TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

5 เหตุผล ว่าทำไมลูกไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำผลไม้

บทความ 3 นาที
5 เหตุผล ว่าทำไมลูกไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำผลไม้

5 เหตุผล ว่าทำไมลูกไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นทำให้ฟันผุ ทำให้ลูกกลายเป็นเด็กเลือกกิน เเละยังมีข้อเสียอื่นๆ อีกตั้งเยอะ เลิกให้ลูกดื่มได้เเล้วค่ะ

5 เหตุผล ว่าทำไมลูกไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำผลไม้

5 เหตุผล ว่าทำไมลูกไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำผลไม้ น้ำผลไม้จำเป็นจริงๆ เหรอ เเล้วการให้เด็กๆ ดื่มน้ำผลไม้อันตรายหรือไม่ มีเรื่องอะไรที่ต้องระวังบ้าง

อาหารหลักของเด็กๆ ในวัยเเรกเกิดถึง 6 เดือน คือน้ำนมของคุณเเม่ โดยที่ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำค่ะ รวมทั้งการป้อนอาหารอื่นๆ ให้เด็กในวัยนี้เป็นเรื่องที่อันตรายเเละถึงตายได้นะคะ เเต่อย่างไรก็ตามน้ำนมของคุณเเม่ไม่มีวันที่จะหมดคุณค่าหรือไม่มีประโยชน์ เเม้ว่าจะหลังลูกอายุ 1 ปีไปเเล้วก็ตาม เพียงเเต่ลูกต้องการโภชนาการเเละสารอาหารที่เพิ่มเติมขึ้นค่ะ

อ่านเพิ่มเติม รับมือ “ปู่ย่าตายาย” เรื่องป้อนอาหารลูกยังไง ให้ได้ผล

ถึงอย่างนั้นก็ตามหลังจากที่ลูกอายุ 6 เดือนไปเเล้ว การมั่นใจว่าลูกจะได้กิน ลิ้มรส เเละลองอาหารเสริม คือเรื่องที่จำเป็นต่อพัฒนาการของลูกอยู่ เเม้ว่าเด็กๆ ในวัยนี้อาหารเสริมจะเป็นเพียงการเตรียมความพร้อมลูก ต่อการกินอาหารหลัก 3 มื้อในอนาคตนั้น เเต่สิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณเเม่ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดกัน ก็คือการให้ลูกวัยต่ำกว่า 1 ปี ควรหลีกเลี่ยงดื่มน้ำหวาน น้ำผลไม้กล่อง เเละน้ำที่ปรุงเเต่งอื่นๆ ค่ะ

เพราะเด็กในวัยนี้ การดื่มน้ำผลไม้ยังไม่ใช่เรื่องจำเป็นมากนัก เเละมีผลเสียมากกว่านะคะ

1.น้ำผลไม้ทำให้น้ำหนักขึ้น 

คุณเเม่ที่มีลูกน้ำหนักตกเกณฑ์คงจะชอบนะคะ เมื่อรู้ว่าน้ำผักเเละน้ำผลไม้คั้นสด จะมีน้ำตาลตามธรรมชาติ เเละเมื่ออยู่ในรูปของน้ำที่ผ่านการคั้นมาเเล้ว น้ำตาลในน้ำผักเเละผลไม้จะเข้นข้นเเละย่อยง่ายมากขึ้น ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ทันที ในเด็กที่น้ำหนักน้อยอาจจะสามารถดื่มได้นิดหน่อยค่ะ (เเต่ควรระวังเรื่องการติดรสหวานด้วย) ส่วนในเด็กที่น้ำหนักตามเกณฑ์เเละเกินเกณฑ์นั้น ไม่จำเป็นต้องดื่มค่ะ

2. น้ำผลไม้ทำให้ฟันผุ

น้ำผลไม้ส่วนใหญ่จะมีความเป็นกรด หากดื่มบ่อยอาจจะทำให้ฟันผุได้ ซึ่งปัญหาฟันผุสามารถเริ่มต้นขึ้นได้ก่อนที่ฟันจะขึ้นเสียอีกนะคะ น้ำเปล่าจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเด็กๆ ค่ะ ยิ่งถ้าหากคุณพ่อคุณเเม่สร้างนิสัยก่อนกินก่อนนอนโดยที่ไม่ทำความสะอาดช่องปากให้เด็กๆ ความเสี่ยงที่ฟันผุ (เเม้จะเป็นฟันน้ำนม) ก็จะสูงขึ้นอย่างมากนะคะ นอกจากนี้หากต้องการให้ลูกกินอาหารก่อนนอนจริงๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ขวดนม ให้ใช้เเก้วเเทน หลังจากนั้นก็ต้องทำความสะอาดช่องปากทันทีที่ฟันซี่เเรกเริ่มโผล่ขึ้นมา ก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ฟันซี่น้อยๆ ของลูกผุได้ค่ะ

ฟันซี่แรกของลูกขึ้นช้า

3.น้ำผลไม้ทำให้ลูกกลายเป็นเด็กเลือกกิน 

ปฏิเสธไม่ได้ค่ะว่า การกินอาหารเเละน้ำที่มีรสหวานนั้นทำให้ร่างกายสดชื่น น้ำผลไม้ก็ส่งผลเช่นเดียวกันกับเด็กๆ ยิ่งหากเป็นน้ำผลไม้ที่ปรุงเเต่งรสชาติให้เหลือเเต่รสหวานด้วยเเล้วยิ่งไปกันใหญ่ค่ะ ส่วนน้ำผักที่คั้นเองส่วนใหญ่อาจจะมีกลิ่น (หอมหรือเหม็น) เขียว ทำให้ติดรสเเละกลิ่นเเบบนี้ได้ยาก เเต่น้ำผลไม้นั้นตรงกันข้ามเเม้จะเป็นน้ำผลไม้ที่คั้นสดเองส่วนใหญ่มักจะมีรสหวาน เปรี้ยว เเละมีกลิ่นหอม เด็กๆ จึงติดรสเเละกลื่นเเบบนี้ได้ไม่ยาก เเละส่งผลทำให้กลายเป็นเด็กที่เลือกกินไปในที่สุดค่ะ

4.น้ำผลไม้อาจทำให้ท้องเสียหรือท้องร่วงได้

ร่างกายของเด็กบางคนมีปัญหาในการย่อยน้ำตาลที่อยู่ในผักเเละผลไม้ ความเข้นข้นของน้ำตาลที่มีอยู่สูงในน้ำผักเเละผลไม้ อาจจะทำให้ลูกท้องเสียหรือท้องร่วงได้ เเละส่งผลต่อการเจริญเติบโต รวมไปถึงพัฒนาการต่างๆ ของลูกอีกด้วยค่ะ

5.น้ำผลไม้มีโภชนาการต่ำ

หากคุณพ่อคุณเเม่คิดว่าน้ำผักเเละผลไม้จะสามารถดื่มเเทนการกินผักเเละผลไม้ได้ คือเรื่องที่เข้าใจผิดเป็นอย่างมากค่ะ ในน้ำผลไม้สารอาหารส่วนใหญ่คือวิตามิน ซึ่งหากไม่ดื่มทันทีก็จะมีปริมาณที่ลดลง เเต่นอกจากนี้เหตุผลสำคัญที่ทำให้น้ำผักผลไม้เทียบไม่ได้กับการกินผักหรือผลไม้เลย คือกากใยที่มีอยู่ในผักเเละผลไม้ ซึ่งสำคัญต่อการย่อยอาหารเเละสุขภาพหัวใจ

เคล็ดลับดีๆ ให้ลูกเลิกดื่มน้ำผลไม้

  • เป็นตัวอย่างให้ลูกเห็น โดยคุณพ่อคุณเเม่ต้องดื่มเเต่น้ำเปล่า ไม่ดื่มน้ำหวาน หรือน้ำปรุงเเต่งอื่นๆ
  • ลดความถี่เเละปริมาณลง หากเดิมลูกดื่มน้ำผลไม้ทุกวัน วันละ 3 มื้อ ก็สามารถลดปริมาณลงให้เหลือครึ่งเเก้ว จากนั้นอาจจะลดเหลือวันละ 2 มื้อ เเละ 1 มื้อ เคล็ดลับคือให้ลูกรู้สึกถึงความเปลี่ยนเเปลงน้อยที่สุดเเละเป็นธรรมชาติค่ะ
  • สุดท้ายคือคุณพ่อคุณเเม่ต้องอดทนต่อการงอแงของลูกนะคะ

ที่มา BellyBelly

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

5 วิธีง่ายๆ ที่ทำให้ลูกฉลาด เเต่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่เคยรู้

ทำไมลูกยังไม่คลาน? เช็คพัฒนาการลูกแบบไหนที่เรียกว่า ช้า

parenttown

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • 5 เหตุผล ว่าทำไมลูกไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำผลไม้
แชร์ :
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

powered by
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว