วัคซีนโรคบาดทะยัก ที่มากับสิ่งพื้นดิน สิ่งสกปรกที่คุณอาจจะมองข้าม รู้หรือไม่หากติดเชื้อรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ เราไปดูกันเลยค่ะ วัคซีนโรคบาดทะยัก ดีอย่างไร
โรคบาดทะยัก
โรคบาดทะยักเป็นโรคร้ายแรงที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย คลอสตริเดียม เตตานิ (Clostridium Tetani) ซึ่งพบได้ตามพื้นดิน ฝุ่น สิ่งสกปรก หรือมูลสัตว์ และสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผลชนิดต่าง ๆ เป็นต้น เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะสร้างสารพิษที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของเส้นประสาท ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอ ท้อง แขน และขาหดเกร็งตลอดเวลา ในรายที่ติดเชื้อรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
วัคซีนโรคบาดทะยัก ควรเริ่มฉีดตั้งแต่ตอนไหน ?
วัคซีนโรคบาดทะยัก
เด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนนี้เมื่อมีอายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 1.5 ปี, และ 4-6 ปี แต่ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์จะลดลงหลังจากผ่านไปแล้ว 5-10 ปี จึงควรฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยักสำหรับผู้ใหญ่เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันซ้ำอีกครั้งเมื่อมีอายุประมาน 10-18 ปี
วัคซีนบาดทะยักมีกี่ชนิด และมีวิธีการฉีดอย่างไร
ในปัจจุบันมีด้วยกัน 4 ชนิด คือ
- วัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ
- วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์สำหรับเด็กเล็ก
- วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่
- วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์
วัคซีนโรคบาดทะยัก
ผลิตจากเชื้อและพิษของเชื้อบาดทะยักและคอตีบที่ผ่านขั้นตอนการทำให้หมดฤทธิ์ในการก่อโรค มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงหากได้รับวัคซีนครบตามกำหนด
วิธีการฉีด
- เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปที่ไม่เคยฉีดวัคซีนนี้และวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน หรือเด็กที่ฉีดวัคซีนนี้ไม่ครบ 3 ครั้ง ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ 3 ครั้ง โดยแต่ละครั้งเว้นระยะห่าง 0 เดือน, 1 เดือน, และ 6 เดือน หลังจากนั้นให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันซ้ำทุก 10 ปี
- เด็กที่ฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ครบ 5 ครั้งแล้ว ควรฉีดวัคซีนบาดทะยัก-คอตีบ เมื่อมีอายุ 12-16 ปี จากนั้นให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันซ้ำทุก 10 ปี
- วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์สำหรับเด็กเล็ก
ผลิตจากพิษของเชื้อคอตีบและบาดทะยักที่ผ่านขั้นตอนการทำให้หมดฤทธิ์ในการก่อโรคผสมกับเชื้อไอกรนที่ผ่านการแยกบริสุทธิ์ ทำให้มีผลข้างเคียงจากการฉีดน้อย รวมทั้งมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพป้องกันสูงหากได้รับวัคซีนครบตามกำหนด
วิธีการฉีด
- เด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนนี้เมื่อมีอายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 1.5 ปี, และ 4-6 ปี แต่ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ จะลดลงหลังจากผ่านไปแล้ว 5-10 ปี จึงควรฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยักสำหรับผู้ใหญ่เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันซ้ำอีกครั้งเมื่อมีอายุประมาน 10-18 ปี
- วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่
เนื่องจากวัคซีนที่ใช้ในเด็กเล็ก อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อเด็กโตและผู้ใหญ่ได้ จึงมีการดัดแปลงวัคซีนไอกรนให้บริสุทธิ์และมีสารจากเชื้อไอกรนในปริมาณที่น้อยลง ส่งผลให้วัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค และมีความปลอดภัยต่อเด็กโตและผู้ใหญ่
วิธีการฉีด
- เด็กโตที่มีอายุตั้งแต่ 10-18 ปี ควรได้รับวัคซีนนี้ 1 ครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปจะฉีดให้เมื่อเด็กมีอายุ 11-12 ปี จากนั้นควรฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยักอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 10 ปี
- วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์
ผลิตจากเชื้อ และพิษของเชื้อที่ผ่านขั้นตอนการทำให้หมดฤทธิ์ในการก่อโรคเช่นเดียวกับวัคซีนชนิดอื่น ๆ มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงหากได้รับวัคซีนครบตามกำหนด แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้บ้าง
วิธีการฉีด
- เด็กทุกคนควรฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดทั้งเซลล์ทั้งหมด 5 ครั้ง คือ เมื่อมีอายุประมาณ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 18 เดือน, และ 4-6 ปี
อาการของโรคบาดทะยัก เป็นอย่างไร
วัคซีนโรคบาดทะยัก
จากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายจนเกิดอาการเริ่มแรก คือ มีอาการขากรรไกรแข็ง ที่เรียกว่าระยะฟักตัวของโรคประมาณ 3-21 วัน เฉลี่ย 8 วัน
อาการมักจะเริ่มเมื่อทารกอายุประมาณ 4-10 วัน อาการแรกที่จะสังเกตได้ คือ เด็กดูดนมลำบาก หรือไม่ค่อยดูดนม ทั้งนี้เพราะมีขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ ต่อมาเด็กจะดูดนมไม่ได้เลย หน้าแบบแสยะยิ้ม (Risus sardonicus หรือ Sardonic grin) เด็กอาจร้องคราง ต่อมา มือ แขน และขาเกร็ง หลังแข็งและแอ่น ถ้าเป็นมากจะมีอาการชักกระตุกและหน้าเขียว ทำให้เป็นอันตรายถึงตายได้
การรักษาโรคบาดทะยัก
ก่อนที่จะนำไปพบแพทย์ ถ้าสังเกตว่าเด็กไม่ดูดนม และไม่อ้าปากแสดงว่ามีขากรรไกรแข็ง อย่าพยายามฝืนหรือกรอกนม เพราะอาจจะทำให้สำลักนมเข้าทางเดินหายใจ ทำให้ขัดขวางทางเดินหายใจอาจถึงตายได้ทันที หรืออาจทำให้เกิดปอดอักเสบได้ ควรหลีกเลี่ยงการจับต้องตัวผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น และอย่าให้มีเสียงดังรบกวนเพราะจะทำให้ชักเกร็งมากขึ้นได้
ให้ยาระงับชัก ยาลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ งดอาหารและน้ำทางปากในขณะที่มีอาการเกร็งหรือชัก ให้อาหารทางหลอดเลือด ดูแลเรื่องการหายใจ และทำความสะอาดบาดแผล
ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนบาดทะยัก
- มีอาการปวด แดง หรือบวมบริเวณที่ฉีดวัคซีน
- มีไข้อ่อน ๆ และหนาวสั่น
- ปวดศีรษะและปวดเมื่อยตามร่างกาย
- รู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย
- อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสีย
- เบื่ออาหาร
- หากเป็นเด็กอาจมีอาการงอแง
วิธีการป้องกัน โรคบาดทะยัก
- รับวัคซีนป้องกันบาดทะยัก 3 เข็ม โดยเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ห่างกัน 1 เดือน เข็มที่ 3 ห่างจากเข็มที่ 2 – 6 เดือน และฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี ก็จะมีภูมิคุ้มกันบาดทะยักได้ตลอดไป
- ในทารกแรกเกิดป้องกันโรคนี้ ได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก ให้แก่มารดาในขณะตั้งครรภ์ 2 ครั้ง ตั้งแต่เมื่อรู้ว่าเริ่มตั้งครรภ์ให้ครั้งที่ 1 และอีก 1-2 เดือนให้เข็มที่ 2 เด็กแรกเกิดก็จะได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ และควรฉีดวัคซีนกระตุ้นทุกครั้งที่ตั้งครรภ์
- ในเด็กเล็กให้วัคซีนป้องกันบาดทะยักร่วมกับวัคซีนคอตีบ ไอกรน ตามกำหนดการให้วัคซีน
ที่มา : pobpad , phyathai-sriracha
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
แม่รู้ไหม ทำไมควร กระตุ้นภูมิคุ้มกันลูกให้แข็งแรง ด้วย วัคซีนรวม 6 โรค
วัคซีนโรคคอตีบ โรคร้ายแรง แต่ป้องกันได้ 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
วัคซีนป้องกันโรคไอกรน คล้ายหวัดควรระวัง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!