X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เคล็ดลับการให้ลูกดื่มน้ำผลไม้ ที่ไม่ควรให้เด็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบดื่ม!

บทความ 5 นาที
เคล็ดลับการให้ลูกดื่มน้ำผลไม้ ที่ไม่ควรให้เด็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบดื่ม!

เคล็ดลับการให้ลูกดื่มน้ำผลไม้ หรือ น้ำผลไม้กล่อง ที่อาจกลายมาเป็นเครื่องดื่มสุดโปรดของเด็ก ๆ นั้นอาจเป็นเรื่องที่คุณแม่มือใหม่อดข้องใจไม่ได้ค่ะ เพราะถึงแม้จะเลือกน้ำผลไม้กล่อง ที่ระบุว่าเป็นน้ำผลไม้แท้ 100% ทำจากธรรมชาติ ไม่เติมน้ำตาล แต่เครื่องดื่มเหล่านี้เหมาะจะให้ดื่มจริง ๆ หรือไม่

 

อย่างที่ทราบกันดีค่ะ ว่าอาหารหลักของเด็ก ๆ ในวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน คือน้ำนมของคุณแม่ โดยที่ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำค่ะ รวมทั้งการป้อนอาหารอื่นให้เด็กในวัยนี้ เป็นเรื่องที่อันตรายและถึงตายได้นะคะ แต่อย่างไรก็ตามน้ำนมของคุณแม่ ไม่มีวันที่จะหมดคุณค่าหรือไม่มีประโยชน์ แม้ว่าจะหลังลูกอายุ 1 ปีไปแล้วก็ตาม เพียงแต่ลูกต้องการโภชนาการและสารอาหารที่เพิ่มเติมขึ้นค่ะ

 

เคล็ดลับการให้ลูกดื่มน้ำผลไม้

 

เคล็ดลับการให้ลูกดื่มน้ำผลไม้

คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ นิยมให้เบบี๋ดื่มน้ำผลไม้เมื่อเริ่มอาหารเสริม เพราะเชื่อว่าน้ำผลไม้สด โดยเฉพาะน้ำส้มเป็นแหล่งรวมวิตามินซีและสารอาหารอื่นมากมาย จนล่าสุดในปี 2560 ที่ผ่านมา มีงานวิจัยในต่างประเทศได้ค้นพบว่า พ่อแม่ไม่ควรให้ลูกดื่มน้ำผลไม้กระป๋อง น้ำผลไม้กล่อง ถึงแม้จะระบุผลิตจากน้ำผลไม้แท้ 100% ก็ตาม

 

Advertisement

สิ่งที่นักโภชนาการกังวลเกี่ยวกับการดื่มน้ำผลไม้กล่องเหล่านี้ (แม้ว่าจะเป็นน้ำผลไม้ 100%) ก็คือ ฟันผุ และโรคอ้วนในวัยเด็ก รวมทั้งการติดรสหวานที่จะมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเด็ก ๆ โตขึ้น สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (the American Academy of Pediatrics) แนะนำว่า เด็กต่ำกว่า 1 ขวบยังไม่ควรดื่มน้ำผลไม้เหล่านี้ โดยอ้างอิงข้อมูลจากการแถลงของสมาคมหมอเด็กสหรัฐ เนื่องจาก

  • น้ำผลไม้ไม่ให้คุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อทารกวัยน้อยกว่า 1 ปี ไม่ได้ให้คุณค่าที่เหนือกว่าผลไม้แก่เด็ก และไม่จำเป็นต่อมื้ออาหารที่เหมาะสมและมีคุณค่าของเด็ก
  • น้ำผลไม้แบบ 100% อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของมื้ออาหารของเด็กอายุเกิน 1 ปีได้ แต่ทั้งนี้เครื่องดื่มรสผลไม้บางชนิดอาจจะไม่เทียบเท่าน้ำผลไม้
  • ไม่ให้ดื่มน้ำผลไม้มารักษาอาการท้องเสีย
  • การดื่มน้ำผลไม้มากไป สัมพันธ์กับภาวะทุพโภชนาการ ทั้งแบบเกินและขาด และสัมพันธ์กับ ท้องเสีย ท้องอืด ลมขึ้น ฟันผุ
  • น้ำผลไม้แบบไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ อาจมีเชื้อที่ก่อโรคติดไปที่เด็กได้จึงควรหลีกเลี่ยง
  • สามารถให้เด็ก ๆ ดื่มน้ำผลไม้หลากหลายในปริมาณเหมาะสมตามวัย
  • น้ำผลไม้แบบผสมแคลเซียม ให้แคลเซียม แต่ขาดสารอาหารที่พบใน นมแม่ นมผง และนมวัว

บทความที่เกี่ยวข้อง : ข้าวบดอาหารเสริม แม่ควรเตรียมให้ลูกเมื่อไร? และมีวิธีทำอาหารด้วยตัวเองอย่างไร?

 

คำแนะนำการให้ลูกดื่มน้ำผลไม้

1. ทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน

ไม่ควรดื่มน้ำผลไม้ รวมทั้งอาหารและเครื่องดื่มอื่น ๆ นอกจากนมแม่ หรือนมสำหรับทารกโดยเด็ดขาด อาหารอื่น ๆ อาจก่อให้เกิดอันตรายกับเด็กวัยนี้ได้

 

2. เด็กอายุ 6-12 เดือน

ยังไม่ควรดื่มน้ำผลไม้ ยังมีอาหารหรือเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าน้ำผลไม้กล่อง เช่น ผลไม้สดบด หากมีความจำเป็นต้องให้น้ำผลไม้ตามคำแนะนำของแพทย์ ควรให้เด็กดื่มจากแก้ว ซึ่งจะช่วยจำกัดปริมาณได้ง่ายกว่าการดื่มจากขวด และควรดื่มน้ำหรือทำความสะอาดช่องปากทุกครั้ง

 

3. เด็กอายุ 1-3 ปี

ไม่ควรดื่มน้ำผลไม้เกินวันละ 120 มล. ควรดื่มจากแก้ว ร่วมกับมื้ออาหาร หรืออาหารว่างอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ พยายามเลือกกินผลไม้เป็นชิ้นมากกว่าน้ำผลไม้

 

4. เด็กอายุ 4-6 ปี

ไม่ควรดื่มน้ำผลไม้เกินวันละ 120 -180 มล. ควรดื่มจากแก้ว ร่วมกับมื้ออาหารที่มีประโยชน์ ควรเลือกเครื่องดื่มประเภทนม หรือน้ำเปล่าแทนน้ำผลไม้

 

5. เด็กและวัยรุ่น 7-18

ไม่ควรดื่มน้ำผลไม้เกินวันละ 240 มล.

 

เคล็ดลับการให้ลูกดื่มน้ำผลไม้

 

คำแนะนำของสมาคมกุมารแพทย์สหรัฐ

  1. ไม่ควรให้เด็กต่ำกว่า 12 เดือนดื่มน้ำผลไม้ (ยกเว้นมีข้อบ่งชี้) โดย
    1-3 ปี ไม่ควรดื่มเกิน 120 มิลลิลิตร ต่อวัน
    4-6 ปี ไม่ควรดื่มเกิน 180 มิลลิลิตร ต่อวัน
    7-18 ปี ไม่ควรดื่มเกิน 240 มิลลิลิตร ต่อวัน
  2. ไม่ควรให้เด็กเล็กดื่มน้ำผลไม้จากในขวดหรือกระติกถ้วยที่หิ้วไปดื่มที่ไหนก็ได้ และไม่ควรดื่มก่อนนอน
  3. ควรสอนเด็กกินผลไม้เป็นผล ๆ เพราะได้ไฟเบอร์ และได้พลังงานเข้าไปทีละน้อยกว่าแบบน้ำ
  4. ครอบครัวและคนดูแล ควรรู้ว่า นมแม่และหรือนมผงสำหรับเด็กทารก / นมปราศจากไขมันหรือนมไขมันต่ำและน้ำ ก็ให้น้ำที่เพียงพอแล้ว
  5. เด็กทารก เด็กเล็ก วัยรุ่น ไม่ควรดื่มน้ำผลไม้ที่ไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์
  6. ควรระวังการดื่ม grapefruit ในเด็กที่กินยาบางชนิด
  7. ในการประเมินภาวะทุพโภชนาการ ปวดท้องท้องเสียท้องอืดและฟันผุ แพทย์ควรประเมินและคุยเรื่องน้ำผลไม้ และควรคุยเรื่องความแตกต่างของน้ำผลไม้และเครื่องดื่มรสผลไม้
  8. แพทย์ควรทุ่มเทสรรพกำลังในการลดการบริโภคน้ำผลไม้ในเด็ก และให้เลิกน้ำผลไม้ในเด็กที่น้ำหนักเกินสรุป ต่ำกว่า 1 ขวบ อย่าคั้นน้ำส้มให้ดื่ม เพราะทำให้เด็กสุขภาพเสื่อม

 

เคล็ดลับการให้ลูกดื่มน้ำผลไม้

 

สาเหตุที่ไม่ควรให้ลูกดื่มน้ำผลไม้

1. มีระดับน้ำตาลสูง

น้ำผลไม้กล่อง บางยี่ห้อเพิ่มสารให้ความหวานอาจไม่ระบุว่าเป็นน้ำตาลตรง ๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องพิจารณาให้ดีก่อนว่ามีสัดส่วนน้ำตาลมากน้อยเพียงใด เพราะน้ำตาลไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น ทำให้เด็กเป็นโรคอ้วน ฟันผุ เบาหวาน

 

2. ลูกไม่กินข้าว เบื่ออาหาร

ด้วยขนาดของกระเพาะอาหารเด็กที่เล็กแค่นิดเดียว การที่ลูกดื่มน้ำผลไม้มากเกินไปจะทำให้ลูกอิ่ม ไม่อยากอาหาร รับประทานน้อยลง หรือไม่รับประทานอาหารมื้อหลักเลย  ทำให้ลูกรักขาดสารอาหารจำเป็นต่อการพัฒนาสมอง และระบบประสาทสำคัญรวมถึงอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย  เช่น โปรตีน เส้นใยอาหาร

 

บทความจากพันธมิตร
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

3. ปนเปื้อนสารเคมี ยาฆ่าแมลง

ผลไม้สดที่ซื้อเองตามท้องตลาด หรือแม้แต่คุณแม่นำมาคั้นเอง หากล้างไม่ถูกวิธี ไม่สามารถชำระล้างสารพิษ โดยเฉพาะยาฆ่าแมลงที่ปัจจุบันมีเยอะมาก เคลือบอยู่ที่เปลือกผลไม้ และอาจมีเชื้อโรคเช่น อีโคไล ซัลโมเนลล่า ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในลำไส้ ดังนั้นคุณแม่ต้องล้างเปลือกให้สะอาดจริง ๆ ปอกเปลือก และล้างมือให้สะอาดก่อนเตรียมน้ำผลไม้ทุกครั้ง

 

เคล็ดลับการให้ลูกดื่มน้ำผลไม้

 

การฝึกให้ลูกกล้าชิมอาหารชนิดใหม่ ๆ เป็นอีกหนึ่งเทคนิคในการปลูกฝังนิสัยการกินที่ดี เพราะการได้กินอาหารชนิดใหม่ เท่ากับว่าลูกสามารถกินอาหารได้หลากหลาย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของโภชนาการที่ดีนั่นเอง แต่ถ้าหากคุณแม่ไม่มั่นใจว่า ตัวเองสามารถคั้นน้ำผลไม้ที่สะอาดปลอดภัยต่อลูกรักได้จริง ๆ ก็ควรงดน้ำผลไม้ไว้ก่อนนะคะ และในเด็กที่มีฟันแล้วคุณพ่อคุณแม่ต้องกระตุ้นให้ลูกแปรงฟันเพื่อป้องกันลูกฟันผุค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

“น้ำองุ่น” น้ำผลไม้ที่ลูกคู่ควร

5 เหตุผล ว่าทำไมลูกไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำผลไม้

วิจัยเผย คนท้องดื่มน้ำผลไม้ ช่วยเสริมพัฒนาการลูกน้อยในครรภ์

ที่มา : Facebook: ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว , pediatrics

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เคล็ดลับการให้ลูกดื่มน้ำผลไม้ ที่ไม่ควรให้เด็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบดื่ม!
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว