X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกหัวโน เพราะล้มหัวกระแทกพื้น หงายหลังหัวฟาดพื้น อันตรายไหม

บทความ 3 นาที
ลูกหัวโน เพราะล้มหัวกระแทกพื้น หงายหลังหัวฟาดพื้น อันตรายไหม

เมื่อลูกล้มหัวกระแทกพื้น ลูกหงายหลังหัวฟาดพื้น หรือลูกล้มหัวโน แม่จะรู้ได้ไงว่า ลูกอยู่ในอันตราย! วิธีสังเกตอาการแบบไหนอันตรายต้องไปหาหมอ

ลูกหัวกระแทกพื้น ล้มหัวฟาดพื้น หัวโน เล่นแล้วลูกล้มหัวโน หรือหงายหลังหัวฟาดพื้น นี่เป็นเรื่องเล็กที่เด็ก ๆ แค่หัวโน หรือมีอันตรายมากกว่านั้น แล้วแม่จะรู้ได้อย่างไร มาดูวิธีสังเกตอาการแบบไหนอันตรายต้องไปหาหมอ และ 5 ข้อควรปฏิบัติเมื่อลูกน้อยวัยเตาะแตะหัวกระแทก

 

เด็กหัวโน ลูกหัวกระแทกพื้นแบบไหนอันตราย ต้องไปหาหมอ

5 ข้อควรปฏิบัติเมื่อลูกน้อยวัยเตาะแตะหัวกระแทก

คุณพ่อคุณแม่ที่ลูกน้อยอยู่ในวัยเตาะแตะเริ่มหัดเดิน หลายท่านคงเคยประสบปัญหาลูกน้อยล้มหัวกระแทก หรือลูกหัวกระแทกพื้นกันใช่ไหมคะ ปัญหานี้อาจนำมาซึ่งความกังวลใจเป็นอย่างมากสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ หมอขอแนะนำ 5 ข้อควรปฏิบัติเมื่อลูกน้อยหัวกระแทกดังนี้ค่ะ

 

1. พิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ในอุบัติเหตุหัวกระแทกนั้น หากมีปัจจัยดังนี้ต้องรีบนำลูกไปพบคุณหมอโดยทันที ได้แก่

  • ตกจากที่สูง มากกว่าความสูงของเด็ก
  • กระแทกกับพื้นที่มีความแข็ง
  • กระแทกกับสิ่งของหรือขอบที่มีเหลี่ยม มุม ที่มีโอกาสเกิดแผลฉีกขาด
  • มีบาดแผลที่ลึก หรือกว้าง เช่น ขอบปากแผลปิดเข้าหากันไม่ได้
  • มีบาดแผลที่เลือดออก ไหลไม่หยุด

เพราะปัจจัยเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากการบาดเจ็บ กระทบกระเทือนศีรษะมากขึ้น

 

2. สังเกตอาการของลูกว่ามีอาการซึ่งบ่งถึงความผิดปกติของเนื้อสมองหรือเส้นเลือดในสมองจากการกระทบกระเทือน ดังนี้หรือไม่

  • หมดสติ
  • ง่วงซึมผิดปกติ
  • ชัก เกร็ง กระตุก ทั่วทั้งตัวหรือมีอาการเฉพาะที่
  • ดูกระสับกระส่ายผิดปกติ
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • คลื่นไส้และอาเจียนมาก
  • เวียนศีรษะ
  • ตามัว เห็นภาพซ้อน
  • คอแข็งผิดปกติ ก้มศีรษะลำบาก
  • แขนขาอ่อนแรงหรือไม่ค่อยขยับแขนขา
  • มีเลือดหรือน้ำไหลออกจากหูหรือจมูก

ทั้งนี้ หากลูกมีอาการอื่น ๆ ที่ดูผิดปกติไปจากเดิม ทำให้คุณพ่อคุณแม่มีความกังวลและไม่แน่ใจ ก็ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอที่โรงพยาบาลทันทีนะคะ

Advertisement

 

3. หากลูกไม่มีปัจจัยเสี่ยงซึ่งบ่งถึงอันตรายจากการบาดเจ็บกระทบกระเทือนศีรษะและสมอง ในข้อ 1 และข้อ 2 ข้างต้น คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้ลูกก่อน ดังนี้

  • ประคบศรีษะบริเวณที่กระแทกด้วยความเย็น โดยใช้ถุงเย็น (cold pack) หรือน้ำแข็งห่อผ้าสะอาดโปะไว้อย่างน้อยครั้งละ 15 นาทีจะช่วยลดอาการบวมของศีรษะบริเวณที่กระแทกได้
  • สังเกตบริเวณศีรษะของลูกให้ทั่วว่ามีบาดแผลหรือมีอาการบวมในบริเวณใดบ้าง ทั้งนี้หากศีรษะบวมมาก หรือ มีบาดแผลที่ไม่แน่ใจว่าต้องเย็บหรือไม่ ก็ควรไปปรึกษาคุณหมอค่ะ

 

4. หากลูกดูปกติดี คุณพ่อคุณแม่ก็ควรสังเกตอาการของลูก โดยต้องมีผู้ใหญ่คอยดูแลลูกอยู่อย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

ไม่ให้ลูกอยู่ตามลำพังโดยเด็ดขาด และคอยสังเกตอาการ หากมีความผิดปกติดังกล่าวข้างต้น ก็ควรรีบไปพบคุณหมอทันที เพราะบางครั้งความผิดปกติต่าง ๆ จากการกระทบกระเทือนของสมอง เช่นอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ชัก เกร็งกระตุก อาจไม่ได้เกิดทันที แต่มักจะเกิดขึ้นได้หลังจากการที่หัวกระแทกแล้วภายใน 24 ชั่วโมง

 

5. ระหว่างการสังเกตอาการลูกหลังหัวกระแทกภายใน 24 ชั่วโมง อยู่ที่บ้าน คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกฏิบัติตัว ดังนี้

  • ทานอาหารอ่อนๆ
  • งดออกกำลังกาย
  • งดทานยาที่ทำให้ง่วงซึม เพราะจะทำให้เราไม่ทราบว่าหากลูกซึมลง จะเกิดจากการกระทบกระเทือนของสมองหรือจากผลข้างเคียงของยา จึงสังเกตอาการได้ลำบาก

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับ 5 ข้อควรปฏิบัติเมื่อลูกน้อยหัวกระแทกที่หมอได้สรุปมา หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านที่มีลูกน้อยวัยเตาะแตะ ได้สังเกตเวลาลูกหัวกระแทกพื้น ทั้งนี้ การป้องกันอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ไม่ควรให้ลูกน้อยวัยนี้คลาดจากสายตาผู้ใหญ่แม้เพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพราะอาจเกิดอันตรายได้ตลอดเวลาค่ะ

 


*ภาพและข้อมูลมีลิขสิทธิ์เจ้าของโดย บริษัท ทิคเกิ้ลมีเดีย จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกข้อมูล และนำรูปภาพไปเผยแพร่ต่อไม่ว่าวิธีใด ๆ หากฝ่าฝืน ทางบริษัทฯจะดำเนินการตามกฎหมาย เว้นแต่ได้มีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรกับทางบริษัทฯเรียบร้อยแล้ว

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อินดี้วัยเตาะแตะชอบหยิก กัด จัดการอย่างไรดี

เด็กไทยแบกกระเป๋านักเรียนหนักเกินตัว อันตราย! ร่างกายบาดเจ็บ มีผลต่อการเรียนรู้

ลูกเป็นหวัด ทำอย่างไรให้หายป่วยเร็ว แม่สงสารจับใจ ตัวเล็กแค่นี้ป่วยบ่อยเหลือเกิน เมื่อไหร่จะหาย

พ่อแม่กดดันลูก คาดหวังลูกมากเกินไป ระวังลูกป่วยเป็นจิตเวช

 

บทความจากพันธมิตร
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
นมสำหรับเด็กผ่าคลอดเจนใหม่ สร้างสมองไว เสริมภูมิคุ้มกันแข็งแรง ที่แม่ยุคใหม่เลือก
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
Dadi International Kindergarten เรียนรู้สนุก เล่นอย่างสร้างสรรค์ ด้วย 3 ภาษา พร้อมเสริมสร้างทักษะ EF
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติน้ำหนักเพียง 500 กรัมสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญระดับสากล ที่ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ลูกหัวโน เพราะล้มหัวกระแทกพื้น หงายหลังหัวฟาดพื้น อันตรายไหม
แชร์ :
  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

  • หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

    หากลูกหมกมุ่นกับ 3 สิ่งนี้... พฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรจับตา และรับมืออย่างทันท่วงที

  • เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

    เคลือบสูติบัตรได้ไหม เรื่องต้องรู้ก่อนเคลือบสูติบัตร

  • อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

    อย่ามองแค่เกรด! 5 ทักษะที่มีค่าที่สุด ช่วยลูกรับมือกับอุปสรรคในชีวิต

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว