เคยสงสัยไหมว่า ผู้หญิงทำงานเมื่อตั้งครรภ์แล้ว จะทำงานต่อดีไหม แล้วควร ลาคลอดเมื่อไหร่ดี นะ
ลาคลอดเมื่อไหร่ดี ?
ก่อนที่คุณจะตั้งครรภ์ คุณก็ทำงานในสำนักงานตามปกติจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคุณไปแล้ว คุณอาจจะทำต่อไปก็ได้ แต่ทำนานขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณแล้วล่ะค่ะ คุณอาจจะอยากทำงานต่อไปหลังจากที่รู้ว่า คุณกำลังตั้งครรภ์ ผู้หญิงส่วนมากมองว่า การทำงานระหว่างตั้งครรภ์เป็นเรื่องปกติ การทำงานทำให้ผู้หญิงรู้สึกมั่นใจในตัวเอง นอกจากนี้พวกเธอยังรู้สึกว่า การตั้งครรภ์ไม่ได้ทำให้ชีวิตของเธอเปลี่ยนไปมากนัก แน่นอนว่า ไม่มีใครอยากปฏิเสธเงินที่เข้ากระเป๋าสักหน่อย หากคุณตัดสินใจที่จะทำงานต่อ เรามีเคล็ดลับมาฝากค่ะ
เมื่อไหร่ที่ควรลาคลอด
อย่าโหมทำงานเกินไป จนลืมดูแลสุขภาพของตัวเอง และลูกในท้องนะคะ
ผู้หญิงทุกคนควรตัดสินใจเองว่า ควรจะลาคลอดเมื่อไหร่ บางคนสามารถทำงานได้จนวินาทีสุดท้ายก่อนคลอดลูก แต่ บางคนก็ต้องลาคลอดเร็วขึ้นมาสักหน่อย ขึ้นอยู่กับการปรับตัวในการตั้งครรภ์ของร่างกายแต่ละคน นอกจากนี้สุขภาพ และ ปัจจัยอื่น ๆ ก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
คุณอาจจะเลือกทำงานต่อ แทนที่จะออกมาเตรียมตัวเป็นแม่ และ ใช้เวลากับลูกในท้องให้เต็มที่ หรือ ใช้เวลากับตัวเองก่อนคลอด ผู้หญิงส่วนมากเลือกที่จะลาคลอด 2 อาทิตย์ ก่อนถึงกำหนดคลอดเพื่อเตรียมทุกอย่างที่จำเป็นก่อนลูกเกิด อีกอย่างช่วงใกล้คลอด ก็อาจจะทำให้คุณไม่มีสมาธิทำงานสักเท่าไหร่นัก เพราะว่าคุณอาจจะตื่นเต้น หรือ อาจจะเจ็บท้องเตือนบ่อยครั้ง ก่อนที่คุณจะตัดสินใจว่า คุณจะหยุดเมื่อไหร่ให้ลองพิจารณาจากปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ สุขภาพของคุณ และ ลูก
สุขภาพของว่าที่คุณแม่
ความเครียดจากการทำงาน อาจก่อให้เกิด ภาวระครรภ์เป็นพิษ ได้
ผลการวิจัยพบว่า สตรีมีครรภ์ที่มี ความเครียด มีความเสี่ยงของ ภาวะครรภ์เป็นพิษ นั่นก็หมายความว่า งานที่เครียดก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากต่อการตั้งครรภ์ แม้ว่าคุณจะเคยชินกับงานที่ทำอยู่แล้ว แต่ระหว่างตั้งครรภ์ ร่างกายมีวิธีรับมือกับสถานการณ์ความเครียดที่ต่างออกไป ระดับฮอร์โมนเพิ่มสูงขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์อยู่แล้ว ดังนั้น ฮอร์โมนความเครียดที่เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวันย่อมอันตรายต่อคุณ และ ลูกในท้อง
บรรยากาศของการทำงานบางแห่ง ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ของคุณ เช่น การทำงานที่ยาวนานต่อเนื่องโดยเฉพาะช่วงกลางคืน การยืนเป็นเวลานาน ทำงานกับสารเคมี หรือ งานที่ต้องใช้แรง และ การเคลื่อนไหวค่อนข้างมาก
หากคุณพบว่าคุณทำงานที่มีความเครียดสูง และ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ของคุณ ลองคุยกับเจ้านาย หรือ เจ้าของกิจการเพื่อลองหาตำแหน่งที่เหมาะสมให้คุณระหว่างตั้งครรภ์ บางครั้งคุณหมออาจแนะนำให้หยุดทำงานตั้งแต่อายุครรภ์ยังไม่มาก เพราะมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่ส่งผลต่อสุขภาพของคุณและลูกในท้อง
อ่านวิธีป้องกันสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ของคุณ และ กฎหมายลาคลอดต่อในหน้าถัดไปค่ะ
วิธีป้องกันสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ของคุณ
ไม่ว่าคุณจะทำงาน หรือ ไม่ทำงานในระหว่างตั้งครรภ์ก็ตาม คุณควรดูแลสุขภาพของคุณระหว่างตั้งครรภ์ตามวิธีต่อไปนี้
- พยายามหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่สร้างความเครียดให้คุณ คุณอาจจะขอทำงานที่บ้านอาทิตย์ละ 2-3 วัน หรือ เปลี่ยนมาเป็นทำงานพิเศษแทนการทำงานประจำ หากบรรยากาศ และ สภาพแวดล้อมในการทำงานค่อนข้างตึงเครียด
- คุณอาจจะขอลางานในช่วงไตรมาสแรก หากคุณมีอาการแพ้ท้องที่รุนแรง แต่ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 คุณจะรู้สึกกระฉับกระเฉงมากขึ้นและ สามารถกลับไปทำงานต่อได้
- หลีกเลี่ยงการยืน และ นั่งอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ดื่มน้ำเยอะ ๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตลอดวัน
หากคุณรู้สึกว่า ร่างกายของคุณไม่แข็งแรงขณะตั้งครรภ์ คุณอาจต้องหยุดทำงานเพื่อความปลอดภัยของคุณ และ ลูก
กฎหมายลาคลอด
กฎหมายกำหนดให้ผู้หญิงลาได้นานถึง 90 วัน ในระหว่างลาคลอดนายจ้างต้องจ่ายเงินเดือนให้ตามปกติ แต่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายเพียงครึ่งเดียวคือ 45 วัน และ สามารถเบิกประกันสังคมได้อีกครึ่งหนึ่ง จึงทำให้คุณไม่ขาดรายได้ระหว่างลาคลอด นอกจากนี้ประกันสังคมยังกำหนดอัตราการจ่ายเพิ่มเติมให้อีกท้องละ 4,000 บาท แต่คนหนึ่งเบิกได้ไม่เกินสองท้องเท่านั้นค่ะ
นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขยังมีนโยบายสนับสนุนให้ ข้าราชการหญิงสามารถลาคลอดต่อเนื่องจาก 90 วัน เป็น 180 วัน เพื่อให้แม่ยุคใหม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้นานที่สุด และ ขยายสิทธิให้พ่อลางานเพื่อช่วยภรรยาเลี้ยงลูกหลังคลอด และ ได้รับค่าแรงจากนายจ้าง จาก 15 วัน เป็น 30 วัน เพื่อส่งเสริมความอบอุ่นสถาบันครอบครัวอีกด้วย
The Asianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2 มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น The Asianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ
souce หรือ บทความอ้างอิง : asinta.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
บทบาทของพ่อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
วิธีดูแลตัวเองให้สวย ดูดี ของคนท้อง
ท้องลดก่อนคลอด เป็นอย่างไร
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!