สอนภาษามือ ให้ลูกน้อยดีไหม?
สอนภาษามือ ให้ลูกน้อยดีไหม
หากว่าคุณอยากสอนภาษามือให้ลูกน้อย คุณสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ลูกอายุ 6 เดือน เพราะทารกสามารถเข้าใจความหมายของคำต่าง ๆ อีกทั้งกลไกการเคลื่อนไหวร่างกายของทารกก็พัฒนาได้เร็วมากกว่าทักษะการพูด หากคุณลองสังเกตเด็กน้อยวัย 9 เดือน คุณจะพบว่าเด็กในวันนี้สามารถโบกมือบ้ายบาย หรือเด็กน้อยวัยหนึ่งขวบสามารถชี้นิ้วได้แล้ว ซึ่งถ้าลองคิดว่าลูกจะพูดคำว่าบ้ายบายได้เมื่อไหร่ คุณคงต้องรอไปอีกนานทีเดียว
เมื่อคุณสอนภาษามือให้ลูกน้อยเพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับคุณก็สามารถช่วยลดความไม่เข้าใจที่ผู้ใหญ่จะรู้สึกหงุดหงิดเมื่อสื่อสารกับเด็กไม่รู้เรื่องได้บ้าง แต่เราก็ไม่ได้สัญญานะคะว่าทารกจะหยุดดื้อและจะเลิกร้องไห้งอแง แต่ทารกในวัยขนาดนี้สามารถเรียนรู้และเข้าใจภาษามือพื้นฐานได้
คุณสามารถเริ่มจากการใช้มือทำท่าทางประกอบคำง่าย ๆ ทุกครั้งที่คุณพูด เช่น หนังสือ คุณก็สามารถทำมือเหมือนเปิดหนังสือประกอบ หรือคำว่าหิว คุณก็สามารถนิ้วมาแตะที่ปากของคุณ เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งลูกก็จะสามารถสื่อสารคำที่มีความหมายซับซ้อนขึ้น เช่น ลูกอิ่มแล้ว ลูกก็จะชูผ่ามือขึ้นระดับอก เป็นต้น
คุณไม่ต้องกังวลนะคะว่า เมื่อลูกรู้จักภาษามือแล้วจะทำให้พัฒนาการทางด้านภาษาพูดช้าลง ในทางตรงกันข้ามการเรียนรู้ภาษามือช่วยให้ลูกมีพัฒนาการทางด้านภาษาที่ดีขึ้นด้วยซ้ำไป
ลูกน้อยมักจะค้นพบวิธีในการสื่อสารกับคนรอบข้างเสมอ สิ่งนี้เกิดขึ้นก่อนที่พวกเขาจะออกมาลืมตาดูโลกค่ะ เด็ก ๆ มีจุดมุ่งหมายที่จะสื่อสารผ่านการเคลื่อนไหว และการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอก การได้ยินเสียงคุณพ่อคุณแม่ เพลงที่คุ้นเคย หรือ แม้กระทั่งเสียงเห่าของสุนัขในบ้าน เด็ก ๆ มักจะตอบสนองทันทีด้วยการเตะ หรือ กระทุ้งเท้าค่ะ จากที่ลูกน้อยถูกแยกให้อยู่ห่างจากโลกภายนอกเป็นเวลานาน ทำให้พวกเขาต้องการมีปฏิสัมพันธ์ในช่วงเวลาที่พวกเขาสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้แล้วค่ะ
หลังจากที่ลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลก พวกเขาจะสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ด้วยการร้องไห้ ขยับแขนขา เริ่มจ้องตา และจดจ้องกับสิ่งต่าง ๆ แต่กว่าที่ลูกน้อยจะเรียนรู้วิธีการพูดคุย และมีการสื่อสารที่ชัดเจน พวกเขาจะรู้สึกหงุดหงิดเป็นอย่างมากในการพยายามทำให้คนอื่นเข้าใจพวกเขา เด็ก ๆ รู้ว่า เขาต้องการอะไร เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจอย่างชัดเจน ทั้งสองฝ่ายจะต้องอาศัยความเข้าใจซึ่งกันและกันค่ะ
ภาษามือสำหรับทารกคืออะไร
ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ภาษามือในทารกกล่าวว่า เทคนิคนี้ช่วยให้ลูกน้อยสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่และคนอื่น ๆ ก่อนเข้าสู่วัยหัดพูด และช่วยฝึกฝนด้านการได้ยินอีกด้วยค่ะ
มีทักษะมากมายที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับกลุ่มคนหูหนวก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสื่อสารกับลูกน้อยได้โดยการใช้มือค่ะ ในทางกลับกันคุณพ่อคุณแม่ต้องใช้เสียง ใบหน้าและมือในการตอบโต้กับลูก โดยพื้นฐานแล้วภาษาสำหรับทารกได้รับการออกแบบมาเพื่อให้เด็ก ๆ ใช้สื่อสาร เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจในสิ่งที่พวกเขากำลังสื่อค่ะ
ในประเทศไทยมีการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องการใช้ภาษามือมากมาย สามารถเรียนรู้ได้ทางอินเตอร์เน็ต หนังสือ แอพพลิเคชั่นและคลิปต่าง ๆ อีกทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในนามของรัฐบาลไทยรัฐบาลภาษามือไทยได้ให้การสนับสนุน “ภาษามือไทย” เป็นอย่างมาก จึงทำให้คนไทยเข้าถึงภาษามือได้ง่ายค่ะ
ลูกควรเริ่มใช้ภาษามือตอนไหน
ไม่มีอะไรสามารถบอกได้ว่า คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนภาษามือลูกได้ตอนไหน แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้บอกไว้ว่า การเริ่มสอนลูกก่อนอายุครบ 6 เดือนอาจเป็นการดีที่ลูกได้เรียนรู้ภาษามือได้เร็วขึ้น แต่ ในระยะนี้ลูกน้อยจะยังไม่มีความสามารถในการควบคุมการขยับมือได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นช่วงอายุระหว่าง 6– 9 เดือนคือจุดเริ่มต้นที่เหมาะสมที่สุดค่ะ หากคุณพ่อคุณแม่มีแรงจูงใจมากพอ การเริ่มสอนก่อนหน้านี้ก็ไม่เป็นปัญหา หรือ อันตรายใด ๆ กับลูกตราบใดที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้บีบบังคับลูกน้อยทำค่ะ
การได้รับความสนใจจากลูกน้อยได้นานกว่า 10 วินาทีนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และเป็นหนึ่งในสัญญาณที่บ่งบอกว่า ลูกน้อยพร้อมจะฟังคุณพ่อคุณแม่สอนแล้วล่ะค่ะ
แต่ก่อนหน้านี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเตรียมความพร้อมพื้นฐานไว้ก่อนด้วยการยอมรับ สัญญาณ หรือ ท่าทางที่ลูกน้อยบอกสิ่งที่ต้องการเป็นนัย ไม่ว่าจะเป็นระดับเสียง หรือ น้ำเสียงเมื่อร้องไห้ สีหน้า การเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือ การตอบสนองของลูกน้อยต่อคุณพ่อคุณแม่ล้วนแล้วแต่เป็นการสื่อสารทั้งนั้นค่ะ การสื่อสารอาจดูเรื่องยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาปรับตัวกันพอสมควรค่ะ
ประโยชน์ของการใช้ภาษามือในทารกคืออะไร
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษามือกล่าวไว้ว่า ประโยชน์ของภาษามือมีหลายอย่าง และมีประโยชน์ทั่วไปดังนี้
• เพิ่มพูนการสื่อสารระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย บ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ความสามารถให้เวลา และทุ่มเทตนเองไปกับการเรียนรู้ภาษามือสำหรับทารก หากคุณพ่อคุณแม่พบว่า ภาษามือมีประโยชน์ก็สามารถจำกลวิธีที่จะนำไปใช้กับเด็ก ๆ อีกได้ในภายหลังค่ะ
• ภาษามือสำหรับทารกเป็นวิธีการสื่อสารที่ทารกใช้บอกในสิ่งที่เขาต้องการก่อนจะหัดพูด และทักษะทางภาษาของพวกเขาจะได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง มากพอที่จะก้าวสู่ทักษะขั้นต่อไปได้ค่ะ
• อาจช่วยลดความคับข้องใจสำหรับเด็ก ๆ ในช่วงที่พวกเขายังไม่มีความสามารถในการสื่อสาร เนื่องจากยังไม่ถึงวัยที่กำหนด
• ภาษาสำหรับทารกอาจช่วยสร้างความมั่นใจและความภาคภูมิใจในตนเอง ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เป็นเพราะลูกน้อยรู้สึกว่า คุณพ่อคุณแม่มีพยายามที่จะเข้าใจพวกเขา จึงทำให้ทารกรู้สึกมั่นใจในตนเองมากขึ้น
• อาจเป็นจุดเปลี่ยนให้ลูกน้อยเข้าสู่พัฒนาการพูดได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น ภาษามือช่วยให้ลูกน้อยสามารถพูดได้ง่าย และพูดอย่างเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเด็ก ๆ ที่คุ้นเคยกับภาษามือ จะรู้สึกมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ที่จะพูดมากกว่าเด็กคนอื่น ๆ โดยการวิจัยพบว่า เด็ก ๆ ที่ใช้ภาษามือจะพูดเป็นคำ ๆ ได้มากกว่าเด็กทั่วไปในช่วงอายุระหว่าง 2-3 ขวบ
• ดูเหมือนภาษาจะดูไม่มีประโยชน์อะไรมากนักในระยะยาว ครั้งหนึ่งเมื่อทารกเรียนรู้การใช้ภาษามือ และสามารถใช้คำพูดเพื่อสื่อสารในสิ่งที่เขาต้องการได้แล้ว ภาษามือก็อาจจะไม่จำเป็นอีกต่อไป แต่ประโยชน์ที่แท้จริงคือการเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ไปตลอดชีวิต ทารกจะรู้สึกถึงความรู้สึกที่มั่นคงของการเชื่อมต่อทางอารมณ์ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับคุณพ่อคุณแม่ มีแนวโน้มที่จะรู้สึกถึงความปลอดภัยเหมือนกับผู้ใหญ่ค่ะ การวิจัยบ่งชี้ว่า ประโยชน์ระยะยาวของเด็กวัยหัดเดินที่มีระดับไอคิว +12 เมื่ออายุ 8 ขวบมีผลมาจากการที่พวกเขาได้รับการสอนภาษามือในวัยหัดเดินค่ะ
การใช้ภาษามือมีความเสี่ยงหรือไม่
คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องยอมรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตอบสนองของทารกด้วยภาษามือ การคาดหวังมากเกินไปและรีบเร่งเกินไปอาจทำให้ทุกคนหัวเสียและทำให้ทุกอย่างที่ทำมาต้องสูญเปล่า เช่นเดียวกันกับสิ่งอื่น ๆ ลูกน้อยจำเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมที่สมดุล ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไปค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นจริงของลูกน้อยที่พ่อแม่ต้องยอมรับ และใช้เวลาสนับสนุนเขาไปด้วยกัน การใช้ภาษามือเพียงอย่างเดียวและไม่ได้ใช้วิธีการสื่อสารแบบอื่น ๆ กับลูกน้อยอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงกับลูกน้อยได้ค่ะ
บ่อยครั้งในบางโปรแกรมคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ในการเรียนรู้ภาษามือได้ หากไม่ได้จ่ายเงินก่อน แม้ว่าพวกเขาจะระบุผลประโยชน์และข้อได้เปรียบของการสอนภาษามือไว้อย่างชัดเจน แต่ไม่ได้ระบุในส่วนของการขายธุรกิจโปรแกรมไว้ ซึ่งการรเรียนรู้ภาษามือส่วนใหญ่มักจะให้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตค่ะ
หากคุณพ่อคุณแม่สอนลูกผิดวิธี..?
คุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย อาจเริ่มต้นใช้ภาษามือผ่านการเล่นหรือใช้เพลงก็ได้ค่ะ อย่างเพลงจับปูดำขยำปูนา โดยให้ลูกกำมือและปล่อยตามจังหวะของเพลงหรือเล่นจ๊ะเอ๋ด้วยการปิดตาและเปิดใบหน้าก็ดีนะคะ การเคลื่อนไหวที่สนุกสนาน พร้อมกับสีหน้าจะช่วยให้ลูกจดจำและทำตามมากยิ่งขึ้น ดังนั้นสิ่งนี้เป็นวิธีการเชื่อมโยงภาษาและการเคลื่อนไหวเข้าด้วยกันค่ะ คุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยส่วนใหญ่พัฒนาภาษาของตนเองขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วยคำพูด ภาษากายและภาษามือค่ะ ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้เรียนโปรแกรมฝึกภาษาสำหรับทารกอย่างจริงจัง คุณอาจสร้างรูปแบบของภาษามือขึ้นมาเอง และใช้มันทุกวันกับลูกน้อยเหมือนกับที่พ่อแม่ของคุณเองเคยใช้กับคุณแม่ก่อนก็ได้ค่ะ ไม่ต้องกลัวว่าจะสอนผิดวิธีนะคะ ไม่มีอะไรตายตัวในการสอนลูกค่ะ ต้องฝึกภาษามือให้ลูกนานแค่ไหน?
ไม่มีระยะเวลาชัดเจนว่า คุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยควรหยุดใช้ภาษามือตอนไหน ลูกน้อยจะพัฒนาทักษะในการพูด และภาษาของพวกเขาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นพวกเขาอาจไม่ต้องพึ่งภาษามืออีกต่อไปค่ะ ในทางเดียวกันก็ไม่มีความเสี่ยงใด ๆ หากทางครอบครัวจะยังใช้ภาษามือต่อ ตราบใดที่คุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยมีความสุขที่ได้ใช้ภาษานี้ร่วมกันค่ะ การมี “รหัสลับ” ในครอบครัวก็เป็นหนึ่งในสีสันของการสื่อสารที่สนุกสนาน และกลายเป็นวิถีครอบครัวที่ทำให้สมาชิกแต่ละคนสบายใจที่จะทำ ความสนุกแบบนี้ทำให้ทุกคนในครอบครัวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันค่ะ
เคล็ดลับในการใช้ภาษามือสำหรับทารก
• ทำให้ทุกคนในครอบครัวมีส่วนร่วม ความสม่ำเสมอและความอดทนคือกุญแจสำคัญในการเรียนรู้ทักษะและภาษามือใหม่ ๆ รวมถึงการฝึกฝนและการทำซ้ำทุก ๆ วันทำให้ทุก ๆ คนรู้สึกมีแรงจูงใจที่จะช่วยเหลือลูกน้อยค่ะ
• คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องคิดว่า ต้องเรียนรู้ภาษามือผ่านโปรแกรมราคาแพง ลองคิดพัฒนาด้วยตัวเองดูค่ะ เพียงใช้หลักการที่ให้ความรู้สึกที่ถูกต้องและเรียบง่าย หากต้องการสอนภาษามือให้กับลูกน้อย ลองเริ่มต้นด้วยสิ่งที่ง่าย ๆ ก่อนค่ะ เช่น ถ้าหิวให้เอามือถูที่ท้อง หากหิวน้ำให้ทำมือเหมือนถือแก้วน้ำแล้วยกน้ำดื่ม และถ้าเหนื่อยให้เอียงหัวและใช้มือทำท่าเหมือนปาดเหงื่อค่ะ ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องใช้คำพูดที่ถูกต้องประกอบกับท่าทางด้วยนะคะ เช่น หิว หิวน้ำและเหนื่อยล้าค่ะ
• ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับรูปแบบภาษามือที่เราใช้กัน แต่วิธีใดก็ตามที่คุณพ่อคุณแม้เลือกใช้จะต้องมีความเหมาะสมและใช้ได้กับทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยค่ะ
• ลูกน้อยอาจจะสร้างภาษาของตัวเองขึ้นมาตามที่พวกเขาต้องการ ลองทำตามลูกน้อยดูค่ะ แต่ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องจำไว้ว่า ต้องมีการพูดประกอบไปด้วยในขณะที่กำลังใช้มือสื่อสารกับลูกค่ะ
• อย่าคาดหวังให้ลูกน้อยถ่ายทอดความรู้สึกหรือข้อความที่เกินอายุและความคิดของพวกเขาค่ะ
• ภาษามือของทารกขึ้นอยู่กับความเข้าใจที่เพิ่มมากขึ้นของลูกน้อย จากอิทธิพลของการมีปฏิสัมพันธ์ของลูกน้อยกับคนรอบข้างค่ะ
• การใช้ภาษามือไม่ใช่ข้อบ่งชี้ถึงความฉลาด หรือ ความสมบูรณ์ของสมอง การสอนภาษามือให้ลูกน้อยไม่ได้ช่วยให้เขาฉลาดขึ้น คุณพ่อคุณแม่ต้องคำนึงถึงแค่ปัจจัยกระตุ้นและเวลาคุณภาพที่คุณจะได้ใช้ไปกับพวกเขา และภาษามือสามารถช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มีปฏิกิริยาตอบโต้กับลูกน้อยได้หรือไม่
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
พัฒนาการการพูด – ลูกเริ่มพูดเมื่อไหร่?
ลูกพัฒนาการช้าทำอย่างไรดี?
ลูกไม่ฟังคำสั่งเลย…ถึงเวลาเปลี่ยนวิธีสอนลูกแล้ว!
https://www.youtube.com/watch?v=ppbRV0WzUqY
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!