ในยุคปัจจุบันนี้เราจะได้ยินคำว่า EF การค่อนข้างบ่อย คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร แต่ทราบว่าเป็นสิ่งที่น่าจะมีความสำคัญกับการเลี้ยงดูลูก วันนี้หมอจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเรื่อง EF และการฝึกฝนให้ลูกมี EF แบบง่ายๆ มาเล่าสู่กันฟังว่า การเลี้ยงลูกแบบ EF คือ อะไรค่ะ
การเลี้ยงลูกแบบ EF คือ
ef คืออะไร ? Executive Function คืออะไร ? สำคัญอย่างไรกับลูก
EF หรือ Executive Functions เป็นกระบวนการด้านความคิดการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความคิดและการกระทำ การยั้งใจไต่ตรอง และควบคุมอารมณ์ อันเป็นรากฐานสำคัญของการเรียนและการทำงานตั้งแต่ช่วงวัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการจึงมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของชีวิตในอนาคตของเด็ก ซึ่งมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับสมอง การเลี้ยงลูกจึงต้องใส่ใจเรื่อง EF ด้วย
EF ประกอบด้วยอะไรบ้าง?
Executive Functions หรือ EF มีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ข้อคือ
- การยั้งคิด (Inhibitory control) คือ การรู้จักควบคุมตนเองมีความยั้งคิดไตร่ตรองตั้งใจจดจ่อในการทำงานและเป้าหมายให้สำเร็จ
- ความจำเพื่อนำมาใช้งาน (working memory) คือ ความจำที่พร้อมใช้และใช้ทำงานจริง ๆ ไม่ใช่แค่จำได้แต่ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวันได้
- การยืดหยุ่นทางความคิด (cognitive flexibility) คือ การรู้จักการคิดวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนตัวแปรและกระบวนการต่าง ๆ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายได้ในที่สุด
และยังมีองค์ประกอบร่วม ของ EF อันเป็นทักษะที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ การควบคุมอารมณ์ การวางแผนจัดระบบดำเนินการ การริเริ่มลงมือทำ การจดจ่อใส่ใจ การมุ่งเป้าหมาย และการติดตามประเมินตนเอง ซึ่งทักษะต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีการฝึกฝนและสั่งสอนกันตั้งแต่วัยเด็กเล็กเช่นปฐมวัยเพราะหากเลยวัยนี้ไปแล้วการสอนจะทำได้ยากมากค่ะ
EF เกี่ยวข้องกับสมองอย่างไร?
มีการศึกษาที่ทราบแน่ชัดว่า EF เป็นกระบวนการความคิดจากการทำงานของสมองส่วนหน้า (Frontal lobe) ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านความคิด ความรู้สึก และการกระทำต่าง ๆ
EF มีความสำคัญอย่างไร?
ในโลกยุคปัจจุบันซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากในแต่ละวัน EF จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์ทุกคนเพราะจะช่วยควบคุมเราไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของสิ่งที่ไม่เหมาะสมต่างๆ ผู้ที่มี EF จะมีความสามารถในการยับยั้งชั่งใจ รู้จักคิดไตร่ตรอง รู้จักการต่อสู้กับอุปสรรค จนประสบความสำเร็จได้ในที่สุด
หากขาด EF ตั้งแต่วัยเด็กจะทำให้ขาดความยับยั้งชั่งใจแสดงพฤติกรรมที่นำมาซึ่งความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ และไม่สามารถทำงานตามหน้าที่ให้สำเร็จได้ จึงจะมีปัญหาได้ตั้งแต่ช่วงวัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่เลยทีเดียวค่ะ
การส่งเสริม EF ให้กับลูกควรทำอย่างไร? การเล่นเสริม EF
หากต้องการส่งเสริมและฝึกฝนให้เด็กมี EF ควรเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็กอนุบาลหรือปฐมวัย คือช่วงอายุ 3-5 ปี เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มมีพัฒนาการด้านความคิดและควบคุมตนเองที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มมีพัฒนาการด้านความคิดและควบคุมตนเองที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ควรทำอย่างต่อเนื่องในช่วงวัย 3-12 ปี การฝึกฝน EF สามารถทำผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่
- การเล่นตามจินตนาการ เช่นเล่นบทบาทสมมติ คุณพ่อคุณแม่ควรจะเตรียมหาอุปกรณ์ต่างๆที่อยู่รอบตัวในบ้านมาประยุกต์เป็นของเล่น เพื่อให้ลูกได้ฝึกการวางแผนการเล่นด้วยตนเอง ฝึกความยืดหยุ่นทางความคิด และหากได้เล่นร่วมกับเพื่อนหรือพี่น้องก็จะฝึกความยับยั้งชั่งใจและควบคุมอารมณ์อีกด้วย
- การเล่านิทาน คุณพ่อคุณแม่ควรเล่านิทานให้ลูกฟังเป็นประจำในช่วงวัยเด็กเล็ก เมื่อลูกเริ่มโตขึ้นก็สามารถผลัดให้ลูกเป็นคนเล่านิทาน หรือสลับกันเป็นผู้เล่านิทานกับคุณพ่อคุณแม่และเพื่อน อาจประยุกต์ให้ลูกสามารถฝึกการวาดรูป เขียนเรื่องราวและแต่งนิทานด้วยตนเอง เพื่อฝึกการวางแผนที่ซับซ้อน และความเพื่อใช้งาน
- การเคลื่อนไหวด้วยเพลงและเกม คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวต่างๆ มีการฝึกปีนป่ายของเล่นที่เหมาะสมกับวัยลูก ฝึกการทรงตัว และฝึกการเต้นประกอบเพลง ร้องเพลงทำท่าประกอบต่างๆ ซึ่งจะช่วยฝึกการควบคุมตนเอง ส่งเสริมความจำเพื่อนำมาใช้งาน
- การทำงานบ้าน การฝึกให้ลูกได้ช่วยเหลืองานบ้านที่เหมาะสมกับวัยที่ลูกจะทำได้ จะเป็นการช่วยฝึก EF ที่ดีมากเพราะลูกจะต้องควบคุมตนเองและใช้การวางแผนที่ซับซ้อน เพื่อทำงานให้สำเร็จ ตัวอย่างงานบ้านสำหรับเด็กเล็ก เช่น เมื่อลูกอายุ 2-3 ปี อาจให้ช่วยเก็บของเล่น เอาเสื้อผ้าไปใส่ตะกร้า เอาขยะไปทิ้งในถังขยะ เป็นต้น เมื่อลูกอายุ 4-7 ปี ก็อาจให้ช่วยพับผ้าห่มเก็บที่นอนให้เรียบร้อย รดน้ำต้นไม้ ช่วยตากผ้า และจัดโต๊ะอาหารเป็นต้น
จะเห็นได้ว่าหากคุณพ่อคุณแม่ใช้เวลาที่มีคุณภาพเพื่อเล่นกับลูกเล่านิทาน และทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นหรือทำงานบ้าน ร่วมกับลูก ก็จะเป็นการเสริมสร้าง EF ให้กับลูกที่ทำได้ง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันทุกวันอยู่แล้ว เรามาส่งเสริมเลี้ยงการลูกแบบ EF และเล่นกับลูกเพื่อเสริม EF ในทุก ๆ วันกันดีกว่าค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
สอนลูกให้มีวินัย ฉลาดสมวัยต้องเลี้ยงลูกแบบ EF
16 วิธีพัฒนา EF ช่วยให้ลูกเก่ง ฉลาด เสริมสร้างทักษะการคิด
9 วิธีเลี้ยงลูกให้ สนิทกับลูก อยากสนิทกับลูกทำยังไงดี? วิธีเลี้ยงลูกให้สนิทกับแม่
วิธีเลี้ยงทารกให้ฉลาด อารมณ์ดี โดยใช้อ้อมกอดของพ่อแม่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!