่อ เหนื่อย เครียด!

สำหรับคนท้องบางคน ก็จะมีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ เป็นครั้งคราว ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ นั่นก็เพราะตอนท้อง ร่างกายของแม่ท้องเปลี่ยนไปมากมาย ความรู้สึกไม่ชอบรูปร่างตัวเองก็เกิดขึ้น พบกับปัญหาผิวแตกลาย คอดํา รักแร้ดํา หัวนมดำ จนหงุดหงิด ไหนจะความเจ็บปวดของร่างกาย ปวดเมื่อยเนื้อตัว เดินไม่ถนัด เจ็บตรงโน้นตรงนี้ สิ่งเหล่านี้ก่อตัวเป็นความเครียดขึ้นทีละเล็กทีละน้อย

อาการเครียดในระยะสั้นของคนท้อง

หากแม่เครียดเล็กน้อย และสามารถปรับตัวได้ จะไม่มีผลเสียต่อการตั้งครรภ์ แม่บางคนแปรเปลี่ยนความเครียดเป็นการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ให้ดีขึ้น ส่งผลให้สุขภาพแม่แข็งแรง ทารกในครรภ์เติบโตดี แต่ถ้าแม่ท้องเครียดมาก ๆ รู้หรือเปล่าว่า ผลเสียต่อตัวแม่ท้องและทารกในครรภ์นั้นรุนแรงมาก สำหรับอาการเครียดในระยะสั้นของคนท้องก็เช่น

  • เกิดอาการเหนื่อย
  • นอนไม่หลับ
  • ตื่นเต้น
  • เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก
  • ปวดศีรษะ และปวดหลัง
  • ถ้าปล่อยให้เครียดนานจะทำให้ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อลดลง ความดันโลหิตสูง และเกิดโรคหัวใจตามมาได้

ความเครียดของแม่ท้องส่งผลต่อทารกในครรภ์

ภาวะเครียดของแม่ ทำให้สารเคมีและฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียดหลั่งออกมามาก ส่งผลให้เส้นเลือดที่ไปยังมดลูกและรกเกิดการหดตัว ปริมาณออกซิเจนที่ไปยังทารกในครรภ์ลดน้อยลง จึงเกิดอันตรายและความเสี่ยงมากมาย ดังนี้

  • เกิดการแท้ง
  • ทารกเติบโตช้าในครรภ์
  • ทารกติดเชื้อในครรภ์สูงขึ้น
  • มีรายงานว่าทารกที่คลอดจากมารดาที่มีภาวะเครียด ในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในการตั้งครรภ์ช่วงแรกจะมีอารมณ์ซึมเศร้า และไวต่อการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก
  • ผลที่เกิดกับทารกในระยะยาว จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น
  • ส่งผลถึงปัญหาทางจิตใจ และการปรับตัวทางสังคมตามมา

 

ลูกจะรู้สึกยังไง หากคุณเเม่ร้องไห้ตอนท้อง

เวลาที่แม่ท้องเครียดรู้หรือไม่ว่า ลูกจะรู้สึกยังไง จากงานวิจัยของ Psychological Science พบว่า เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่เดือนที่ 6 ลูกในครรภ์จะสามารถรับรู้อารมณ์ของคุณแม่ได้ และผลกระทบนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นด้วยนะคะ เพราะอารมณ์ที่คุณแม่รู้สึกนั้นจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดทัศนคติของลูกด้วย

เมื่อคุณแม่เครียด ร่างกายของคุณแม่จะหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมา แม้ว่าอารมณ์ของคุณแม่จะส่งผ่านถุงน้ำคร่ำไปหาลูกไม่ได้ แต่ฮอร์โมนของคุณแม่สามารถทำได้ เครียดเป็นครั้งคราวลูกได้รับฮอร์โมนเป็นครั้งคราว ไม่เป็นไร แต่ถ้าลูกได้รับฮอร์โมนนี้บ่อย ๆ เข้า ลูกก็จะมีอาการเครียดเรื้อรัง แถมยังทำให้ลูกมีอาการโคลิคเมื่อคลอดออกมาแล้วด้วย โดยฮอร์โมนแห่งความเครียด หรือ คอร์ติซอล (cortisol) ถ้าร่างกายได้รับบ่อย ๆ หรือได้รับมากไป นอกจากจะทำให้เป็นโรคอ้วนแล้ว ยังส่งผลต่อการทำงานของสมองอีกด้วย ทำให้สมองส่วนฮิปโปแคมปัส ที่เกี่ยวข้องการเรียนรู้ ความจำต่าง ๆ ทำงานลดลง

 


credit content : www.consumeraffairs.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

“งานแม่” ไม่มีวันจบ ผลสำรวจเผย แม่ที่ เลี้ยงลูกอยู่บ้าน เครียด โกรธ ซึมเศร้า ไม่ได้สบายอย่างที่คิดเล้ย!

สงสารลูกเถอะ! แม่ท้องเครียด ส่งผลถึงพัฒนาการลูก ถ้ารักลูกอย่าเครียดเลยนะจ๊ะแม่!!

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • นักวิจัยชี้ แม่เครียดตอนท้อง เป็นภัยเครียดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมลูกในท้องสูง
แชร์ :
  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

    7 อาการปวดที่คนท้องต้องเจอ รับมือยังไง? ให้ราบรื่นตลอด 9 เดือน

  • วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

    วิจัยชี้! คนท้องทำงานกะดึก เพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก-คลอดก่อนกำหนด

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว