X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกดื้อไม่เชื่อฟัง เด็กดื้อ พฤติกรรมไม่ดีต้องหยุด!!!

บทความ 3 นาที
ลูกดื้อไม่เชื่อฟัง เด็กดื้อ พฤติกรรมไม่ดีต้องหยุด!!!ลูกดื้อไม่เชื่อฟัง เด็กดื้อ พฤติกรรมไม่ดีต้องหยุด!!!

การจัดการเด็กดื้อไม่ใช่เรื่องง่ายเลยยิ่งเป็นลูกตัวเองด้วยแล้ว จะทำอย่างไรเพื่อจัดการลูกดื้อมาก ๆ ได้ เรามีวิธีแก้พฤติกรรมนี้

ไม่มีพ่อแม่คนไหนไม่เคยเจอกับประสบการณ์เมื่อลูกตัวเองเป็นเด็กดื้อโต้ตอบพ่อแม่อย่างไม่เหมาะสม เราหวังว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นแต่เนิ่น ๆ ในช่วงที่ลูกยังเป็นเด็กวัยคลานก่อนเข้าโรงเรียนเพราะคุณจะยังพอมีเวลาให้แก้ไขพฤติกรรมและสถานการณ์ได้ แต่ไม่ว่าลูกจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม คุณต้องจำไว้ว่าการเป็นเด็กดื้อไม่เชื่อฟังเป็นสิ่งที่ไม่มีวันเป็นที่ยอมรับได้

ลูกดื้อมากไม่เชื่อฟัง: พฤติกรรมไม่ดีต้องหยุด!!! เด็กดื่อ

การเป็นเด็กดื้อไม่เชื่อฟังเป็นอย่างไร? ลูกดื้อเอาแต่ใจ

ถ้าว่าการตามนิยามแล้ว การเป็นเด็กดื้อคือการจงใจปฏิเสธที่จะเชื่อฟัง การขัดขืนต่อต้านอย่างเปิดเผย แต่การถามว่า “ทำไม” ไม่ถือว่าเป็นการไม่เชื่อฟังหรือเป็นเด็กดื้อ แต่หมายถึงการถามข้อมูลและความเข้าใจเพิ่มเติม การเป็นเด็กดื้อไม่เชื่อฟังไม่ได้หมายถึงการโต้เถียงตลอดเวลา แต่เป็นอะไรที่มากกว่านั้นหน่อย แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการขัดขืนอย่างเปิดเผยชัดเจนและจงใจแล้วล่ะก็ ลูกของคุณจะแสดงอาการต่อต้านเหล่านั้นออกมา

เด็กดื้อ วิธีจัดการเมื่อลูกดื้อไม่เชื่อฟัง

มีวิธีการเฉพาะเอาไว้ใช้จัดการกับเด็กดื้อในแต่ละช่วงอายุให้เหมาะสม แต่ก็มีสิ่งสองสิ่งที่คุณต้องจำใส่ใจเอาไว้ในการจัดการกับเด็กดื้อไม่เชื่อฟัง สิ่งเหล่านั้นคือ “ทันที” และ “อย่างชัดแจ้ง”

เมื่อลูกดื้อมาก เด็กดื้อ ต้องจัดการทันที!!!

เมื่อลูกมีอาการดื้อขึ้นมา ไม่มีประโยชน์อะไรเลยที่จะออกคำขู่ที่ไร้น้ำหนักและใช้การอะไรไม่ได้ เช่น “รอพ่อกลับมาบ้านก่อนเถอะ” หรือ “รอให้ออกจากร้านก่อนเถอะ” หรือ “ลูกจำไว้เลยนะว่าคราวหน้าที่ลูกอยากได้.....” เมื่อลูกดื้อไม่เชื่อฟังขึ้นมาก็ต้องได้รับการอบรมหรือโดนทำโทษ คุณต้องให้ลูกได้เรียนรู้โดยทันทีว่าผลของการกระทำที่ไม่ดีเป็นอย่างไร เราจะไม่โต้เถียงกันเรื่องการตีก้นลูกในตอนนี้ แต่ไม่ว่าการลงมือทำนั้นจะเป็นการแยกให้ลูกไปนั่งคนเดียวกับเก้าอี้ การให้ลูกหยุดทำอะไรบางสิ่งหรือออกจากในสถานที่ใดที่หนึ่งอย่างรวดเร็ว การห้ามไม่ให้เล่นของเล่น กินของว่าง หรืออะไรก็ตาม คุณต้องลงมือทำทันที มิฉะนั้นความสำคัญของการพยายามสร้างวินัยให้กับลูกจะลดทอนลงไปตามกาลเวลา (แม้แต่กับเด็กที่โตขึ้นแล้ว)

เด็กดื้อ อย่างชัดแจ้ง ลูกดื้อเอาแต่ใจ

การลงโทษเด็กดื้อต้องทำกันอย่างชัดแจ้งและการลงโทษนั้นต้องเหมาะสมกับความผิดที่ลูกกระทำลงไป เช่น หากลูกน้อยวัยสี่ขวบไม่ยอมกินข้าว (โดยการทิ้งหรือเอาให้แมวกินแทน) การงดอาหารลูกก็เป็นการลงโทษที่เหมาะสม หากลูกวัยหกขวบไม่ยอมเก็บของเล่นที่เล่นแล้ว คุณก็ยึดของเล่นลูกไปเลยจะได้ไม่มีอะไรต้องเก็บ หากลูกที่ยังเล็กอยู่ดื้อในที่สาธารณะ (พยายามวิ่งพล่านไปมาหรือแสดงอาการหยาบคาย) คุณต้องเอาลูกออกจากสถานที่เหล่านั้นหรือควบคุมโดยการอุ้มไว้หรือจับใส่รถเข็นเด็ก

อายุก็เป็นเรื่องสำคัญ: สำหรับเด็กวัยคลาน

ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น การได้แสดงอาการต่อต้านคุณเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตและพัฒนาการการเด็กวัยคลาน ลูกกำลังทดสอบกรอบที่คุณวางไว้เพื่อดูว่าตัวเองอยู่ในภาวะที่เข้มงวดแค่ไหน เชื่อหรือไม่ว่าการที่เด็กในวัยนี้ดื้อไม่ใช่เรื่องเลวร้าย การทดสอบขีดจำกัดเหล่านี้เป็นการแสดงออกถึงการเติบโตทางจิตใจว่าลูกวัยคลานของคุณกำลังคิดด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะใช้เหตุผล และตัดสินใจเลือก

ในฐานะพ่อแม่คุณควรเตรียมตัวเตรียมใจให้ดี คุณต้องวางแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อปรับให้ลูกที่ดื้อกลับมาอยู่ในโอวาทว่านอนสอนง่าย แผนที่ว่าควรรวมถึงการใช้ความนุ่มนวล อธิบายให้ลูกฟังว่าทำไมลูกไม่ควรดื้อ ให้โอกาสลูกได้ตั้งหลักและเริ่มต้นใหม่ แต่คุณต้องไม่ลืมว่าความนุ่มนวลที่ว่าต้องเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างวินัย อย่าให้ความนุ่มนวลเข้ามาแทนที่ “ทันที” และ “อย่างชัดแจ้ง” สองอย่างที่เราได้บอกคุณไปตอนแรก

เด็กวัยอนุบาลและเด็กประถม

เมื่อลูกอายุสี่ขวบ ลูกก็จะมีภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าอะไรถูกอะไรผิด ลูกจะรู้แล้วว่าการตี การโกหก การขโมย และการเป็นเด็กดื้อเป็นสิ่งที่ไม่ดี ลูกจะวางตัวและทำตัวได้อย่างเหมาะสมในสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ส่วนใหญ่ที่คุณพาลูกไปได้ ดังนั้นเมื่อเด็กในวัยนี้ต่อต้านหรือเป็นเด็กดื้อขึ้นมา ลูกกำลังทำมากกว่าการทดสอบกรอบ ลูกกำลังทดสอบคุณว่าคุณจะรักษากรอบเหล่านี้ไว้ได้หรือไม่ ลูกอยากรู้ว่ากรอบที่ว่าอยู่ตรงไหนและมีช่องว่างแกว่งไปมาอยู่มากแค่ไหน ดังนั้นคุณควรเตรียมตัวตั้งรับหรือมิฉะนั้นก็ยอมแพ้ไปเลย แต่เราขอเตือนคุณไว้ก่อนว่าถ้าคุณแพ้ตั้งแต่ตอนนี้ คุณจะไม่มีหวังที่จะชนะเลยในอนาคตที่คุณต้องรบกับลูกในวัยรุ่น

เด็กดื้อไม่เชื่อฟัง: พฤติกรรมไม่ดีต้องหยุด!!! เด็กดื่อ

ช่วงวัยรุ่น

ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่ลูกไม่ได้แค่ทดสอบกรอบและความมุ่งมั่นของคุณที่จะรักษากรอบนั้นไว้เท่านั้น ลูกกำลังทดสอบเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังกรอบที่คุณตีเอาไว้ด้วย ลูกกำลังสำรวจความคิด ศีลธรรม และอุดมการณ์ของตัวเอง เด็กในวัยนี้ต้องจัดการกับเรื่องภาพลักษณ์ของตัวเอง อิทธิพลจากคนรอบข้าง และแรงกดดันของการตัดสินใจสำหรับอนาคตตัวเอง การดื้อต่อต้านไม่เชื่อฟังของวัยรุ่นอาจมาจากความหงุดหงิดงุ่นงาน อารมณ์โมโห ความสับสน ความสงสัยในตัวเอง หรือความเกลียดชังตัวเอง และใช่แล้ว รวมถึงแม้กระทั่งความต้องการสร้างความเจ็บปวดให้กับพ่อแม่ของตัวเอง

นับเป็นเรื่องธรรมชาติที่เด็กในวัยนี้จะสุดโต่งไปถึงขีดจำกัดในบางโอกาส สิ่งที่เหมือนกับเด็กวัยคลานคือลูกกำลังอยู่ในวัยค้นหา แต่หากคุณปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นต่อ ๆ ไป การระเบิดออกมาเป็นบางโอกาสเหล่านี้อาจกลายเป็นเรื่องปกติ ทำให้เกิดความเครียด เจ็บปวดหัวใจ และแม้กระทั่งความเสียหายทางร่างกายหรืออารมณ์อย่างถาวรก็เป็นได้

ทันที อย่างชัดแจ้ง และอย่างเหมาะสม

ไม่ว่าลูกของคุณจะอายุเท่าใด ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น การเป็นเด็กดื้อเป็นสิ่งที่รับไม่ได้และต้องได้รับการจัดการ เพื่อให้การจัดการกับเด็กดื้อไม่เชื่อฟังเป็นไปอย่างเหมาะสมและก่อประโยชน์ คุณต้องระลึกไว้เสมอว่าการลงโทษต้องเป็นบทเรียนสอนลูกว่าทำไมสิ่งที่ลูกทำลงไปจึงไม่เหมาะสม ลูกควรจะทำอะไรแทนที่จะทำตนไม่เหมาะสมเช่นนั้น และลูกจะตัดสินใจเลือกทำในสิ่งที่ดีกว่าได้อย่างไร

บทความจากพันธมิตร
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ลูกดื้อไม่เชื่อฟัง เด็กดื้อ พฤติกรรมไม่ดีต้องหยุด!!!
แชร์ :
  • 8 พฤติกรรมไม่ดีของลูก ที่พ่อแม่ควรแก้ไขให้เร็วที่สุด

    8 พฤติกรรมไม่ดีของลูก ที่พ่อแม่ควรแก้ไขให้เร็วที่สุด

  • วิธีสอนลูกอย่างไร ? ให้ลูกเชื่อฟัง เป็นเด็กดี และไม่ต่อต้านพ่อแม่

    วิธีสอนลูกอย่างไร ? ให้ลูกเชื่อฟัง เป็นเด็กดี และไม่ต่อต้านพ่อแม่

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

app info
get app banner
  • 8 พฤติกรรมไม่ดีของลูก ที่พ่อแม่ควรแก้ไขให้เร็วที่สุด

    8 พฤติกรรมไม่ดีของลูก ที่พ่อแม่ควรแก้ไขให้เร็วที่สุด

  • วิธีสอนลูกอย่างไร ? ให้ลูกเชื่อฟัง เป็นเด็กดี และไม่ต่อต้านพ่อแม่

    วิธีสอนลูกอย่างไร ? ให้ลูกเชื่อฟัง เป็นเด็กดี และไม่ต่อต้านพ่อแม่

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ