X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ๆ ไม่ควรมองข้ามหากกำลังท้องใหม่ๆ

บทความ 5 นาที
ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ๆ ไม่ควรมองข้ามหากกำลังท้องใหม่ๆภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ๆ ไม่ควรมองข้ามหากกำลังท้องใหม่ๆ

ภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์เกิดจาก 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัญหาสุขภาพแต่เดิม อายุของแม่ท้อง ไลฟ์สไตล์ และภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องไม่ควรมองข้ามภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์เหล่านี้เด็ดขาด

ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ๆ ไม่ควรมองข้ามหากกำลังท้องใหม่ๆ

ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ เชื่อว่ามีแม่ๆ หลายท่านมีความกังวลไม่น้อยในขณะที่กำลังตั้งท้องใหม่ๆ และไม่แน่ใจว่าจะเกิดปัญหาหรือความเสี่ยงใดๆ บ้างที่จะเกิดกับครรภ์ของเรา แม่ๆ ไม่ควรมองข้ามหากกำลังท้องใหม่ๆ มาให้ตรวจเช็กกันค่ะ

เช็กตั้งท้องแล้วจะมีภาวะเสี่ยงแบบไหนบ้าง ลองดูได้จากด้านล่างค่ะ

ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์

 ปัจจัยที่ 1 ปัญหาสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

ในกรณีที่คุณแม่มีปัญหาสุขภาพบางอย่างตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ อาจทำให้คุณแม่มีภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์มากขึ้น

  1. ความดันโลหิตสูง

แม้ว่าความดันโลหิตสูงอาจเป็นอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์ แต่ผู้หญิงจำนวนมากที่มีความดันโลหิตสูงก็มีครรภ์สุขภาพดีและมีลูกน้อยที่แข็งแรงได้ อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง อาจเป็นอันตรายต่อไตของแม่ และเพิ่มความเสี่ยงทารกน้ำหนักน้อย หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ

  1. รังไข่มีถุงน้ำหลายใบ หรือ PCOS

ผู้หญิงที่มีกลุ่มอาการ PCOS จะประสบปัญหามีบุตรยาก เนื่องจากรังไข่ทำงานผิดปกติ และเมื่อตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ รวมถึงภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ และคลอดก่อนกำหนด

  1. เบาหวาน

ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานจำเป็นควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดก่อนที่จะตั้งครรภ์ เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงในช่วงสัปดาห์แรกๆ ของการตั้งครรภ์อาจเป็นเหตุให้ทารกพิการแต่กำเนิด ซึ่งเป็นระยะก่อนที่ผู้หญิงจะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการรับประทานโฟลิคทุกวันก่อนตั้งครรภ์จะช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้

บทความแนะนำ แพทย์ชี้! ทานโฟเลตก่อนมีเซ็กส์ ป้องกันลูกพิการแต่กำเนิดได้

  1. โรคไต

ผู้หญิงที่เป็นโรคไตมักจะมีลูกยากและมีความเสี่ยงในการแท้งบุตร คุณแม่ท้องที่เป็นโรคไตควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การใช้ยา และพบคุณหมออย่างสม่ำเสมอ

  1. โรคภูมิแพ้ตัวเอง

โรคภูมิแพ้ตัวเอง รวมถึงโรค SLE และโรคปลอกประสาทอักเสบ (MS) โรคภูมิแพ้ตัวเองบางชนิดสามารถเพิ่มความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรค SLE เพิ่มความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และการเสียชีวิตในครรภ์ คุณแม่ท้องบางคนอาจมีอาการดีขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ในขณะที่บางคนอาจอาการกำเริบมากขึ้น ทั้งนี้การใช้ยารักษาโรคภูมิแพ้ตัวเองอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้

บทความแนะนำ สัญญาณไม่ปลอดภัย ทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์

  1. โรคไทรอยด์

โรคไทรอยด์ที่ไม่ได้รับการควบคุม อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ เช่น  หัวใจล้มเหลว น้ำหนักน้อย และพิการแต่กำเนิด

  1. ภาวะมีบุตรยาก

งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าผู้หญิงที่ใช้ยาเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์มากกว่าผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ได้เอง ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้มักจะเกี่ยวข้องกับรก (ซึ่งเป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อระหว่างคุณแม่และทารกในครรภ์) และการมีเลือดออกทางช่องคลอด

  1. เอชไอวี หรือเอดส์

เอชไอวี หรือเอดส์จะทำลายเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อและโรคมะเร็งบางชนิดได้ยาก ที่สำคัญคุณแม่ท้องสามารถส่งผ่านเชื้อไวรัสไปยังลูกน้อยในท้องระหว่างตั้งครรภ์  ขณะคลอดบุตร หรือผ่านน้ำนมของแม่ได้ แต่โชคดีที่ปัจจุบันสามารถลดการแพร่เชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกในท้อง หรือทารกแรกเกิดได้ คุณแม่ท้องที่มีเชื้อไวรัสในจำนวนน้อยมากๆ สามารถคลอดธรรมชาติได้โดยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระดับต่ำ สำหรับคุณแม่ที่มีจำนวนเชื้อเอชไอวีมากควรผ่าคลอด เพื่อลดความเสี่ยงในการส่งผ่านเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูกขณะคลอด

การดูแลตัวเองตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์มีความสำคัญมากสำหรับคุณแม่ที่มีเชื้อเอชไอวี คุณแม่ที่รับประทานยาต้านไวรัสเอชไอวีอย่างต่อเนื่องและคลอดบุตรโดยการผ่าคลอด ความเสี่ยงที่ทารกจะติดเชื้อมีโอกาสเพียง 2% เท่านั้น

บทความแนะนำ ชาติแรกในเอเชีย!! หยุดการแพร่เชื้อเอชไอวี จากแม่สู่ลูก

คุณแม่ไม่ควรมองข้าม ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์

ติดตามอ่าน ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ จากปัจจัยอื่นๆ  คลิกหน้าถัดไป

ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์

ปัจจัยที่ 2 อายุขณะตั้งครรภ์

ช่วงอายุของแม่ท้องที่มีความเสี่ยงคือ แม่ท้องที่อายุน้อย และแม่ท้องที่อายุมากกว่า 35 ปี

  1. คุณแม่วัยใส

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและโรคโลหิตจาง เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดมากว่าคุณแม่ท้องที่มีอายุมากกว่า คุณแม่วัยใสยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการติดเชื้อที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ นอกจากนี้คุณแม่ที่อายุน้อยยังไม่ค่อยมีความรู้ในการดูแลครรภ์ ไม่ค่อยไปพบหมอตามนัดเพื่อประเมินความเสี่ยง และยังไม่เข้าใจในเรื่องการใช้ยาของแม่ท้องที่อาจมีผลต่อทารกในครรภ์

บทความแนะนำ ยาสามัญที่เป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์

  1. คุณแม่ท้องแรกที่อายุมากกว่า 35 ปี

งานวิจัยพบว่า คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 35 ปีจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • มีแนวโน้มต้องผ่าตัดคลอด
  • เกิดภาวะแทรกซ้อนในการคลอด รวมถึงเสียเลือดมากขณะคลอด
  • คลอดยากใช้เวลานาน (นานกว่า 20 ชั่วโมง)
  • ทารกมีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม

บทความแนะนำ คู่มือแม่ท้อง 35 อัพ

ปัจจัยที่ 3 ไลฟ์สไตล์ของแม่ท้อง

คนท้องสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า

  1. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์

เมื่อคนท้องดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์สามารถส่งตรงไปยังทารกในครรภ์ผ่านสายรก ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) แนะนำว่า คุณแม่ท้องควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์ และเมื่อคิดจะตั้งครรภ์

คุณแม่ท้องที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีแนวโน้มที่จะแท้งบุตรหรือทารกเสียชีวิตในครรภ์ นอกจากนี้ ความเสี่ยงอื่นๆ ยังรวมถึง ความเสี่ยงทารกพิการแต่กำเนิด และกลุ่มอาการทารกในครรภ์ได้รับแอลกอฮอล์ (FASD) ทำให้ทารกมีลักษณะใบหน้าที่ผิดปกติ ตัวเตี้ย น้ำหนักตัวน้อย สมาธิสั้น สติปัญญาบกพร่อง มีการหาทางการได้ยินและการมองเห็น

  1. สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์

การสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์เพิ่มความเสี่ยงทารกคลอดก่อนกำหนด พิการแต่กำเนิด และภาวะหลับไม่ตื่นในทารก (SIDS) นอกจากนี้ การที่แม่ท้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยควันบุหรี่ยังเพิ่มความเสี่ยงทารกมีปัญหาสุขภาพอีกด้วย

บทความแนะนำ ไลฟ์สไตล์ของแม่ท้องที่เสี่ยงแท้ง

ไม่ควรมองข้าวกับภาวะเสี่ยงขณะตั้งท้อง

ปัจจัยที่ 4 ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์

  1. การตั้งครรภ์แฝด

การตั้งครรภ์แฝดเพิ่มความเสี่ยงทารกคลอดก่อนกำหนด (ก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์) การตั้งครรภ์เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไปและการใช้ยาเพื่อให้มีบุตร ทั้งสองอย่างนี้มีความเชื่อมโยงกับการตั้งครรภ์แฝด

การตั้งครรภ์แฝดสามขึ้นไปเพิ่มโอกาสในการผ่าคลอด แฝดสองและแฝดสามมีแนวโน้มที่ทารกจะตัวเล็กกว่า การตั้งครรภ์เดี่ยว ทารกแฝดที่คลอดก่อนกำหนดมักมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ

  1. เบาหวานขณะตั้งครรภ์

เป็นโรคเบาหวานที่เกิดเมื่อมีการตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องสามารถมีครรภ์สุขภาพดีได้หากจัดการโรคเบาหวานขณะตั้งครรรภ์ได้ ด้วยการควบคุมอาหารและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากไม่ควบคุมเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ และความดันโลหิตสูง

  1. ภาวะครรภ์เป็นพิษ

ภาวะครรภ์เป็นพิษเกิดขึ้นได้หากคุณแม่ท้องอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไปมีความดันโลหิตสูงฉับพลัน ซึ่งส่งผลต่อไต ตับ และสมองของคุณแม่ท้อง หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาอาจถึงแก่ชีวิตทั้งแม่และ/หรือลูกน้อยในท้อง ทั้งยังมีผลต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย ครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการชักและอยู่ในขั้นโคม่า

คุณแม่ได้ทราบแล้วนะคะว่า ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ อะไรบ้างที่อาจเกิดขึ้นได้ หากคุณแม่รู้เท่าทันปัจจัยเหล่านี้ได้ ก็สามารถมีครรภ์สุขภาพดีและลูกน้อยที่แข็งแรงได้อย่างไม่ต้องเป็นกังวลค่ะ

ที่มา www.nichd.nih.gov

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

แม่ยุคใหม่กับปัจจัยที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด

ครรภ์คุณภาพของแม่ท้อง ต้องดูแลแบบนี้

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • ภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ ที่แม่ๆ ไม่ควรมองข้ามหากกำลังท้องใหม่ๆ
แชร์ :
  • ครรภ์เสี่ยง ภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง ความเสี่ยงตั้งครรภ์ คนท้องต้องระวัง ครรภ์เสี่ยง

    ครรภ์เสี่ยง ภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง ความเสี่ยงตั้งครรภ์ คนท้องต้องระวัง ครรภ์เสี่ยง

  • คลอดก่อนกำหนด ภาวะเสี่ยงที่ต้องใส่ใจ

    คลอดก่อนกำหนด ภาวะเสี่ยงที่ต้องใส่ใจ

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • ครรภ์เสี่ยง ภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง ความเสี่ยงตั้งครรภ์ คนท้องต้องระวัง ครรภ์เสี่ยง

    ครรภ์เสี่ยง ภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง ความเสี่ยงตั้งครรภ์ คนท้องต้องระวัง ครรภ์เสี่ยง

  • คลอดก่อนกำหนด ภาวะเสี่ยงที่ต้องใส่ใจ

    คลอดก่อนกำหนด ภาวะเสี่ยงที่ต้องใส่ใจ

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ