ฮอร์โมนแปรปรวน (Hormonal Imbalance) นั้น มีผลต่อการตั้งครรภ์มากกว่าที่คิด อาการอย่างนี้แสดงว่าฮอร์โมนแปรปรวน ส่งผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไรบ้าง ?
เราเชื่อว่าสำหรับคุณแม่บางคนที่ตั้งท้องยาก คุณต้อง รอแล้ว รออีก รอเป็นเดือน เป็นปี ไปไหว้พระ ขอลูก กี่ประเทศมาก็แล้ว ลูกก็ยังไม่มีสักที แม่บางคนอาจจะท้อและอาจจะโทษตัวเอง ต่าง ๆ นานา ว่าร่างกายไม่พร้อม สุขภาพไม่ดีบ้าง อาการเหล่านี้อาจจะนำมาสู่อาการทางจิตใจได้ คุณแม่ที่อยากจะตั้งท้อง ควรจะทราบว่าบางที ปัญหาที่ทำให้คุณท้องยากนั้น มันมีอะไรมากมาย กว่าที่คุณคิด และ ฮอร์โมนแปรปรวน ก็อาจจะเป็นส่วนที่ทำให้คุณท้องยากก็ได้
ฮอร์โมนที่อาจจะกระทบกับการตั้งครรภ์
ฮอร์โมนชนิดที่แตกต่างกันจะส่งผลแตกต่างกัน และมีฮอร์โมนแค่ไม่กี่ตัวเท่านั้นที่ส่งผลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนต่อไปนี้ เป็นฮอร์โมนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ คุณควรที่จะทำความรู้จักกับฮอร์โมนเหล่านี้ว่ามันจะส่งผลอย่างไรกับคุณแม่ที่อยากจะตั้งครรภ์ได้
เป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่สำคัญต่อการตั้งครรภ์มาก ๆ FSH หรือ ชื่อเต็มๆคือ Follicle-Stimulating Hormone มีหน้าที่รับผิดชอบทำให้วงจรการหมุนเวียน และการผลิตไข่ที่มีสุขภาพที่ดี พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์
LH หรือ Luteinizing Hormone เป็นฮอร์โมนที่ปล่อยไข่ให้พร้อมสำหรับการปฏิสนธิ
Anti-Mullerian Hormone เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาไข่ที่ยังไม่เติบโตอย่างเต็มที่
เป็นฮอร์โมนหลัก อย่างนึงซึ่งมีหน้าที่เตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ช่วยให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปได้เรื่อย ๆ หลายครั้งที่ผู้หญิงต้องเผชิญอาการเช่น แท้ง นั้นเกิดจากตอนที่ ฮอร์โมน Progesterone ดิ่งลงต่ำนั่นเอง
ฮอร์โมนตัวนี้เป็น ฮอร์โมนที่จะจัดการการผลิตนม แต่มันยังมีหน้าที่ในการทำให้ประจำเดือนมาอย่างปกติ เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับตอนคลอด
ผู้หญิงบางคนอาจจะไม่รู้ ว่าฮอร์โมน Thyroid เป็นฮอร์โมนสำคัญที่สุด ที่จะทำให้คุณตั้งท้องได้ คุณหมอ Elena Villanueva จากสถาบัน Modern Holistic Health บอกว่า ต่อม Thyroid อวัยวะสืบพันธ์ุของเพศหญิง และ ต่อม Adrenal นั้นเชื่อมต่อกันอยู่ ถ้ามีสิ่งผิดปกติไม่ว่าจะกับส่วนไหนก็ตาม การตั้งครรภ์อาจจะยากมาก ข่าวดีก็คืออาการเหล่านี้สามารถรักษาได้ ถ้าไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องต้องรู้ อยากท้อง ไข่ตกสำคัญอย่างไร การนับวันไข่ตก
ฮอร์โมนแปรปรวนเกิดจากอะไร?
ก่อนอื่นคุณแม่ต้องทราบก่อนว่า ถ้าฮอร์โมนของคุณมีปัญหา คุณไม่ควรโทษตัวเอง เพราะมันไม่ใช่ความผิดของคุณเลย
Emily Jungheim คุณหมอ ที่เชี่ยวชาญด้าน ต่อมไร้ท่อ และ การตั้งครรภ์ จากโรงพยาบาลที่ St. Louis, Missouri สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า การที่น้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือ มีไขมันน้อยเกินไป สามารถส่งผลต่อประจำเดือนของผู้หญิง ให้ผิดปกติได้
Thyroid และ ต่อม Adrenal ส่งผลอย่างมากกับฮอร์โมน Thyroid นั้นสำคัญมากกับการรักษาระดับ สุขภาพการตั้งครรภ์ ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับต่อมนี้ล่ะก็ อาจจะมีปัญหาใหญ่ตามมา อาการอีกอย่างที่คุณแม่ควรที่จะรู้จักก็คือ Polycystic Ovary Syndrome ซึ่งเป็นอาการชนิดหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้น 6 และ 12 เปอร์เซ็นต์ ในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ตามข้อมูลจาก CDC (ศูนย์ควบคุมโรค) บอกว่ามันจะทำให้ ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีฮอร์โมนผู้ชายเพิ่ม ทำให้ผมและขนขึ้นเร็วและดก ในเคสที่แย่อาจจะทำให้ตั้งครรภ์ไม่ได้เลยก็มี
อาการอื่น ๆ ที่อาจจะทำให้ท้องยากได้แก่
- อายุ
- ยาบางชนิด
- อาการแพ้อาหาร
- การได้รับสารเคมีที่อันตราย
- ความเครียด
อาการเมื่อฮอร์โมนแปรปรวน
คุณหมอ Villanueva ให้คำแนะนำว่า ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่พยายามที่จะตั้งครรภ์ มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง คุณมีสุขภาพดี แต่ทำยังไงก็ไม่ตั้งครรภ์ซะที บางทีคุณอาจจะต้องหันกลับมาลองดูว่า ระดับปริมาณของคุณมีปัญหารึเปล่า
- PMS หรือ อาการผิดปกติขั้นรุนแรง
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- เป็นหมัน
- ประจำเดือนหยุดก่อนอายุ
- ประจำเดือนมาอย่างหนัก
- ประจำเดือนไม่มาเลย
- อยากทาน ช็อกโกแล๊ต หรือ ของที่ทำมาจากนม
- สิว
- จู่ ๆ ก็รู้สึกตัวร้อน
บทความที่เกี่ยวข้อง : ตอบข้อสงสัย! อยากมีลูกต้องทําไง วิธีทางลัดทำให้มีลูกง่าย อยากท้องต้องกินอะไร!
เมื่อไหร่ที่คุณควรจะไปตรวจฮอร์โมน
คุณแม่คงจะทราบแล้วว่า การตั้งท้องนั้น ไม่ได้มีกฎตายตัว คุณแม่ ผู้หญิงแต่ละคนมีร่างกายที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นการตั้งครรภ์ของผู้หญิงทุกคนก็ไม่เหมือนกัน เป็นเรื่องยากที่จะเจาะจงว่าเมื่อไหร่ คุณควรที่จะไปหาหมอ แต่โดยทั่วไปแล้ว คุณหมอ Dr. Jungheim ให้คำแนะนำว่า ถ้าคุณลองมา 6-12 เดือนแล้วยังไม่เกิดผล ลูกยังไม่มาสักที(ในกรณีที่อายุมากกว่า 35 ปี คือหลังจาก 6 เดือน) ประจำเดือนคุณมาไม่ปกติ เดาไม่ได้เลยว่าจะมาวันไหน หรือเริ่มมีอาการที่ต่อม ไทรอยด์ หรือ PCOS คุณควรที่จะไปหาหมอ
อีกสถานการณ์หนึ่งคือ เมื่อคุณอยากจะฝากไข่ของคุณ คุณควรปรึกษาคุณหมอ
การตรวจฮอร์โมนมีกี่ประเภท?
ปกติแล้ว วิธีการตรวจฮอร์โมนจะมีอยู่ด้วยกันสองแบบ แบบแรกคือ คุณหมอจะสั่งให้ตรวจ โดยการเจาะเลือด และส่งเลือดไปตรวจที่แลป หรืออาจจะใช้เครื่องตรวจด้วยตัวเองก็ได้ แต่เราแนะนำว่า ไปหาคุณหมอก่อนจะปลอดภัยที่สุด
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ฮอร์โมนคนท้อง มีอะไรบ้าง ฮอร์โมนสำคัญของคนท้อง ถ้าฮอร์โมนต่ำ มีผลกับลูกในท้องอย่างไร
คัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด สิ่งที่หมอทำกับเด็กแรกเกิด
7 ฮวงจุ้ย เสริมพลังงานความสมบูรณ์ อยากท้อง ทำยังไง ฮวงจุ้ยเสริมให้ท้อง
4 สเต็ปแสนง่าย ทำตามนี้แล้วลูกติดง่าย ท้องไวทันใจชัวร์!
ที่มา : parents
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!