นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน พบว่าเด็กที่เป็นเด็ก 2 ภาษา จะมีการทำงานของสมองในเรื่องของการจัดการในเรื่องต่างๆ ที่มากกว่าเด็กที่รู้หรือใช้เพียงภาษาเดียวเราควรสอน สองภาษา
การทำงานสมองด้านการจัดการในเรื่องต่างๆ หรือ Executive Function (EF) ซึ่งเป็นทักษะที่ช่วยให้ชีวิตประสบความสำเร็จ เนื่องจากประกอบไปด้วยทักษะต่างๆ ที่ต้องใช้ระยะเวลาฝึกฝน
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด
Naja Ferjan Ramírez หัวหน้านักวิจัยจากสถาบันการเรียนรู้และวิทยาศาสตร์สมองจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน กล่าวถึงผลงานวิจัย ที่พบว่าการทำงานของสมองด้านการจัดการของเด็กสองภาษานั้นจะเริ่มก่อตัวขึ้นก่อนที่เด็กๆ จะพูดได้เสียอีกค่ะ ไม่เฉพาะในทักษะด้านภาษาเท่านั้น แต่ยังมีทักษะในเรื่องของการพัฒนาองค์ความรู้อีกด้วย
นอกจากนี้นักวิจัยยังมีการเก็บข้อมูลด้วย การวัดสนามแม่เหล็กจากสมอง หรือที่เรียกกันว่า Magnetoencephalography (MEG) เพื่อทำการวิเคราะห์และเปรียบเทียบรูปแบบการทำงานของสมองต่อเสียงพูดในภาษาต่างๆ ของเด็กสองภาษาและเด็กภาษาเดียว
โดยผลที่ได้คือสมองของเด็กทั้ง 2 กลุ่ม ทำงานแตกต่างกันในสมองส่วนหน้า (prefrontal cortex และ orbitofrontal cortex) โดยที่สมองของเด็กสองภาษาจะมีการทำงานที่มากกว่าสมองของเด็กภาษาเดียวค่ะ และมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บอกว่า สมองของเด็กสองภาษาจะเปิดรับการเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ มากกว่าเด็กที่รู้แค่ภาษาเดียวด้วยนะคะ
สมองยิ่งใช้ยิ่งดี เหมือนมีดที่ยิ่งลับยิ่งคม
ในผลงานวิจัยจากสมองของผู้ใหญ่ที่ใช้ทั้งสองภาษาเมื่อเปรียบเทียบกับภาษาเดียว มีความแตกต่างกันตรงที่การทำงานของสมองด้านการจัดการ (EF) ของคนที่ใช้ทั้งสองภาษา พื้นที่สมองบริเวณนั้นจะมีการทำงานที่สลับไปมาเพื่อประมวลคำแปลของทั้ง 2 ภาษานั่นเองค่ะ เมื่อใช้ภาษาที่ 1 และ 2 อย่างต่อเนื่องเป็นกิจวัตร ก็จะทำให้มีการฝึกฝนทักษะเป็นประจำ ทำให้มีทักษะ EF ดีขึ้นยังไงละคะ
การตอบสนองของสมองในเด็กสองภาษานั้น มีความการตอบสนองที่เท่ากันในภาษาที่เหมือนกับเด็กภาษาเดียว นั่นหมายความว่า เด็กที่พูดภาษาอังกฤษและสเปน ใช้งานภาษาอังกฤษได้ดีเท่ากับเด็กที่พูดภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียว และสมองของเด็กสองภาษาตอบสนองกับภาษาสเปนในขณะที่สมองของเด็กภาษาเดียวตอบสนองน้อยกว่าหรือไม่ตอบสนองเลย
ซึ่งการสอนภาษาต่างๆ ให้ลูกนั้น ยิ่งเด็กเท่าไหร่ ยิ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมยังไงละคะ รู้อย่างนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่ก็รีบปรึกษากันได้เลยว่า ใครจะพูดภาษาไหนกับลูก หรือถ้าเป็นครอบครัวที่มีพ่อหรือแม่คนเดียว ก็ลองพูดกับลูกเป็นภาษาอื่นๆ ดูนะคะ อาจจะแบ่งเป็นในบ้านกับนอกบ้านก็ได้ แต่ถ้าทั้งบ้านพูดไม่ได้จริงๆ การส่งลูกไปเรียนภาษาเพิ่มผ่านการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีค่ะ
ส่วนรายงานของผลวิจัยเต็มๆ มีเป็นวิดีโอด้วยค่ะ ถ้าคุณพ่อคุณเเม่สนใจสามารถรับชมได้นะคะ
https://www.youtube.com/watch?v=TAYhj-gekqw&feature=youtu.be
7 เทคนิค เริ่มสอนภาษาอังกฤษให้ลูกที่บ้าน
1.สร้างกิจวัตรประจำวันในการใช้ภาษาอังกฤษ
คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างกิจวัตรประจำวันในการใช้ภาษาอังกฤษ โดยอาจกำหนดเป็นช่วงเวลาสั้นๆ หลายๆครั้งต่อวัน ซึ่งจะส่งผลให้ลูกเรียนรู้ได้เร็วกว่าการเรียนรู้แบบใช้เวลานานๆ แค่สัก 15 นาทีต่อครั้ง ก็เพียงพอต่อการฝึกฝนของลูกๆ หากลูกเริ่มเรียนรู้และพัฒนาความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ก็อาจจะขยายเวลาออกไปนานกว่าเดิมได้ แต่อย่างน้อยต้องจัดให้มีกิจกรรมที่ต้องฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษในช่วงเวลาสั้นๆของทุกๆวัน
คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องวางแผนกิจกรรมให้เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดิม ๆของทุกวัน อยางเช่นสอน สองภาษา ลูกจะได้รู้จักเตรียมตัวและมั่นใจที่จะทำกิจกรรมนั้นๆในแต่ละวันนั้น ยกตัวอย่างเช่น คุณพ่อคุณแม่อาจจะทำเกมภาษาอังกฤษให้ลูกเล่นทุกวันหลังจากที่กลับจากโรงเรียน หรืออ่านหนังสือภาษาอังกฤษร่วมกันก่อนเข้านอน เป็นต้น ถ้าหากบ้านไหน มีพื้นที่เพียงพอ ก็อาจจะจัดมุมสำหรับเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างเดียวไว้ตรงนั้น เช่น หนังสือ เกม แผ่นการเรียนรู้ หรือสิ่งต่างๆที่ลูกให้ความสนใจ การได้ทบทวนซ้ำๆจะทำให้ลูกเริ่มเรียนรู้ได้เร็วมากขึ้นอีกด้วย
2.เล่นเกมที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษ
เด็กๆมักรู้สึกสนุกสนาน หากพวกเขาได้เรียนรู้จากการเล่นเกมที่โปรดปราน อย่างเช่น การใช้ แฟลชการ์ด คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้แฟลชการ์ดในการสอนคำศัพท์ให้กับลูก และสามารถสร้างเกมที่หลากหลายได้ เช่น จับคู่ ทายคำ เป็นต้น
แฟลชการ์ดพวกนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถดาวน์โหลดจากเวปไซต์ได้มากมาย
เกมอื่นๆที่สามารถนำมาเล่นและประยุกต์เข้ากับการสอนภาษาอังกฤษ เช่น เกมบันไดงู เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ เกมจับคู่ ทายคำ หรือเกมส์ออนไลน์ที่เกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษก็ได้เช่นกัน
3.ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน
ประโยชน์ของการใช้ภาษาอังกฤษที่บ้านคือ คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนลูกได้ในทุกๆสถานการณ์ และสามารถสอนจากสิ่งของง่ายๆที่อยู่ในบ้านหรือรอบตัวได้ เป็นการฝึกฝนให้คุ้นชินกับการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น ตัวอย่างเช่น
- หากคุณแม่กำลังจะซักเสื้อผ้า คุณแม่สามารถสอนคำศัพท์เกี่ยวกับ เสื้อผ้า (clothes, Dad’s T-shirt) หรือสีได้ (blue socks) เป็นต้น
- สอนคำศัพท์เกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์หรือของเล่นภายในบ้าน เช่น teddy bear, on the bed, blue car เป็นต้น
- สอนคำศัพท์เกี่ยวกับอาหารเมื่อเวลาคุณแม่ทำครัวหรือไปซุปเปอร์มาร์เก็ต ให้ลูกช่วยหยิบของโดยทำรายการหรือดูจากภาพและทบทวนคำศัพท์ไปพร้อมๆกัน
4.ฝึกด้วยการเล่าเรื่องราว
เด็กๆมักชอบหนังสือที่มีสีสันสดใสและภาพต่างๆที่น่าสนใจ คุณพ่อคุณแม่สามารถชวนลูกนั่งอ่านหนังสือและชี้ไปที่ภาพต่างๆเพื่อสอนคำศัพท์ให้กับลูก หลังจากนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจจะเริ่มตั้งคำถามว่าสิ่งเหล่านั้นอยู่ตรงไหน และให้ลูกชี้ด้วยตัวเอง ผลัดเปลี่ยนการฝึกสอนลูกเป็นการตั้งคำถามให้ลูกฝึกพูดหรือหาคำตอบเอง นอกจากนั้นคุณพ่อคุณแม่ลองหาภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงดนตรีประกอบจะทำให้การเรียนรู้น่าสนุกขึ้นไป สร้างความสนใจในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นให้กับลูก
อ่านเทคนิคอื่นๆหน้าต่อไปเลยค่ะ
5.ใช้เพลงเป็นตัวช่วย
เพลงเป็นเครื่องมือที่ใช้สอนการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆและการออกเสียงได้ดี เพลงพร้อมภาพประกอบจะช่วยเพิ่มความสนุกสนานให้ลูกได้ แม้ลูกยังฝึกออกเสียงไม่เป็นก็ตาม เพราะภาพเคลื่อนไหวต่างๆมักสัมพันธ์กับคำศัพท์เหล่านั้นอยู่แล้ว ลูกจะค่อยๆจดจำ จนสามารถออกเสียงตามได้ภายหลัง
6.ฝึกสอนไวยากรณ์
อาจจะเป็นเรื่องไม่สำคัญมากนัก ที่เด็กเล็กๆจะต้องรู้หลักไวยากรณ์อย่างแม่นยำ แต่คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกได้คุ้นชิ้นบ้างกับการสร้างประโยคตามหลักไวยากรณ์ ให้ลูกรู้จักหลักการพูดในเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ที่แตกต่างออกไป หรือหากพูดถึงลักษณะของคนให้ใช้คำว่า have got และเมื่อพูดถึงกฎระเบียบที่โรงเรียนให้ใช้ must or mustn’t เป็นต้น หากคุณพ่อคุณแม่สามารถปูพื้นฐานให้ลูกรู้จักการใช้ไวยากรณ์ได้ตั้งแต่เล็ก เมื่อโตขึ้นลูกจะมีความรู้ความเข้าใจที่ง่ายขึ้นและใช้งานได้จริงด้วยตัวเอง
7.จัดหัวข้อเป็นหมวดหมู่ในการสอน
คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องสำรวจความต้องการของลูกๆ แล้วจัดทำเป็นหมวดหมู่เพิ่มความสนใจ โดยให้ลูกๆเป็นคนเลือกเองว่าอยากจะเรียนรู้สิ่งใดก่อนหลัง ลองดูตัวอย่างหมวดหมู่ด้านล่างนี้
- ตัวเลข (1-10 , 10-20, 20-100)
- สี
- คำคุณศัพท์ เช่น เล็ก ใหญ่ สูง มีความสุข เศร้า เหนื่อย เป็นต้น
- ร่างกาย
- ของเล่น
- เสื้อผ้า
- สัตว์ต่างๆ
เมื่อถึงเวลาที่ต้องเรียนรู้ ฝึกฝนหรือใช้ภาษาอังกฤษในบ้าน คุณพ่อคุณแม่อาจจะเริ่มต้นด้วยประโยคเดิมๆทุกวัน เพื่อให้ลูกคุ้นเคย เช่น It’s English time! Let’s sit down เป็นต้น จากนั้นเริ่มให้ลูกเลือกหัวข้อหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องที่ลูกๆอยากเรียนรู้ได้เลย เทคนิคง่ายๆเหล่านี้ก็จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สอนภาษาอังกฤษให้ลูกๆที่บ้านได้แล้ว
ที่มา sciencedaily
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สอนลูกให้เป็นเด็กสองภาษา ควรเริ่มเมื่อไหร่?
7 ความคิดผิดๆ ในการสอนลูก 2 ภาษา
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!