วัคซีนโรคคอตีบ ทำไมทุกคนถึงควรฉีด โรคคอตีบรุนแรงมากน้อยแค่ไหน เราไปดูกันเลยค่ะว่า วัคซีนโรคคอตีบ สามารถป้องกันได้มากน้อยแค่ไหน และใครบ้างที่เสี่ยงติดเชื้อ
โรคคอตีบ
โรคคอตีบเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถสร้างพิษ ( exotoxin ) และทำให้เกิดการอักเสบ และมีเนื้อตายเป็นแผ่นหนาในคอหอยหรือหลอดลม ทำให้เกิดการตีบตันของทางเดินหายใจ ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตจากทางเดินหายใจอุดตันหรือหัวใจล้มเหลว สารพิษที่เชื้อโรคคอตีบปล่อยออกมายังสามารถทำเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ หรือหัวใจล้มเหลวได้
วัคซีนโรคคอตีบ ฉีดเมื่อไหร่ ต้องฉีดกระตุ้นด้วยหรือไม่
วัคซีนโรคคอตีบ
โดยเข็มแรกฉีดเมื่ออายุได้ 2 เดือน, เข็มที่ 2 ฉีดเมื่ออายุ 4 เดือน, เข็มที่ 3 ฉีดเมื่ออายุ 6 เดือน, เข็มที่ 4 ฉีดเมื่ออายุ 18 เดือน, และเข็มที่ 5 ฉีดเมื่ออายุ 4-6 ปี ตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข หลังจากนั้นฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (Td) หรือคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (Tdap) เมื่ออายุ 11-12 ปี และต่อไปฉีดกระตุ้นวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (Td) ทุก 10 ปี
อาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน
เด็กที่ได้รับวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน อาจมีไข้ และร้องกวนได้บางรายอาจมีอาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีดวัคซีน อาการมักจะเริ่มราว 3-4 ชั่วโมงหลังการฉีด และมีอาการนานไม่เกิน 2 วัน ซึ่งวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (Tdap) ที่ฉีดในเด็กโตและผู้ใหญ่ และวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (Td) อาจมีปฏิกิริยาเฉพาะที่ ซึ่งมักไม่รุนแรง
สาเหตุของคอตีบ
เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคคอตีบ คือ Corynebacterium Diphtheriae โดยเชื้อตัวนี้มักพบว่ามีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเชื้อขึ้นบริเวณเยื่อบุที่คอ และสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ผ่านทาง 3 ทาง ได้แก่
เมื่อผู้ป่วยคอตีบไอหรือจาม จะปล่อยแพร่ละอองที่ปนเปื้อนเชื้ออยู่ ซึ่งผู้ที่อยู่ใกล้เคียงอาจสูดเอาเชื้อนี้เข้าไป โดยโรคคอตีบจะแพร่กระจายและติดต่อได้ดีในทางอากาศ โดยเฉพาะในที่ที่มีคนจำนวนมาก
- ของใช้ส่วนตัวที่ปนเปื้อนเชื้อ
ผู้ป่วยคอตีบบางรายพบว่าได้รับเชื้อจากการจับหรือสัมผัสกับกระดาษทิชชู่ที่ใช้แล้วของผู้ที่ติดเชื้อ รวมถึงดื่มน้ำจากแก้วของผู้ที่มีเชื้อ
- ของใช้ภายในบ้านที่ปนเปื้อนเชื้อ
เป็นสาเหตุที่พบได้น้อย โดยอาจได้รับการแพร่เชื้อจากของใช้ที่ใช้ร่วมกันภายในบ้าน เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว หรือของเล่นเด็ก
นอกจากนั้น การสัมผัสกับแผลของผู้ที่ติดเชื้อคอตีบ ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ได้เช่นกัน ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคคอตีบ ได้แก่ เด็กและผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ และผู้ที่ใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องพบผู้คนจำนวนมาก ๆ หรือขาดสุขอนามัยที่ดี รวมไปถึงผู้ที่เดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคคอตีบ
อาการของโรคคอตีบ อาการเป็นอย่างไร
วัคซีนโรคคอตีบ
- ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ตํ่า ๆ ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว เจ็บคอ กลืนลําบาก คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลียมาก
- บางรายจะพบอาการต่อมนํ้าเหลืองบริเวณลําคอโต และพบแผ่นเยื่อสีเทาหรือเหลืองปนเทา ดูคล้ายเศษผ้าสกปรกยึดติดแน่นกับเนื้อเยื่อปกติอยู่บริเวณต่อมทอนซิล คอหอย ลิ้นไก่ และเพดานปาก
แผ่นเยื่อนี้เกิดจากการเจริญเติบโตของกลุ่มเชื้อแบคทีเรียซึ่งมีการสร้างสารพิษออกมาทําให้เนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบตายลงและซ้อนทับกัน โดยจะพบเกิดได้ตั้งแต่ในโพรงจมูกลงไปจนถึง ลําคอ แต่พบได้บ่อยที่สุด ในบริเวณต่อมทอนซิลและคอหอย ซึ่งแผ่นเยื่อนี้จะเขี่ยออกได้ยาก ถ้าฝืนเขี่ยออก จะทําให้มีเลือดออกได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคอบวมมาก คล้าย ๆ คอวัว เรียกว่า“อาการคอวัว” (Bull neck) ซึ่งบางรายอาจกดทับหลอดเลือดดําที่คอ ทําให้ใบหน้ามีสีคลํ้าจากการมีเลือดคั่ง กรณีดังกล่าวผู้ป่วยจะมี อาการหายใจเสียงดัง วี๊ด หายใจลําบาก เหนื่อยหอบ ซึ่งเป็นอาการแสดงของทางเดินหายใจอุดตัน ซึ่งหากไม่ ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้
ภาวะแทรกซ้อนโรคคอตีบ
มักเกิดในช่วงวันที่ 2-3 ของโรคในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หากผู้ ป่วยไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ผู้ป่วยมักจะเสียชีวิต
- ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
มักเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 10-14 ของการเจ็บป่วย แต่อาจพบได้ใน 6 สัปดาห์ ทําให้มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจบีบตัวผิดปกติ เกิดภาวะหัวใจวาย และอาจทําให้เสียชีวิตอย่าง ฉับพลันได้
ทําให้กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ลูกตา กล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลืนเป็น อัมพาต ผู้ป่วยอาจมีอาการกลืนลําบาก พูดเสียงขึ้นจมูก ขย้อนนํ้าและอาหารออกทางจมูก อาจมีอาการตาเหล่ มองเห็นภาพซ้อน บางรายอาจมีการอ่อนแรงของกระบังลมร่วมด้วย ทําให้หายใจลําบาก และอาจทําให้เสียชีวิตได้
เช่น ภาวะไตวาย ไตทํางานผิดปกติ มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ
โรคคอตีบ มีวิธีการรักษาอย่างไร
เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคคอตีบ แพทย์จะรับตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาล และให้อยู่ในห้องแยกโรค เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย และพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ และยาต้านพิษ เชื้อคอตีบ ตามข้อบ่งชี้ แพทย์จะเฝ้าระวัง เรื่องภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเรื่องระบบหายใจ และระบบไหลเวียนโลหิตเนื่องจากโรค คอตีบอาจจะทําให้เกิดภาวะ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รวมถึงสํารวจและซักประวัติผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เพื่อวินิจฉัย และให้การรักษาผู้ที่มีเชื้ออยู่ และให้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบแก่ผู้สัมผัส
ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคคอตีบ
- ผู้ที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนหรือฉีดวัคซีนไม่ครบ
- ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้น
- ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย ที่เป็นโรคคอตีบ
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคตํ่าหรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ผู้ที่อยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่แออัด และขาดสุขอนามัย และผู้ที่เดินทางไปยังสถานที่ที่มีการระบาดของโรค
วิธีการป้องกันโรคคอตีบ
วัคซีนโรคคอตีบ
- โรคคอตีบ ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนในทุกกลุ่มอายุให้ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน ถึงแม้ผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคคอตีบแล้วก็ต้องได้รับวัคซีนต่อไปให้ครบตามเกณฑ์ เพื่อเป็นการป้องกันโรค ควรได้รับวัคซีน ดังนี้
- กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ควรได้รับวัคซีนครบตามแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข
- กลุ่มเด็กนักเรียนเมื่อเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบบาดทะยัก ( dT ) เข็มกระตุ้นทุกคน
- กลุ่มผู้ใหญ่ ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคตีบ บาดทะยัก ( dT ) และควรได้รับการฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี
- สามารถขอรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบบาดทะยัก ( dT ) ได้ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่ง
- หลีกเลี่ยง การสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโรคคอตีบ หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่มีผู้คนอยู่กันแออัด
- ถ้ามีผู้ป่วยในบ้าน ควรแยกผู้ป่วยออกต่างหาก และต้องมีการทำลายน้ำมูก น้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยอย่างถูกสุขลักษณะ
- หากเป็นหวัด หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ให้สวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
- ควรมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี และถูกสุขลักษณะ เช่น เวลาไอหรือจามใช้ผ้าเช็ดหน้า กระดาษชำระหรือใช้ต้นแขนปิดปาก ปิดจมูก และควรล้างมือบ่อย ๆ
- ถ้ามีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ ให้รีบพบแพทย์
ที่มา : (www.pobpad.com),(www.thaihealth.or.th),(www.rama.mahidol.ac.th)
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง :
ลูกลืมฉีดวัคซีนทำไงดี? จะต้องทำยังไงดี เลื่อนนัดได้ไหม จะมีผลอะไรรึเปล่า?
ต่อมอดีนอยด์โต-ทอนซิลโต ปิดระบบทางเดินหายใจ จนลูกต้องผ่าตัดด่วน
ผลการศึกษา เตือนเด็กติดหวานจัดเสี่ยงหัวใจวาย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!