ผู้ป่วยโรคความดัน อาหารการกินเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อร่างกายได้ และอาจส่งผลให้เกิดภาวะอันตราย ร้ายแรงอื่น ๆ ได้ มาดู 12 อาหารลดความดัน ที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จะมีอะไรบ้าง ต้องไปดูกัน
ความดันโลหิต คืออะไร?
ความดันโลหิต เป็นแรงดันของเลือด ที่สูบฉีดเลือดจากหัวใจ ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งวัดได้จาก 2 ค่า ได้แก่
ความดันโลหิตค่าบน คือ แรงดันเลือดในขณะที่หัวใจบีบตัวเต็มที่
ความดันโลหิตค่าล่าง คือ แรงดันเลือดขณะที่หัวในคลายตัวเต็มที่
ค่าความดันโลหิตสูง
|
ค่าความดันโลหิตสูง |
สูงเล็กน้อย |
สูงปานกลาง |
สูงมาก |
ค่าความดันตัวบน |
140-159 (mm/Hg) |
160-179 (mm/Hg) |
มากกว่า 180 (mm/Hg) |
ค่าความดันตัวล่าง |
90-99 (mm/Hg) |
100-109 (mm/Hg) |
มากกว่า 110 (mm/Hg) |
อ่านเพิ่มเติม โรคความดันโลหิตสูง อาการและแนวทางรักษา ทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับความดันโลหิตสูง
12 อาหารที่ผู้ป่วยความดันควรรับประทาน
-
แตงโม
ผลไม้ที่รับประทานแล้วสดชื่น ชุ่มฉ่ำ อย่างแตงโม สามารถช่วยควบคุมการไหลเวียนของโลหิต และควมคุมการขยายตัวของเส้นเลือด
2. กล้วย
กล้วย ก็เป็นอีกหนึ่งผลไม้ลดความดัน เพราะอุดมไปด้วยโพแทสเซียม มากถึงร้อยละ 12 และยังช่วยสร้างสมดุลให้ร่างกาย ได้รับปริมาณโซเดียว และโพแทสเซียมในอัตราที่สมดุลกับการทำงานของไต
3. อะโวคาโด
อะโวคาโด เป็นผลไม้ที่มีไขมันดี ช่วยละระดับไขมันเลวในกระแสเลือดได้ โดยเฉพาะคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรต์ และยังอุดมไปด้วยโพแทสเซียม ที่ช่วยเรื่องสมดุลของความดันโลหิตได้เป็นอย่างดี
4. กระเทียม
วัตถุดิบพื้นบ้านอย่างกระเทียม ก็มีประโยชน์มากมาย เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกัน ไม่ให้คอเลสเตอรอล ไปเกาะตามผนังหลอดเลือดนั่นเอง
5. ขึ้นฉ่าย
ขึ้นฉ่าย เป็นผักกลิ่นแรงที่หลายคนอาจไม่ค่อยชอบรับประทาน แต่ผักชนิดนี้ มีส่วนช่วยในการลดความเครียด อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดปัญหาความดัน และเส้นเลือดอุดตัน
6. บล็อคโคลี่
บล็อคโคลี่เป็นผักสารพัดประโยชน์ เพราะอุดมไปด้วยโพแทสเซียม มากถึงร้อยละ 14 ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลของระดับความดันเลือด ให้คงอยู่ในภาวะปกติได้
7. เนื่อสันในไม่ติดมัน
เนื้อสันใน อุดมไปด้วยโพแทสเซียม และยังมีคอเลสเตอรอลน้อยกว่าเนื้อส่วนติดมัน แต่ควรรับประทานในปริมาณที่พอดี ไม่ให้เกิน 5-6 ชิ้นแบบพอดีคำ เพื่อให้ส่งผลดีต่อสุขภาพ
8. เนื้อปลา และหอย
เนื้อปลา และ หอย เป็นวัตถุดิบชั้นดี ที่มีโปรตีนที่ดี มีไขมันต่ำ และมีแมกนีเซียม ที่ช่วยให้พลังงาน และยังช่วยให้หลอดเลือดหัวใจแข็งแรง
9. โยเกิร์ตรสธรรมชาติ
โยเกิร์ตรสธรรมชาติ อุดมไปด้วยแมกนีเซียม และ โพแทสเซียม แถมยังมีแคลเซียมสูง
10. น้ำมันมะกอก
น้ำมันมะกอก เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งจะช่วยลดความดัน และลดคอเลสเตอรอล แถมยังช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกอีกด้ว
11. งาดำ งาขาว
อุดมไปด้วยโปรตีนที่ดี และไม่มีไขมัน
12. ข้าวกล้อง
เป็นแหล่งพลังงานที่ดี และมีใยอาหาร ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย
อาหารที่ผู้ป่วยความดันสูงควรเลี่ยง
- อาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารรสเค็ม เช่น ปลาเค็ม ไข่เค็ม เป็นต้น
- เครื่องปรุงรส เช่น ผงชูรส ซีอิ๊ว น้ำปลา เป็นต้น
- อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ เบคอน แฮม เป็นต้น
- อาหารที่มีไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู
- อาหารที่มีไขมันจากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม เป็นต้น
การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง
- จำกัดปริมาณโซเดียม ที่ควรรับประทานต่อวัน
- จำกัดปริมาณแอลกอฮอล (ผู้หญิง ไม่ควรเกิน 15 มิลลิลิตร และ ผู้ชาย ไม่ควรเกิน 30 มิลลิลตร)
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพิ่มการรับประทานผัก และ ผลไม้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างเคร่งครัด
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- จัดการเวลาให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงภาวะความเครียด
ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่อันตราย และเสี่ยงต่อการเกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ดังนั้น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ควรดูแลรักษาตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านอาหารการกิน เพราะเป็นสิ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อผู้ป่วย ลองนำไอเดียจากบทความ อาหารลดความดัน ไปปรับใช้ในการเลือกรับประทานอาหารกันได้
ที่มาข้อมูล nonthavej sanook
บทความที่น่าสนใจ
ความดันโลหิตสูง อาการที่อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ ต้องระวังให้ดี
ความดันโลหิตสูง โรคร้ายและภัยเงียบ ที่คนกรุงควรระวัง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!