ปัญหากังวลที่เกิดขึ้นกับแม่ยุคใหม่ในปัจจุบัน คือความเสี่ยงต่อการคลอดลูกก่อนกำหนด โดยเฉพาะเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มีการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด ที่ทำให้มีโอกาสเกิดหรือมีโรคประจำตัวที่เป็นเบาหวานอยู่แล้วหรือเป็นโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงการทำงานจนไม่ให้ความสำคัญกับออกกำลังกาย จนลืมไปว่าจะมีผลกระทบต่อลูกในท้อง และมีโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดสูง
ซึ่งโอกาสที่เกิดภาวะการคลอดลูกก่อนกำหนด มีประมาณร้อยละ 7-10 คือคลอดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการ คลอดก่อนกำหนด อาทิ
– การที่แม่ท้องสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่มาก ๆ จากคนรอบข้าง
– การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกฮอล์
– การทานยาบางชนิด เพราะยาบางตัวอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์
– การเพิ่มของน้ำหนักตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์น้อยเกินไป ถ้าอยู่ในเกณฑ์ 15 กิโลกรัมถือว่าปกติ
– ร่างกายของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ
– การทำงานหนักหรือทำอาชีพที่ต้องยืนตลอดเวลา
– การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์
– การเสียสมดุลฮอร์โมน
– การติดเชื้อ เช่น ทางเดินปัสสาวะอักเสบเฉียบพลันหรือการติดเชื้อในช่องคลอดและน้ำคร่ำ หากติดเชื้อดังกล่าวก็จะส่งผลให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
– ภาวะปากมดลูกปิดไม่สนิท
– มดลูกไวต่อการกระตุ้น ทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูก และรุนแรงจนทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
– ภาวะรกเกาะต่ำ ใกล้ปากมดลูก
– อาการเจ็บป่วยเรื้อรังหรือโรคประจำตัวของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวานหรือความดันต่ำ
– มีความเครียดในขณะตั้งครรภ์
– คุณแม่ที่ตั้งครรภ์มีอายุต่ำกว่า 17 ปี หรือมีอายุเกิน 35 ปี
– ภาวะที่มีความผิดปกติของมดลูก
– การตั้งครรภ์แฝด
– ทารกในครรภ์พิการ
– แม่ตั้งครรภ์เคยมีประวัติการคลอดก่อนกำหนด
– การรับประทานอาหารที่มีรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด เป็นต้น
ดูสัญญาณที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด >>
อาการเตือนที่บ่งบอกว่าอาจเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
1. มีอาการเจ็บครรภ์เองโดยไม่ทราบสาเหตุ
2. ปวดหลัง หรือรู้สึกมีอะไรกดทับบริเวณก้น
3. ปวดถ่วงท้องน้อย ปวดร้าวที่ขาหนีบและหน้าขา
4. มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด หรือมีสีน้ำตาลปนเลือด อาจมีมูกข้นเป็นก้อนหลุดออกมา แสดงอาการเปิดของมดลูก
5.มีเลือดออกคล้ายประจำเดือน ปวดเกร็งท้องน้อย โดยไม่มีอาการท้องเสีย คลื่นไส้ หรืออาหารไม่ย่อย
6.มีการแตกรั่วของถุงน้ำคร่ำ
ซึ่งหากแม่ท้องสังเกตว่ามีอาการเหล่านี้เพียงอาการใดอาการหนึ่งเกิดขึ้นกับตัวเอง ควรรีบไปปรึกษาแพทย์โดยทันที อย่างไรก็ดีการที่คุณแม่เริ่มต้นฝากครรภ์และไปตรวจครรภ์ตามที่คุณหมอนัดอย่างสม่ำเสมอ ก็จะได้รับการดูแลจนลดความเสี่ยงการต่อคลอดก่อนกำหนดได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : ไทยโพสต์ และ www.blog.eduzones.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ทารกคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงกระดูกพรุน
มลพิษในอากาศ เพิ่มความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!