ต้อนรับทารกเพศชาย หนักกว่า 7 กิโลกรัม จากการ คลอดด้วยวิธีธรรมชาติ
George King หนัก 7 กก. เมื่อแรกเกิด จากการ คลอดด้วยวิธีธรรมชาติ
ทารกน้อย จอร์จ คิง ถือกำเนิดเมื่อ 6 สัปดาห์ก่อน ที่โรงพยาบาลกลอสเตอร์เชียร์ รอยัล น้ำหนักตัวแรกเกิดมากถึง 15 ปอนด์ กับอีก 7 ออนซ์ หรือกว่า 7 กิโลกรัม เป็นเด็กแรกเกิดที่เกิดจากการ คลอดด้วยวิธีธรรมชาติ ซึ่งตัวใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของอังกฤษ น้ำหนักน้อยกว่าเด็กที่ครองแชมป์เพียงออนซ์เดียว
แม่คือ เจด เพ็คเกอร์ วัย 21 ปี คลอดด้วยวิธีธรรมชาติอย่างทรหดนาน 16 ชั่วโมง เมื่อลูกตัวใหญ่กว่าเด็กปกติถึงสองเท่า ทำให้การคลอดเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทารกน้อยขาดออกซิเจนถึง 5 นาที แพทย์ให้มีโอกาสรอดเพียง 10% เท่านั้น จึงรีบส่งต่อจอร์จไปยังโรงพยาบาลเซนต์ ไมเคิล ในเมืองบริสตอล และดูแลเป็นพิเศษในแผนกคนไข้แรกเกิด
หลังจากดูแลพักฟื้นนาน 6 สัปดาห์ที่โรงพยาบาล ทารกจอร์จ คิง และครอบครัวก็ได้รับอนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านในเมืองเชลท์แนม ท่ามกลางความดีใจของไรอัน วัย 21 ปีผู้เป็นพ่อ
ตอนนี้จอร์จ คิง ลำตัวยาวถึง 65 เซนติเมตร ต้องใส่เสื้อผ้าสำหรับทารกวัย 6 เดือน ทารกน้อยสุขภาพแข็งแรงดีแล้วในขณะนี้
ทั้งพ่อและแม่ยังคงแปลกใจอยู่ว่าทำไมลูกถึงเกิดมาตัวใหญ่นัก เพราะครอบครัวก็ไม่มีใครเกิดมาตัวใหญ่ แต่คุณแม่เจดบอกว่านี่เป็น “Big Miracle” หรือ ความมหัศจรรย์อันใหญ่โตของชีวิตเธอ
การเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ
การเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ หรือคลอดเอง แม่ท้องต้องเตรียมตัวอย่างไร คลอดธรรมชาติอันตรายไหม
พญ. ธาริณี ลำลึก สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลพญาไท 2 อธิบายถึงการเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ ไว้ในบทความ “คลอดธรรมชาติ” ไม่น่ากลัว..หากเตรียมตัวดี ตอนหนึ่งว่า การคลอดธรรมชาติ หมายถึง การคลอดลูกเองโดยไม่ใช้การผ่าตัด ซึ่งเป็นวิธีการที่ปลอดภัยและเหมาะสำหรับคุณแม่ส่วนใหญ่ที่มีการตั้งครรภ์ปกติและไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ไม่สามารถคลอดเองได้แต่หากมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอดก็จำเป็นต้องทำตามข้อบ่งชี้
คลอดธรรมชาติ กี่สัปดาห์
โดยปกติแล้วจะใช้เวลาในการตั้งครรภ์ทั้งหมด 40 สัปดาห์ นับจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ถือว่าครบกำหนดตั้งแต่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป คุณแม่ 70-80% จึงมีอาการเจ็บท้องคลอดในระยะนี้
อาการใกล้คลอด จะออกแล้วนะแม่!
อาการใกล้คลอดที่สำคัญของการคลอดธรรมชาติ ที่คุณแม่ต้องสังเกตอาการให้ดี แล้วรีบมาพบแพทย์
- เจ็บท้องคลอด อาการเจ็บท้องคลอดจะมีการบีบและคลายตัวของมดลูกเป็นจังหวะ ในระหว่างตั้งครรภ์มดลูกจะมีการบีบตัวบ้างเป็นระยะอยู่แล้วเมื่อเข้าสู่ไตรมาส 3 แต่เป็นอาการที่มาแล้วหายไป เมื่อไรก็ตามที่มดลูกบีบแล้วคลายต่อเนื่อง บีบประมาณ 45-60 วินาที แล้วคลายตัวประมาณ 2-3 นาที จนครบ 1 ยกเป็นเวลา 10 นาที ถ้าเป็นแบบนี้ 2-3 ยกแสดงว่าคุณแม่กำลังจะคลอดแล้วซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังอายุครรภ์ 37 สัปดาห์
- มีมูกออกจากช่องคลอด หรืออาจจะมีเลือดปนออกมา โดยปกติมูกจะอุดอยู่บริเวณปากมดลูก พอมดลูกเปิดมูกที่อยู่ปากมดลูกก็จะหลุดออกมา แสดงว่าปากมดลูกเริ่มเปิดแล้ว
- มีน้ำคร่ำออกมา น้ำคร่ำมีลักษณะเป็นน้ำใสๆ ไม่จำเป็นต้องรอให้เยอะมากมาก เพราะคุณแม่บางคนก็มีน้ำคร่ำมาก บางคนก็น้อย
- รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง
สิ่งสำคัญในการคลอดธรรมชาติ ประกอบด้วย
ตัวเด็ก ที่ไม่ใหญ่จนเกินไป ช่องทางคลอดหรืออุ้งเชิงกราน จะต้องไม่เล็กกว่าตัวเด็ก แรงของคุณแม่ที่จะเบ่งเด็กออกมา ต้องมีมากพอที่จะส่งลงไปเพื่อให้การคลอดลุล่วงไปได้ด้วยดี
วิธีการเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ
การเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติสามารถเริ่มทำได้ทันทีตั้งแต่คุณแม่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ โดยการมาฝากครรภ์กับแพทย์ที่โรงพยาบาล เพราะการตั้งครรภ์ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องประสบความสำเร็จเสมอไป บางครั้งก็อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ได้ ยิ่งคุณแม่ฝากครรภ์เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นผลดีกับเด็กในท้องมากเท่านั้น เพราะทำให้คุณหมอสามารถให้คำแนะนำในการดูและตัวเองได้อย่างตรงจุดและสามารถนำไปสู่การคลอดที่ประสบความสำเร็จได้ หรือหากพบความผิดปกติเกิดขึ้นในภายหลังแพทย์ก็จะแนะนำการดูแลตัวเองเพื่อเตรียมตัวสำหรับผ่าคลอดให้กับคุณแม่ได้อย่างใกล้ชิด
ระยะต่าง ๆ ของการคลอดลูกธรรมชาติ
ระยะแรกของการคลอด
ช่วงแรกของการคลอด
ในช่วงแรกของการคลอด เราอาจจะแบ่งได้เป็น 3 ส่วน สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้น คือตัวปากมดลูกจะเริ่มบางออกและเกิดการขยายตัว คุณจะรู้สึกได้ว่ามดลูกบีบตัวทั้งที่ยังไม่อยู่ในช่วงที่ควรจะเป็น ตอนนี้คุณอาจจะคิดว่าคุณจะคลอดจริง ๆ แต่แล้วก็ไม่ใช่ อาการเจ็บอาจจะเกิดกับบางคน แต่บางคนอาจไม่รู้สึกอะไรเลยแถมก็ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ สำหรับผู้หญิงบางคนที่ปากมดลูกยังไม่ขยาย แต่รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว อย่างไรก็ดีคุณควรจะอธิบายอาการทั้งหมดของคุณให้หมอฟัง หมออาจะแนะนำให้คุณรอจนกว่ามดลูกจะขยายตัวมากกว่านี้ หรืออาจจะให้นอนเฝ้าดูอาการที่โรงพยาบาลเลย
ช่วงเจ็บเตือน
สำหรับผู้หญิงที่ท้อง ช่วงเจ็บเตือนนี้อาจจะเป็นช่วงเวลาที่ลำบากที่สุดเท่าที่คุณเคยประสบมา ไม่ใช่แค่มดลูกคุณจะขยายตัวมากขึ้นและดูเหมือนว่ามันจะขยายไม่หยุด ในช่วงนี้ปากมดลูกจะขยายตัวจาก 4 เซนติเมตร เป็น 7 เซนติเมตร ช่วงเจ็บเตือนนี้อาจจะนานหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคุณแม่ และสภาพร่างกายของลูกด้วย พยายามทำตัวเองให้ผ่อนคลาย โดยใช้ทฤษฎีการหายใจ ถ้าคุณรู้สึกสบายตัวขึ้นให้ลองลุกขึ้นยืนหรือเดินไปรอบ ๆ แทนที่จะนอนอยู่บนเตียง ขอให้อดทนไว้ก่อนอย่าเพิ่งเบ่ง
ช่วงเจ็บเตือนนี้ พยายามฝึกหายใจ เพื่อช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย
เจ็บพร้อมคลอด
เมื่อมดลูกขยายตัวจาก 7 เซนติเมตร เป็น 10 เซนติเมตร ณ ตอนนี้คุณอยู่ในช่วงเจ็บพร้อมคลอด หรือกำลังเข้าขั้นที่สองของการคลอด ถือว่าเป็นช่วงที่เจ็บที่สุดของการคลอด การหดตัวของมดลูกจะเพิ่มเป็นสองเท่าและทวีความรุนแรงขึ้น ในตอนนี้คุณอาจจะรู้สึกเหนื่อย รำคาญ และรู้สึกไม่สบายตัวอย่างมาก อย่าเพิ่งสิ้นหวัง ทุกอย่างกำลังจะจบแล้ว
ระยะที่สองของการคลอด
การคลอดลูก
เมื่อปากมดลูกของคุณได้ขยายตัว ถึง 10 เซนติเมตรหรือขยายตัวเต็มที่แล้ว ในตอนนี้ลูกของคุณจะค่อย ๆ ออกมาตามช่องคลอดเองเนื่องจากการบีบตัว ในตอนนี้เขาจะบอกให้คุณเบ่งเรื่อย ๆ คุณก็เบ่งตามที่เห็นสมควร ระยะเวลาของการคลอดนี้จะนานขนาดไหน ขึ้นอยู่กับขนาดของเด็ก เด็กที่ตัวใหญ่อาจจะต้องใช้เวลานาน
ระยะเวลาการคลอด จะนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับขนาดของทารก
ระยะที่สามของการคลอด
การคลอดรก
หลังจากที่ลูกของคุณได้ออกมาแล้ว ทีนี้ก็ถึงตาของการคลอดรกบ้าง คุณอาจจะต้องพัก 10-15 นาที หลังจากคลอดลูกเสร็จ ในช่วงนี้คุณอาจจะรู้สึกถึงการบีบตัวแบบเบา ๆ แต่ไม่มีอะไรที่ควบคุมไม่ได้ ให้พยายามมุ่งความสนใจไปที่เสียงร้องของลูกคุณ สิ่งมหัศจรรย์น้อย ๆ ของคุณได้เกิดมาแล้ว!
ระยะที่สี่ของการคลอด
การฟื้นฟู
เมื่อคลอดลูกเสร็จสมบูรณ์และรกเด็กได้ออกมาหมดแล้ว ทีนี้ก็ถึงคราวที่คุณแม่จะเริ่มผ่อนคลายได้แล้ว นี่คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะให้น้ำนมลูกและยังเป็นช่วงเวลาเดียวที่ลูกของคุณจะได้รับน้ำนมในสัดส่วนที่พอเหมาะ การให้น้ำนมในช่วงหลังคลอดนี้ จะช่วยกระตุ้นร่างกาย และมดลูกให้เข้าที และฟื้นฟูได้เร็วขึ้นด้วย
The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
souce หรือ บทความอ้างอิง : บีบีซี
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
การป้องกันคลอดก่อนกำหนด
คุณแม่ทรานเจนเดอร์ ให้กำเนิดลูกน้อย คลอดธรรมชาติ
ผ่าคลอด vs คลอดธรรมชาติ
การเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!