X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลาคลอดตอนกี่สัปดาห์ คุณแม่ควรลาคลอดล่วงหน้ากันเมื่อไหร่? มาดูกัน

บทความ 5 นาที
ลาคลอดตอนกี่สัปดาห์ คุณแม่ควรลาคลอดล่วงหน้ากันเมื่อไหร่? มาดูกัน

สำหรับคุณแม่เวิร์กกิ้งวูแม่นที่รู้ตัวว่าเริ่มตั้งครรภ์ สิ่งที่ควรจะเริ่มทำก็คือ การวางแผนการลาคลอดไว้เสียแต่เนิ่น แต่คุณแม่บางคนก็อยากจะทำงานให้ดีที่สุด เผลอ ๆ ก็ไปลาใกล้วันกำหนดคลอด จริง ๆ แล้วคุณแม่ควร ลาคลอดตอนกี่สัปดาห์ หรือไปลาใกล้วันกำหนดคลอดเอาเลย เรามาดูกันค่ะ

รู้จักกฎหมายลาคลอด

กฎหมายกำหนดให้ผู้หญิงลาได้นานถึง 90 วัน ในระหว่างลาคลอดนายจ้างต้องจ่ายเงินเดือนให้ตามปกติ แต่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายเพียงครึ่งเดียวคือ 45 วัน และสามารถเบิกประกันสังคมได้อีกครึ่งหนึ่ง จึงทำให้คุณไม่ขาดรายได้ระหว่างลาคลอด นอกจากนี้ประกันสังคมยังกำหนดอัตราการจ่ายเพิ่มเติมให้อีกท้องละ 4,000 บาท แต่คนหนึ่งเบิกได้ไม่เกินสองท้องเท่านั้นค่ะ

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังมีนโยบายสนับสนุนให้ ข้าราชการหญิงสามารถลาคลอดต่อเนื่องจาก 90 วัน เป็น 180 วัน เพื่อให้แม่ยุคใหม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุด และขยายสิทธิให้พ่อลางานเพื่อช่วยภรรยาเลี้ยงลูกหลังคลอด และได้รับค่าแรงจากนายจ้าง จาก 15 วัน เป็น 30 วัน เพื่อส่งเสริมความอบอุ่นสถาบันครอบครัวอีกด้วย

 

ผู้หญิงทำงานเมื่อตั้งครรภ์แล้ว จะทำงานต่อดีไหม

ก่อนที่คุณจะตั้งครรภ์ คุณก็ทำงานในสำนักงานตามปกติจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคุณไปแล้ว คุณอาจจะทำต่อไปก็ได้ แต่ทำนานขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณแล้วล่ะค่ะ คุณอาจจะอยากทำงานต่อไปหลังจากที่รู้ว่า คุณกำลังตั้งครรภ์ ผู้หญิงส่วนมากมองว่า การทำงานระหว่างตั้งครรภ์เป็นเรื่องปกติ การทำงานทำให้ผู้หญิงรู้สึกมั่นใจในตัวเอง นอกจากนี้ พวกเธอยังรู้สึกว่า การตั้งครรภ์ไม่ได้ทำให้ชีวิตของเธอเปลี่ยนไปมากนัก แน่นอนว่าไม่มีใครอยากปฏิเสธเงินที่เข้ากระเป๋าสักหน่อย

บทความที่เกี่ยวข้อง : กลับไปทำงานหลังคลอด หรืออยู่เลี้ยงลูกที่บ้านดี แบบไหนที่จะทำให้ลูกมีความสุข

 

ลาคลอดตอนกี่สัปดาห์

 

Advertisement

ลาคลอดเมื่อไหร่ดี

แม่ท้องที่ทำงานหลายคนยังลังเลใจ จะขอลาคลอดตอนสัปดาห์ที่เท่าไหร่ดี ยิ่งท้องแก่ใกล้วันกำหนดคลอดมาแล้ว ร่างกายในส่วนต่าง ๆ ของคุณแม่จะต้องทำงานหนักขึ้น ทั้งกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อ และข้อต่อต่าง ๆ ก็ต้องทำงานหนักขึ้นด้วย ดังนั้นการได้มีเวลาพักผ่อนเยอะ ๆ ให้ไม่เครียดจนเกินไป การเตรียมตัวเพื่อลาคลอดจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก

คุณหมอส่วนใหญ่แนะนำให้คุณแม่วางแผนลาพักงานในช่วงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ หรือมีเวลา 1 เดือนก่อนคลอด เพื่อที่จะได้มีเวลาพักผ่อนอย่างเต็มที่ ให้ร่างกายพร้อมสู่วันกำหนดคลอด และมีเวลาเตรียมตัวจัดกระเป๋า จัดของลูก จัดการเรื่องต่าง ๆ ในช่วงโค้งสุดท้าย หรือหากคุณแม่คนขยันกังวลเรื่องงาน โดยทั่วไปมักจะใช้สิทธิลาคลอดในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนถึงวันกำหนดคลอด

 

วางแผนลาคลอดอย่างไรดี

การลาคลอดหรือสิทธิการลาหลังคลอดนั้น ในกฎหมายใหม่จาก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 “ให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาตรวจครรภ์ กฎหมายเดิมให้ลาเพื่อการคลอดบุตร 90 วัน มีการตีความกฎหมายใหม่และแก้ไขให้มีความชัดเจนว่า ลาเพื่อไปตรวจครรภ์ระหว่างที่ยังตั้งครรภ์ได้รวมระยะเวลา 90 วัน เป็นการใช้สิทธิร่วมกับลาคลอดเดิมนั่นเอง โดยลูกจ้างได้ค่าแรง 45 วันจากประกันสังคม และ 45 วันจากนายจ้าง รวมได้ค่าจ้างครบ 90 วันเต็ม”

แต่ทั้งนี้บางแห่งก็ยังต้องขึ้นอยู่กับนโยบายและสวัสดิการของบริษัทนั้น ๆ ซึ่งคุณแม่ควรสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการลากิจตลอดจนลาคลอดของบริษัทตัวเองให้ดีก่อนที่จะขอลาคลอด พร้อมทั้งปรึกษาแผนกทรัพยากรบุคคล เกี่ยวกับสิทธิในการลาคลอด หรือประโยชน์ที่พึงจะได้รับระหว่างการลาคลอดบุตร

บทความที่เกี่ยวข้อง : เพิ่มวันลาคลอด ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ ลาก่อนคลอด-หลังคลอด ได้เพิ่มขึ้นกี่วัน เช็กเลย!

 

ลาคลอดตอนกี่สัปดาห์

 

เมื่อไหร่ที่ควรลาคลอด

ผู้หญิงทุกคนควรตัดสินใจเองว่า ควรจะลาคลอดเมื่อไหร่ บางคนสามารถทำงานได้จนวินาทีสุดท้ายก่อนคลอดลูก แต่บางคนก็ต้องลาคลอดเร็วขึ้นมาสักหน่อย ขึ้นอยู่กับการปรับตัวในการตั้งครรภ์ของร่างกายแต่ละคน นอกจากนี้สุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ ก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

คุณอาจจะเลือกทำงานต่อ แทนที่จะออกมาเตรียมตัวเป็นแม่ และใช้เวลากับลูกในท้องให้เต็มที่ หรือใช้เวลากับตัวเองก่อนคลอด ผู้หญิงส่วนมากเลือกที่จะลาคลอด 2 อาทิตย์ ก่อนถึงกำหนดคลอดเพื่อเตรียมทุกอย่างที่จำเป็นก่อนลูกเกิด อีกอย่างช่วงใกล้คลอด ก็อาจจะทำให้คุณไม่มีสมาธิทำงานสักเท่าไหร่นัก เพราะว่าคุณอาจจะตื่นเต้น หรืออาจจะเจ็บท้องเตือนบ่อยครั้ง ก่อนที่คุณจะตัดสินใจว่า คุณจะหยุดเมื่อไหร่ให้ลองพิจารณาจากปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ สุขภาพของคุณและลูก

 

สุขภาพของว่าที่คุณแม่

ผลการวิจัยพบว่า สตรีมีครรภ์ที่มีความเครียดมีความเสี่ยงของภาวะครรภ์เป็นพิษ นั่นก็หมายความว่า งานที่เครียดก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากต่อการตั้งครรภ์ แม้ว่าคุณจะเคยชินกับงานที่ทำอยู่แล้ว แต่ระหว่างตั้งครรภ์ ร่างกายมีวิธีรับมือกับสถานการณ์ความเครียดที่ต่างออกไป ระดับฮอร์โมนเพิ่มสูงขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์อยู่แล้ว ดังนั้น ฮอร์โมนความเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวันย่อมอันตรายต่อคุณ และลูกในท้อง

บรรยากาศของการทำงานบางแห่ง ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ของคุณ เช่น การทำงานที่ยาวนานต่อเนื่องโดยเฉพาะช่วงกลางคืน การยืนเป็นเวลานาน ทำงานกับสารเคมี หรืองานที่ต้องใช้แรง และการเคลื่อนไหวค่อนข้างมาก

หากคุณพบว่าคุณทำงานที่มีความเครียดสูง และปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ของคุณ ลองคุยกับเจ้านาย หรือเจ้าของกิจการเพื่อลองหาตำแหน่งที่เหมาะสมให้คุณระหว่างตั้งครรภ์ บางครั้งคุณหมออาจแนะนำให้หยุดทำงานตั้งแต่อายุครรภ์ยังไม่มาก เพราะมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่ส่งผลต่อสุขภาพของคุณและลูกในท้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง : สิทธิแม่ลาคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 80

 

ลาคลอดตอนกี่สัปดาห์

 

วิธีป้องกันสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์

ไม่ว่าคุณจะทำงาน หรือไม่ทำงานในระหว่างตั้งครรภ์ก็ตาม คุณควรดูแลสุขภาพของคุณระหว่างตั้งครรภ์ตามวิธีต่อไปนี้

  • พยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่สร้างความเครียดให้คุณ คุณอาจจะขอทำงานที่บ้านอาทิตย์ละ 2-3 วัน หรือ เปลี่ยนมาเป็นทำงานพิเศษแทนการทำงานประจำ หากบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมในการทำงานค่อนข้างตึงเครียด
  • คุณอาจจะขอลางานในช่วงไตรมาสแรก หากคุณมีอาการแพ้ท้องที่รุนแรง แต่ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 คุณจะรู้สึกกระฉับกระเฉงมากขึ้นและ สามารถกลับไปทำงานต่อได้
  • หลีกเลี่ยงการยืนและนั่งอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ดื่มน้ำเยอะ ๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตลอดวัน

หากคุณรู้สึกว่าร่างกายของคุณไม่แข็งแรงขณะตั้งครรภ์ คุณอาจต้องหยุดทำงานเพื่อความปลอดภัยของคุณและลูก

 

บทความจากพันธมิตร
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
ตรวจ NIPT ราคา ปี 2568 รู้ทันความผิดปกติของลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
Easy Life III เครื่องปั๊มนม Hands-Free จากแบรนด์ไทยอย่าง Attitude Mom ออกแบบเพื่อชีวิตการปั๊มนมของคุณแม่ที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมพร้อมการควบคุมการทำงานผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
ซีรีแล็ค จูเนียร์ โจ๊ก อร่อย ได้ประโยชน์ ตัวช่วยแม่ยุคใหม่
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย
เคล็ดลับดูแลครรภ์ และ สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย

คุณแม่ควรตัดสินใจเองว่าควรลาออกเมื่อไหร่ เพราะบางคนอาจทำงานได้จนถึงช่วงใกล้คลอด แต่บางคนอาจต้องลาคลอดไวหน่อย เพราะร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ปัจจัยสำคัญคือการพิจารณาสุขภาพของตัวคุณแม่เองว่าไหวหรือไม่ หากมีอาการเจ็บท้องเตือนบ่อย ก็ต้องพิจารณาได้แล้วว่าควรลาคลอดแล้วหรือไม่

 

ความคิดเห็นของคุณคืออะไร

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลาคลอดเมื่อไหร่ดี? แล้ว กฎหมายคุ้มครองผู้หญิงตั้งครรภ์อย่างไรบ้าง?

ช่องทางหารายได้ช่วงลาคลอด หาเงินจากไหนดี? สวัสดิการรัฐช่วยอะไรบ้าง?

ห้องคลอด น่ากลัวมั้ย มีอะไรในห้องคลอดบ้าง ต้องเตรียมตัวยังไงก่อนเข้าห้องคลอด

ที่มา : Nationtv, siamsafety

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • ลาคลอดตอนกี่สัปดาห์ คุณแม่ควรลาคลอดล่วงหน้ากันเมื่อไหร่? มาดูกัน
แชร์ :
  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

  • คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

    คนท้อง น้ำคร่ำน้อย ทำไงดี? 4 วิธีเพิ่มน้ำคร่ำ ที่คุณแม่ทำได้

  • 7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

    7 เคล็ดลับ ลดน้ำตาลในเลือด คนท้อง ให้คุณแม่ตรวจเบาหวานผ่านฉลุย!

  • กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

    กระตุ้นปากมดลูก กี่วันคลอด วิธีไหนทำให้ปากมดลูกเปิดไวๆ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว