ซึมเศร้าหลังคลอด สังเกตอย่างไร อาการที่พบบ่อย ของคุณแม่หลังคลอดลูก
ในช่วงปีที่ผ่านมา เทรนด์ด้านสุขภาพในหมู่แม่ ๆ ที่ถูกพูดถึงกันมากจนเป็นวงกว้าง ก็คงจะไม่พ้นเรื่อง ซึมเศร้าหลังคลอด หรือที่เรียกกันในชื่อ postpartum depression (PPD) เรื่องนี้ เป็นเรื่องไม่ใหม่ในวงการแม่มือใหม่ แต่เป็นเรื่องที่เพิ่งจะมีคนมาพูดถึงในยุคนี้ เมื่อคนหันมองเรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ต้องการดูแล รักษา แต่เช่นเดียวกับอาการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตทั้งหลายที่ยังมักจะยังมีคนเข้าใจผิดอยู่เสมอ อาการซึมเศร้าหลังคลอดเกิดขึ้นในแม่มือใหม่ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์
5 อา การ ซึม เศร้า หลัง คลอด
5 อาการที่บอกว่าเป็น ซึมเศร้าหลังคลอด
1. ความกังวล ตื่นกลัวแบบรุนแรง
แม่มือใหม่จำนวนมาก รู้สึกกังวลและตื่นกลัว อารมณ์เหล่านี้มีความรุนแรงมาก ไม่ใช่แค่เพราะฮอร์โมนหลังจากที่คลอดแล้ว แต่มันเป็นผลกระทบมาจากการที่ แม่มือใหม่จำเป็นจะต้องแบกรับหน้าที่ต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับการมีลูก Elyse Weinstein, M.D นักจิตวิทยาจากโรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจาก California ประเทศอเมริกากล่าว
5 อา การ ซึม เศร้า หลัง คลอด
คุณแม่คนหนึ่งกล่าวว่า เธอจำเป็นที่จะต้องต่อสู้กับความกังวลนี้แทบจะทุกวัน เธอกล่าวเพิ่มว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น จะเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ เธอก็มักจะตระหนกเสมอ
2. ไม่มีกะจิตกะใจอยากจะทำอะไรเลย
เหล่าแม่มือใหม่ที่มีอาการซึมเศร้า ก็จะมีอาการไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไร ร่วมด้วย คุณแม่เหล่านี้จะไม่อยากทำกิจกรรมอะไร แม้จะเป็นเรื่องที่เคยทำแล้วมีความสุขก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ดูทีวี ไปเที่ยวกับเพื่อน ทำเล็บ เป็นต้น มันอาจจะเกิดจากความเหนื่อยล้าที่คุณต้องอุ้มท้อง หรือ ต้องเลี้ยงลูกก็เป็นได้ แต่ถ้าเกิดคุณรู้สึกว่าความสนใจในด้านต่าง ๆ ของคุณลดลงไปอย่างสิ้นเชิง นี่อาจจะเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งก็ได้ว่าคุณแม่อาจจะมีอาการซึมเศร้า อ้างอิงจาก Mary Ann Block ผู้บริหารฝ่ายการแพทย์จากอเมริกา
3. ร้องไห้อย่างหนัก
ซึมเศร้าหลังคลอด คุณพ่อควรใส่ใจและสังเกตอาการของคุณแม่ด้วย
จู่ ๆ ก็ร้องไห้ออกมาราวกับเขื่อนแตก ภายนอกอาจจะดูเป็นไปได้ เนื่องจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปในตัวของคนเป็นแม่ มันอาจจะเกิดในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์หลังคลอด แต่อาการร้องไห้แบบนี้เกิดขึ้นหลังจากนั้นเป็นเวลานานไปอีกในคนที่เป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด แม่บางคนอาจจะร้องไห้ออกมาเองโดยไม่มีเหตุผล หรือไม่มีเรื่องราวอะไรก่อนหน้านี้มาก่อน ก็เป็นไปได้เช่นกัน
4. โมโหและบันดาลโทสะ
อาการโมโห บันดาลโทสะ
นอกจากอาการรู้สึกรำคาญ คุณแม่หลายคนอาจจะรู้สึกโมโหเป็นอย่างมากกินเวลานานเป็นชั่วโมง คุณหมอกล่าวว่านี่เป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้ คุณแม่อาจจะโมโหคนรอบตัว เพื่อน คนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิด แม่บางคนอาจจะโมโหคนที่พบเจอทั่วไป เมื่อคนเหล่านั้นทำอะไรไม่ถูกใจเธอก็มีเหมือนกัน ถ้าคุณแม่รู้สึกว่าอาการโมโหของตัวเองนั้น มาบ่อยเกินไป น่ากลัว ทำให้คนรอบข้างหรือตัวเองกังวล ควรจะปรึกษาแพทย์โดยด่วน
5. รู้สึกเหินห่างกับทารก
อาจจะมีคุณแม่บางคนที่รู้สึกเหินห่าง ไม่ค่อยสนใจ หรือ รู้สึกกังวลเป็นอย่างมาก เวลาที่เข้าใกล้เด็กทารก เป็นหนึ่งในอาการโรคซึมเศร้าหลังคลอดที่รุนแรงมากชนิดหนึ่ง คนรอบข้างอาจจะรู้สึกสงสัย ในความสามารถของแม่ว่าจะสามารถเลี้ยงดูลูกได้ดีแค่ไหน ตัวแม่เองก็ยิ่งกังวลเข้าไปใหญ่ ว่าตัวเองจะทำหน้าที่แม่ได้หรือไม่ เมื่อเกิดความรู้สึกนี้ขึ้นกับตัวเอง แต่แทนที่คนเป็นแม่จะโทษตัวเองว่าเป็นแม่ที่ไม่ดี คุณแม่ควรจะพาตัวเองไปรักษาก่อนที่อาการจะลุกลามไปมากกว่านี้
The Asianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลายที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอดเพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย
Source : 1
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
อารมณ์ร้าย หลังคลอด อาการร้ายแรงที่อาจนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า
ซึมเศร้าตอนท้อง หรือแม่ท้องคิดไปเอง อาการซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะซึมเศร้าในคนท้องเป็นอย่างไร
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อาการ เป็นอย่างไร แม้แต่แม่ชมพู่ก็เป็นซึมเศร้าหลังคลอด ทำไมเป็นกันเยอะ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!