X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

หยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือ เลี้ยงลูกด้วยมือถือ เลี้ยงลูกด้วยไอแพด อันตราย ทารกดูมือถือ สมาธิสั้น

บทความ 3 นาที
หยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือ เลี้ยงลูกด้วยมือถือ เลี้ยงลูกด้วยไอแพด อันตราย ทารกดูมือถือ สมาธิสั้น

หยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือนะพ่อแม่ อุทาหรณ์ที่ลูกสาวเล่นมือถือตั้งแต่ 2 ขวบ ไม่คาดคิดต้องเป็นแบบนี้

หยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือ

หยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือ ก่อนจะสายเกินไป คุณพ่อโพสต์เล่าประสบการณ์เลี้ยงลูกด้วยมือถือ อันตรายกับลูกขนาดนี้ อุทาหรณ์พ่อแม่ผู้ปกครอง เลี้ยงลูกด้วยมือถือ เลี้ยงลูกด้วยไอแพด ต้องหยุด!

 

หยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือเดี๋ยวนี้!

พ่อโพสต์อุทาหรณ์เลี้ยงลูกน้อยด้วยมือถือ ตั้งแต่ 2 ขวบ ทำร้ายลูกตั้งแต่เล็ก ใครทำอยู่ หยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือเดี๋ยวนี้!

สมาชิกเฟซบุ๊ก ได้โพสต์เตือนภัยเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยมือถือว่า ให้ลูกสาวดูมือถือกับแท็บเล็ตตอนสองขวบ ดูแลไม่ทันบางทีก็ให้ดูจอไปพลาง ๆ จะได้ไม่กวนไม่งอแงมาก แต่อย่าดีใจไป เด็กอารมณ์ดีตอนได้ดู แต่พอไม่ได้ดูจะอารมณ์เสีย ต้องดูให้ได้ เหมือนเด็กติดเกมเลย ผลกระทบที่ได้มา เราเองคนเป็นพ่อเป็นที่ต้องมาเสียใจ มานั่งสงสารลูก ทำไมเราไม่ดูแลเขาดี ๆ พอตาเริ่มมีปัญหาก็ให้ใส่แว่นประคองอาการหวังว่าจะดีขึ้น สุดท้ายต้องมาผ่าตัดตั้งแต่อายุ 4 ขวบ

และหวังว่าหลาย ๆ คนคงจะให้ลูกดูจอเป็นเวลา พอประมาณ ผลที่ได้รับมามันร้ายแรงกว่าที่คิดมาก ทั้งสมาธิสั้น รอไม่ค่อยเป็น หลังจากไม่ได้ดู อารมณ์ดีขึ้นเยอะเลย คนละคนเลย หวังว่าคงไม่ต้องมีการผ่าตัดรอบที่สองนะลูกนะ หายไว ๆ นะจ๊ะคนดี

ที่มา : https://www.thairath.co.th

 

อันตรายเลี้ยงลูกด้วยมือถือ หยุดเลย!

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ อธิบายถึงอันตรายจากการให้ลูกเล่นมือถือและแท็บเล็ตมากเกินไป ว่า ในยุคปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากมายซึ่งเป็นประโยชน์กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในแง่ของการสื่อสารเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว แต่สิ่งนี้ก็เป็นเหมือนดาบสองคมเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็กได้อย่างมาก โดยเฉพาะหากผู้ใหญ่ปล่อยให้เด็กใช้เทคโนโลยีสื่อสารอันได้แก่โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่ได้ควบคุม เพราะอาจจะมีผลเสียที่ร้ายแรงต่อเด็กทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ ข้อมูลล่าสุดจากชมรมจิตเวชเด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย พบว่า เด็กและวัยรุ่นไทย 15 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ มีปัญหาติดอินเตอร์เน็ต ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และเปิดดูเว็บไซต์อนาจารต่าง ๆ

วันนี้เรามาคุยกันนะคะว่าอันตรายจากการให้เด็กใช้เทคโนโลยีสื่อสารนี้ นานเกินไป จะมีผลเสียอย่างไรบ้าง และเราจะสามารถป้องกันได้อย่างไร

 

ลูกเล่นแท็บเล็ต มือถือ นานเกินไป เสี่ยงอันตรายต่อดวงตา อย่างที่แม่คิดไม่ถึง

หยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือนะ เลี้ยงลูกด้วยมือถือ เลี้ยงลูกด้วยไอแพด อันตราย 

ผลกระทบของการเล่นโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตนานๆต่อเด็กมีอะไรบ้าง?

หากคุณพ่อคุณแม่อนุญาตให้ลูกเล่นอุปกรณ์นี้นานจนเกินไป จะมีผลต่อเด็กทั้งในด้านสุขภาพร่างกาย อารมณ์และสังคมดังนี้

ด้านสุขภาพร่างกาย : เด็กจะมีสุขภาพไม่แข็งแรงเพราะใช้เวลานั่งหน้าจอนาน จนไม่ได้ไปออกกำลังกายตามวัย เกิดปัญหาอดนอน ไม่ยอมทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะติดการเล่นหน้าจอ นอกจากนี้การนั่งจ้องหน้าจออุปกรณ์สื่อสารนาน ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสายตาสั้นและปวดล้าตาได้ อีกทั้งมีการศึกษาที่พบว่าสัตว์ทดลองที่ได้สัมผัสกับคลื่นโทรศัพท์เป็นเวลานานจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในสมอง ถึงแม้ว่าข้อมูลการศึกษาในมนุษย์ยังไม่ชัดเจนนักแต่ก็เป็นสิ่งที่เราควรระวังไว้ค่ะ

ด้านสุขภาพจิต : เด็กจะมีสุขภาพจิตแย่ลงและมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เก็บตัว ซึมเศร้าได้ง่าย และอาจแสดงอาการต่อต้าน ก้าวร้าว หงุดหงิดง่ายหากผู้ปกครองไม่ยอมให้ใช้อุปกรณ์สื่อสาร และอาจกลายเป็นเด็กที่รอไม่เป็น ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายต่อทักษะของ EF (executive function) ในด้านการยับยั้งชั่งใจ คิดไตร่ตรอง และควบคุมอารมณ์ อันเป็นรากฐานความสำเร็จของเด็กในอนาคต อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสมาธิสั้นและออทิสติกเทียมในเด็กอีกด้วยนะคะ

นอกจากนี้ หากเด็ก ๆ ใช้โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตนานเกินไปจะทำให้เสียเวลาและโอกาสในการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่สำคัญด้านอื่น ๆ เช่น การเล่นอิสระหรือเล่นกับคุณพ่อคุณแม่ การคิดวิเคราะห์ การอ่าน การเขียน รวมทั้งทักษะทางสังคมและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในสำหรับเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต

 

ผู้ปกครองสามารถอนุญาตให้เด็กใช้โทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตอย่างมีขอบเขตเมื่ออายุเท่าไร?

ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทยแนะนำให้ผู้ปกครองจำกัดอายุการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเหล่านี้ โดย ไม่แนะนำให้เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปีใช้อุปกรณ์เหล่านี้ทุกชนิด ไม่แนะนำให้เด็กอายุน้อยกว่า 6 ปีใช้อินเตอร์เน็ตตามลำพัง เด็กอายุ 6-12 ปีควรใช้อินเตอร์เน็ตภายใต้การดูแลของผู้ปกครอง และเด็กที่อายุน้อยกว่า 13 ปีไม่ควรใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยเด็ดขาด

ทั้งนี้ ไม่ควรให้เด็กใช้เวลากับอุปกรณ์เหล่านี้เกิน 1 ชั่วโมงต่อวันในวันธรรมดา และ 2 ชั่วโมงต่อวันในวันหยุดค่ะ

 

รู้กันไปแล้วถึงอันตรายต่าง ๆ พ่อแม่ต้องหยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือหรือแท็บเล็ตกันนะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เด็กก็เป็นได้! แค่ ป.6 ป่วยออฟฟิศซินโดรม แม่เผยลูกติดมือถือหนัก!

วิธีนวดท้องแก้ท้องผูก สำหรับทารก วิธีให้ลูกถ่ายคล่อง ท้องไม่อืด (มีคลิป)

โรคพฤติกรรมผิดปกติในเด็ก 3 โรคพฤติกรรมเด็ก วิธีสังเกตลูกเป็นโรคพฤติกรรมผิดปกติหรือไม่

แก้ขาโก่ง ทารกขาโก่ง กลัวลูกขาโก่ง ถ้าไม่ดัดขาลูก ลูกจะขาโก่งไหม วิธีแก้ขาโก่งมีหรือไม่

 

บทความจากพันธมิตร
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
โรคภูมิแพ้ในเด็ก ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A. (Hypoallergenic)
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก
พ่อแม่ต้องรู้! วิธีป้องกัน RSV ในเด็ก ช่วยลูกไม่ป่วยหนัก

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • หยุดเลี้ยงลูกด้วยมือถือ เลี้ยงลูกด้วยมือถือ เลี้ยงลูกด้วยไอแพด อันตราย ทารกดูมือถือ สมาธิสั้น
แชร์ :
  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

  • เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

    เตือนแม่! อย่ากินอาหารที่ใช้ปากกาเมจิกเขียนบนถุง เสี่ยงมะเร็ง

  • ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

    ริดสีดวงหลังคลอด สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือสำหรับคุณแม่

  • หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

    หมอห่วง เด็ก 0-4 ขวบป่วยโควิดเยอะ ป่วยช่วงนี้ เสี่ยงโควิดสูงกว่าไข้หวัดใหญ่

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว