X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีพูดกับลูก วัยอนุบาล พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟังไม่ต่อต้าน

บทความ 5 นาที
วิธีพูดกับลูก วัยอนุบาล พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟังไม่ต่อต้าน

วิธีพูดกับลูก พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟัง ไม่เอาหูทวนลม เด็กบางคนที่พ่อแม่เรียกแล้วไม่ยอมทำตาม นั่งเฉย ๆ ส่วนหนึ่งมาจากสิ่งที่ตัวเองสนใจอยู่ตรงหน้า หรือกำลังมีสมาธิกับสิ่งอื่น ๆ อยู่ แต่กับเด็กอีกกลุ่มหนึ่งคือ ไม่อยากคุยหรือไม่อยากทำในสิ่งที่พ่อแม่ต้องการ พวกเขาก็เลือกที่จะนิ่งเฉยแทน แล้วมีวิธีพูดกับลูกอย่างไรบ้าง เพื่อให้ลูกเป็นเด็กว่านอนสอนง่ายล่ะ มาดูกันเลยค่ะ

 

วิธีพูดกับลูก พูดอย่างไร ให้ลูกเชื่อฟังไม่ต่อต้าน

1. เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็น

เด็กมักจะยึดตาม หรือเลือนแบบพฤติกรรมตามสิ่งที่เห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ที่เป็นคนใกล้ชิดเด็กมากที่สุด ถ้าพ่อแม่เป็นแบบอย่างไม่ดี หรือทำในสิ่งที่ห้ามลูกทำ ลูกจะเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมพ่อแม่ทำได้ แล้วตัวเองถึงทำไม่ได้ล่ะ หลายคนคงไม่รู้จะตอบกับลูกยังไงดี พอตอบไม่ได้ก็ว่าลูกเถียงอีก คราวนี้เด็กก็จะเริ่มไม่เชื่อฟังพ่อแม่แล้ว ทางที่ดีสิ่งไหนที่ตัวเองไม่อยากให้ลูกทำ ก็ต้องไม่ทำให้ลูกเห็นหรือไม่ทำเลยจะดีกว่าค่ะ

 

2. วิธีพูดกับลูก พูดด้วยความรัก ความอบอุ่น

เวลาที่พ่อแม่โมโหเมื่อลูกทำผิด หรือเรียกแล้วลูกไม่สนใจ พ่อแม่มักจะตะคอกแล้วต่อด้วยการด่าทอเสียงดัง ไม่ฟังที่ลูกพูด ทำให้เด็กไม่อยากจะบอก เพราะพูดไปพ่อแม่ก็ดุอยู่ดี สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่จะทำได้ต้องเริ่มจากการเรียกชื่อให้เขาสนใจก่อน จากนั้นก็พูดด้วยคำง่าย ๆ ถามให้แน่ใจว่าลูกทำอะไร ให้เขาได้ทบทวนสิ่งที่ตัวเองทำลงไปด้วย อย่าเพิ่งด่าลูกเอาเป็นเอาตาย ให้ลูกได้สำนึกผิดจะดีกว่า การพูดแรง ๆ ถึงแม้จะทำให้ลูกสงบลงได้ แต่อาจเป็นแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ในอนาคตลูกก็จะทำอีกเหมือนเดิม

 

3. วิธีพูดกับลูก พูดด้วยเหตุผล มากกว่าการบังคับ

เด็กทุกคนจะมีเรื่องที่ตัวเองสนใจ และเรื่องที่ตัวเองไม่ชอบอยู่แล้ว และบ่อยครั้งที่พ่อแม่มักจะบังคับให้ลูกทำในสิ่งที่ไม่ชอบเป็นเวลานาน ๆ แน่นอนว่าลูกจะเกิดการต่อต้านต่อสิ่งที่ให้ทำโดยทันที ดังนั้น พ่อแม่ต้องให้ข้อเสนอให้ลูกที่เป็นข้อตกลงร่วมกัน เช่น ถ้าลูกช่วยแม่เก็บเสื้อผ้า แม่จะเล่านิทานให้ฟัง หรือว่าเดี๋ยวแม่จะให้ทานไอศกรีม ถ้าลูกช่วยแม่ถือของ เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : สอนลูกใช้บันไดเลื่อน ทำอย่างไร? วิธีป้องกันอุบัติเหตุใกล้ตัวลูกรัก

 

Advertisement

วิธีพูดกับลูก

 

4. ฝึกให้ลูกได้คิดเองบ้าง

พ่อแม่ลองเปลี่ยนคำพูดที่ใช้กับลูกจาก ของเล่นกระจายรกไปหมด ไปเก็บของเล่นสิลูก มาใช้คำพูดว่า ไหนลูกลองคิดสิว่า จะเอาตุ๊กตาตัวนี้ไปเก็บไว้ไหน รถของเล่นนี้ล่ะเอาไปไว้ไหนดี ให้ลูกลองใช้ความคิดในการแก้ปัญหาด้วยตนเองบ้าง อย่าคอยชี้ให้เขาทำตามเพียงอย่างเดียว ลองฝึกให้เด็ก ๆ ได้ลองทำด้วยตัวเองดูค่ะ

 

5. หากิจกรรมทำร่วมกัน

การเล่นกีฬา หรือเล่นเกมด้วยกันก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถสอนลูกในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรมไปในตัวด้วย อีกทั้งยังทำให้ลูกได้ฝึกการควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่เอาแต่ใจ ต้องบอกให้ลูกรู้ว่า ทุกคนต้องอยู่ร่วมกันในสังคมใหญ่ จะเอาความคิดเห็นตนอย่างเดียวไม่ได้ ต้องฟังคนอื่นด้วย เป็นต้น การที่ได้ทำกิจกรรมด้วยกัน จะทำให้ลูกเข้าใจและรู้ตัวว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ตัวเองต้องทำอย่างไร แต่ทั้งนี้ พ่อแม่ต้องสอนด้วยเหตุและผล ไม่ใช้ด้วยอารมณ์เช่นเดียวกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง : สอนลูกให้เชื่อฟัง ต้องทำยังไง อยากให้ลูกคิดเป็น มีเหตุผล ไม่ต่อต้านพ่อแม่

 

วิธีการพูดกับลูก

 

6. เปลี่ยนมาเป็นผู้ฟังที่ดีบ้าง

อย่าคิดว่าตัวเองเป็นพ่อเป็นแม่คนแล้วจะถูกเสมอไป บางทีเด็กก็มีความคิดของเขา สิ่งที่พ่อแม่ทำได้ต้องถามให้รู้ให้ได้ว่า ลูกของเราคิดอะไร ทำไปเพราะอะไร ให้ลูกเล่าสิ่งที่อยู่ในใจทั้งหมด  และอย่าเพิ่งขัดเด็ก ๆ นะคะ ต้องตั้งใจฟังลูก สบตาเขา บอกให้รู้ว่าเราสนใจที่ลูกบอกนะ เพราะบางทีสิ่งที่ลูกคิดลูกทำมันจะผิด แต่ลูกไม่ได้รู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นผิดหรือถูก พ่อแม่ต้องค่อย ๆ  ปรับความคิดให้ลูก และอธิบายให้เข้าใจนะคะ ว่าการกระทำแบบนั้นแล้วจะส่งผลอย่างไรบ้าง

 

7. สนใจในสิ่งที่ลูกแสดงออกมา

เด็กบางคนพูดไม่เก่ง สิ่งที่ทำได้คือการแสดงออกทางสีหน้าหรือท่าทาง พ่อแม่ต้องคอยจับสังเกตให้ได้ แล้วดูว่าลูกเราต้องการจะสื่อสารอะไร อาจจะถามซ้ำ ๆ ว่าลูกจะบอกแม่แบบนี้ใช่ไหม ยืนยันในสิ่งที่เขาทำ มากกว่าที่จะบ่นว่าลูกพูดอะไรแม่ไม่รู้เรื่องเลย พูดให้มันดี ๆ หน่อย หรือไม่สนใจเลย พอเป็นแบบนั้นไปนาน ลูกก็เริ่มไม่อยากจะบอกพ่อกับแม่แล้ว เพราะพ่อแม่ไม่เข้าใจลูกนั่นเองค่ะ

 

8. ความพร้อมของลูกก็สำคัญ

บางทีการที่พ่อแม่ให้ลูกทำในสิ่งที่เด็ก ๆ ยังไม่พร้อม หรือยังไม่ถึงวัยที่เขาจะทำได้ แล้วลูกเกิดต่อต้าน ไม่อยากทำสิ่งนั้น นั่นก็เป็นเพราะว่าลูกอาจจะยังไม่พร้อมสำหรับเรื่องนั้น ๆ ที่พ่อแม่อยากให้ทำนั่นเองค่ะ ลองดูความพร้อมของลูกก่อน ถ้าหากวันนี้ยังไม่พร้อม ให้รอไปอีกสักหน่อย แล้วลองให้เค้าทำใหม่เมื่อเขาพร้อมกว่านี้ เด็ก ๆ เองก็จะมีความสุข พ่อแม่ก็จะได้ไม่ต้องบังคับลูกอีกด้วยค่ะ

 

เด็กดื้อ ไม่เชื่อฟัง ในเด็กบางคนอาจเกิดจากโรค เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนของร่างกาย แต่เด็กอีกกลุ่มอาจเกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่เอง ถ้าไม่อยากให้ลูกดื้อรั้น ต่อต้าน ไม่ยอมฟัง โดยเฉพาะเด็กวัยอนุบาล พ่อแม่ก็ต้องเรียนรู้ที่จะเลี้ยงดูลูกให้ถูกวิธี การฝึกลูกต้องใช้ความใจเย็นของพ่อแม่เป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครอง ควรเริ่มจากการเป็นผู้ฟังที่ดี และใช้เหตุผลในการเลี้ยงดูลูกในวัยนี้ด้วยนะคะ

 

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เตรียมลูกให้พร้อมด้วยสารอาหารพัฒนาสมองอย่าง DHA ให้ลูกฉลาดสมวัยและมีจิตใจดีไปพร้อมกัน
เตรียมลูกให้พร้อมด้วยสารอาหารพัฒนาสมองอย่าง DHA ให้ลูกฉลาดสมวัยและมีจิตใจดีไปพร้อมกัน
เซ็นทรัลพัฒนา จุดประกายการศึกษาไทย เปิดตัว "First Class Preschool" โมเดลใหม่สำหรับเด็ก 1-6 ปี
เซ็นทรัลพัฒนา จุดประกายการศึกษาไทย เปิดตัว "First Class Preschool" โมเดลใหม่สำหรับเด็ก 1-6 ปี

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกชอบปาข้าวของ ขว้างสิ่งของ ห้ามเท่าไหร่ไม่ฟัง ต้องแก้ยังไงดี

สอนไม่ทำ สั่งไม่จำ วิธีสอนลูกแบบใหม่ สอนลูกให้ยอมทำตาม แบบง่าย ๆ

7 ขั้นตอน สอนลูกกลับบ้านเอง ให้ปลอดภัย สอนลูกให้จำที่อยู่บ้าน

ที่มา : facebook

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Khunsiri

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กก่อนเข้าเรียน
  • /
  • วิธีพูดกับลูก วัยอนุบาล พูดอย่างไรให้ลูกเชื่อฟังไม่ต่อต้าน
แชร์ :
  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู?  รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

    ทำไมไม่มีใครเล่นกับหนู? รับมือ ลูกไปโรงเรียนครั้งแรก อย่างเข้าใจหัวใจเด็ก

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว