X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาษามือเด็ก สื่อสารกับทารกผ่านภาษามือง่าย ๆ ให้เข้าใจลูกมากขึ้น

บทความ 5 นาที
ภาษามือเด็ก สื่อสารกับทารกผ่านภาษามือง่าย ๆ ให้เข้าใจลูกมากขึ้น

เด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ยังไม่สามารถพูดออกมาเป็นคำที่มีความหมายได้ ดังนั้น อาจเป็นเรื่องยากที่เราจะสื่อสารกับลูกด้วยการพูด ภาษามือเด็ก จึงอาจเป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ที่จะช่วยให้คุณแม่สื่อสารและเข้าใจลูกน้อยได้ยิ่งขึ้น ภาษามือเด็ก มีอะไรบ้าง แต่ละอย่างมีความหมายว่ายังไง เราไปดูกันเลย

 

ภาษามือ คืออะไร มีประโยชน์กับเราและลูกยังไง

ภาษามือสำหรับเด็กทารก (Baby Sign Language) ถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารชนิดหนึ่ง ผู้ที่ใช้ภาษามือเด็ก จะเน้นสื่อสารผ่านภาษาทางกายหรือภาษามือแทนการพูด ซึ่งคุณพ่อและคุณแม่ สามารถสอนภาษามือให้กับลูก ๆ ก่อนที่เด็กจะถึงวัยหัดพูดได้ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เราเข้าใจลูก ๆ มากยิ่งขึ้น ว่าเขาต้องการอะไร อยากจะสื่อสารอะไร อยากเข้านอนตอนไหน นอกจากนี้ การให้ลูก ๆ เรียนภาษามือ ยังถือเป็นการฝึกทักษะการเรียนรู้ของเด็ก ๆ และยังช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ดีอีกด้วย

 

ภาษามือเด็กทารก มีอะไรบ้าง

โดยทั่วไปแล้ว เด็กทารกจะเริ่มพูดเป็นคำสั้น ๆ เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 1 ขวบ และเริ่มพูดคำยาว ๆ ได้เมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ ซึ่งก่อนหน้านั้น เด็กจะทำได้เพียงแค่ส่งเสียงร้อง หรือพูดอ้อแอ้ไม่มีความหมาย และเมื่อเด็กทารกเริ่มมีความสามารถในการพูด เขาก็จะเรียนรู้คำพูดจากคนที่อยู่รอบ ๆ ตัว และมักจะเลียนแบบคำพูดของผู้ใหญ่ ดังนั้น สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หรือคนรอบ ๆ ตัวเด็กพูดหรือแสดงออก ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลต่อเด็กการแสดงออกของเด็กทั้งนั้น

 

หากเด็กยังอายุน้อยเกินกว่าจะพูดได้ แต่คุณแม่ก็อยากสื่อสารกับลูก ลองเรียนภาษามือเด็ก หรือ Baby Sign Language ดังต่อไปนี้ไว้ได้ เพื่อเอาไว้ใช้สื่อสารกับลูกและทำให้ใกล้ชิดกับลูกมากยิ่งขึ้น

 

ภาษามือเด็ก

ขอบคุณภาพและเทมเพลตจาก parenting.com

 

1. ขออีกสิ ต้องการเพิ่มอีก เมื่อต้องการทำอะไรอีก หรือขออะไรเพิ่ม ให้เอาปลายนิ้วมือทุกนิ้วแตะที่นิ้วโป้ง โดยให้ดูเป็นรูวงกลมที่กลางมือ แล้วเอานิ้วมือทั้งสองข้างกระทบกันสองครั้ง

2. หมดแล้ว จบแล้ว เมื่อต้องการบอกเด็กว่าเรากำลังจะเริ่มทำกิจกรรมอื่น ๆ ต่อ หรือหากต้องการบอกว่าสิ่งที่มีอยู่นั้นหมดไปแล้ว ให้ยกมือทั้งสองข้างหันเข้าหาตัวเอง จากนั้นหันมือทั้งสองข้างออกมาให้เด็กดู เพื่อให้เห็นว่าไม่มีอะไรอยู่ในมือแล้ว

3. ถึงเวลาเข้านอน เมื่อถึงเวลาเข้านอน ให้แบมือหนึ่งข้างไว้ที่หน้า และกำมือพร้อมกับหลับตาลง ให้เหมือนคนที่กำลังหลับตานอน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลองฟัง ประสบการณ์ตรงเสริมสร้าง พัฒนาการลูกด้วยภาษามือ จากแม่สู่ลูก

ภาษามือเด็ก

ขอบคุณภาพและเทมเพลตจาก parenting.com

 

4. ได้เวลากินยาแล้ว หากต้องการป้อนยาเด็ก หรือต้องการพูดถึงยา ให้แบมือหนึ่งข้าง จากนั้นใช้นิ้วมืออีกหนึ่งข้างจิ้มลงไปกลางมือ และทำเหมือนกำลังบดเมล็ดยาบนช้อน

5. กินอาหารกันเถอะ ขอกินหน่อย เมื่อได้เวลาทานอาหาร ให้ทำท่าทางเหมือนกำลังจับอาหารเข้าปาก และควรทำทุกครั้ง ไม่ว่าจะกินขนม ของหวาน หรือเครื่องดื่มอะไรก็ตาม เพื่อให้เด็กจำได้

6. ได้เวลาป้อนนม เมื่อต้องการป้อนนมลูก ให้ทำมือเหมือนกำลังรีดนมวัว เพื่อให้สัญญาณลูก

 

ภาษามือเด็ก

ขอบคุณภาพและเทมเพลตจาก parenting.com

 

7. เปลี่ยนผ้าอ้อมได้แล้ว เมื่อถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือเปลี่ยนกางเกง ให้กำมือสองข้าง และหมุนสลับหน้าหลังไปมาหลาย ๆ ครั้ง

8. ขอความช่วยเหลือหน่อย สามารถใช้ได้ตอนที่ต้องการช่วยเด็ก หรือเมื่อเด็กต้องการขอความช่วยเหลือจากคุณแม่ วิธีทำคือให้แบมือหนึ่งข้าง และกำมืออีกข้างโดยให้มือข้างที่แบประคองมือที่กำอยู่ โดยชูนิ้วโป้งขึ้นบนฟ้า หรือจะแตะมือสองข้างที่หน้าอกแทนก็ได้

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

9. อาบน้ำกัน เมื่อได้เวลาอาบน้ำ ให้กำมือทั้งสองข้างขึ้นมาที่ระดับอก จากนั้นให้ทำเหมือนว่ากำลังถูสบู่ที่อกอยู่

 

ภาษามือเด็ก

ขอบคุณภาพและเทมเพลตจาก parenting.com

 

10. มาเล่นกันนะ เมื่อได้เวลาเล่น ลองส่งสัญญาณให้เด็กโดยการกำมือสองข้าง ปล่อยนิ้วโป้งและนิ้วก้อยออกมา จากนั้นให้สั่นมือไปมา

11. กินกล้วยหรือเปล่า เด็กทารกกินกล้วยแล้วดี หากต้องการป้อนกล้วยเด็ก ให้ยกนิ้วชี้ขึ้นมาหนึ่งข้าง และใช้มืออีกข้างทำเหมือนกำลังปอกกล้วยที่นิ้วชี้นิ้วนั้น

12. ดื่มน้ำหน่อยไหม ให้ชูสามนิ้วขึ้นมาที่ปาก และแตะที่ปากไปมา เพื่อให้เด็กรู้ว่าได้เวลากินน้ำแล้ว

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กชอบพูดคนเดียว เป็นเด็กฉลาด แต่ก็เกิดปัญหาได้ พ่อแม่ควรทำอย่างไร

ภาษามือเด็ก

ขอบคุณภาพและเทมเพลตจาก parenting.com

 

13. ถึงเวลาอ่านนิทาน เมื่อต้องการอ่านหนังสือ หรือต้องการให้เด็กฟังนิทาน ให้ประกบมือสองข้างเข้าด้วยกันและแบมือออกสลับไปมา ให้เหมือนกับว่าเรากำลังเปิดปิดหนังสืออยู่

14. เรียกน้องหมามาหา ให้ใช้มือแตะที่ขาเบา ๆ เพื่อเป็นการเรียกน้องหมาให้มาหาหรือเล่นด้วย

15. พูดถึงน้องแมว เมื่อต้องการพูดถึงน้องแมว ให้ทำหนวดแมวบนหน้าทั้งสองข้าง โดยจีบนิ้วชี้และนิ้วโป้งเข้าด้วยกัน และใช้สามนิ้วที่เหลือแทนหนวด

 

ภาษามือเด็ก

ขอบคุณภาพและเทมเพลตจาก parenting.com

 

16. แบ่งปันกัน หากต้องการสอนให้เด็กรู้จักแบ่งปัน ให้แบมือหนึ่งข้างเป็นแนวตั้ง และใช้มืออีกข้างข้ามไปมาระหว่างมือที่แบ ให้เหมือนว่าเรากำลังแบ่งอะไรอยู่

17. กินขนมปังกันไหม หากอยากบอกเด็กหรือชวนเด็กกินขนมปัง ให้ยกมือหนึ่งข้างขึ้นมา แบมือข้างนั้นและหันเข้าหาตัวเอง จากนั้นใช้มืออีกข้าง เพื่อทำเหมือนเรากำลังหั่นขนมปังก้อนออกเป็นแผ่น

18. ได้เวลาเล่นลูกบอล หากอยากชวนลูก ๆ เล่นบอล ให้เอามือสองข้างประกบกัน และให้ขยับมือไปมาเหมือนว่าเรากำลังถือลูกบอลอยู่

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฝึกลูกเขียนหนังสือ ด้วยดินสอไม้ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก เสริมสมาธิเจ้าตัวน้อย

ภาษามือเด็ก

ขอบคุณภาพและเทมเพลตจาก parenting.com

 

19. ขอร้องล่ะ เมื่อต้องการสอนให้เด็กรู้จักขอ ให้วางมือหนึ่งข้างไว้บนอก แบมือออก และทำมือวนไปมาเป็นวงกลม

20. ขอบคุณนะ เมื่อต้องการให้เด็กพูดขอบคุณ ให้สอนเด็กเอามือแตะที่ปาก และปล่อยมือออกเหมือนการส่งจูบ

21. อยากกินแอปเปิล การสอนให้เด็กขอกินแอปเปิล ทำได้โดยกำมือหนึ่งข้างและแนบไปที่แก้ม จากนั้นใช้ข้อนิ้วบิดที่แก้มเบา ๆ ไปมา

 

ความจริงแล้ว การฝึกภาษามือให้เด็ก ๆ ไม่มีกฎที่ตายตัว หรือต้องทำตามเฉพาะแค่ที่สอนในเน็ตเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างภาษามือเด็กขึ้นมาเองได้ เพื่อใช้สื่อสารกับลูกง่าย ๆ เช่น อาจจะลองสอนลูกส่งจูบ แทนการพูดบอกลา หรือสอนให้เด็กไหว้ แทนการพูดขอบคุณ เป็นต้น

 

ประโยชน์ของ Baby Sign Language

การใช้ Sign Language กับลูก ๆ ให้ประโยชน์มากมาย ดังต่อไปนี้

  • ช่วยลดอาการหงุดหงิดของลูกไปได้ เพราะแม้ว่าเขาจะยังพูดไม่ได้ แต่ก็สามารถสื่อสารออกมาทางภาษากายได้
  • ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และการคิดของเด็ก รวมทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาด้านอารมณ์ของลูกด้วย
  • ทำให้เด็กพูดได้เร็วขึ้น และรู้จักคำศัพท์มากขึ้น ซึ่งผลจากงานวิจัยชี้ว่า เด็กที่เรียนภาษามือตั้งแต่เด็กนั้น มีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนภาษามือ
  • ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สนิทกับน้อง ๆ มากยิ่งขึ้น ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ และความเชื่อใจให้กับเด็ก ๆ

 

คำแนะนำในการสอน Sign Language ลูก ๆ

หากคุณแม่สนใจและต้องการสอนภาษามือลูก ๆ เราแนะนำให้เริ่มสอนน้อง ๆ ในช่วงที่น้อง ๆ อายุได้ 4-6 เดือน โดยอาจจะเริ่มสอนจากท่าง่าย ๆ และใช้คำพูดสอนน้อง ๆ ง่าย ๆ ก่อน ไม่ควรเร่งเร้า หรือบังคับลูกจนเกินไป ในช่วงแรก น้อง ๆ อาจจะยังไม่เข้าใจ หรือยังไม่ทำตามในทันที จึงควรทำซ้ำ ๆ ให้ลูกเห็นบ่อย ๆ จนลูกซึมซับ และเริ่มใช้สัญญาณมือกับเราได้ตอนอายุ 6-9 เดือน ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าลูก ๆ จะยังพูดไม่ได้ แต่สมองเด็กก็มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นเด็ก ๆ จึงสามารถจดจำในสิ่งที่เราสอนได้ หากคุณแม่คนไหนสนใจอยากศึกษาเกี่ยวกับภาษามือเด็กเพิ่มเติม ก็สามารถเข้าไปค้นหาได้ต่อได้ในกูเกิล Google นะคะ

 

ลูกพูดช้า ทำไงดี

หากเด็ก ๆ อายุ 2 ขวบแล้ว แต่ยังไม่สามารถพูดออกมาเป็นคำได้ ก็ถือว่าผิดปกติ หากพบว่าเด็กมีพัฒนาการพูดช้า คุณแม่ควรพาเด็กเข้าพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติ ไม่ควรปล่อยเลยตามเลย เพราะอาจส่งผลในระยะยาวได้  ซึ่งการที่เด็กพูดได้ช้า ก็อาจมีสาเหตุมาจากการได้ยิน ปัญหาทางด้านสมอง มีภาวะปัญญาอ่อน มีภาวะออทิสติก หรืออาจเป็นเพราะพันธุกรรมก็ได้ นอกจากนี้ ยังอาจมีปัจจัยภายนอกที่ทำให้เด็กพูดช้า เช่น ปล่อยให้เด็กอยู่กับทีวีเยอะเกินไป ไม่มีการเล่นหรือพูดคุยกับเด็กมากพอ หรือปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังบ่อยเกินไป เป็นต้น หากว่าสาเหตุที่ทำให้เด็กพูดช้านั้นไม่มีความรุนแรง ก็จะสามารถทำให้เด็กกลับมาพูดและสื่อสารได้เหมือนเด็กทั่วไป ไม่มีอะไรที่ต้องกังวลนะคะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :
สอนภาษามือให้ลูกน้อยดีไหม?
ลองฟัง ประสบการณ์ตรงเสริมสร้าง พัฒนาการลูกด้วยภาษามือ จากแม่สู่ลูก
เคล็ดลับเรียนรู้ ภาษากายของเด็ก สิ่งที่เด็กชอบแสดงออกมาหมายถึงอะไร

ที่มา : 1 , 2 , 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ภาษามือเด็ก สื่อสารกับทารกผ่านภาษามือง่าย ๆ ให้เข้าใจลูกมากขึ้น
แชร์ :
  • baby signs กระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสารของทารก

    baby signs กระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสารของทารก

  • กู กู กา กา สื่อสารกับลูก วิธีไหน? ตอบสนองยังไง? ทำให้ทารกฉลาดขึ้น

    กู กู กา กา สื่อสารกับลูก วิธีไหน? ตอบสนองยังไง? ทำให้ทารกฉลาดขึ้น

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

  • baby signs กระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสารของทารก

    baby signs กระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสารของทารก

  • กู กู กา กา สื่อสารกับลูก วิธีไหน? ตอบสนองยังไง? ทำให้ทารกฉลาดขึ้น

    กู กู กา กา สื่อสารกับลูก วิธีไหน? ตอบสนองยังไง? ทำให้ทารกฉลาดขึ้น

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

    การกินยาคุม กับ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ