X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อยากรู้มั้ย ทารกตอบรับเรายังไง มารู้จัก 6 ปฏิกิริยาสะท้อน Reflex ในทารก

บทความ 5 นาที
อยากรู้มั้ย ทารกตอบรับเรายังไง มารู้จัก 6 ปฏิกิริยาสะท้อน Reflex ในทารก

ปฏิกิริยาสะท้อน Reflex ในทารก คืออะไร

ปฏิกิริยาสะท้อน หรือ Reflex เป็นการเคลื่อนไหวที่ควบคุมไม่ได้ อาจเกิดขึ้นได้เอง หรือเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวปกติของทารก หรือเป็นการตอบสนองต่อการกระทำ หรือการได้รับการกระตุ้นบางอย่าง ซึ่งโดยปกติแล้วแพทย์จะตรวจ reflex เพื่อทดสอบความปกติของระบบสมองและประสาท เช็คพัฒนาของทารก ปฏิกิริยาสะท้อน หรือ Reflex ในทารก บางชนิดจะเกิดขึ้นและหายไปในบางช่วงของชีวิต เรามารู้จักกับ reflex ที่พบในทารกปกติกันดีกว่าค่ะ

 

ปฏิกิริยาสะท้อน

 

  • ปฏิกิริยาการหา (Rooting reflex)

ปฏิกิริยาการหา (Rooting reflex) จะเกิดขึ้น เมื่อเขี่ยหรือแตะเบา ๆ ที่มุมปากทั้งสองข้าง ทารกจะหันศีรษะ และเปิดปากตามทิศทางที่เอามือไปแตะปากนั้น โดยอาจจะอ้าปาก และพยายามจะงับ Reflex ชนิดนี้จะช่วยให้ทารกสามารถหาเต้านมแม่หรือขวดนม เพื่อการดูดนมและการอยู่รอดได้ โดยพบในทารกอายุ 2-3 เดือน โดยจะหายไปหลังจากอายุ 4 เดือน

 

Advertisement

ปฏิกิริยาสะท้อน

 

  • ปฏิกิริยาการดูด (Sucking reflex)

ปฏิกิริยาการดูด (Sucking reflex) เป็น reflex ที่ต่อเนื่องจาก Rooting reflex โดยเมื่อเพดานปากของทารกได้รับการสัมผัส ก็จะทำให้ทารกเกิดการดูดขึ้น ไม่ว่าจะเอาอะไรเข้ามาในปากก็ตาม สามารถทดสอบได้โดยเอานิ้วเขี่ยกระตุ้นที่ริมฝีปาก ทารกจะตอบสนองโดยทำปากดูด

Reflex นี้จะเริ่มต้นตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ที่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ และพัฒนาเต็มที่เมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมาก ในช่วงแรกอาจดูดนมแม่ไม่เก่งนักส่วนหนึ่ง เพราะขาดพัฒนาการอย่างสมบูรณ์ของ reflex นี้

 

ปฏิกิริยาสะท้อน rooting reflex คือ

 

  • ปฏิกิริยาโมโร moro reflex คือ

ปฏิกิริยาโมโร หรือ Moro reflex เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อทารกได้รับการกระตุ้นด้วยเสียงดัง ขณะที่ทารกนอนอยู่หรือมีการเคลื่อนไหว หรือร้องไห้เอง โดยทารกจะสะดุ้งและเอาแขนสองข้างไขว่คว้าคล้ายจะกอด โดยทารกจะผงกศีรษะไปข้างหลัง เหยียดแขนขาออก แล้วดึงแขนขากลับเข้ามาเหมือนจะกอด

Moro reflex จะค่อย ๆ ลดลงเมื่อทารกอายุ 2-3 เดือน ขึ้นไป หากไม่พบ reflex นี้ในทารกแรกเกิด อาจเกิดจากภาวะสมองได้รับอันตราย หรือกระดูกหักเส้นประสาทแขนเป็นอัมพาต

 

  • ปฏิกิริยาของคอ tonic neck reflex คือ

ปฏิกิริยาของคอ (Tonic neck reflex) คือเมื่อทารกนอนหงายและจับศีรษะหันไปด้านใดด้านหนึ่ง แขนด้านนั้นจะเหยียดออก ในขณะเดียวกันแขนด้านตรงข้ามจะงอเข้าตรงบริเวณข้อศอก reflex นี้พบในทารกอายุ 2-3 เดือน และในบางครั้งอาจเกิดขึ้นจนทารกอายุ 5-6 เดือนได้

 

การตอบรับของทารก

 

  • ปฏิกิริยาการกำมือ (Palmar grasping reflex)

ปฏิกิริยาการกำมือ (Palmar grasping reflex) จะมีขึ้นได้ เมื่อสอดนิ้วเข้าไปหรือใช้นิ้วแตะที่บริเวณฝ่ามือทารก ทารกจะงอนิ้วมือมาจับและกำมือไว้ชั่วครู่แล้วปล่อย reflex ชนิดนี้พบในทารกอายุ 2-3 เดือนแรก จนถึงอายุ 5-6 เดือนได้

ข้อควรระวังคือหากทารกไม่มีการตอบสนองของ reflex ชนิดนี้ อาจเกิดจากภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง และหากทารกกำมือแน่นจนสามารถยกทารกขึ้นจากพื้นที่นอนได้ ก็แสดงถึงภาวะผิดปกติเช่นกัน

 

การตอบรับของทารก rooting reflex คือ

 

  • ปฏิกิริยาการก้าว (Stepping reflex)

ทารกจะก้าวเหมือนเดินเมื่อจับยืนให้เท้าสัมผัสกับพื้นที่เรียบแข็ง สามารถทดสอบได้โดยอุ้มทารกในท่ายืน ให้ศีรษะยื่นไปข้างหน้าเล็กน้อย ทารกจะทำท่าเดินทีละก้าวโดยวางเท้าข้างหนึ่งไว้ข้างหน้าของอีกข้างหนึ่ง Reflex ชนิดนี้พบได้ตั้งแต่แรกคลอด โดยจะหายไปที่อายุ 5-6 เดือน

Reflex ต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นนี้ พบได้ในทารกปกติ เพราะการเจริญเติบโตของสมองยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ และจะค่อย ๆ หายไปเมื่อเริ่มโตขึ้น หากคุณพ่อคุณแม่เห็นปฏิกิริยาที่มีลักษณะเหล่านี้ จึงไม่ต้องกังวลใจ แต่หากสงสัยว่าจะเป็นลักษณะที่ผิดปกติหรือไม่ หรือ reflex ยังไม่หายไปตามวัยอันควร ก็สามารถปรึกษากุมารแพทย์ได้ค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
วิธีเลือกยาสีฟันเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรเรียนรู้
DODOLOVE คุณภาพเยี่ยม ราคาโดนใจ ใส่ใจทุกสัมผัสของลูกน้อย
DODOLOVE คุณภาพเยี่ยม ราคาโดนใจ ใส่ใจทุกสัมผัสของลูกน้อย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

รักลูก อย่าขู่ลูก ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก ฝังใจ ทำให้เด็กขี้กลัว ไม่กล้าแสดงออก

วิธีเล่นกับลูก เพื่อกระตุ้นพัฒนาการทารก ให้ฉลาด หัวไว เล่นได้เล่นดี ไม่ต้องใช้ของเล่น

วิธีดูแลทารกแรกเกิดถึง 1 ปี ช่วงหน้าหนาว เคล็ดลับการดูแลลูกน้อยวัยทารก (0-1 ปี) ช่วงหน้าหนาว

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของลูกแรกเกิด ได้ที่นี่!

การตอบสนองของลูกแรกเกิด ทารกจะตอบรับเรายังไงบ้างคะ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • อยากรู้มั้ย ทารกตอบรับเรายังไง มารู้จัก 6 ปฏิกิริยาสะท้อน Reflex ในทารก
แชร์ :
  • อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

    อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

  • ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

    ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

  • ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
    บทความจากพันธมิตร

    ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

  • อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

    อย่ามองข้าม! 8 สัญญาณอันตรายเมื่อ ลูกอาเจียนหลังกินนม

  • ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

    ลูกผมน้อย ทำยังไงให้ลูกผมเยอะ 10 วิธีสร้างผมดกดำให้ลูก แบบเห็นผล

  • ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
    บทความจากพันธมิตร

    ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว