จริง ๆ แล้ว การ ฝึกลูกเขียนหนังสือ ด้วยดินสอไม้ จะช่วยให้ลูกมีสมาธิตั้งแต่อายุยังเด็ก วันนี้ เรามาดูกันว่า การหัดให้ลูกใช้ดินสอไม้ แทนการใช้ดินสอกด มีประโยชน์ยังไงบ้าง ทำไมเราต้องให้ลูกฝึกเขียนด้วยดินสอไม้ ทั้ง ๆ ที่ “ปากกาลูกลื่น” กับ “ดินสอกด” ใช้ง่ายกว่าตั้งเยอะ แถมไม่ต้องเหลาให้เมื่อยมือ
ดินสอไม้ เป็นแบบไหน แตกต่างจากดินสอกดยังไง
ดินสอไม้ มีลักษณะตามชื่อเรียกเลย ซึ่งก็คือดินสอที่ทำจากไม้ ส่วนใหญ่จะมียางลบตรงก้น และมีแกนกลางสีดำที่เป็นไส้ดินสอ ไส้ดินสอไม้ จะทำจากแกรไฟต์ สามารถเขียนลงบนหินได้ ไม่แตกหักง่าย แต่ต้องเหลาบ่อย ๆ เพื่อให้ไส้ดินสอแหลมคมอยู่เสมอ ใช้ได้ไม่นานเท่าไหร่นัก เนื่องจากว่าถ้าเหลาไปนาน ๆ ดินสอจะหดสั้นลงจนต้องซื้อใหม่ ในขณะที่ดินสอกด จะเป็นดินสอที่มีลักษณะบอบบางกว่า ไส้ดินสอหักง่าย แต่อาจจะสะดวกกว่าตรงที่ว่าสามารถเปลี่ยนไส้ใหม่ได้ตลอด ไส้ดินสอใช้ได้ไม่มีวันหมด เพียงแค่ต้องซื้อมาเติม
บทความที่เกี่ยวข้อง : แนะนำ 10 ดินสอ คุณภาพดี น่าซื้อใช้ พร้อมเคล็ดลับเลือกดินสอให้เหมาะกับลูก
ในแต่ละช่วงอายุ เด็กจะมีพัฒนาการด้านการเขียนแบบไหนบ้าง
หากคุณแม่ต้องการให้น้อง ๆ ได้ฝึกเขียน เราแนะนำให้ทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการการเขียนเด็ก และเพื่อให้เลือกอุปกรณ์ฝึกเขียนให้ลูกได้ถูกต้อง
ฝึกลูกเขียนหนังสือในเด็กวัย 1 ปี – 1 ปีครึ่ง
เด็กวัยนี้ เป็นวัยที่เพิ่งหัดจับอุปกรณ์เพื่อขีดเขียน เราไม่ควรให้เด็กใช้อุปกรณ์ที่มีตัวด้ามผอม หรือว่าเล็กจนเกินไป เพราะเด็กอาจทำหลุดมือได้ง่าย ซึ่งสีเทียนด้ามอ้วน ถือเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ เนื่องจากมีความคงทนต่อแรงกดของเด็ก
ฝึกลูกเขียนหนังสือในเด็กวัย 2 – 3 ปี
เด็ก ๆ ในวัยนี้ กำลังเริ่มพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งเราสามารถให้เด็กเริ่มใช้ดินสอได้เเล้ว คุณแม่อาจจะเลือกดินสอที่มีด้ามจับแบบสามเหลี่ยม เพื่อให้เหมาะกับมือเด็ก และที่สำคัญ ในช่วงนี้ ยังไม่ควรบังคับให้เด็กเขียนอะไรที่จริงจังเกินไป ควรปล่อยให้เด็ก ๆ ได้วาดและขีดเขียนตามอิสระจะดีที่สุด
บทความที่เกี่ยวข้อง : วาดภาพจากเส้นประ กิจกรรมที่ช่วยให้เจ้าตัวน้อยได้พัฒนาทักษะการเขียน (2-7 YO)
ฝึกลูกเขียนหนังสือในเด็กวัย 3 – 4 ปี
เด็ก ๆ จะเริ่มจับดินสอได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่ก็อาจจะยังจับไม่ถูกสักทีเดียว เราสามารถปรับแต่งท่าทางเด็กได้เรื่อย ๆ เพราะเป็นวัยที่ยังปรับเปลี่ยนได้อยู่ ทั้งนี้ เด็ก ๆ จะเริ่มวาดรูปต่าง ๆ ตามจินตนาการได้บ้างแล้ว
ฝึกลูกเขียนหนังสือในเด็กวัย 4 ปีครึ่ง – 7 ปี
เป็นช่วงวัยที่เริ่มรู้จักการจับดินสอที่ถูกต้อง นอกจากเด็กวัยนี้จะเขียนเส้นต่าง ๆ และรูปทรงได้แล้ว ก็จะเริ่มเขียนตัวเลขและตัวอักษรได้
การจับดินสอที่ถูกวิธี สอนลูกเขียนยังไงดี
โรงเรียนต้นกล้า ได้แนะนำว่า การจับดินสอที่ถูกวิธีนั้น จริง ๆ จะมีอยู่ 3 ลักษณะ แต่ทั้งนี้ จะต้องพิจารณาลักษณะมือและนิ้วของเด็กเป็นหลัก ซึ่งการจับดินสอทั้ง 3 วิธีนี้ เป็นการจับดินสอแบบ Tripod Grip หรือ Tripod Grasp ซึ่งจะใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง เป็น 3 นิ้วหลักในการจับดินสอ
- การจับดินสอแบบทั่วไป ให้วางดินสออยู่ตรงข้อนิ้วมือแรกของนิ้วกลาง จากนั้นให้ใช้นิ้วโป้ง และนิ้วชี้บังคับดินสอ
- การจับดินสอสำหรับเด็กเล็ก (มือและนิ้วมือมีขนาดเล็ก) สอนเด็กให้จับดินสอเหมือนกับวิธีแรก แต่ให้พยายามใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้กดดินสอให้ต่ำลงใกล้กับปลายดินสอ เพื่อที่จะได้สามารถควบคุมการเขียนได้ดีขึ้น
- การจับดินสอตั้งฉาก วิธีนี้ จะเหมือนกับวิธีแรก แต่เด็กจะต้องจับดินสอตั้งฉากหรือเกือบตั้งฉากกับโต๊ะ วิธีนี้ใช้เมื่อเด็ก ๆ ไม่ถนัดกับการจับดินสอวิธีอื่น ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็กไทยยุคใหม่ไม่ชอบการเขียน เหตุผลคืออะไร มาดูข้อมูลกัน
วิธีสอนลูกเขียนหนังสือ ฝึกลูกเขียนหนังสือด้วยดินสอไม้มีสมาธิมากกว่า
หลาย ๆ คน อาจจะเคยได้ยินมาว่า การฝึกเด็กจับดินสอไม้ ดีกว่าการฝึกให้เด็กใช้ดินสอกด ทั้งนี้ ก็เป็นเพราะว่าดินสอไม้นั้น มีความแข็งแรงและสามารถทนต่อแรงกดของเด็กได้ดีกว่าดินสอกด นอกจากนี้ ด้ามจับก็ยังทำจากไม้ ผิวสัมผัสจึงไม่ลื่นเหมือนพลาสติกหรือเหล็ก และที่สำคัญ ไส้ดินสอก็ไม่หักง่ายเหมือนไส้ดินสอกด รวมทั้งเขียนได้ไม่ลื่นเหมือนปากกาลูกลื่น ดังนั้น เด็ก ๆ จึงเขียนไวไม่ได้ ต้องค่อย ๆ ลาก ค่อย ๆ ขีด ค่อย ๆ เขียน ซึ่งนี่จะทำให้เด็กมีสมาธิมากกว่าการใช้ปากกาลูกลื่นหรือดินสอกด
นอกจากในเรื่องของการใช้งาน ดินสอไม้ก็ยังเป็นดินสอที่ช่วยให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กอีกด้วย เพราะขณะเขียน เด็ก ๆ จะต้องลงน้ำหนัก และบังคับทิศทางดินสออยู่ตลอด เพราะว่าดินสอไม้เป็นดินสอที่เขียนยากกว่าดินสอชนิดอื่น ๆ
ข้อแนะนำในการสอนลูกเขียนหนังสือ
เมื่อต้องสอนน้อง ๆ เขียนหนังสือ คุณแม่ไม่ควรให้น้อง ๆ นอนเขียนหนังสือ เพื่อจะทำให้เด็กเมื่อยง่าย ปวดหลัง และเสียสายตา ทั้งนี้ ในช่วงแรก ๆ อาจจะให้เด็ก ๆ ใช้ดินสอไม้ไปก่อน แต่เมื่อเด็ก ๆ มีอายุ 10 ปีขึ้นไป จะสามารถเริ่มใช้ปากกาลูกลื่นได้แล้ว ซึ่งการใช้ปากกาลูกลื่นควบคู่กับการใช้ปากกาหมึกซึมหรือปากกาแร้ง จะช่วยให้เด็ก ๆ ไม่รีบร้อนเขียน และควบคุมน้ำหนักมือได้ดี
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เทคนิคฝึกลูกเรียนรู้สระ อ่านออกเขียนได้ ฝึกได้ง่าย ๆ ที่บ้าน
คัดสระ ในภาษาไทย สอนลูกอย่างไร พร้อมแบบฝึกหัดแจกฟรี
แจกฟรี แบบฝึกหัด เขียนตามรอยประ 0-9 เลขอารบิก เลขไทย แบบฝึกหัดเตรียมอนุบาล
ที่มา : Facebook: ตามใจนักจิตวิทยา , Facebook: ตามใจนักจิตวิทยา
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!