X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

5 สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนดที่ต้องระวัง เช็คด่วนหากเข้าข่ายให้รีบพบแพทย์!!

บทความ 3 นาที
5 สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนดที่ต้องระวัง เช็คด่วนหากเข้าข่ายให้รีบพบแพทย์!!

เชื่อว่าช่วงเวลาในขณะตั้งครรภ์ จะเป็นอีกหนึ่งช่วงเหตุการณ์ที่คุณแม่ให้ความสำคัญ และเฝ้ารอการออกมาดูโลกของลูกน้อยอย่างใจจดใจจ่อ ถึงแม้จะเป็น 40 สัปดาห์แห่งการรอคอยที่มันจะทำให้คุณแม่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปบ้าง แต่เพื่อลูกแล้วแม่ยอม! เพราะไม่มีใครอยากให้ลูกน้อยในท้องต้องมีภาวะเสี่ยงจากการคลอดก่อนกำหนด

ตามปกติแล้วช่วงเวลาตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์จะมีอายุครรภ์ระหว่าง 37 สัปดาห์ – 40 สัปดาห์จึงจะเป็นวันครบกำหนดคลอด แต่เรื่องที่เป็นกังวลของคุณแม่ยุคใหม่ในปัจจุบันที่มีไลฟ์สไตล์การกินอาหารรสจัด หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงการทำงานจนไม่ได้พักผ่อน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดสูง ซึ่งหากทารกคลอดก่อน 37 สัปดาห์ นั่นหมายถึง ภาวะคลอดก่อนกำหนด หากยิ่งคลอดเร็วขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นอันตรายต่อทารกมากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้ทารกมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ พัฒนาการช้า สุขภาพไม่แข็งแรง เป็นต้น

5 สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนดที่ต้องระวัง!!

การคลอดก่อนกำหนดเกิดได้จากปัจจัยที่หลากหลาย ดังนั้นในช่วงตั้งครรภ์นอกจากคุณแม่ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลูกในท้องแล้ว สิ่งที่ควรเฝ้าระวังคือสังเกตอาการเตือนจากการเจ็บครรภ์ อันเป็นสัญญาณของการคลอดลูกก่อนกำหนดตามมาได้

 

5 สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนด

#1 อาการบวมและความดันโลหิตสูง

อาการนี้มีโอกาสเกิดเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ท้องที่มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด อาจเป็นสัญญาณหนึ่งของการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ คุณแม่ที่มีประวัติเป็นโรคดังกล่าวขณะตั้งครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะนี่เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้คุณแม่อาจคลอดก่อนกำหนดได้

Advertisement

#2 มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด

มูกเลือดหรือมีสีน้ำตาลปนเลือด หรือมีมูกข้นเป็นก้อนหลุดออกมาทางช่องคลอด ไม่ว่าปริมาณมากหรือน้อย อาจเกิดจากสาเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น ช่องคลอดอักเสบ ปากมดลูกอับเสบ หรือสาเหตุที่รุนแรงมากขึ้น เช่น รกเกาะต่ำ หรือรกลอกก่อนกำหนด แสดงอาการเปิดของมดลูก อาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หรือทารกในครรภ์มีโอกาสเสียชีวิตได้ เมื่อมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นควรรับปรึกษาแพทย์ที่ดูแลครรภ์ทันที

5 สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนดที่ต้องระวัง!!

#3 มีอาการน้ำเดิน

น้ำเดิน คือ ภาวะที่เกิดจากแตกหรือรั่วของถุงน้ำคร่ำ ทำให้มีน้ำคร่ำไหลออกมา มักเกิดเมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะใกล้คลอด แต่บางกรณีก็อาจเกิดขึ้นนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดได้ เนื่องจากการบีบตัวของมดลูกอย่างรุนแรง หรือเกิดการกระแทกจากอุบัติเหตุ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อทารก เพราะเมื่อถุงน้ำคร่ำรั่ว มีน้ำเดินออกมา เชื้อโรคก็สามารถจะเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ ก่อให้เกิดการติดเชื้อในทารกและเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นถ้าคุณแม่สังเกตว่ามีน้ำใส ๆ ไหลจากช่องคลอดในปริมาณมากพอสมควร ควรรีบไปพบคุณหมอทันที

Read : น้ำเดินหรือปัสสาวะเล็ดกันแน่ สัญญาณคลอดที่แม่ท้องต้องสังเกต

 

#4 รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยกว่าปกติ

ตามปกติแล้วลูกในท้องจะเริ่มดิ้นในสัปดาห์ที่ 17 แต่ในท้องแรกคุณแม่อาจจะยังไม่เจอลูกดิ้นจนกระทั่งเลยสัปดาห์ที่ 20 ความรู้สึกว่าลูกดิ้นจึงเป็นเครื่องช่วยประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ คุณแม่ควรสังเกตและนับลูกดิ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 28 จนถึงกำหนดคลอด วิธีการนับลูกดิ้นควรเริ่มนับตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น อย่างน้อย 12 ชั่วโมง หากลูกดิ้นครบ 10 ครั้งใน 4 ชั่วโมง ก็ไม่จำเป็นต้องนับต่อ แต่หากลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งใน 2 ชั่วโมง ให้ลองพัก 1 ชั่วโมง แล้วสังเกตดูอีกหนึ่งครั้ง ถ้าลูกยังไม่ดิ้นตามที่ควรจะเป็นหรือลูกดิ้นน้อยลงมาก ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำวินิจฉัยเพิ่มเติมและตรวจยืนยันความแข็งแรงของทารกในครรภ์

Read : คำถามที่พบบ่อย: ลูกดิ้นกี่ครั้งถึงปกติ? ถ้าลูกดิ้นน้อยลงทำยังไง?

 

#5 อาการท้องแข็งบ่อย

อาการท้องแข็ง คือ การปวดบริเวณท้องน้อย มดลูก หรือหัวหน่าว ส่วนท้องแข็งตึงนั้น เป็นภาวะที่มดลูกบีบรัดตัวแข็งเป็นก้อนกลม เมื่อคุณแม่เอามือวางบริเวณหน้าท้อง จะสัมผัสและรู้สึกได้ว่าเป็นก้อน ๆ ขึ้นมา หรือรู้สึกตึงมากที่หน้าท้องเป็นครั้งคราวในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นวินาที และมีช่วงพักเป็นนาทีเมื่อมดลูกคลายตัว บางรายอาจจะมีอาการท้องแข็งอยู่ประมาณทุก 10 นาที/ครั้ง และเป็นสม่ำเสมออยู่ 4-5 ครั้งได้ ซึ่งหากทิ้งไว้นานจะทำให้ปากมดลูกเปิด เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

Read : อาการท้องแข็ง เรื่องน่ากังวลขณะตั้งครรภ์

 

อาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นกับแม่ท้องทุกคนในช่วงที่ใกล้ครบกำหนดคลอด ซึ่งหากคุณแม่มีการดูแลตัวเองดี ใส่ใจในโภชนาการและสุขภาพอนามัย พักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากการคลอดก่อนกำหนดได้ อาการเหล่านี้เป็นเพียงสัญญาณให้คุณแม่คอยเฝ้าระวังและสังเกตตัวเองให้มากขึ้น ไม่ควรนิ่งนอนใจหากพบปัญหาผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจครรภ์และคำแนะนำในการดูแลครรภ์ที่ถูกต้อง.

ขอบคุณที่มา : www.samitivejhospitals.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ชีวิตในตู้อบของทารกคลอดก่อนกำหนด
แม่รู้ไหม แค่ตรวจเลือดก็รู้ความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

theAsianparent Community

บทความจากพันธมิตร
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
MFGM จากนมแม่กุญแจสำคัญ สู่ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าของเด็ก Gen ใหม่
4 อาการคนท้อง  ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้
4 อาการคนท้อง ยอดฮิตของแม่ตั้งครรภ์ เลี่ยงยาก แต่ป้องกันได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 5 สัญญาณเตือนคลอดก่อนกำหนดที่ต้องระวัง เช็คด่วนหากเข้าข่ายให้รีบพบแพทย์!!
แชร์ :
  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

  • คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

    คนท้อง อัลตราซาวด์ 4 มิติ กี่เดือน ซาวด์ 4 มิติ ที่ไหนดี ราคาปี 2568

  • คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

    คนท้องหิวกลางดึก กินอะไรดี อาหารว่างยามดึกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

    วิจัยเผย อยากให้ลูกกินง่าย ? เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว