X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

3 โรคร้ายแม่ท้องต้องระวัง เกี่ยวกับการกิน

บทความ 3 นาที
3 โรคร้ายแม่ท้องต้องระวัง เกี่ยวกับการกิน

คุณแม่ท้องที่เป็นกังวลว่าน้ำหนักตัวจะเพิ่มมากเกินไปและจะกลายเป็นส่วนเกินที่กำจัดได้ยากหลังคลอด อาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับการรับประทานอาหารระหว่างตั้งครรภ์และนำไปสู่โรคร้ายเกี่ยวกับการกินเหล่านี้

3 โรคร้ายแม่ท้องต้องระวัง เกี่ยวกับการกิน

3 โรคร้ายแม่ท้องต้องระวัง ความผิดปกติเกี่ยวกับการกินที่พบในคุณแม่ตั้งครรภ์ และสัญญาณเตือนที่ต้องระวังมีอะไรบ้าง

ยาลดความอ้วน คนท้อง

1. โรคกลัวอ้วนในคุณแม่ตั้งครรภ์

Pregorexia เป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียก โรคกลัวอ้วน (Anorexia) ในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่กลัวน้ำหนักตัวจะเพิ่มมากเกินไปและเป็นกังวลเรื่องรูปร่าง จึงพยายามลดความอ้วนและออกกำลังกายอย่างหนัก

จากการศึกษาพบว่า 1 ใน 3 ของผู้หญิงที่เป็นโรค Pregorexia มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และมีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Claire Mysko ผู้เชี่ยวชาญจาก National Eating Disorders Association เชื่อว่า ผู้หญิงที่มีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร และไม่ได้รับการช่วยเหลือจากคู่ครอง ครอบครัว และเพื่อน มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรค Pregorexia

สัญญาณเตือนที่ควรสังเกต: ชอบพูดว่าจริงๆ แล้วคุณไม่ได้ตั้งครรภ์ หมกมุ่นอยู่กับการนับแคลอรี่ ชอบที่จะกินคนเดียวหรืองดอาหารบางมื้อ การออกกำลังกายมากเกินไป มีอาการเวียนศีรษะหรือเป็นลม

โรคกินมากเกินไป

2. โรคกินมากเกินไป

คุณแม่ท้องที่เป็นโรคกินมากเกินไป Binge eating disorder (BED) มักจะงดมื้ออาหาร หรือทิ้งช่วงเวลาระหว่างมื้ออาหารเป็นเวลานาน ทำให้พอถึงเวลารับประทานก็จะจะกินอย่างหนักหน่วง ปริมาณมาก และควบคุมตัวเองไม่ได้ จนทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากเกินไป

โรคกินมากเกินไป ยังทำให้ลูกน้อยที่กำลังเติบโตในครรภ์ไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอเนื่องจากช่วงเวลากว่าจะถึงมื้อต่อไปนั้นยาวนานกว่าปกติ แต่เมื่อถึงเวลาที่คุณแม่รับประทานอาหารทารกน้อยก็จะได้รับน้ำตาลปริมาณมากอย่างฉับพลันเนื่องจากคุณแม่กระหน่ำกินอย่างดุเดือด

สัญญาณเตือนที่ควรสังเกต: ชอบงดมื้ออาหาร โดยเฉพาะมื้อเช้า รับประทานอาหารปริมาณมากเกินกว่าคนทั่วไปจะกินในช่วงเวลาหรือสถานการณ์คล้ายกัน ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้เมื่อเริ่มรับประทาน มักจะแอบกินคนเดียว เพราะรู้สึกอายและรังเกียจตัวเอง

โรคบูลิเมีย ตั้งครรภ์

3. โรคบูลิเมียในคุณแม่ตั้งครรภ์

โรคบูลิเมีย คือ การล้วงคอเพื่อให้อาเจียนเอาอาหารที่เพิ่งกินเข้าไปออกมา หรือใช้ยาระบาย รวมถึงการออกกำลังกายอย่างหนัก หากอาการนี้เกิดระหว่างตั้งครรภ์ จะเรียกว่าโรคบูลิเมียในคุณแม่ตั้งครรภ์ “maternal bulimia”

สมาคมสุขภาพจิตของสิงคโปร์ กล่าวว่า ความผิดปกติเกี่ยวกับการกินดังกล่าว มักจะเกิดกับผู้ที่ไม่ค่อยเห็นคุณค่าในตนเองและไม่มีความสุข หรือคนที่ชอบความสมบูรณ์แบบและต้องการควบคุมทุกอย่างในชีวิต

Advertisement

การใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ และยาลดความอ้วนระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ขาดสารอาหารสำคัญที่จะส่งไปเสริมสร้างการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย

สัญญาณเตือนที่ควรสังเกต: กินอย่างหนัก และตามด้วยการล้วงคอ หรือใช้ยาระบาย หรือออกกำลังกายอย่างหนัก หรือใช้ยาลดความอ้วน เนื่องจากไม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเอง

ทารกที่เกิดจากแม่ที่ผิดปกติในการกิน

ความเสี่ยงด้านสุขภาพจากความผิดปกติเกี่ยวกับการกิน

คุณแม่ท้องไม่ควรลดน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากจะส่งผลในทารกในครรภ์ไม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ

คุณแม่ท้องที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการกิน อาจเป็นสาเหตุให้ลูกน้อยเป็นอันตราย หรือมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ เช่น

  • ภาวะทารกเครียด
  • ทารกโตช้าในครรภ์
  • เบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • ความดันโลหิตสูง
  • ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
  • ครรภ์เป็นพิษ
  • ปัญหาทางเดินหายใจ
  • น้ำหนักแรกเกิดต่ำ
  • ภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด
  • คลอดก่อนกำหนด
  • คลอดยาก
  • พิการแต่กำเนิด
  • คะแนนการประเมินทารกแรกคลอดต่ำ
  • การแท้งบุตร
  • ตายคลอด

ออกกำลังกาย คนท้อง

วิธีป้องกันความผิดปกติเกี่ยวกับการกินระหว่างตั้งครรภ์

แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายในการเอาชนะโรคเกี่ยวกับการกิน แต่เราก็มีเคล็ดลับที่ไม่ควรพลาดเมื่อคุณรู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวระหว่างตั้งครรภ์มาฝากค่ะ

1. กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพและออกกำลังอย่างพอดี

คุณแม่ท้องสามารถป้องกันไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินไป ได้โดยเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่ปรุงโดยการนึ่ง ต้ม อบ และย่าง รวมถึงลดการบริโภคน้ำตาลด้วย

ออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์ด้วยท่าง่ายๆอย่างพอดี จะช่วยคืนหุ่นสวยหลังคลอดให้คุณได้ไม่ยาก

2. ให้รางวัลตัวเอง

การตั้งครรภ์เป็นข้อแก้ตัวที่ดีที่จะไปช้อปปิ้งและซื้อเสื้อผ้า ซึ่งอาจจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นแทนที่จะยึดติดอยู่กับเสื้อผ้าสไตล์เดิมๆ ของคุณ การทำให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลายสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของทารกตัวน้อยๆ ในครรภ์ ดังนั้น หาเวลาปรนเปรอตัวเองบ้าง ไปสปา ทำให้สิ่งที่คุณชอบและเพลิดเพลินไปกับมัน

3. มองหาตัวช่วย

ควรปรึกษาคุณหมอด้านโภชนาการเพื่อวางแผนการรับประทานอย่างเหมาะสม ด้วยวิธีการที่ดีต่อสุขภาพครรภ์ นอกจากนี้คุณควรไว้วางใจในตัวสามี ครอบครัว และเพื่อนสนิท และรับความช่วยเหลือที่คุณต้องการจากพวกเขา

4. รักตัวเอง

แม้เจ้าตัวน้อยจะยังไม่คลอดออกมา แต่ตอนนี้ถือว่าคุณเป็นแม่คนแล้ว คุณควรระลึกไว้เสมอว่า ลูกน้อยของคุณจะเป็นอย่างไรก็อยู่ที่ตัวคุณนั้นได้รับสารอาหารมากพอที่จะส่งผ่านไปยังลูกน้อยและทำให้เขาเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่ดีหรือเปล่า

เมื่อเจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลก น้ำหนักส่วนเกินทั้งหมดของคุณแม่จะค่อยๆ ลดลงไปเอง ดังนั้น คุณแม่พยายามอย่าเครียดกับน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์มากจนเกินไป สามีและทุกคนรอบตัวคุณไม่มีใครคิดว่าคุณไม่สวย คุณจึงต้องเรียนรู้ที่จะรักตัวเองเช่นกันค่ะ

ที่มา sg.theasianparent.com

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 3 โรคร้ายแม่ท้องต้องระวัง เกี่ยวกับการกิน
แชร์ :
  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

    ถอดแหวนไม่ได้ ทําไงดี ? วิธีถอดแหวนด้วยตัวเอง เมื่อคนท้องนิ้วบวม

  • คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

    คนท้องนอนไม่หลับ ควรนอนต่อไหม? หรือควรทำอะไรดี?

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว